พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเสียงเลือกกรรมการและมอบอำนาจจดทะเบียน ไม่ถือเป็นส่วนได้เสียเป็นพิเศษ
การที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดออกเสียงลงคะแนนเลือกตนเองเป็นกรรมการบริษัทนั้น แม้จะเห็นว่ามีส่วนได้เสียในข้อตั้งกรรมการซึ่งที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจะลงมติก็เป็นส่วนได้เสียตามธรรมดาหาใช่ส่วนได้เสียเป็นพิเศษตามความหมายแห่งมาตรา 1185 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ เพราะการตั้งกรรมการบริษัทเป็นวิธีการจัดการบริษัทจำกัดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1144,1151 มิใช่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะผู้ถือหุ้นนั้นย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตนเองได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าการออกเสียงลงคะแนนเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแล้ว มติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ที่ให้ผู้ถือหุ้นนั้นเป็นกรรมการบริษัทฯ จึงชอบด้วยกฎหมาย
และการที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทออกเสียงลงคะแนนมอบอำนาจให้ตนเองเป็นผู้ไปจดทะเบียนเพิ่มกรรมการตามมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็เป็นเรื่องปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1157 หาใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของผู้ถือหุ้นนั้นไม่มติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มอบให้ผู้ถือหุ้นที่ออกเสียงให้แก่ตนเองไปจดทะเบียนเพิ่มกรรมการของบริษัทฯ จึงชอบด้วยกฎหมายด้วย
และการที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทออกเสียงลงคะแนนมอบอำนาจให้ตนเองเป็นผู้ไปจดทะเบียนเพิ่มกรรมการตามมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็เป็นเรื่องปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1157 หาใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของผู้ถือหุ้นนั้นไม่มติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มอบให้ผู้ถือหุ้นที่ออกเสียงให้แก่ตนเองไปจดทะเบียนเพิ่มกรรมการของบริษัทฯ จึงชอบด้วยกฎหมายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491-2493/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การเข้าเป็นคู่ความแทน, การรังวัดที่ดินผิดพลาด, และผลกระทบต่อทายาทผู้มีส่วนได้เสีย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกันรังวัดสอบเขตผิดไปจากแนวเขตที่ดินและทางเกวียนเดิมรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่โจทก์ที่ 1, 2 ซื้อจากโจทก์ที่ 3 และการรังวัดนั้นได้กระทำมาก่อนตั้งแต่ที่ดินยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 3 ตามคำฟ้องและคำเบิกความพยานโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้องพอที่จะเห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวทำให้โจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหายและอาจถูกโจทก์ที่ 1, 2 ฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิ์ไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิพากษาให้โจทก์ที่ 1, 2 แพ้คดี ประกอบกับรูปคดีกรณีโจทก์ที่ 3 นี้ ถึงแม้จะไม่เป็นโจทก์ร่วมฟ้องด้วย โจทก์ที่ 1, 2 ก็ยังขอให้ศาลหมายเรียกเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมได้ โจทก์ที่ 3 จึงมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีแล้ว ควรรับฟ้องของโจทก์ที่ 3 ไว้พิจารณาต่อไป ฉะนั้น การที่ก่อนพ้นเวลา 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์ที่ 3 ถึงแก่กรรม ศาลชั้นต้นกลับสั่งว่าโจทก์ที่ 3 ไม่มีส่วนได้เสียในคดี จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 และให้นัดสืบพยานโจทก์ไป ดังนี้ เป็นการตัดสิทธิ์บุคคลที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 สมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ทั้งคดีส่วนแพ่งและอาญา แต่เนื่องจากโจทก์ที่ 3 ได้ถึงแก่กรรมจนถึงวันที่ศาลฎีกาพิพากษาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จึงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้น ในการที่จะกำหนดเวลาปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ว่าด้วยการเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 ผู้มรณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491-2493/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีส่วนได้เสียในการฟ้องคดี, การเข้าเป็นคู่ความแทนผู้ถึงแก่กรรม, และการพิจารณาคดีใหม่
ก่อนโจทก์ที่ 1 ที่ 2 จดทะเบียนซื้อที่ดินมีโฉนดจากโจทก์ที่ 3 จำเลยทำการรังวัดสอบเขตที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินดังกล่าว ดังนี้ ทำให้โจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหายและอาจถูกโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนได้ โจทก์ที่ 3 มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีแล้วโจทก์ที่ 3 จึงเข้าเป็นโจทก์ในคดีที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องจำเลยด้วยได้
ก่อนวันนัดสืบพยาน โจทก์ที่ 3 ตาย ศาลชั้นต้นสั่งงดการดำเนินคดี เพื่อรอผู้เข้ารับมรดกความแทนโจทก์ที่ 3 ก่อนพ้นเวลา 1 ปี ตามกฎหมายกำหนด ศาลชั้นต้นกลับสั่งว่าโจทก์ที่ 3 ไม่มีส่วนได้เสียในคดี ให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 และได้นัดสืบพยานโจทก์ไป เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อโจทก์ที่ 3 มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นการตัดสิทธิทายาทของโจทก์ที่ 3 หรือผู้จัดการทรัพย์มรดก แต่เมื่อนับแต่โจทก์ที่ 3 ได้ถึงแก่กรรมไปจนถึงวันที่ศาลฎีกาพิพากษาเกินกว่า 1 ปีแล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของศาลชั้นต้นในการที่กำหนดเวลาปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ว่าด้วยการเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 ผู้มรณะ
