คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายหลายคน และการไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้มีการฟ้องคดีไปก่อนหน้านี้
ในคดีอาญาที่มีผู้เสียหายหลายคน ผู้เสียหายแต่ละคนย่อมมีสิทธิฟ้องผู้กระทำผิดได้ การที่ผู้เสียหายคนหนึ่งฟ้องผู้กระทำผิดก่อนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามผู้เสียหายคนอื่นฟ้องผู้กระทำผิดอีก ส่วน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ซึ่งได้บัญญัติห้ามโจทก์เมื่อได้ยื่นฟ้องต่อศาลแล้วและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณายื่นฟ้องจำเลยเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่นอีก ก็เป็นการห้ามเฉพาะโจทก์ในคดีเดิมเท่านั้นมิให้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกัน แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จะให้นำมาใช้บังคับในคดีอาญาได้แต่โจทก์ก็ไม่ได้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันกับที่ฟ้องคดีนี้มาก่อนการที่ ม. ภรรยาโจทก์เคยฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการฟ้องแทนโจทก์ด้วย ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีที่ ม. เคยฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องละเมิดต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ผู้ครอบครองโทรศัพท์ไม่มีสิทธิฟ้องหากไม่ใช่ผู้เช่า
ประเด็นแห่งคดีมีว่า จำเลยที่ 3 ได้ทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่ผู้เช่าโทรศัพท์และเป็นบุคคลภายนอก เป็นการพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ว่ามีต่อจำเลยทั้งสามอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะให้เห็นว่าการกระทำของ จำเลยที่ 3ซึ่งทำให้โจทก์ไม่ได้ใช้โทรศัพท์นั้น เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ทั้งเหตุที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นมาวินิจฉัยจำเลยทั้งสามได้ให้การและนำสืบมาแต่ต้นแล้ว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ผู้ที่มีสิทธิฟ้องคดีฐานละเมิดนั้น ต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หาใช่เพียงแต่เป็นผู้เสียหายโดยพฤตินัยเท่านั้นไม่และบางกรณีต้องเป็นผู้เสียหายตามสัญญาที่ได้ทำไว้ต่อกันเท่านั้นบุคคลภายนอกแม้จะได้รับความเสียหายก็ไม่มีสิทธิฟ้องคดีเพราะมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อผู้นั้น กรณีของโจทก์เห็นได้ชัดว่าเป็นแต่เพียงผู้ครอบครองและใช้โทรศัพท์โดยได้รับมอบหมายจากบริษัทด. เจ้าของอาคารที่โจทก์เช่าตั้งสำนักงานประกอบกิจการอยู่เท่านั้น แม้โจทก์จะได้ชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ให้จำเลยที่ 1 ตลอดมา ก็เป็นการชำระแทนผู้เช่าเดิมและใช้โดยอาศัยสิทธิของผู้เช่าเดิมคือบริษัทสายการบิน ท. ทั้งนี้เพราะสัญญาเช่าโทรศัพท์ระหว่างบริษัทดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 ยังมิได้เลิกกันและโจทก์ยังไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้เช่าโทรศัพท์แทนบริษัทดังกล่าว นอกจากนี้ตั้งแต่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้เช่าโทรศัพท์ จำเลยที่ 1 มีหนังสือติดต่อและแจ้งเก็บเงินค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์กับผู้เช่าตลอดมา หาได้มีเอกสารติดต่อกับโจทก์โดยตรงไม่แม้แต่ค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ที่จำเลยที่ 3 ตรวจพบว่ามีการค้าง ชำระประจำเดือนมีนาคม 2527จำเลยที่ 3 ก็มีหนังสือแจ้งเตือนให้นำเงินไปชำระยังบริษัทดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ยังคงถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นคู่สัญญาเช่าโทรศัพท์เครื่องพิพาทกับจำเลยที่ 1 ตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีนิติสัมพันธ์เกี่ยวกับการใช้หรือครอบครองโทรศัพท์กับจำเลยที่ 1แต่ประการใด การที่โจทก์อ้างว่าเป็นละเมิดต่อโจทก์เพราะไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนปลดฟิวส์ โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้อง จึงรับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องมีผลทำให้คำขอท้ายฟ้องเป็นอันยกเลิก และโจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงจึงจะมีสิทธิฟ้อง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4เพิกถอน น.ส.3 ก. ถ้าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามก็ขอให้เอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เมื่อต่อมาโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1ถึงที่ 4 ย่อมมีผลเป็นการไม่ติดใจให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตามคำขอท้ายฟ้องด้วย จึงถือเสมือนไม่มีคำขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. อยู่ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลจึงสั่งเกี่ยวกับการเพิกถอน น.ส.3 ก.ไม่ได้ เนื่องจากจะเป็นการสั่งเกินคำฟ้องซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142
