พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน: ค้ำประกันเฉพาะภายในระยะเวลาสัญญาเดิม
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเพื่อค้ำประกันความรับผิดในการปฏิบัติตามสัญญาที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อมีกำหนด 2 ปี จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ภายในกำหนดเวลา2 ปี ตามสัญญาด้วย การที่โจทก์อนุมัติขยายเวลาให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อเพิ่มเติมภายหลัง เป็นการอนุมัตินอกเหนือระยะเวลาตามสัญญาที่จำเลยที่ 2 ได้ค้ำประกันความรับผิดไว้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รับรู้เงื่อนไขในข้อนี้ด้วย จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากครบกำหนด 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันที่จำกัดระยะเวลา และผลของการขยายเวลาสัญญา
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเพื่อค้ำประกันความรับผิดในการปฏิบัติตามสัญญาที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อมีกำหนด 2 ปี จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปี ตามสัญญาด้วย การที่โจทก์อนุมัติขยายเวลาให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อเพิ่มเติมภายหลังเป็นการอนุมัตินอกเหนือระยะเวลาตามสัญญาที่จำเลยที่ 2ได้ค้ำประกันความรับผิดไว้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รับรู้เงื่อนไขในข้อนี้ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากครบกำหนด 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ถูกต้องตามกฎหมายเดิม ยังใช้เป็นหลักฐานได้ แม้กฎหมายใหม่กำหนดอัตราอากรแสตมป์ที่สูงขึ้น
แม้ขณะโจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะแห่งตราสารข้อ 17(ก) ซึ่งแก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526 มาตรา 13 บัญญัติให้ผู้ค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทในสัญญาค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ แต่ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526มาตรา 16 ก็บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงยังคงใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะทำสัญญา ยังใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แม้กฎหมายจะแก้ไขภายหลัง
แม้ขณะโจทก์นำสัญญาค้ำประกันมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะแห่งตราสารข้อ 17(ก) ซึ่งแก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526มาตรา 13 บัญญัติให้ผู้ค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทในสัญญาค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ แต่ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526มาตรา 16 ก็บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะที่ทำสัญญา จึงยังคงใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5879/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้, สัญญาค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วม, อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามสัญญากู้เงินจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี อันเป็นไปตามสิทธิที่ธนาคารโจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523ประกอบด้วยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2524ข้อ2 ฉะนั้นแม้จะถึงกำหนดชำระหนี้เงินกู้ยืมคืนและจำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระคืนแก่โจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18ต่อปีได้ เพราะถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น หนังสือค้ำประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำไว้กับโจทก์ทั้งสองฉบับ ไม่มีข้อความระบุให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชอบในจำนวนเงินที่กู้ 3,220,000 บาท แทนกัน แต่สัญญาค้ำประกันทั้งสองฉบับได้ระบุจำนวนเงินกู้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ เพื่อประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในวงเงิน 3,220,000 บาทเช่นนี้เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสอง ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่แบ่งส่วนความรับผิดกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน – ความรับผิดร่วมกันของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน – การลดเบี้ยปรับ
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนของประเทศ โจทก์จำต้องจัดหาบุคลากรเข้ามาทำงานทางด้านวิทยาการ ต้องติดต่อขอทุนศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบจากกรมวิเทศสหการ เมื่อกรมวิเทศสหการหาทุนได้แล้วโจทก์จะต้องดำเนินการคัดเลือกผู้ได้รับทุนเสนอไปยังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อผู้ได้รับทุนเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศสำเร็จการศึกษากลับมาแล้ว จะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป หากผู้ได้รับทุนบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ย่อมสูญเสียบุคลากรที่ได้สร้างขึ้นมาและสูญเสียเวลาที่จะต้องจัดหาผู้เข้ารับทุนรายอื่นไปศึกษาทดแทน ย่อมส่งผลกระทบต่อแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานราชการตามที่ได้วางเป้าหมายเอาไว้ เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ การที่สัญญาได้ระบุให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินทุน เงินเดือน และเงินอื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนโจทก์ และกำหนดเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้คืนนั้น เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่งแล้ว เงินเบี้ยปรับที่โจทก์เรียกร้องมาตามสัญญามิได้สูงเกินส่วน
ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน และสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 688 และ 689นั้น ฐานะของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันในลักษณะนี้จึงต้องรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1ผู้เป็นลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 691 หรือนัยหนึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม
ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน และสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 688 และ 689นั้น ฐานะของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันในลักษณะนี้จึงต้องรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1ผู้เป็นลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 691 หรือนัยหนึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน-ความรับผิดร่วม: ศาลแก้เบี้ยปรับเหมาะสมกับความเสียหายและยืนยันความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนของประเทศ โจทก์จำต้องจัดหาบุคลากรเข้ามาทำงานทางด้านวิทยาการ ต้องติดต่อขอทุนศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบจากกรมวิเทศสหการ เมื่อกรมวิเทศสหการหาทุนได้แล้วโจทก์จะต้องดำเนินการคัดเลือกผู้ได้รับทุนเสนอไปยังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อผู้ได้รับทุนเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศสำเร็จการศึกษากลับมาแล้วจะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป หากผู้ได้รับทุนบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ย่อมสูญเสียบุคลากรที่ได้สร้างขึ้นมาและสูญเสียเวลาที่จะต้องจัดหาผู้เข้ารับทุนรายอื่นไปศึกษาทดแทน ย่อมส่งผลกระทบต่อแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานราชการตามที่ได้วางเป้าหมายเอาไว้ เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ การที่สัญญาได้ระบุให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินทุน เงินเดือน และเงินอื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนโจทก์ และกำหนดเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้คืนนั้น เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งแล้วเงินเบี้ยปรับที่โจทก์เรียกร้องมาตามสัญญามิได้สูงเกินส่วน ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน และสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 และ 689 นั้นฐานะของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันในลักษณะนี้จึงต้องรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 691 หรือนัยหนึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของสัญญาค้ำประกันตามระยะเวลาของสัญญาหลัก
สัญญาระหว่างกรมวิทเศสหการโจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้กำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนว่าจำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเป็นเวลา5 ปี และสัญญค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ก็ระบุว่าค้ำประกันหนี้ซึ่งจะเกิดขึ้นตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ซึ่งกำหนดไว้แน่นอนแล้วเท่านั้น เมื่อโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อไปอีกเกินกว่ากำหนด 5 ปี โดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมด้วยในการขยายกำหนดเวลาการศึกษา จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับกำหนดระยะเวลาที่เกินกว่า 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5599/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายลดเช็ค, สัญญาค้ำประกัน, การรับผิดของผู้สลักหลัง, อายุความ, ดอกเบี้ยก่อนฟ้อง
เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็ค จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ และรับมอบเช็คจากโจทก์ไปใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้สั่งจ่ายในฐานะที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้สลักหลังเช็คและได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสองก็หาได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่เช็คขาดอายุความลงจึงเป็นความผิดของจำเลยทั้งสองเอง จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นว่า สัญญาขายลดเช็คเป็นสัญญาซื้อขายหรือเป็นสัญญากู้ยืม จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าเอกสารดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคแรกไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะวรรคสองของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า ถ้าผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลา ผู้ค้ำประกันหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ดังนั้น คู่สัญญาจึงอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้ โจทก์ฟ้องขอให้ชำระดอกเบี้ยก่อนฟ้องมาด้วย แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้กำหนดว่าดอกเบี้ยก่อนฟ้องมิให้เกินกว่าที่โจทก์ขอปัญหาข้อนี้แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันข้าราชการไปศึกษาต่อ: การผิดสัญญาเกิดจากการไม่กลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง ไม่ใช่การถูกสั่งให้ออก
ปัญหาว่าการที่ พ. ไม่สามารถกลับเข้ารับราชการได้เพราะโจทก์มีคำสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากการกระทำผิดวินัยก่อนจำเลยทำสัญญาค้ำประกันนั้นเมื่อปรากฏตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศในสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาแล้วก็ดีหรือการศึกษาของข้าพเจ้าต้องยุติลงด้วยประการใด ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะกลับมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการทันที ฯลฯ" และ ข้อ 7 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้าผิดสัญญาข้อ 5 ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินแก่กรมการศึกษานอกโรงเรียน ดังต่อไปนี้ ก.ถ้าข้าพเจ้าไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการเลย ข้าพเจ้ายอมชดใช้เงินทุน หรือเงินเดือนทั้งหมด ฯลฯ" เห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของสัญญาข้อ 5 และ 7 มีความมุ่งหมายว่าหาก พ.สำเร็จการศึกษา หรือการศึกษายุติลงด้วยประการใด ๆ แล้ว พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่งจึงจะถือว่าผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้สั่งให้ พ.ออกจากราชการ จึงไม่ใช่กรณีที่ พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง
ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ.นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใด การที่โจทก์สั่งให้ พ.ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ.ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าว เมื่อ พ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ.นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใด การที่โจทก์สั่งให้ พ.ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ.ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าว เมื่อ พ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน