คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13572/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาในคดีขับไล่ แม้มีข้อจำกัดตามกฎหมาย แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ โจทก์มีสิทธิฎีกาได้ และการพิสูจน์การออกจากที่ดินพิพาท
คดีนี้ แม้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของผู้ถูกฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งคู่ความในคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษากลับ โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12874/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และชดใช้ค่าเสียหายจากที่ดินมือเปล่า: ศาลฎีกายกปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจศาลและสิทธิฎีกา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายจันทร์ มีทรัพย์สินมรดกเป็นที่ดินพิพาท บ. บิดาจำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทบางส่วนเพื่อทำนา ทำไร่ และขออาศัยที่ดินอีกประมาณ 4 ไร่ เพื่อปลูกบ้าน โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองเช่าและอาศัยอยู่ต่อไป ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองและบริวารรื้อถอนบ้านและออกไปจากที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า บ. เข้าจับจองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ ปี 2504 ต่อมา บ. ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสองร่วมกันครอบครองทำประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน ที่พิพาทเป็นที่รกร้างว่างเปล่าอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามคำฟ้องและคำให้การเป็นการโต้เถียงกันว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์ จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายปีละ 20,000 บาท จึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองและศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษามา จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และกรณีเช่นนี้จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาด้วย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสอง
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นจำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์ และที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ 15,000 บาท นั้น เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) ศาลฎีกาจึงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12058/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์จำกัดเฉพาะโทษที่ไม่รอการลงโทษ การวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชอบและจำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
เมื่อพิจารณาเนื้อหาอุทธรณ์ของโจทก์โดยตลอดแล้วแสดงว่าโจทก์มีเจตนาให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเท่านั้น มิใช่โจทก์มีเจตนาที่จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 354 ที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินกว่าสามปี การต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ เป็นการตัดสิทธิคู่ความจึงต้องพิจารณาด้วยความเคร่งครัดโดยถือเจตนาของโจทก์เป็นสำคัญ เมื่ออุทธรณ์โจทก์มีเจตนาให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 353 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หนักขึ้นโดยไม่รอการลงโทษจำคุก ซึ่งเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลชั้นต้นอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อสิทธิให้จำเลยฎีกาได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8698/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาเป็นสิทธิเฉพาะตัว การขยายระยะเวลาของโจทก์มิผูกพันโจทก์ร่วม เหตุผลความบกพร่องของทนายไม่เป็นเหตุสุดวิสัย
สิทธิในการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพื่อใช้สิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 นั้น เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละคน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกาจึงเป็นเรื่องเฉพาะของตัวโจทก์เท่านั้น ไม่มีผลถึงโจทก์ร่วมแต่อย่างใด
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาอ้างว่า คดีมีเอกสารมากมายและมีความซับซ้อน ทนายความโจทก์ร่วมต้องใช้ระยะเวลาเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนและพยานเอกสารต่าง ๆ จากโจทก์ร่วม และติดต่อพนักงานอัยการเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนให้ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ร่วม ถือเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ร่วมที่ไม่รวบรวมเอกสารเพื่อทำฎีกายื่นต่อศาลแต่เนิ่น ๆ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะอนุญาตให้โจทก์ร่วมขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9330-9333/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมและการโต้แย้งคำสั่งศาลที่ไม่ชอบตามขั้นตอน ก่อให้สิทธิอุทธรณ์และฎีกาเสีย
จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องโดยขอให้กำหนดประเด็นเพิ่มว่า จำเลยทั้งสามต่อเติมผนังคอนกรีตด้านหลังตึกแถวของจำเลยทั้งสามรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยสุจริตหรือไม่ด้วย หากศาลไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มให้แก่จำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจึงขอคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่า คำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชัดแจ้งว่าจะต่อสู้ไปในทางใด จึงไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ ถือเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสาม จำเลยทั้งสามต้องโต้แย้งคำสั่งชี้ขาดของศาลชั้นต้นนั้นไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้จำเลยทั้งสามจะถือเอาคำร้องของจำเลยทั้งสามดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลแล้วไม่ได้เพราะเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชี้ขาด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ ถึงแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในปัญหาเรื่องนี้ให้จำเลยทั้งสาม โดยเห็นพ้องกับศาลชั้นต้นที่ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ก็เป็นการไม่ชอบ เพราะต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวมิให้อุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยทั้งสามถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5455/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทลงโทษในชั้นอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์แก้เฉพาะจำนวนโทษ ไม่ถือเป็นการแก้ไขมากจนจำเลยมีสิทธิฎีกา
กรณีที่จะถือเป็นการแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่งนั้น จะต้องเป็นการแก้ไขทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 336 ทวิ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (2) (7) วรรค 2 โดยไม่ได้ปรับบทลงโทษประกอบมาตรา 336 ทวิ ด้วย แต่ลักษณะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคแรกและวรรคสอง ไม่แตกต่างกันและมีระวางโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีเหมือนกัน ต่างกันเฉพาะระวางโทษขั้นสูงซึ่งวรรคแรกระวางโทษขั้นสูงจำคุก 5 ปี ส่วนวรรคสองระวางโทษขั้นสูงจำคุก 7 ปี ส่วน ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แก้บทลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพียงแต่แก้จำนวนโทษ มิได้แก้บทลงโทษ จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามไม่ให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11519/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์ยืนตามคำสั่งไม่อนุญาตขยายระยะเวลายื่นฎีกา: ไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกา ไม่ใช่กรณีศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้
นับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังจนถึงวันครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาแก่โจทก์เป็นเวลานานถึง 2 เดือน คดีของโจทก์ก็ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน หากโจทก์ให้ความสำคัญต่อคดีของตนระยะเวลาดังกล่าวก็เพียงพอที่โจทก์จะจัดทำฎีกาและยื่นฎีกาได้ทันภายในกำหนดอีกทั้งในชั้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ ศาลชั้นต้นก็ได้กำชับในคำร้องแล้วว่า เป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาเพียงครั้งเดียวดังนั้น จึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่ควรเร่งจัดทำฎีกามายื่นต่อศาลให้ทันภายในกำหนดที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกาอีกนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11252/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาเป็นสิทธิเฉพาะตัว การใช้สิทธิของผู้อื่นย่อมไม่ชอบ
สิทธิในการยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาเป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละฝ่าย โจทก์ร่วมจะถือเอาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตขยายระยะเวลาฎีกาให้โจทก์ เป็นสิทธิของตนยื่นฎีกาของโจทก์ร่วมคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้ ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงเป็นฎีกาที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมมาจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาจำกัดเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบและพิพากษายืนตามอำนาจมาตรา 245 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ แต่ถือว่าคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แล้ว พิพากษายืนนั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ยกคดีขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ข้อจำกัดสิทธิฎีกาภายหลังแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ
จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกิดสมควรอันเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาและเกิดความไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฎิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 21)ฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2548 คดีนี้จำเลยทั้งสองยื่นฎีกาวันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 ภายหลังจากบทบัญญัติ มาตรา 309 ทวิ มีผลบังคับใช้แล้ว คำร้องของจำเลยทั้งสองจึงตกอยู่ภายใต้บังคับของวรรคสี่แห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวซึ่งบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในกรณีนี้เป็นที่สุด ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฎีกาได้อีก ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสองมาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 17