คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาต่างตอบแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าแผงลอยก่อนก่อสร้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ใช่สัญญาเช่าสิ่งก่อสร้างตามกฎหมาย
ข้อตกลงตามสัญญามีว่า โจทก์จะขอเช่าแผงลอยซึ่งจำเลยยังไม่ได้ก่อสร้าง โดยโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นให้กับจำเลยในวันทำสัญญา เพื่อช่วยค่าก่อสร้างตลาดรายนี้เป็นข้อตกลงกันล่วงหน้า สัญญาฉบับนี้จึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันตามธรรมดา หาใช่สัญญาเช่าสิ่งก่อสร้างตามบัญชีข้อ 1 ท้ายประมวลรัษฎากรไม่ แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ ก็ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2585-2586/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนค่าชดใช้รายเดือน และเบี้ยปรับที่ศาลลดหย่อนได้จากสัญญา
โจทก์และจำเลยทำสัญญากันว่า จำเลยรับจัดหาสัตว์ส่งมาให้โจทก์รับจ้างฆ่าที่โรงงานฆ่าสัตว์ของโจทก์ โดยโจทก์จำเลยรับรองกันในสัญญาว่า ถ้ารายได้ของโจทก์จากการรับจ้างฆ่าสัตว์ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายของโจทก์เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์ ยังคงขาดเป็นเงินเท่าใดจำเลยที่ 1 รับชดใช้ให้ทุกเดือนไปจนกว่าโจทก์จะได้รับเงินค่ารับจ้างฆ่าสัตว์คุ้มกับค่าใช้จ่ายดังกล่าว ข้อสัญญาดังกล่าวนี้มิใช่กำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยตกลงให้ประโยชน์แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขเนื่องจากการที่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายของโจทก์ส่วนที่ยังขาดอยู่เต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน: แม้มีค่าเช่าพิเศษก็ไม่อาจบังคับให้จดทะเบียนได้
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้โจทก์จดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทมีกำหนด 10 ปี โดยอ้างว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เพราะจำเลยเสียค่าตอบแทนการเช่าเป็นเงิน 20,000 บาท ซึ่งตามคำให้การไม่กล่าวว่าเป็นเงินค่าอะไรอีก แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ดังข้ออ้างของจำเลย ก็หาทำให้สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ เมื่อมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจะฟ้องบังคับให้โจทก์ไปจดทะเบียนหาได้ไม่แม้ศาลจะรับฟ้องแย้งไว้ จำเลยก็ไม่มีทางชนะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่ารื้อถอนไม่ทำให้สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ ผู้ให้เช่ามีสิทธิขับไล่
กรมทางหลวงแผ่นดินใช้ค่ารื้อถอนเล้าไก่แก่จำเลย ซึ่งเช่าห้องแถวของโจทก์อยู่ จำเลยยกเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ๆ ตกลงให้จำเลยอยู่ต่อไป 1 ปี ข้อตกลงนี้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ. เงินนี้เท่ากับเงินกินเปล่า ไม่ทำให้สัญญาเช่ากลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ โจทก์ขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์, สัญญาต่างตอบแทน, การบอกเลิกสัญญา, การอยู่โดยละเมิด
จำเลยซื้อตึกและเช่าที่ดินที่ตึกนั้นตั้งอยู่ จึงมีนิติกรรมสองรายซึ่งแยกจากกันได้ คือนิติกรรมซื้อขายกับนิติกรรมเช่าที่ดิน นิติกรรมซื้อขายตึกเป็นสัญญาต่างตอบแทน ส่วนการเช่าที่ดินเมื่อจำเลยมิได้ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างใด ๆ แก่โจทก์เป็นพิเศษจึงเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ธรรมดา มิใช่สัญญาต่างตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากสัญญษเช่าธรรมดาและตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538
เมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว จำเลยยังครองที่ดินอยู่โดยโจทก์มิได้ทักท้วง ถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 เมื่อโจทก์ได้แจ้งบอกเลิกการเช่าให้จำเลยทราบไว้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว สัญญาเช่าที่ดินพิพาทเป็นอันสิ้นสุดลงและจำเลยไม่มีสิทธิ์ที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทในฐานะผู้เช่าต่อไปได้อีก หลังจากนั้นจึงเป็นการอยู่โดยละเมิดอันจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาโอนสิทธิ์เช่า: เงินค่าตอบแทนไม่ใช่เงินผ่อนทุน แต่เป็นผลประโยชน์จากการทำสัญญา ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิ์การเช่าตึกแถวซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างในที่ดินของผู้อื่นให้แก่จำเลย เพื่อเป็นค่าตอบแทน จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งโดยจ่ายบางส่วนในวันทำสัญญา และในวันเข้าอยู่ในตึกแถว ส่วนที่เหลือตกลงแบ่งชำระกันเป็น 2 งวด งวดแรกชำระแล้ว คงค้างชำระงวดหลังซึ่งนานเกิน 5 ปีแล้ว ดังนี้ เงินตามสัญญาที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์นั้นเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ยอมตกลงทำสัญญาให้จำเลยได้รับโอนสิทธิ์การเช่าตึกแถวซึ่งตามปกติธรรมดาแล้วจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ทั้งหมด แต่เพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้จำเลย จึงได้ทำสัญญาเป็นแบ่งงวดชำระ จำนวนเงินดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ที่โจทก์ควรจะได้รับจากการที่ยอมให้จำเลยเข้าทำสัญญาเช่าตึกแถว มิใช่เงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนโดยตรงเป็นงวด