คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประนีประนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการชำระหนี้ด้วยวิธีการอื่นที่คู่กรณีรับทราบและยินยอม ถือเป็นการปลดเปลื้องภาระหนี้เดิม
จำเลยขับรถยนต์ชนลวดสลิง ที่ยึดโยงเสาอากาศวิทยุของโจทก์ทำให้เสาอากาศวิทยุล้มเสียหายใช้การไม่ได้ จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่โจทก์ยอมรับเอาเสาอากาศวิทยุที่จำเลยติดตั้งใหม่แทนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันไว้ หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงเป็นอันระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์ประกอบ การวินิจฉัยต้องอาศัยการไต่สวนข้อเท็จจริง
การที่จะพิจารณาว่าฝ่ายใดผิดนัดผิดสัญญานั้นจะต้องพิจารณาการกระทำประกอบกับเจตนาที่ฝ่ายนั้นได้แสดงออกว่าจะไม่นำพาต่อการปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่เป็นสำคัญ แม้ตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในวันที่ 20 ตุลาคม 2532เวลา 11 นาฬิกา ก็ตาม แต่เวลา 11 นาฬิกา ที่ กำหนดนัดหมายนั้นต้องหมายถึงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายไปพร้อมกันเพื่อเริ่มดำเนินการตามแบบพิธีของทางราชการมิใช่หมายถึงเวลาที่ทำการโอนเสร็จ ฉะนั้นถ้าทนายความซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวแทนโจทก์ไปถึงตามเวลานัดหมายและแจ้งให้ทนายฝ่ายจำเลยทราบถึงเรื่องที่จะดำเนินการต่อไปเช่นนี้ ถือได้ว่าฝ่ายโจทก์ได้ไปตามเวลาที่นัดหมายแล้ว
ถ้าข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์นั้น จำเลยที่ 2 แถลงคัดค้านอยู่จะต้องมีการไต่สวนทั้งสองฝ่ายว่าความจริงเป็นประการใด จึงจะวินิจฉัยได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญา แต่ศาลชั้นต้นมิได้ไต่สวนในข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่พอให้วินิจฉัย การวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดโดยที่ยังมิได้มีข้อเท็จจริงให้เห็นเป็นประการใดนั้นไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4556/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: ลูกหนี้ต้องปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วน เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับคดีได้
โจทก์และจำเลยต่างมิได้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความความทุกข้อที่ทำกันไว้ในศาลชั้นต้นแต่ที่จำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 6 โดยไม่ยอมให้โจทก์เช่าตึกแถวนั้นปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์ในตึกแถวดังกล่าวให้จำเลยตามสัญญาข้อ 2 โจทก์จะอ้างว่าจำเลยผิดสัญญายังมิได้ และที่จำเลยยังมิได้จัดการโอนหุ้นตามสัญญาข้อ 8 และยังมิได้โอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ตามสัญญาข้อ 2 นั้น เนื่องจากสัญญาข้อ 8 และข้อ 2 มิได้เกี่ยวข้องหรือเป็นเงื่อนไขของสัญญาข้ออื่น ทั้งสัญญาข้อ 10 ระบุว่าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด อีกฝ่ายบังคับคดีได้ทันที โจทก์ก็อาจบังคับคดีได้เช่นกัน ไม่เป็นเหตุขัดข้องในการที่โจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาข้อ 2 ถึง ข้อ 5 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับ จำเลยก็มีสิทธิบังคับคดีแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความเงื่อนไขการบอกกล่าวติดตามหนี้
ที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า หาก ซ.บิดพลิ้วไม่ชำระหนี้ให้จำเลยรับผิดชอบในจำนวนเงินดังกล่าวโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้ให้ ถ้าติดตามไม่ได้ จำเลยจะขอรับชดใช้เองจนครบจำนวนนั้น ไม่มีข้อความตอนใดบังคับว่าโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยติดตามตัว ซ. ก่อน ข้อความตามสัญญามีความหมายเพียงว่าถ้า ซ. ไม่ชำระ จำเลยต้องชำระแทนเท่านั้น ส่วนข้อความที่ว่าโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้นั้น เป็นเรื่องเปิดโอกาสให้จำเลยมีเวลาติดตามลูกหนี้ที่แท้จริง ไม่ใช่เงื่อนไขให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมต่อหน้าศาลมีผลผูกพันเหนือสัญญานอกศาล แม้จะทำพร้อมกัน
