พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค้ำประกัน, มูลหนี้ต่างกัน, สัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ทุกประเภท
หนี้เงินลีร์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทครบกำหนดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 และบริษัทลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2539 ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี เมื่อโจทก์เพิ่งนำคดีเกี่ยวกับหนี้ส่วนนี้มาฟ้องในวันที่ 24 ตุลาคม 2549 ทั้งที่สิทธิเรียกร้องต่อผู้ค้ำประกันในหนี้เงินลีร์เกิดตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2539 เกินกำหนดเวลา 10 ปี สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ มาตรา 193/30
มูลหนี้ตามฟ้องคดีนี้เป็นมูลหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งต่างจากมูลหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีประเด็นแห่งคดีในมูลหนี้ทั้งสองย่อมต่างกัน คดีนี้จึงไม่อาจเป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ไม่ว่าดอกเบี้ยจะค้างอยู่นานเท่าใด ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความคิดดอกเบี้ยไว้ โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องย้อนหลังไปได้เพียง 5 ปี เท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1)
มูลหนี้ตามฟ้องคดีนี้เป็นมูลหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งต่างจากมูลหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีประเด็นแห่งคดีในมูลหนี้ทั้งสองย่อมต่างกัน คดีนี้จึงไม่อาจเป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ไม่ว่าดอกเบี้ยจะค้างอยู่นานเท่าใด ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความคิดดอกเบี้ยไว้ โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องย้อนหลังไปได้เพียง 5 ปี เท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11488/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้อุปกรณ์ไม่มีหนี้ประธาน สัญญาจำนองเป็นโมฆะ ผู้จำนองไม่ต้องรับผิด
หนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ที่มีขึ้นเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ประธานคือ หนี้เงินที่จำเลยกู้ยืมไปจากโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ กรณีจึงไม่มีหนี้ประธาน โจทก์จึงไม่อาจฟ้องให้จำเลยในฐานะผู้จำนองรับผิดตามสัญญาจำนอง ซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยมอบอำนาจให้ จ. ไปจดทะเบียนจำนองหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปรับปรุงหนี้ไม่ใช่ประนีประนอมยอมความ สัญญาจำนองยังผูกพันทายาท
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีสาระสำคัญเพียงว่า จำเลยที่ 1 มีภาระหนี้สินกับโจทก์ตามสัญญากู้และตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้เท่านั้น ไม่มีการตกลงเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ต้องการระงับข้อพิพาทเดิมโดยต่างยอมผ่อนผันแก่กันและกำหนดหนี้ขึ้นใหม่ ตามความหมายของคำว่าประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 จึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ระงับไป ดังนั้นสัญญาจำนองที่ ว. ทำไว้กับโจทก์เป็นประกันการชำระเงินตามสัญญากู้เงินของจำเลยที่ 1 จึงมีผลผูกพันอยู่ จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของสัญญาจำนองเมื่อลายมือชื่อไม่ตรงกับผู้จำนองจริง และการวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง
การที่โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อในช่องผู้จำนองตามหนังสือสัญญาจำนองและมีการมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาจำนองแทนโจทก์ที่ 1 หรือไม่ ย่อมต้องมีข้อเท็จจริงที่จะนำมาพิจารณาเข้ากับข้อกฎหมาย เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ที่ 1 ยอมรับว่าได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาจำนองจริงเพียงแต่อ้างว่าเป็นหนังสือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใส่ชื่อในโฉนดหาใช่สัญญาจำนองไม่ จึงไม่มีข้อเท็จจริงในประเด็นเรื่องลายมือชื่อในช่องผู้จำนองตามหนังสือสัญญาจำนองไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาจำนองแทนปรากฏในคำฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นวินิจฉัยว่า ตามหนังสือสัญญาจำนองลายมือชื่อในช่องผู้รับจำนองไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 แต่เป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 ทั้งไม่มีการมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาจำนองแทนโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นธรรมต่อจำเลยที่ 2 เพราะหากมีประเด็นนี้ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 อาจนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยก็ได้ การที่จะยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยขึ้นวินิจฉัยเองจะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีด้วย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าการจำนองเฉพาะที่ดินส่วนของโจทก์ที่ 1 เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 714 นั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: สัญญาจำนองที่เคยถูกพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โจทก์ฟ้องใหม่อ้างโมฆะทำไม่ได้
