พบผลลัพธ์ทั้งหมด 674 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับการจัดการมรดก: ข้อตกลงไม่ขัดกฎหมาย
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ว. และจำเลยมีว่า จำเลยยอมรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คให้โจทก์และ ว. และยอมรับว่าจะชำระเงินให้โจทก์และ ว. เมื่อศาลได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ถ. เจ้ามรดก และผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายที่ดินแล้วโดยโจทก์และ ว. ยอมถอนคำร้องทุกข์ในคดีเช็คที่ได้แจ้งความไว้ ข้อตกลงเช่นนี้เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งมีผลทำให้หนี้เดิมคือหนี้ตามเช็คระงับไป เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
เมื่อผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ประกาศขายที่ดินตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว โดยเมื่อขายได้แล้วจะต้องแบ่งเงินให้แก่จำเลยและจำเลยจะต้องนำไปชำระให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง ดังนั้นอำนาจในการจัดการมรดกรวมตลอดถึงการขายที่ดินมรดกตามข้อตกลง จึงขึ้นอยู่กับผู้จัดการมรดกมิใช่ขึ้นอยู่กับจำเลยหรือสุดแล้วแต่ใจของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงดังกล่าวจึงหาตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 (เดิม) ไม่
เมื่อผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ประกาศขายที่ดินตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว โดยเมื่อขายได้แล้วจะต้องแบ่งเงินให้แก่จำเลยและจำเลยจะต้องนำไปชำระให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง ดังนั้นอำนาจในการจัดการมรดกรวมตลอดถึงการขายที่ดินมรดกตามข้อตกลง จึงขึ้นอยู่กับผู้จัดการมรดกมิใช่ขึ้นอยู่กับจำเลยหรือสุดแล้วแต่ใจของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงดังกล่าวจึงหาตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 (เดิม) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เช็ค การจัดการมรดก และผลผูกพันตามสัญญา
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ว. และจำเลยมีว่าจำเลยยอมรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คให้โจทก์และ ว. และยอมรับว่าจะชำระเงินให้โจทก์และ ว. เมื่อศาลได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ถ. เจ้ามรดกและผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายที่ดินแล้วโดยโจทก์และ ว. ยอมถอนคำร้องทุกข์ในคดีเช็คที่ได้แจ้งความไว้ข้อตกลงเช่นนี้เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850ซึ่งมีผลทำให้หนี้เดิมคือหนี้ตามเช็คระงับไปเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ เมื่อผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ประกาศขายที่ดินตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้วโดยเมื่อขายได้แล้วจะต้องแบ่งเงินให้แก่จำเลยและจำเลยจะต้องนำไปชำระให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงดังนั้นอำนาจในการจัดการมรดกรวมตลอดถึงการขายที่ดินมรดกตามข้อตกลงจึงขึ้นอยู่กับผู้จัดการมรดกมิใช่ขึ้นอยู่กับจำเลยหรือสุดแล้วแต่ใจของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงดังกล่าวจึงหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา152(เดิม)ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8364/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถูกจำกัดด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความ คดีเดิมห้ามฟ้องซ้ำ
ส.เคยยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยขอให้ศาลสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินโดยกล่าวหาว่าโฉนดดังกล่าวออกมาไม่ชอบทับที่ดินของตนแต่ผลที่สุดคดีตกลงกันได้ศาลได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไปแล้วโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของน. ภรรยาส. ซึ่งถึงแก่กรรมจึงมีความผูกพันตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในอันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ส.ทำไว้เมื่อข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความส. ตกลงจะไม่เรียกร้องที่ดินที่เหลือนอกเหนือจากที่ตกลงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความอีกโจทก์จึงไม่มีอำนาจเรียกร้องหรือฟ้องกรมที่ดินหรืออธิบดีกรมที่ดินขอให้มีการเพิกถอนโฉนดที่ดินนั้นพร้อมที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกจากที่ดินโฉนดดังกล่าวซ้ำอีกและการที่จำเลยทั้งสองแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดว่าการออกโฉนดที่ดินและที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกจากโฉนดที่ดินดังกล่าวตามคำฟ้องเป็นการออกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วจึงไม่เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่โจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีสิทธิใดๆเกี่ยวกับที่ดินตามคำฟ้องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8256/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน, สัญญาประนีประนอมยอมความ, อายุความ, อำนาจฟ้อง, สิทธิเรียกร้อง
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งไม่รับ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นอุทธรณ์คัดค้าน คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มายื่นฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งในระหว่างที่คดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173วรรคสอง