ๆ และไม่ใช่การเรียกเอาเงินค้างจ่าย เช่น เงินปี เงินเดือนหรือเงินอื่น ๆ ที่เป็นทำนองเดียวกันที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิ์เรียกร้องที่กำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามความในมาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์เข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเช่าและการโอนสิทธิเช่า: สิทธิเรียกร้องลักษณะสัญญาต่างตอบแทนมีอายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกแถวซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างในที่ดินของผู้อื่นให้แก่จำเลย เพื่อเป็นค่าตอบแทน จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งโดยจ่ายบางส่วนในวันทำสัญญาและในวันเข้าอยู่ในตึกแถวส่วนที่เหลือตกลงแบ่งชำระกันเป็น 2 งวด งวดแรกชำระแล้ว คงค้างชำระงวดหลังซึ่งนานเกิน 5 ปีแล้ว ดังนี้เงินตามสัญญาที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์นั้นเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ยอมตกลงทำสัญญาให้จำเลยได้รับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวซึ่งตามปกติธรรมดาแล้วจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ทั้งหมด แต่เพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้จำเลย จึงได้ทำสัญญาเป็นแบ่งงวดชำระ จำนวนเงินดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ที่โจทก์ควรจะได้รับจากการที่ยอมให้จำเลยเข้าทำสัญญาเช่าตึกแถว มิใช่เงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนโดยตรงเป็นงวดๆ และไม่ใช่การเรียกเอาเงินค้างจ่าย เช่น เงินปีเงินเดือน หรือเงินอื่นๆ ที่เป็นทำนองเดียวกันที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิเรียกร้องที่กำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามความในมาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251-2253/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดอำนาจศาลฎีกา: กรณีข้อเท็จจริงต้องห้าม และการอ้างสัญญาต่างตอบแทนที่มิได้ยกขึ้นในชั้นต้น
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่บริษัทโจทก์เช่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมาให้เช่าช่วงเป็นการกระทำผิดวัตถุประสงค์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นเรื่องที่มิได้กระทบกระเทือนสิทธิ์ของประชาชน จึงมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาที่จำเลยไม่สามารถยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นเนื่องจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าหรืออาศัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 บัญญัติห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ระหว่างจำเลยทั้งสามสำนวนกับโจทก์ไม่มีสัญญาต่างตอบแทนต่อกัน เพราะไม่ปรากฏว่ามีผู้อื่นรู้เห็นการตกลงดังกล่าวเป็นกิจลักษณะ หรือมีหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดไว้ เป็นการกล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอย แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อนี้มาก็เป็นการวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม และเมื่อเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนกับการฟ้องขับไล่: การโอนสิทธิการเช่าทำให้โจทก์หมดอำนาจฟ้องหรือไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและอาคารที่ให้จำเลยอาศัยจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์โอนสิทธิการเช่าที่ดินและอาคารให้จำเลยแล้ว โดยโจทก์เรียกเงินสองหมื่นบาทเป็นค่าตอบแทนในการโอนสิทธิการเช่า จึงเกิดประเด็นข้อพิพาทขึ้นว่า โจทก์โอนสิทธิการเช่าที่ดินและอาคารให้จำเลยโดยได้เรียกเงินค่าโอนกัน 20,000 บาทจริงหรือไม่ ซึ่งตรงกับที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้ว่า จำเลยเข้าอยู่ในห้องพิพาทเป็นสัญญาต่างตอบแทนหรือไม่นั่นเอง หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ก็ต้องถือว่ามีสัญญาต่างตอบแทนกันจริง มิใช่โจทก์ให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยตามฟ้อง และเมื่อสัญญามีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาก็จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยด้วย จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา การบอกเลิกสัญญาและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยได้รับการจัดสรรส่วนแบ่งสลากที่จะนำไปจำหน่ายจากสำนักงานสลากกินแบ่ง เรียกว่าผู้ได้รับโควต้า ซึ่งจะค้าสลากโดยตรงหรือจะมอบสลากให้ผู้อื่นไปจำหน่ายอีกต่อก็ได้ ถ้าจำเลยไปซื้อสลากจากกองสลากด้วยตนเองจำเลยจะต้องลงทุนใช้เงินส่วนตัวของจำเลยซื้อสลาก จำเลยจึงทำหนังสือมอบฉันทะซื้อสลากให้โจทก์เป็นผู้ซื้อมีระยะเวลา 1 ปีโดยตกลงกันว่าจำเลยจะได้ส่วนลดเล่มละ 8 บาท โจทก์ได้ส่วนลดเล่มละ 6 บาท โจทก์เป็นผู้ลงทุนซื้อสลากและต้องจำหน่ายสลากเอง มิได้นำมามอบให้จำเลย หากจำหน่ายไม่หมดโจทก์จะต้องขาดทุน แต่จำเลยยังได้รับส่วนลดเล่มละ 8 บาท เท่าเดิมโดยไม่ต้องลงทุนลงแรงและเสี่ยงต่อการขาดทุนแต่อย่างใด ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องตัวการตัวแทนธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญานอกจากโจทก์ยินยอมด้วยหรือโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่จำเลยถอนหนังสือมอบฉันทะขณะที่หนังสือนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์ขาดรายได้ไป
of 26