พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้เกินอัตราตามกฎหมาย: สัญญาเป็นโมฆะ, ศาลแก้ไขคำพิพากษาได้เฉพาะในชั้นฎีกา
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ เมื่อตามคำสั่งและประกาศของโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) อัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี แม้จะบวกค่าอัตราความเสี่ยงร้อยละ 2 ต่อปี ก็เป็นอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี มิใช่อัตราร้อยละ 16.5ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากจำเลยได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีเท่านั้น
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความว่า ผู้กู้ยืมยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่กู้ยืมให้แก่ผู้ให้กู้ยืมในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี กำหนดส่งเป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลว่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์กำหนดไว้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นโดยตกลงคิดดอกเบี้ยขณะทำสัญญาไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
แม้ในทางปฏิบัติโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยภายหลังวันทำสัญญาไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นการคิดดอกเบี้ยในขณะจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญามิใช่คิดดอกเบี้ยในขณะทำสัญญา เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3(ก) ดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นโมฆะ โจทก์ชอบที่จะได้เพียงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 43052 และ 43053 ออกขายทอดตลาด เป็นให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 43051และ 43052 ออกขายทอดตลาด แต่ขณะโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวโจทก์ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว อำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อหลงผิดเล็กน้อยดังกล่าวย่อมอยู่แก่ศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143วรรคหนึ่ง มิใช่อำนาจของศาลชั้นต้น
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความว่า ผู้กู้ยืมยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่กู้ยืมให้แก่ผู้ให้กู้ยืมในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี กำหนดส่งเป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลว่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์กำหนดไว้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นโดยตกลงคิดดอกเบี้ยขณะทำสัญญาไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
แม้ในทางปฏิบัติโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยภายหลังวันทำสัญญาไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นการคิดดอกเบี้ยในขณะจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญามิใช่คิดดอกเบี้ยในขณะทำสัญญา เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3(ก) ดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นโมฆะ โจทก์ชอบที่จะได้เพียงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 43052 และ 43053 ออกขายทอดตลาด เป็นให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 43051และ 43052 ออกขายทอดตลาด แต่ขณะโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวโจทก์ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว อำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อหลงผิดเล็กน้อยดังกล่าวย่อมอยู่แก่ศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143วรรคหนึ่ง มิใช่อำนาจของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปัญหาทางการค้าของผู้ซื้อไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ทำให้ผู้ขายต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยซื้อผ้าไปจากโจทก์ การที่จำเลยไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้เพราะผู้ซื้อผ้าจากจำเลยอีกทอดหนึ่งมีปัญหาทางการเงินไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลย เป็นเรื่องการประกอบธุรกิจการค้า ซึ่งการประสบปัญหากำไรหรือขาดทุนเป็นปกติทางการค้าย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนรับขนส่งสินค้าทางทะเล: ความรับผิดตามสัญญา แม้ไม่ใช่ผู้ขนส่งโดยตรง
โจทก์ว่าจ้างผู้ขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศโดยติดต่อผ่านจำเลย เมื่อจำเลยได้รับสินค้าไปจากโจทก์แล้ว จำเลยได้มอบใบตราส่งซึ่งระบุชัดว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ขนส่งให้แก่โจทก์ ทั้งเมื่อโจทก์ชำระค่าระวางการขนส่งให้แก่จำเลย จำเลยก็ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่โจทก์โดยระบุในใบเสร็จรับเงินว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ขนส่ง พฤติการณ์ดังกล่าวแม้จำเลยจะไม่ได้ลงลายมือชื่อหรือประทับตราของจำเลยในใบตราส่งก็รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ขนส่งและได้ทำสัญญารับขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์แทนผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศมิใช่เป็นเพียงนายหน้าในการรับของระวางเรือ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาแต่ลำพังตนเอง เมื่อผู้ขนส่งผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าให้ถึงเมืองปลายทาง จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากการขนส่งไปยังเมืองท่าปลายทาง จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
ข้อจำกัดความรับผิดตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 58จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้เพียง 10,000 บาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่งนั้นใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ของที่ได้รับมอบหมายสูญหายหรือเสียหายเท่านั้น แต่กรณีผู้ขนส่งผิดสัญญาไม่ส่งของไปยังเมืองท่าปลายทาง หาใช่เป็นกรณีของสูญหายหรือเสียหายไม่ จึงไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวมาใช้บังคับได้
ส่วนข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงกันว่าเมื่อจำเลยสามารถจัดส่งสินค้าที่ตกค้างไปยังเมืองท่าปลายทางได้เสร็จเรียบร้อยจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ เพิ่งยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ซึ่งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ข้อจำกัดความรับผิดตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 58จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้เพียง 10,000 บาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่งนั้นใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ของที่ได้รับมอบหมายสูญหายหรือเสียหายเท่านั้น แต่กรณีผู้ขนส่งผิดสัญญาไม่ส่งของไปยังเมืองท่าปลายทาง หาใช่เป็นกรณีของสูญหายหรือเสียหายไม่ จึงไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวมาใช้บังคับได้
ส่วนข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงกันว่าเมื่อจำเลยสามารถจัดส่งสินค้าที่ตกค้างไปยังเมืองท่าปลายทางได้เสร็จเรียบร้อยจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ เพิ่งยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ซึ่งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนรับขนส่งทางทะเลต้องรับผิดตามสัญญา แม้ไม่ใช่ผู้ขนส่งโดยตรง
จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ขนส่งและได้ทำสัญญารับขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์แทนผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ มิใช่เป็นเพียงนายหน้าในการรับจองระวางเรือจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 แม้จำเลยจะไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นเมื่อผู้ขนส่งผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าให้ถึงเมืองปลายทางแต่ปล่อยให้สินค้าไปตกค้างระหว่างทางเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องเสียค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการที่สินค้าตกค้างที่เมืองท่าดูไบและค่าระวางการขนส่งจากเมืองท่าดูไบไปยังเมืองท่าปลายทางตูนิส จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2535 มาตรา 58 ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ของซึ่งผู้ขนส่งได้รับมอบหมายสูญหายหรือเสียหายเท่านั้น แต่กรณีที่ผู้ขนส่งผิดสัญญาไม่ส่งของไปยังเมืองท่าปลายทางตามสัญญามิใช่เป็นกรณีของสูญหายหรือเสียหาย จึงไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งมาใช้บังคับได้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2535 มาตรา 58 ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ของซึ่งผู้ขนส่งได้รับมอบหมายสูญหายหรือเสียหายเท่านั้น แต่กรณีที่ผู้ขนส่งผิดสัญญาไม่ส่งของไปยังเมืองท่าปลายทางตามสัญญามิใช่เป็นกรณีของสูญหายหรือเสียหาย จึงไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งมาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ: ศาลลดเบี้ยปรับได้ แต่ห้ามยกเว้นทั้งหมด
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า อันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคแรก ซึ่งถ้าศาลกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับเสียเลยไม่ได้
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า อันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคแรก ซึ่งถ้าศาลกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับเสียเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้ แต่ไม่อำนาจงดเบี้ยปรับทั้งหมด
ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อผิดนัดสัญญาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อประการอื่นนอกจากการกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินและริบเงินที่ส่งมาแล้ว หากโจทก์เสียหายก็ชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดให้โจทก์ได้รับชำระค่าเช่าซื้อค้างชำระก่อนเลิกสัญญาครบถ้วนจนถึงวันที่โจทก์ได้รับรถยนต์คืนหรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในความเสียหายเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราใดที่ให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ: ศาลลดเบี้ยปรับได้ แต่ไม่งดเว้นทั้งหมด
สัญญาเช่าซื้อที่ให้โจทก์ได้รับเช่าซื้อค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่โจทก์ได้รับรถยนต์คืนหรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในความเสียหายเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่จะพิพากษาไม่ให้ค่าเสียหายส่วนนี้เสียเลยไม่ได้เพราะไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตราใดที่ให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์สูญหาย ผู้เช่าซื้อยังคงมีหน้าที่ชำระราคารถยนต์ตามสัญญา แม้จะระงับไปแล้ว
โจทก์ได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อและมีคำขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่าถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัยสูญหายไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใด ๆ ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบ ดังนั้น ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์พอถือได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายแล้ว เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อก็ต้องใช้ราคารถยนต์นั้นให้แก่โจทก์แม้สัญญาเช่าซื้อจะระงับเพราะวัตถุแห่งสัญญาสูญหาย ความรับผิดของจำเลยที่ 1ก็ยังมีอยู่ตามสัญญา
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ลงทุนซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อมาในราคา 300,000 บาท จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์บางส่วนเป็นเงิน 111,215.02 บาท โจทก์ยังคงขาดทุนอีกเป็นเงิน 188,784.98 บาท จำเลยทั้งสองต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์อีกเป็นเงิน188,784.98 บาท คือค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่รวมทั้งหนี้สินอื่นที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั่นเองการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นว่าจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดนั้นก็เป็นค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อเช่นกัน ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นมานั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีต้องล่าช้าศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ลงทุนซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อมาในราคา 300,000 บาท จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์บางส่วนเป็นเงิน 111,215.02 บาท โจทก์ยังคงขาดทุนอีกเป็นเงิน 188,784.98 บาท จำเลยทั้งสองต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์อีกเป็นเงิน188,784.98 บาท คือค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่รวมทั้งหนี้สินอื่นที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั่นเองการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นว่าจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดนั้นก็เป็นค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อเช่นกัน ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นมานั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีต้องล่าช้าศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวแทนผู้ขนส่ง: ตัวแทนไม่มีอำนาจฟ้องแทนผู้ขนส่งหากไม่ได้รับมอบหมาย
โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ประกอบธุรกิจตัวแทนของผู้ขนส่งในราชอาณาจักร เนื่องจากผู้ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จึงมอบให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการต่าง ๆ ที่ท่าต้นทางแทน โดยโจทก์จะได้รับบำเหน็จตัวแทนจากจำนวนค่าระวางที่ผู้ส่งชำระให้ โจทก์จึงเป็นผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเล ให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเล โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 3 โจทก์เป็นตัวแทนสายการเดินเรือ ว. ซึ่งเป็นผู้ขนส่งเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่คู่สัญญาตามสัญญารับขนของทางทะเลกับจำเลย ทั้งไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจตัวแทนผู้ขนส่งฟ้องคดีแทนผู้ขนส่งได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยที่สายการเดินเรือ ว. มิได้มอบอำนาจให้ดำเนินการ จึงไม่มีอำนาจทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801(5) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการกำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการกำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10206/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในสัญญาที่ผูกพันบริษัทหลังพ้นตำแหน่ง
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในช่วงเวลาระหว่างวันที่โจทก์รับจ้างตกแต่งร้านค้าให้จำเลยที่ 1 ตั้งแต่เดือนกันยายน 2538 จนถึงวันที่ทำการตกแต่งร้านค้าเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2538 และได้ลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2540 อยู่ในเวลาสองปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างตามฟ้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1080 วรรคหนึ่ง