คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สุจริต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,168 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432-6436/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสุจริต ขาดเจตนาในความผิด
ที่ดินที่ทางราชการกำหนดเป็นเขตหวงห้ามไว้ใช้ในราชการทหารตามประกาศมณฑลนครราชสีมานั้น แม้จะกำหนดแนวอาณาเขตไว้ทั้งสี่ทิศแต่ก็มีเนื้อที่มากถึงประมาณ 11,011 ไร่เศษ หลักไม้แก่นที่อ้างว่าปักไว้ในระหว่างหลักมุมหักทุกระยะนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดยังเห็นปักอยู่ในบริเวณที่ดินพิพาท การกำหนดบริเวณเขตปลอดภัยในราชการทหารก็ไม่ปรากฏว่ามีหลักแนวเขตปักไว้ ทั้งการนำที่ดินดังกล่าวบางส่วนไปจดทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุก็ระบุอาณาเขตคร่าว ๆ การที่จะทราบว่าที่ดินส่วนใดเป็นพื้นที่ของมณฑลทหารบกที่ 21 ต้องมาจากการตรวจสอบรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินทางราชการเองก็ไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือไม่ ดังนี้ แม้จะฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ในความครอบครองดูแลของมณฑลทหารบกที่ 21เมื่อจำเลยทั้งห้าเข้าครอบครองทำกินในที่พิพาทโดยสุจริตด้วยเข้าใจว่าตนเองมีสิทธิจำเลยทั้งห้าจึงขาดเจตนาในความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจทำให้การโอนกรรมสิทธิ์เป็นโมฆะไม่ได้ ผู้รับมอบอำนาจซื้อโดยสุจริต
จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ช่วยค้ำประกันหนี้กู้ยืมโดยจำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่มีข้อความกรอกไว้มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อและแจ้งว่าถ้ากรอกข้อความไปไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานที่ดินจะไม่ดำเนินการให้ โจทก์เชื่อใจจำเลยที่ 1 จึงลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวพร้อมกับมอบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและโฉนดที่ดินพิพาทให้ไป การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ยอมเสี่ยงภัยในการกระทำของตนเองอย่างร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 จะปลอมหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวโดยกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1มีอำนาจขายที่ดินและบ้านพิพาทได้ก็ตาม ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนซื้อขายเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 แล้วจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารจนกระทั่งจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ดังกล่าวโดยตรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองคบคิดกันฉ้อฉลโจทก์อย่างไรลำพังราคาทรัพย์ที่ระบุในสัญญาจดทะเบียนโอนขายเป็นราคาประเมินหาใช่ราคาที่แท้จริงตามที่จำเลยทั้งสองซื้อขายกันจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่ 1มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการโอนที่ดินและบ้านพิพาทเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์จากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน หากให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเหตุผลว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอนย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เป็นอย่างมาก และความเสียหายนี้ก็เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์โดยตรงดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาที่ดินและบ้านพิพาทคืนโดยฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิไล่เบี้ยและการรับช่วงสิทธิที่ขัดแย้งกับสุจริตของผู้รับประโยชน์
กรณีตาม ป.พ.พ.มาตรา 154 เป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นประธานกรรมการของลูกหนี้ได้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของลูกหนี้ไว้ ต่อมาภายหลังเจ้าหนี้ได้ทำหนังสือสละสิทธิไล่เบี้ย และสละสิทธิในการรับช่วงสิทธิบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่เหนือลูกหนี้ทุกอันดับให้ไว้แก่บริษัทลูกหนี้ เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาตรวจกิจการของลูกหนี้แล้วพบว่าเจ้าหนี้ได้เอาเงินของลูกหนี้ไปซื้อที่ดินมาเป็นของเจ้าหนี้เป็นส่วนตัวและเพื่อให้เจ้าหนี้จะได้บริหารงานของลูกหนี้ต่อไป แม้หากเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับลูกหนี้ทำหนังสือดังกล่าวขึ้นก็ตาม แต่เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยและเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นได้เชื่อว่าเจ้าหนี้ได้สละสิทธิดังกล่าวจริง เจ้าหนี้จึงต้องห้ามมิให้ยกข้อไม่สมบูรณ์นี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคแรก ดังนี้ เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5408/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย และการใช้สิทธิโดยสุจริตหลังครบกำหนดส่งมอบ
การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าปรับและค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าในสัญญาอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เวลาที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (ตรงกับมาตรา 193/30 ปัจจุบัน) หลังจากครบกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบสิ่งของตามสัญญาซื้อขายในวันที่ 17 ตุลาคม 2527 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ทยอยส่งมอบสิ่งของแก่โจทก์อีกแสดงว่าโจทก์พยายามให้โอกาสจำเลยที่ 1 ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแก่โจทก์โดยไม่บอกเลิกสัญญา จนครั้งสุดท้ายโจทก์แจ้งแก่จำเลยที่ 1 ว่า ให้โอกาสส่งมอบสิ่งของจนถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2528 ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำหนังสือขอผัดผ่อนต่อไปอีกจนถึงวันที่ 25 กันยายน 2528 ฉะนั้นการที่โจทก์บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ภายหลังครบกำหนดส่งมอบของตามสัญญาซื้อขายเป็นเวลานานนับปีนั้นจึงไม่มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก: สิทธิของผู้รับโอนโดยสุจริต
แม้การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกอยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดแทนทายาทได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงฐานะผู้จัดการมรดกเป็นฐานะส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 1 ยังคงไม่ได้สิทธิในส่วนมรดกของโจทก์ทั้งสองก็ตาม แต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยที่ 1 โอนขายทรัพย์มรดกพิพาทนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิมาโดยสุจริต กรณีย่อมต้องด้วยข้อยกเว้นตามป.พ.พ.มาตรา 1300 ซึ่งคุ้มครองเป็นพิเศษ สิทธิของจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนจึงดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก และสิทธิของผู้รับโอนที่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1300
