คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้องร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2550 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วมในคดีชำเราเด็ก และการประเมินเจตนาการกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์
ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนมีความผิดโดยไม่คำนึงถึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ แต่หากเด็กหญิงนั้นยินยอมก็มิได้หมายความว่า เด็กหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย เมื่อเด็กหญิงถูกกระทำชำเรา แม้เด็กหญิงจะยินยอมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2)
จำเลยโทรศัพท์นัดหมายให้ ส. พาเพื่อนไปขายบริการทางเพศแก่จำเลย ส. จึงชักชวนเด็กหญิงทั้งสามอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปกระทำการดังกล่าวแล้วจำเลยรับตัวเด็กหญิงทั้งสามไว้กระทำชำเราโดยเด็กหญิงทั้งสามยินยอมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 5 และที่ 3 โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร แต่การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการรับไว้หรือล่อไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยทุจริต เพราะจำเลยมิได้รับเด็กหญิงทั้งสามไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องจากจำเลยมีเจตนาประสงค์จะกระทำชำเราเด็กหญิงทั้งสามเท่านั้น ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 312 ตรี วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วมในคดีกระทำชำเราเด็ก และการพิจารณาความผิดฐานพรากผู้เยาว์
ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนนั้น มีความผิดโดยไม่คำนึงถึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แต่หากเด็กหญิงนั้นยินยอมก็มิได้หมายความว่า เด็กหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย เมื่อเด็กหญิง ด. เด็กหญิง ส. และเด็กหญิง อ. ถูกกระทำชำเรา แม้เด็กหญิงทั้งสามจะยินยอมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดข้อหานี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิง ด. เด็กหญิง ส. และเด็กหญิง อ. ตามลำดับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2)
จำเลยโทรศัพท์นัดหมายให้ ย. พาเพื่อนไปขายบริการทางเพศแก่จำเลย ย. จึงชักชวนเด็กหญิง ด. เด็กหญิง อ. และเด็กหญิง ส. ไปกระทำการดังกล่าว แล้วจำเลยรับตัวเด็กหญิงทั้งสามไว้กระทำชำเราโดยเด็กหญิงทั้งสามยินยอมที่โรงแรม ผ. เป็นการล่วงอำนาจปกครองของโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 5 และที่ 3 ตามลำดับ โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิง ด. อายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิง ด. โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร กระทำชำเราเด็กหญิง อ. อายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิง อ. โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร และกระทำชำเราเด็กหญิง อ. โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร และกระทำชำเราเด็กหญิง ส. อายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิง ส. โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการรับไว้หรือล่อไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยทุจริตเพราะจำเลยหาได้รับเด็กหญิงทั้งสามไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ เนื่องจากจำเลยมีเจตนาประสงค์จะกระทำชำเราเด็กหญิงทั้งสามเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 312 ตรี วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหายและทายาทในคดีอาญา และการพิจารณาโทษจำคุกโดยรอการลงโทษ
เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 157 ป.อ. มาตรา 291, 300, 390 แล้วโจทก์ร่วมทั้งสามยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโดยระบุคำร้องว่า บ. และ ป. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของดาบตำรวจ ร. โดย น. มารดา และ น. ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของดาบตำรวจ ร. จึงเป็นกรณีที่โจทก์ร่วมทั้งสามในฐานะผู้สืบสันดานและภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายซึ่งเป็นผู้เสียหายและเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ร่วมทั้งสามเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการเฉพาะข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัสและอันตรายแก่กาย จึงไม่ถูกต้อง และเมื่อโจทก์ร่วมทั้งสามสามารถเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท โจทก์ร่วมทั้งสามจึงมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงให้ไม่รอการลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และเมื่อคดีขึ้นมาที่ศาลฎีกาแล้วจึงเห็นสมควรสั่งให้ถูกต้องโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายเบิกความเท็จ: ราษฎรที่ได้รับความเสียหายโดยตรงมีสิทธิเป็นโจทก์ร่วมได้
ผู้เสียหายในความผิดฐานเบิกความอันเป็นเท็จ ตาม ป.อ. มาตรา 177 หาใช่จะมีแต่เฉพาะเจ้าพนักงานเท่านั้นไม่ ราษฎรที่ได้รับความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวก็เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีที่โจทก์ร่วมเป็นผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ ว. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และแต่งตั้งโจทก์ร่วมเป็นผู้พิทักษ์ โดยจำเลยเบิกความเป็นใจความว่า ว. มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สามารถโต้ตอบมีเหตุผลและสามารถตัดสินใจด้วยตนเอง จำบุคคลใกล้ชิดและเรื่องราวต่าง ๆ ช่วยเหลือตนเองได้ ไม่ได้ป่วยเป็นโรคร้ายแรง และไม่มีอาการฟั่นเฟือน อันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิหรือส่วนได้เสียของโจทก์ร่วมโดยตรง โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลย จึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานเบิกความอันเป็นเท็จในคดีนี้โดยตรง และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติประชุมใหญ่เจ้าของร่วม: สิทธิในการฟ้องร้องและการดำเนินการทางกฎหมายที่ถูกต้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้เข้าร่วมประชุมนิติบุคคลอาคารชุด ส. จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2559 และวันที่ 14 พฤษภาคม 2559 โดยเจ้าของร่วมจำนวนมากที่มอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมออกเสียงลงคะแนนแทนโดยใบมอบฉันทะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ผู้รับมอบฉันทะจึงไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงแทนได้ นอกจากนี้ลายมือชื่อเจ้าของร่วมที่เข้าร่วมประชุมทั้งสองครั้งตามบัญชีรายชื่อนั้นไม่ปรากฏรายละเอียดว่าเกี่ยวข้องกับการประชุมอย่างไรจึงไม่สามารถใช้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ การประชุมและการลงคะแนนตามมติที่ประชุมจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย รายงานการประชุมใหญ่เป็นเท็จ ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประชุมใหญ่ทั้งสองครั้ง และให้เพิกถอนรายงานการประชุมทั้งสองฉบับ ตามคำร้องดังกล่าวเท่ากับผู้ร้องกล่าวอ้างว่าการประชุมใหญ่สามัญดังกล่าวมีผู้มาประชุมซึ่งมีเสียงลงคะแนนรวมกันน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมดตามพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 43 แต่พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติถึงการดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมที่ฝ่าฝืนนั้นแต่อย่างใด จึงต้องวินิจฉัยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ซึ่งตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างว่า การลงมติของคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดมีเจ้าของร่วมร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ไม่มีลักษณะเป็นการประชุมกันจริง เช่นนี้ การประชุมดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการประชุมใหญ่สามัญของเจ้าของร่วมซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดในวันที่ 30 เมษายน 2559 และวันที่ 14 พฤษภาคม 2559 แต่ต้องถือว่าการประชุมใหญ่สามัญของนิติบุคคลอาคารชุดมิได้เกิดขึ้นจริงและไม่มีการประชุมกันจริง คงมีเพียงการลงมติซึ่งนำไปใช้อ้างต่อนายทะเบียนเพื่อใช้ในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนมติดังกล่าวจึงมิใช่การร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ที่ผิดระเบียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 ที่ต้องขอให้เพิกถอนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันลงมติ เมื่อวินิจฉัยว่า กรณีไม่ใช่เป็นการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมตามมาตรา 1195 การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้ แต่กรณีตามคำร้องของผู้ร้องไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำเช่นนั้นได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ประการใด ผู้ร้องชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้โดยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7
of 16