แม้จะได้ความว่า โจทก์ทำสัญญายอมความกับจำเลยไว้อีกฉบับหนึ่ง ในวันเดียวกันกับวันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่า โจทก์ยอมให้จำเลยอยู่ในตึกพิพาทต่อไปจนกว่าโจทก์จะรื้อถอนตึกพิพาทเพื่อทำการก่อสร้างแต่ สัญญายอมความดังกล่าวโจทก์จำเลย ก็มิได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลจึงไม่อาจรับรู้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยได้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ต่อหน้าศาล ศาลย่อมออกหมายบังคับคดีตาม ที่โจทก์ร้องขอเพื่อบังคับคดีเอากับจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลมีผลผูกพัน แม้มีสัญญาภายหลังที่ไม่ได้รับการรับรองจากศาล
แม้โจทก์ทำสัญญายอมความกับจำเลยไว้อีกฉบับหนึ่งในวันเดียวกันกับวันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าโจทก์ยอมให้จำเลยอยู่ในตึกพิพาทต่อไปจนกว่าโจทก์จะรื้อถอนตึกพิพาทเพื่อทำการก่อสร้าง แต่สัญญายอมความดังกล่าวโจทก์จำเลยก็มิได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลจึงไม่อาจรับรู้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยได้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ต่อหน้าศาล ศาลย่อมออกหมายบังคับคดีตามที่โจทก์ร้องขอเพื่อบังคับคดีเอากับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและการบังคับคดี: สัญญาที่ไม่ทำต่อหน้าศาล ไม่อาจบังคับได้
เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมออกจากตึกพิพาท และศาลมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว แม้จะได้ความว่า โจทก์ทำสัญญายอมความกับจำเลยไว้อีกฉบับหนึ่งในวันเดียวกัน โดยโจทก์ยอมให้จำเลยอยู่ในตึกพิพาทต่อไปจนกว่าโจทก์จะรื้อถอนตึกพิพาทเพื่อทำก่อสร้าง แต่สัญญายอมความดังกล่าวมิได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลจึงไม่อาจรับรู้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวได้ จำเลยจะมีสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวอย่างไรหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวเอากับโจทก์ใหม่ต่างหาก เมื่อจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความศาลก็ต้องออกหมายบังคับคดีตามที่โจทก์ร้องขอ กรณีไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ขอให้งดการบังคับคดีและเพิกถอนหมายบังคับคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม ความผิดเกิดขึ้นใหม่เมื่อเช็คไม่สามารถใช้ได้ สิทธิฟ้องยังคงมี
จำเลยออกเช็ค ให้แก่โจทก์เพื่อการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิม ซึ่ง โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเฉพาะ คดีเดิม เท่านั้น เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตาม เช็ค ที่ออกใหม่วันใด ก็เป็นความผิดที่เกิดขึ้นใหม่วันนั้น โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องคัดค้านหมายบังคับคดี ศาลพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วถือเป็นการไต่สวนเพียงพอ
จำเลยยื่นคำร้องว่ามิได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี ศาลได้นัดคู่ความพร้อมกัน ในวันนัดศาลสอบข้อเท็จจริงจากทนายโจทก์และพิเคราะห์เหตุผลตามคำร้องของจำเลยแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ดังนี้ การที่ศาลขึ้นนั่งพิจารณาแล้วสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อตกลงเดิม แม้โรงเรียนมีเจ้าของเดียวกัน การย้ายสถานที่ไม่ใช่การปฏิบัติตามสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อความว่า "จำเลยยินยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิม อัตราค่าจ้างเดิม และสภาพการจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม โดยให้นับอายุการทำงานต่อเนื่องจากเดิม โดยจำเลยจะให้โจทก์เริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไป" ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น โจทก์มีตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. ตำแหน่งหน้าที่เดิมที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานนั้น คือตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. จำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยให้เป็นครูสอนที่โรงเรียน ท. ซึ่งเป็นคนละโรงเรียนกันกับโรงเรียน ส. หาได้ไม่ แม้โรงเรียนทั้งสองแห่งนี้จะมีเจ้าของเป็นคนเดียวกัน ใช้ระบบเดียวกัน และมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนครูกันอยู่ก็ตาม
of 51