แม้การที่จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกอยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดแทนทายาทได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงฐานะผู้จัดการมรดกเป็นฐานะส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียวจำเลยที่1ยังคงไม่ได้สิทธิในส่วนมรดกของโจทก์ทั้งสองก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่1โอนขายทรัพย์มรดกพิพาทนี้ให้แก่จำเลยที่2โดยมีค่าตอบแทนและจำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิมาโดยสุจริตกรณีย่อมต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300ซึ่งคุ้มครองเป็นพิเศษสิทธิของจำเลยที่2ผู้รับโอนจึงดีกว่าจำเลยที่1ผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4363/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการจำนองเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้อื่นในคดีล้มละลาย แม้สุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
ผู้คัดค้านยอมตกลงให้จำเลยที่ 2 กู้เงินโดยจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ของตนเองและหนี้เงินกู้ของ อ. ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาค้ำประกัน ซึ่งการจำนองเป็นสัญญาที่เอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ อันเป็นหนี้อุปกรณ์ของหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธาน จึงเป็นหนี้คนละส่วนแยกจากกันได้ และกรณีเป็นการจำนองเพื่อหนี้ในอนาคตตาม ป.พ.พ.มาตรา 707สัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับ อ.ได้เกิดขึ้นแล้วก่อนการจำนอง แม้ผู้คัดค้านยังไม่จ่ายเงินให้จำเลยที่ 2 หรือ อ.ตามสัญญากู้เงินจนกว่าจะได้จดทะเบียนจำนองก็ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะการจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 หรืออ.ก็เป็นผลมาจากตามสัญญากู้เงินที่มีต่อกัน โดยมีการจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันเท่านั้น ผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันอยู่ก่อนแล้วในขณะมีการจดทะเบียนจำนอง เมื่อจำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทมาจดทะเบียนจำนองไว้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115
การจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ มิใช่สัญญาต่างตอบแทน เพราะเป็นเพียงการเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันชำระหนี้ หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ ผู้คัดค้านจึงจะบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองภายหลัง ซึ่งเป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญากู้อันเป็นหนี้ประธาน และคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการจำนองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 แม้ผู้คัดค้านจะสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต และการแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ก็โดยอาศัยหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาทอันได้แก่ ส.ค.1 เป็นการใช้สิทธิตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 2 (7) และมาตรา 3ให้อำนาจไว้ และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นผู้เสียหายมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่พนักงานสอบสวนกระทำการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปตามอำนาจแห่งบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้อันเป็นเรื่องการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนเอง หากโจทก์จะต้องเสียหายจากการไปที่สถานีตำรวจหรือจะต้องเสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการวินิจฉัยของพนักงานสอบสวน สำหรับการที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีโจทก์เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตใจว่าหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาท ส.ค.1 เป็นหลักฐานการครอบครองซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ที่ให้ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิใช้สิทธิฟ้องร้องผู้โต้แย้งสิทธิทางศาลได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดต่อกฎหมาย หรือไม่ได้ใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย จึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องครอบครองที่ดินและการแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ถือเป็นการละเมิดหากกระทำโดยสุจริตและใช้สิทธิทางศาล
จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ก็โดยอาศัยหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาทอันได้แก่ ส.ค.1 เป็นการใช้สิทธิตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) และมาตรา 3 ให้อำนาจไว้ และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นผู้เสียหายมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่พนักงานสอบสวนกระทำการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปตามอำนาจแห่งบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้อันเป็นเรื่องการปฎิบัติงานของพนักงานสอบสวนเองหากโจทก์จะต้องเสียหายจากการไปที่สถานีตำรวจหรือจะต้องเสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงอันเนื่องจากการวินิจฉัยของพนักงานสอบสวน สำหรับการที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีโจทก์เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตใจว่าหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาท ส.ค.1 เป็นหลักฐานการครอบครองซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 55 ที่ให้ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิใช้สิทธิฟ้องร้องผู้โต้แย้งสิทธิทางศาลได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดต่อกฎหมาย หรือไม่ได้ใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายจึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายโดยไม่สุจริตและการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ
ในการซื้อขายที่พิพาทกันซึ่งมีชื่อ บ.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองคงมีแต่โจทก์ ต. บ. และ ป.เท่านั้นที่ได้เจรจาต่อรองกัน ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามได้รู้เห็นยินยอมหรือร่วมเจรจาอยู่ด้วย แต่ ต.กลับเป็นผู้รับรองต่อโจทก์ว่าบุตรทุกคนยินยอมให้ขายที่พิพาทได้ และรับว่าหากโจทก์ต้องการใช้ประโยชน์ในที่พิพาทเมื่อใดก็จะจัดการให้รื้อบ้านออกไป และก่อนซื้อโจทก์ได้ไปดูที่พิพาทและเห็นจำเลยปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ในที่พิพาทในลักษณะมั่นคงถาวรอยู่ก่อนแล้วแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ซักถามจำเลยหรือแม้แต่ บ.และ ต.ให้ได้ความชัดเจนว่าจำเลยปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่พิพาทได้ด้วยเหตุใด การที่โจทก์ซื้อที่พิพาทไว้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า จำเลยปลูกบ้านอยู่อาศัยอันเป็นการใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่ถือไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริต เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยในพฤติการณ์เช่นนี้เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 117