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาจำนองฉบับเดียวกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แต่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การว่าสัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ เพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนอันเป็นความบกพร่องไม่รอบคอบของโจทก์เองที่ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ เมื่อศาลพิพากษาให้มีการบังคับจำนองและคดีถึงที่สุดไปแล้ว เช่นนี้ โจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างเหตุว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ เพื่อมิให้คำพิพากษาในคดีก่อนมีผลใช้บังคับแก่โจทก์หาได้ไม่ เพราะเท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดทั้งๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกันซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อน ให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่า โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) โดยไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คู่ความเดิมไม่ยกเหตุโมฆะในคดีก่อน ศาลไม่รับฟ้องใหม่
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาจำนองฉบับเดียวกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แต่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ เพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อน เมื่อศาลพิพากษาให้มีการบังคับจำนองและคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะหาได้ไม่ เพราะเท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดทั้งๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกันซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อน ให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่า โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8260/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอทรัพย์ชำระหนี้ vs. การปฏิเสธรับชำระหนี้ และข้อตกลงพิเศษในสัญญาจำนอง
แผ่นพับโฆษณาให้บุคคลทั่วไปทราบว่า โจทก์มีโครงการโอนทรัพย์จำนองชำระหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีภาระหนี้ค้างชำระสูงและไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ ให้สามารถปลดภาระหนี้ที่มีอยู่ด้วยวิธีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่จำนองให้โจทก์แทนการชำระหนี้ โดยโจทก์กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขซึ่งจะต้องผ่านการพิจารณาของโจทก์ก่อน แผ่นพับโฆษณาดังกล่าวยังไม่ชัดเจนแน่นอน จึงมิใช่คำเสนอ แต่เป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ผู้สนใจทำคำเสนอเข้ามาเท่านั้น คำร้องขอของจำเลยที่แสดงความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ จึงจัดว่าเป็นคำเสนอเมื่อโจทก์มิได้สนองรับย่อมไม่ก่อให้เกิดสัญญา
จำเลยค้างชำระหนี้เงินแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอชำระหนี้แก่โจทก์ โดยให้โจทก์รับโอนทรัพย์จำนองแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 จำเลยต้องชำระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้อง
แม้ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองจะเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้รับจำนองและจำเลยผู้จำนองตกลงกันเป็นประการพิเศษนอกเหนือจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 733 บัญญัติไว้ ซึ่งบทบัญญัติตามมาตรา 733 ดังกล่าว เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณีเท่านั้น มิใช่บทกฎหมายซึ่งเกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไปแต่เกี่ยวแก่คู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่อย่างใด จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ก็ย่อมกระทำได้ ดังนั้น ในกรณีที่โจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอใช้เงิน โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์อื่นของจำเลยในฐานะผู้จำนองเป็นประกันมาใช้หนี้จนครบ
จำเลยค้างชำระหนี้เงินแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอชำระหนี้แก่โจทก์ โดยให้โจทก์รับโอนทรัพย์จำนองแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 จำเลยต้องชำระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้อง
แม้ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองจะเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้รับจำนองและจำเลยผู้จำนองตกลงกันเป็นประการพิเศษนอกเหนือจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 733 บัญญัติไว้ ซึ่งบทบัญญัติตามมาตรา 733 ดังกล่าว เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณีเท่านั้น มิใช่บทกฎหมายซึ่งเกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไปแต่เกี่ยวแก่คู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่อย่างใด จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ก็ย่อมกระทำได้ ดังนั้น ในกรณีที่โจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอใช้เงิน โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์อื่นของจำเลยในฐานะผู้จำนองเป็นประกันมาใช้หนี้จนครบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ทุกประเภท แม้ชำระหนี้กู้แล้ว หากยังมีหนี้อื่นค้าง จำเลยมีสิทธิไม่ไถ่ถอนจำนอง