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ พ. ตกลงกับ ล.โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และ พ.เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ พ.ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาท พ.ต่อไป จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 168เดิม
แม้ พ.จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่ พ.จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเอง โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทน พ.และเมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อน จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้
การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3)
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ พ. ตกลงกับ ล.โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และ พ.เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ พ.ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาท พ.ต่อไป จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 168เดิม
แม้ พ.จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่ พ.จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเอง โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทน พ.และเมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อน จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้
การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8252/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน, สัญญาประนีประนอมยอมความ, อายุความ, อำนาจฟ้อง, การเรียกร้องสิทธิ
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งไม่รับ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นอุทธรณ์คัดค้าน คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มายื่นฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งในระหว่างที่คดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173วรรคสอง
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ พ. ตกลงกับ ล.โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และ พ.เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ พ.ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาท พ.ต่อไป จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 168เดิม
แม้ พ.จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่ พ.จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเอง โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทน พ.และเมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อน จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้
การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3)
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ พ. ตกลงกับ ล.โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และ พ.เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ พ.ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาท พ.ต่อไป จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 168เดิม
แม้ พ.จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่ พ.จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเอง โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทน พ.และเมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อน จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้
การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8252/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน สัญญาประนีประนอมยอมความ อายุความ และการแบ่งทรัพย์สินมรดก
โจทก์ที่2ถึงที่4ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งไม่รับโจทก์ที่2ถึงที่4ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์ที่2ถึงที่4มายื่นฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งในระหว่างที่คดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของพ. ตกลงกับล.โจทก์ที่2ถึงที่4และพ. เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของพ. ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาทพ.ต่อไปจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของพ. จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไปจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง โจทก์ที่1ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา168เดิม แม้พ. จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่พ. จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเองโจทก์ที่1ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทนพ. และเมื่อฟ้องโจทก์ที่2ถึงที่4เป็นฟ้องซ้อนจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่2ถึงที่4ได้ การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่2ถึงที่4ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่2ถึงที่4ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผ่อนชำระหนี้ค้ำประกัน ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขอรับทุนและลาไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อมาผิดสัญญา โจทก์ได้นำเงินบำเหน็จของจำเลยที่ 1 ชดใช้หนี้บางส่วนแล้วแจ้งให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ส่วนที่ค้าง จำเลยที่ 2 ชำระเพียงครึ่งเดียวอีกครึ่งหนึ่งทำสัญญาผ่อนชำระหนี้มีใจความว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมชำระเงินค่าผิดสัญญาลาศึกษาของจำเลยที่ 1 โดยขอผ่อนชำระเป็นรายเดือน อัตราเดือนละ5,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี หนังสือดังกล่าวเป็นการยอมรับผิดใช้ทุนการศึกษา ซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันไว้เดิม ไม่มีข้อความระงับข้อพิพาทที่มีอยู่เดิมเพื่อก่อให้ได้สิทธิขึ้นใหม่แต่อย่างใด จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษา กรณีจำเลยไม่มีภูมิลำเนาในประเทศและไม่ได้แต่งตั้งทนาย
จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ ดังนี้ หากศาลไต่สวนแล้วได้ความตามคำร้องว่าขณะถูกฟ้องจำเลยที่ 3 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศและจำเลยที่ 3 ไม่ได้แต่งตั้ง น.ให้เป็นทนายความ กระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินมานั้นก็ย่อมไม่ชอบมาแต่ต้น กระบวนพิจารณาต่อ ๆ มาจนกระทั่งพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็ย่อมไม่ชอบไปด้วย เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยหลงผิดว่าจำเลยที่ 3 มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และแต่งตั้งให้ น.เป็นทนายความมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยที่ 3 ได้
กรณีเช่นนี้จะอ้างว่าคดีถึงที่สุดแล้วเพราะจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาก็ไม่ได้เช่นกันเพราะกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบมาแต่ต้นนั้น ย่อมส่งผลให้คำพิพากษาคดีและการอ่านคำพิพากษาไม่ชอบไปด้วย จำเลยที่ 3 ผู้ได้รับความเสียหายและไม่ได้รับความยุติธรรมจากกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเมื่อได้ทราบถึงข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นเมื่อใด ย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวน-พิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวแล้วเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในกรณีเช่นนี้ จะบังคับให้จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเสียก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาโดยที่จำเลยที่ 3 ยังไม่ทราบถึงข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่าผิดระเบียบนั้น ย่อมเป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยฟ้อง จะกระทำได้ ดังนั้น จำเลยที่ 3จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นในคดีเดิมเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีผิดระเบียบดังกล่าวเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องได้โดยไม่จำต้องไปฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมมิให้มีผลผูกพันถึงจำเลยที่ 3 เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
กรณีเช่นนี้จะอ้างว่าคดีถึงที่สุดแล้วเพราะจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาก็ไม่ได้เช่นกันเพราะกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบมาแต่ต้นนั้น ย่อมส่งผลให้คำพิพากษาคดีและการอ่านคำพิพากษาไม่ชอบไปด้วย จำเลยที่ 3 ผู้ได้รับความเสียหายและไม่ได้รับความยุติธรรมจากกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเมื่อได้ทราบถึงข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นเมื่อใด ย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวน-พิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวแล้วเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในกรณีเช่นนี้ จะบังคับให้จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเสียก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาโดยที่จำเลยที่ 3 ยังไม่ทราบถึงข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่าผิดระเบียบนั้น ย่อมเป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยฟ้อง จะกระทำได้ ดังนั้น จำเลยที่ 3จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นในคดีเดิมเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีผิดระเบียบดังกล่าวเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องได้โดยไม่จำต้องไปฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมมิให้มีผลผูกพันถึงจำเลยที่ 3 เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7305/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การผิดนัด และผลกระทบต่อดอกเบี้ย
ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอม จำเลยทั้งสองตกลงยอมให้ค่าปรับแก่โจทก์ต่อเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการปลอดภาระผูกพันในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นก่อนวันอันถึงกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เว้นแต่ภาระจำนองที่จำเลยทั้งสองจะต้องดำเนินการปลอดจำนองในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่จากคำแถลงของโจทก์ได้ความว่าเมื่อถึงวันนัดไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่คู่ความต่างเลื่อนไปในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียนนิติกรรม การทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่อาจจะกระทำได้ โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการปลอดภาระจำนองแต่ประการใด ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็ให้สิทธิแก่โจทก์บังคับคดีโดยถือเอาสัญญาประนี-ประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสองต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้อยู่แล้ว แสดงว่าแม้หากจำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียน โจทก์ก็สามารถใช้คำพิพากษาตามยอมแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์ได้โดยปลอดภาระจำนองตามกำหนดนัดในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และการบังคับคดีในลักษณะนี้ก็มิใช่เป็นการบังคับคดีที่จะต้องดำเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงหาจำต้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีอีกแต่ประการใดไม่ ดังนั้น เพียงการที่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะปรับจำเลยทั้งสองได้
การที่โจทก์เพิ่งดำเนินการบังคับคดีชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยทั้งสองแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2536 โดยต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารนับแต่วันที่ 28 ตุลาคม2535 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2536 จึงเท่ากับเป็นการเสียดอกเบี้ยในระหว่างที่โจทก์ผิดนัดไม่ดำเนินการตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยส่วนนี้จากเงินที่ต้องชำระแก่จำเลยทั้งสอง
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอม จำเลยทั้งสองตกลงยอมให้ค่าปรับแก่โจทก์ต่อเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการปลอดภาระผูกพันในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นก่อนวันอันถึงกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เว้นแต่ภาระจำนองที่จำเลยทั้งสองจะต้องดำเนินการปลอดจำนองในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่จากคำแถลงของโจทก์ได้ความว่าเมื่อถึงวันนัดไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่คู่ความต่างเลื่อนไปในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียนนิติกรรม การทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่อาจจะกระทำได้ โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการปลอดภาระจำนองแต่ประการใด ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็ให้สิทธิแก่โจทก์บังคับคดีโดยถือเอาสัญญาประนี-ประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสองต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้อยู่แล้ว แสดงว่าแม้หากจำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียน โจทก์ก็สามารถใช้คำพิพากษาตามยอมแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์ได้โดยปลอดภาระจำนองตามกำหนดนัดในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และการบังคับคดีในลักษณะนี้ก็มิใช่เป็นการบังคับคดีที่จะต้องดำเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงหาจำต้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีอีกแต่ประการใดไม่ ดังนั้น เพียงการที่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะปรับจำเลยทั้งสองได้
การที่โจทก์เพิ่งดำเนินการบังคับคดีชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยทั้งสองแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2536 โดยต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารนับแต่วันที่ 28 ตุลาคม2535 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2536 จึงเท่ากับเป็นการเสียดอกเบี้ยในระหว่างที่โจทก์ผิดนัดไม่ดำเนินการตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยส่วนนี้จากเงินที่ต้องชำระแก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7305/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับคดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้จำเลยไม่ลงชื่อในเอกสาร หากโจทก์ดำเนินการตามสัญญาได้
ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมจำเลยทั้งสองตกลงยอมให้ค่าปรับแก่โจทก์ต่อเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการปลอดภาระผูกพันในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นก่อนวันอันถึงกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เว้นแต่ภาระจำนองที่จำเลยทั้งสองจะต้องดำเนินการปลอดจำนองในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แต่จากคำแถลงของโจทก์ได้ความว่าเมื่อถึงวันนัดไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่คู่ความต่างเลื่อนไปในวันที่28ตุลาคม2535จำเลยที่2ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียนนิติกรรมการทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่อาจจะกระทำได้โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการปลอดภาระจำนองแต่ประการใดทั้งการที่จำเลยที่2ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็ให้สิทธิแก่โจทก์บังคับคดีโดยถือเอาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสองต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้อยู่แล้วแสดงว่าแม้หากจำเลยที่2ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโจทก์ก็สามารถใช้คำพิพากษาตามยอมแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์ได้โดยปลอดภาระจำนองตามกำหนดนัดในวันที่28ตุลาคม2535และการบังคับคดีในลักษณะนี้ก็มิใช่เป็นการบังคับคดีที่จะต้องดำเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงหาจำต้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีอีกแต่ประการใดไม่ดังนั้นเพียงการที่จำเลยที่2ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่2ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะปรับจำเลยทั้งสองได้ การที่โจทก์เพิ่งดำเนินการบังคับคดีชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยทั้งสองแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์เมื่อวันที่10มิถุนายน2536โดยต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารนับแต่วันที่28ตุลาคม2535ถึงวันที่10มิถุนายน2536จึงเท่ากับเป็นการเสียดอกเบี้ยในระหว่างที่โจทก์ผิดนัดไม่ดำเนินการตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยส่วนนี้จากเงินที่ต้องชำระแก่จำเลยทั้งสอง