คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิในที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3315/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทพิสูจน์สิทธิในที่ดิน กรณีครอบครองปรปักษ์ ศาลคุ้มครองสิทธิผู้มีสิทธิเหนือกว่า
แม้ศาลมีคำสั่งว่าที่พิพาทซึ่งมีชื่อ ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์แต่ ก. มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วยจึงถือว่าเป็นบุคคลภายนอกที่มีสิทธิพิสูจน์ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยได้เมื่อ ก.ตาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ก. จึงมีสิทธิพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยได้เช่นเดียวกันจึงมีอำนาจฟ้อง ที่พิพาทมีชื่อ ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ก. ได้ให้ผู้มีชื่อปลูกบ้านอยู่อาศัยเมื่อ ก. ตาย จ. พี่สาวโจทก์ได้ยื่นขอรับมรดก เมื่อผู้มีชื่อย้ายออกไปโจทก์และพี่น้องได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ ส่วนจำเลยไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่พิพาทและ ก.ไม่เคยขายที่พิพาทให้แก่จำเลย แม้ศาลจะเคยมีคำสั่งว่า ที่พิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์ก็มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การครอบครองต้องสงบ เปิดเผย และต่อเนื่อง หากมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องสิทธิอาจถูกกระทบ
คำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินกล่าวว่า ผู้ร้องทั้งสองได้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 2645 ย่อมมีความหมายว่า ผู้ร้องทั้งสองได้ร่วมกันครอบครองที่ดินทั้งโฉนด ไม่จำต้องระบุเนื้อที่ดินความกว้างยาว อาณาเขต หรือแนบสำเนาโฉนดมา และที่กล่าวว่าได้ครอบครองเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว ก็มีความหมายว่าได้ครอบครองติดต่อกันมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอเกินกว่าสิบปี เป็นการเริ่มครอบครองเมื่อก่อนสิบปี เป็นคำร้องขอที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 แล้วไม่เคลือบคลุม ตามคำร้องขอกล่าวว่าผู้ร้องทั้งสองได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งรับรองกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสองอันเป็นการจะต้องใช้สิทธิทางศาล ผู้ร้องทั้งสองหาได้กล่าวว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้องทั้งสองอันจะต้องทำเป็นคำฟ้องบุคคลผู้โต้แย้งสิทธิไม่ผู้ร้องทำเป็นคำร้องขอชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 188 แล้ว ที่ดินพิพาทมีการจดทะเบียนเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตลอดมาเกือบทุกปีนับแต่ที่ฝ่ายผู้ร้องอ้างว่าได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทการอ้างว่าได้เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจึงถูกกระทบสิทธิมาตลอด ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาสิบปีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1382 การครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากผู้คัดค้านจดทะเบียนรับโอนมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอก็ยังไม่ครบสิบปี แม้จะฟังว่าฝ่ายผู้ร้องได้ครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทมาโดยตลอด ผู้ร้องทั้งสองก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องสงบและเปิดเผยต่อเนื่อง หากมีจดทะเบียนสิทธิในที่ดินตลอดมา การครอบครองไม่ครบ 10 ปี ย่อมไม่เกิดสิทธิ
ผู้ร้องทั้งสองได้กล่าวไว้ในคำร้องขอให้แสดงสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทว่า ผู้ร้องทั้งสองได้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 2645 ตำบลบางเพรียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จึงมีความหมายว่า ผู้ร้องทั้งสองได้ร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาททั้งโฉนด โดยไม่จำต้องระบุถึงเนื้อที่ดิน ความกว้างยาวหรืออาณาเขต หรือแนบสำเนาโฉนดมาในท้ายคำร้องขอ และที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวว่าได้ครอบครองเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว ก็มีความหมายว่าผู้ร้องทั้งสองได้ครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอเกินกว่าสิบปี เป็นการเริ่มครอบครองเมื่อก่อนสิบปีเป็นคำร้องขอที่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 แล้ว ไม่เคลือบคลุม ตามคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองได้กล่าวว่าผู้ร้องทั้งสองครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งรับรองกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสองอันเป็นการจะต้องใช้สิทธิทางศาล