น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทไม่ได้ทับที่ดินของโจทก์การที่จำเลยที่ 5 ได้ น.ส.3 ก. ดังกล่าวไปจากเจ้าพนักงานที่ดินแล้วได้โอนที่ดินตาม น.ส.3 ก. ให้แก่จำเลยที่ 6 ไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าได้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในทางอื่นอีก จำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5 และที่ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4034/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงไม่ดำเนินคดีอาญาที่มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์ ไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญายังไม่ระงับ
การที่โจทก์ร่วมตกลงว่าไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมภายในกำหนด 2 เดือน ถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายเพราะมิได้ตกลงว่าจะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยตลอดไป แต่จะไม่ดำเนินคดีต่อเมื่อจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมภายในกำหนด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับตามป.วิ.อ. มาตรา 39(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4034/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความที่มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์ ไม่ระงับสิทธิฟ้องอาญา
ภายหลังจากจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมได้ฟ้องขับไล่จำเลยต่อศาลชั้นต้นแล้วจำเลยยังตัดฟันต้นฝรั่งในที่ดินของโจทก์ร่วมอีก โจทก์ร่วมจึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนเรียกจำเลยมาที่สถานีตำรวจโจทก์ร่วมและจำเลยตกลงกันโดยโจทก์ร่วมไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย แต่ต้องการให้จำเลยย้ายออกไปจากที่ดินซึ่งจำเลยก็รับว่าจะออกจากที่ดินภายในกำหนด 2 เดือน และรับว่าจะไม่เรียกร้องค่ารื้อถอนจากโจทก์ร่วม การที่โจทก์ร่วมตกลงว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยก็โดยมีเงื่อนไขว่า จำเลยต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมภายในกำหนด2 เดือน แต่จำเลยยังไม่ออกจากที่ดินของโจทก์ กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายเพราะโจทก์ร่วมมิได้ตกลงว่าจะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยตลอดไป แต่จะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อเมื่อจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมภายในกำหนด 2 เดือนดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้ศาลชั้นต้นยกฟ้องบางส่วน เหตุผลสำคัญอยู่ที่การพิสูจน์ความประมาทของผู้ขับขี่
คดีที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสงขลา ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297,300,91 ศาลจังหวัดสงขลาไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับอันตรายสาหัส คงมีมูลความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจกับฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และ 300 ตามลำดับเท่านั้น ซึ่งเป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่รับไว้พิจารณาได้หากโจทก์ยังติดใจจะดำเนินคดีกับจำเลยก็ให้นำไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป จึงไม่รับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษายกฟ้อง ศาลจังหวัดสงขลามิได้ยกฟ้องของโจทก์ร่วมเพราะเหตุต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185กล่าวคือยังมิได้วินิจฉัยถึงการกระทำผิดของจำเลยตามข้อกล่าวหาของโจทก์ร่วม ดังนั้นในคดีดังกล่าวจึงยังไม่มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง โจทก์และโจทก์ร่วมในคดีนี้ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยได้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300,390 ยังไม่ระงับ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) จำเลยไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสและผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานขับรถซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลแล้วไม่หยุดรถช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78,160 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างก่อนมี พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์: สิทธิฟ้องคดีและการใช้บทกฎหมาย