สัญญาจำนองข้อ 1 ระบุว่า ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้และภาระผูกพันใดๆ ของ อ. ที่มีต่อธนาคาร ก. ผู้ร้องจำนอง ทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะมีขึ้นในภายหน้าทุกลักษณะ ทุกประเภทหนี้ เป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท และตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ข้อ 2 ระบุว่า หนี้สินและภาระผูกพันใดๆ ที่จำนองเป็นประกัน ได้แก่ หนี้สินและภาระผูกพันทุกประเภท ทุกอย่าง ที่มีต่อผู้รับจำนองแล้วในเวลานี้และที่จะมีต่อไปในภายหน้า เมื่อหนี้สินและภาระผูกพันประเภทใดประเภทหนึ่ง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งระงับสิ้นไป แต่หนี้สินและภาระผูกพันประเภทอื่นยังมีอยู่หรือจะมีต่อไปในภายหน้าสัญญาจำนองไม่ระงับสิ้นไปคงผูกพันเป็นประกันต่อไป เห็นได้ว่า สัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวนอกจากจะเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์กู้จากจำเลยตามสัญญากู้ยืมเงินแล้ว ยังเป็นประกันหนี้ทุกประเภทที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมีหนี้ค้างชำระแก่จำเลยที่สาขารังสิต จังหวัดปทุมธานี แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการทำนิติกรรมกับจำเลยต่างสาขากัน แต่เป็นหนี้ที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยเช่นกันถือได้ว่า โจทก์ยังมีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองรายนี้อยู่ แม้โจทก์จะได้ชำระหนี้ที่โจทก์กู้จากจำเลย สาขาสามพราน ครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองก็ไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิของผู้รับจำนองเมื่อจำนองประกันหนี้ในอนาคต แม้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว
ผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 702 วรรคสองบัญญัติให้ผู้รับจำนองเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญและตามข้อตกลงต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่จำเลยและผู้คัดค้านจดทะเบียนจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์มีข้อความระบุว่า ผู้จำนองจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่มีอยู่ต่อผู้รับจำนองในเวลานี้หรือในเวลาหนึ่งเวลาใดภายหน้า ซึ่งแสดงให้เห็นได้ชัดว่า นอกจากจะเป็นการจำนองประกันหนี้ตามสัญญาจำนองดังกล่าวแล้ว ผู้จำนองยังตกลงจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่จะมีขึ้นต่อผู้รับจำนองในภายหน้าด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังคงค้างชำระหนี้ตามสัญญากู้ฉบับลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 แก่ผู้ร้อง จึงถือได้ว่าจำเลยยังมีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อผู้ร้องตามสัญญาจำนองรายนี้อยู่ แม้จำเลยจะได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยและผู้คัดค้านนำที่ดินแปลงดังกล่าวมาจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ครบถ้วนแล้วก็ตาม ก็หามีผลทำให้สัญญาจำนองระงับสิ้นไป ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองจึงเป็นผู้มีบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองก่อน เจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ นำเงินที่ชำระแล้วหักจากต้นเงินได้
แม้ตามสำเนาหนังสือสัญญาจำนองรวมแปดโฉนด ข้อ 5 ระบุให้สัญญาฉบับนี้เป็นหลักฐานการกู้เงิน ข้อ 6 ระบุว่า ไม่มีดอกเบี้ย กำหนดชำระคืนภายในหนึ่งปี และตามบันทึกข้อตกลง ข้อ 1 ระบุว่า หากผู้กู้ผิดสัญญากู้โดยไม่ชำระหนี้คืนให้แก่ผู้ให้กู้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนจำนอง ผู้กู้จะต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินจำนองแก่ผู้ให้กู้ นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น อันเป็นการระบุว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์และจำเลยนั้น โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งไม่เกินกว่าที่ ป.พ.พ. มาตรา 654 กำหนดไว้ก็ตาม แต่การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลและพยานวัตถุฟังได้ว่า ในการทำสัญญาจำนองตกลงกันว่าจะไม่มีการคิดดอกเบี้ย แต่ความจริงโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ยเดือนละ 204,300 บาท แต่พยานขอลดหย่อนเหลือเดือนละ 200,000 บาท โดยโจทก์ให้จำเลยแบ่งชำระเงิน 2 ยอด ยอดแรกชำระ 150,000 บาท อีกยอดชำระ 50,000 บาท โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้เฉพาะยอดเงิน 150,000 บาท เพราะเกรงว่าจะถูกกล่าวหาว่าคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นการผิดกฎหมาย ซึ่งต้นเงิน 13,620,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องเสียดอกเบี้ยเดือนละ 170,250 บาท จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เท่าที่รวบรวมใบเสร็จรับเงินได้ 12 ฉบับ รวมเป็นเงิน 1,150,000 บาท เป็นการนำสืบถึงข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะอันเป็นผลทำให้หนี้ตามสัญญาบางส่วนไม่สมบูรณ์ อันเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย การรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้บางส่วนที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94