ผู้ร้องทั้งสองไม่ได้กล่าวว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้องทั้งสองอันจะต้องทำเป็นคำฟ้องบุคคลผู้โต้แย้งสิทธิการทำเป็นคำร้องขอจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 แล้ว ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของ ป. ต่อมามีการจดทะเบียนโอนขายกันหลายทอด จนเมื่อปี 2504 ด. ในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทได้จดทะเบียนจำนองที่ดินแปลงนี้แก่ ผ. ปี 2509 จึงได้ไถ่ถอนจำนอง แล้วจดทะเบียนขายฝากแก่ จ. ในปีเดียวกัน จนปี 2511 จึงจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากแล้วจดทะเบียนขายฝากให้แก่ ส. กับพวก อีกทีหนึ่งโดยมิได้ไถ่ถอนการขายฝาก ปี 2512 ส. กับพวกได้จดทะเบียนโอนขายคืนให้แก่ ด.ในปีเดียวกันด. ได้จดทะเบียนขายฝากแก่ ล.โดยไม่มีการไถ่ถอนการขายฝากปี 2514 ล. ได้จดทะเบียนขายให้แก่ช.ปี2519ช. ได้จดทะเบียนแบ่งขายบางส่วนของที่ดินพิพาทให้แก่กรมทางหลวงเพื่อทำเป็นถนนสาธารณะ ปี 2522 ช. ได้จดทะเบียนโอนขายส่วนที่เหลือให้แก่ ม. และปีเดียวกันนั้น ม. ได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้คัดค้านอีกต่อหนึ่ง การที่มีการจดทะเบียนเกี่ยวสิทธิในที่ดินตลอดมาเกือบทุกปีนับแต่ที่ฝ่าย ผู้ร้องอ้างว่าได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท การอ้างว่าได้เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจึงถูกกระทบสิทธิมาตลอด ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากผู้คัดค้านจดทะเบียนรับโอนมาจนถึงวันยื่นคำร้องก็ยังไม่ครบสิบปี แม้ฝ่ายผู้ร้องได้ครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทมาโดยตลอด ผู้ร้องทั้งสองก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องทั้งสองว่าผู้คัดค้านว่าโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ และผู้รับโอนคนก่อน ๆต่อจากผู้คัดค้านรับโอนมาโดยสุจริตหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิในที่ดินพิพาท
จำเลยที่ 1 ให้การไว้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินจาก จ. โดยไม่สุจริตศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 1 ใครมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน ถือว่าเป็นการกำหนดครอบคลุมถึงประเด็นที่ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ด้วย โจทก์ซื้อที่ดินมีโฉนดจาก จ. โดยจดทะเบียนถูกต้อง ก่อนซื้อจ. บอกว่าได้ให้จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาท และโจทก์ก็เห็นจำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมากว่า 10 ปี แต่โจทก์ไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่าอาศัย จ. อยู่ในที่พิพาทจริงหรือไม่ถือว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทมาจาก จ. โดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1ย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่พิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่งอกริมตลิ่ง: เจ้าของที่ดินโฉนดมีสิทธิในที่งอก และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองแทนเจ้าของ
ที่พิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินมีโฉนด โจทก์เป็นเพียงผู้ครอบครองที่พิพาทแทนเจ้าของที่ดิน ฉะนั้น เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของที่พิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1308 ด้วย และมีอำนาจฟ้องแย้งให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่พิพาทได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิที่ดินปฏิรูปที่ดินต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย การงดสืบพยานก่อนพิสูจน์สิทธิเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรหรือ ส.ป.ก.เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่า การโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นจะกระทำมิได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวต่อเมื่อที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กล่าวคือ เป็นที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือ ส.ป.ก.ได้มาตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แล้วนำที่ดินนั้นมาจัดให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518ดังนั้น สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องจะเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ต่อเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเช่นนั้น
เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทท้ายฟ้องเป็นโมฆะหรือไม่ 2. จำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้โจทก์หรือไม่ และ3. โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะขายที่ดินของจำเลยในเขตโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามสำเนาแผนที่เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ให้แก่โจทก์ตามสำเนาสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมายเลข 3 และจำเลยทั้งสองให้การว่าสัญญาจะซื้อขายเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 เป็นโมฆะ เพราะที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้เพื่อทำประโยชน์เฉพาะราย ไม่สามารถโอนการครอบครองหรือเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่นเข้าครอบครองทำประโยชน์นั้น พอฟังได้เพียงว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ยังไม่พอให้ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาและจัดให้จำเลยทั้งสองตามมาตรา 30แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 จนที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้อแรกที่ว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ และประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ๆ ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4598/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน การที่จำเลยอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นในคำให้การ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่โจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์และให้จำเลยเช่าบางส่วน ต่อมาโจทก์ได้บอกเลิกการเช่าแล้ว จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้รับการยกให้จากบิดาจำเลยและจำเลยได้เข้าครอบครองมาประมาณ 40 ปี ไม่เคยเช่าจากโจทก์ คำให้การดังกล่าวไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้ แม้ตามทางพิจารณาของโจทก์จะได้ความว่าเมื่อโจทก์ที่ 1 ไปทวงค่าเช่าจำเลยไม่ชำระ โจทก์ที่ 1 ไปร้องเรียนต่อปลัดอำเภอ ปลัดอำเภอเรียกจำเลยมาเจรจากับโจทก์ที่ 1 แล้ว จำเลยโต้เถียงว่าไม่ได้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 1 ไม่เคยชำระค่าเช่ามาก่อนศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครองได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การและไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ใส่ชื่อเจ้าของร่วมโดยไม่ต้องเพิกถอนชื่อเดิม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองและเพิกถอนชื่อจำเลย คดีฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองและจำเลยร่วมกันโดยทางมรดก การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทก็เป็นเรื่องของโจทก์ที่จะดำเนินการเพิ่มเติมชื่อของตนในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ร่วมกับจำเลย จะให้ศาลเพิ่มชื่อโจทก์โดยเพิกถอนชื่อจำเลยออกไม่ได้จึงพิพากษายกฟ้องมานั้น ย่อมทำให้คำพิพากษาของศาลไร้ผล การวินิจฉัยที่เป็นคุณแก่โจทก์ แต่ไม่พิพากษาให้เป็นไปตามนั้น ถือว่าคำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกันย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ฉะนั้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(2) ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยได้โดยไม่ต้องเพิกถอนชื่อจำเลยออก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้บุตรแล้วบุตรพูดถึงสิทธิในที่ดิน ไม่ถือเป็นการประพฤติเนรคุณ
จำเลยซึ่งเป็นบุตรโจทก์ได้พูดกับโจทก์ว่า "แม่จะไปอยู่ที่ไหนก็ตามใจแม่เถอะ เพราะที่นี่เป็นสิทธิขาดของผมแล้ว" เป็นเพียงคำพูดยืนยันว่าที่ดินที่โจทก์ยกให้นั้นเป็นของจำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน โจทก์พอใจจะอยู่หรือจะไปอยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่ใช่พูดขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดินของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการประพฤติเนรคุณโดยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531(2) เพียงแต่เป็นคำพูดที่บุตรไม่ควรพูดกับมารดาซึ่งมีพระคุณของตนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินรวมและการถือครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การฟ้องขอส่งมอบหนังสือรับรองฯ จะทำได้ต่อเมื่อสิทธิในที่ดินไม่ถูกโต้แย้ง
จำเลยเป็นผู้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินที่โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของรวม โดยชอบตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะมีสิทธิในที่ดิน เมื่อยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับการถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบหนังสือรับรองการทำ-ประโยชน์ให้แก่โจทก์ได้
of 46