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2533 ก่อนที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 จะมีผลใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่อันจะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างโจทก์รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากการเลิกจ้างดังกล่าว จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะมีการเลิกจ้าง จะนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ สิทธิต่าง ๆ ที่โจทก์ฟ้องเรียก ไม่มีกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นบัญญัติให้โจทก์ต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานโดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดอายุความฟ้องขอคืนภาษีอากร และไม่มีสิทธิฟ้องค่าภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศาล เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กองพิธีการและประเมินอากรของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มราคาสินค้า อันเป็นฐานของการคำนวณภาษีอากรสำหรับของที่นำเข้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นเหตุให้ต้องแก้จำนวนค่าอากรขาเข้าภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้น อันเป็นการโต้แย้งจำนวนค่าภาษีอากรที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีอากรไว้ดังกล่าวว่าไม่ถูกต้อง ถือได้ว่าเป็นการแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบว่าจะต้องชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามฐานราคาของที่สั่งให้โจทก์แก้นั้นเอง มิฉะนั้นก็จะไม่ตรวจปล่อยของออกไปจากอารักขาของจำเลย โจทก์ทราบถึงการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวแล้ว ยอมแก้ราคาของตลอดจนจำนวนค่าอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้น กับยอมชำระค่าภาษีอากรดังกล่าวให้แก่จำเลยเพื่อรับของที่นำเข้าไปจากอารักขาของจำเลยโดยได้บันทึกขอสงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้ด้านหลังใบขนสินค้าขาเข้าย่อมเป็นการชำระค่าภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่ไม่ใช่โจทก์สมัครใจชำระโดยไม่มีการโต้แย้งราคาของ ดังนั้นการที่โจทก์จะขอเรียกค่าภาษีอากรดังกล่าวคืนย่อมเป็นการโต้แย้งผลการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าว โจทก์จึงต้องอุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรให้วินิจฉัยเสียก่อนว่าโจทก์เสียภาษีไว้เกินกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมายหรือไม่เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว โจทก์จึงจะอุทธรณ์ต่อศาลหรือนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่มี สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินอากรของจำเลยสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาของให้สูงขึ้น โจทก์ยอมปฏิบัติตามและเสียอากรตามราคาของที่เพิ่มขึ้น แล้วมาฟ้องเรียกอากรในส่วนที่เสียเพิ่มขึ้นคืนโดยอ้างว่าราคาของที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์เพิ่มสูงขึ้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำนวนอากรที่โจทก์เสียเพิ่มขึ้นตามราคาของจึงไม่ถูกต้องจำเลยจึงต้องคืนให้แก่โจทก์นั้น เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง เพราะเหตุอันเกี่ยวกับการโต้แย้งราคาของตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า เมื่อปรากฏว่า ค่าอากรที่โจทก์เรียกคืนตามใบขนสินค้าขาเข้านั้น โจทก์นำเข้าเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 และวันที่ 24 กันยายน 2530แต่โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินค่าอากรคืนเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2532เป็นเวลาเกินสองปีนับแต่วันนำเข้า คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำหลังศาลตัดสินว่าที่ดินเป็นป่าสงวนฯ แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงสถานะที่ดิน ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องได้อีก
คดีก่อนศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกคืนจากจำเลยทั้งสองได้ จึงพิพากษายกฟ้องซึ่งเป็นการให้ยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ต่อมาทางราชการได้รับรองว่าที่พิพาทอยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้โจทก์ยึดถือครอบครองที่พิพาทได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความบังคับให้จำเลยที่ 1 ซื้อและชำระราคาที่ดินพิพาทแก่โจทก์ในราคาที่เป็นธรรมหากไม่ยอมซื้อก็ให้จำเลยทั้งสองรื้อสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่พิพาทได้อีก เพราะคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินต่อเนื่องกัน แม้คดีของเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งยกฟ้อง สิทธิฟ้องของเจ้าของที่ดินส่วนอื่นยังคงมีอยู่
จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินทั้งส่วนที่เป็นของโจทก์ และส่วนที่เป็นของ พ. ที่อยู่ติดต่อกันเป็นการกระทำความผิดคนละกรรมกันเพราะมิใช่เป็นการกระทำครั้งเดียวกัน แต่เป็นการกระทำต่อเนื่องกันแม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องคดีของ พ. คดีถึงที่สุดแล้วก็ตามสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องของโจทก์หาระงับไปไม่.
of 57