ก่อนวันนัดสืบพยาน โจทก์ที่ 3 ตาย ศาลชั้นต้นสั่งงดการดำเนินคดี เพื่อรอผู้เข้ารับมรดกความแทนโจทก์ที่ 3 ก่อนพ้นเวลา 1 ปี ตามกฎหมายกำหนด ศาลชั้นต้นกลับสั่งว่าโจทก์ที่ 3 ไม่มีส่วนได้เสียในคดี ให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 และได้นัดสืบพยานโจทก์ไป เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อโจทก์ที่ 3 มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นการตัดสิทธิทายาทของโจทก์ที่ 3 หรือผู้จัดการทรัพย์มรดก แต่เมื่อนับแต่โจทก์ที่ 3 ได้ถึงแก่กรรมไปจนถึงวันที่ศาลฎีกาพิพากษาเกินกว่า 1 ปีแล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของศาลชั้นต้นในการที่กำหนดเวลาปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ว่าด้วยการเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 ผู้มรณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกสงวนไว้สำหรับทายาทและผู้มีส่วนได้เสีย พินัยกรรมฉบับหลังมีผลเหนือกว่า
ผู้ร้องมิใช่ทายาทของ ส. แม้ ส.จะทำพินัยกรรมยกที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้อง แต่ต่อมา ส.ก็ทำพินัยกรรมหลักยกทรัพย์ดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น พินัยกรรม ฉบับก่อนจึงเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1697 ผู้ร้องจึงหมดสิทธิรับมรดกของ ส.และไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ของ ส. ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้ไม่มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องมิได้ แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความ
ผู้ร้องมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย และมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก เพียงแต่ทายาททั้งหลายพร้อมใจกันทำสัญญประนีประนอมยอมความกำหนดให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ดังนี้ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียอันจะพึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 และจะถือว่าทายาทโดยธรรมทั้งหมดเป็นผู้ยื่นคำร้องขอต่อศาลเอง ให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ได้ เพราะตามเนื้อความแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมิได้มอบอำนาจให้ผู้ร้องร้องขอแทนทายาท เมื่อผู้ร้องไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะร้องขอเช่นนี้ จึงใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้มิได้มีส่วนได้เสียย่อมไม่มีสิทธิ
ผู้ร้องมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย และมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกเพียงแต่ทายาททั้งหลายพร้อมใจกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียอันจะพึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1713และจะถือว่าทายาทโดยธรรมทั้งหมดเป็นผู้ยื่นคำร้องขอต่อศาลเอง ให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ไม่ได้ เพราะตามเนื้อความแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมิได้มอบอำนาจให้ผู้ร้องร้องขอแทนทายาท เมื่อผู้ร้องไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะร้องขอเช่นนี้ จึงใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก แม้มีพินัยกรรม และผลของการประนีประนอมยอมความต่อการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก หาใช่เป็นบทบังคับให้ศาลจำต้องตั้งผู้จัดการมรดกตามที่ระบุในพินัยกรรมไม่ แม้ผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายโดยอ้างว่ามีพินัยกรรมระบุไว้ก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องคัดค้าน และขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าผู้ใดในระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้าน และขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อศาลได้ดำเนินการพิจารณาอย่างคดีมีข้อพิพาท เป็นการเปิดโอกาสให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านก่อนได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังได้มีการสืบพยานไปบ้าง แต่ยังไม่หมดปาก และแต่ละฝ่ายต่างอ้างสำนวนคดีอื่นที่คู่ความในคดีนั้นได้ประนีประนอมยอมความกันในเรื่องทรัพย์มรดกผู้ตาย พร้อมพยานหลักฐานในสำนวนนั้นเป็นพยาน เมื่อได้มีการเปิดโอกาสให้คู่ความคัดค้านก่อนได้แล้ว การที่ศาลพิพากษาตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้าน และขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อศาลได้ดำเนินการพิจารณาอย่างคดีมีข้อพิพาท เป็นการเปิดโอกาสให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านก่อนได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังได้มีการสืบพยานไปบ้าง แต่ยังไม่หมดปาก และแต่ละฝ่ายต่างอ้างสำนวนคดีอื่นที่คู่ความในคดีนั้นได้ประนีประนอมยอมความกันในเรื่องทรัพย์มรดกผู้ตาย พร้อมพยานหลักฐานในสำนวนนั้นเป็นพยาน เมื่อได้มีการเปิดโอกาสให้คู่ความคัดค้านก่อนได้แล้ว การที่ศาลพิพากษาตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับเงินค่าไถ่โดยมีส่วนได้เสียกับคนร้าย ไม่ถือเป็นความช่วยเหลือโดยสุจริต
รับเงินจากผู้เสียหายไปให้คนร้ายเป็นค่าไถ่โดยมีส่วนได้เสียร่วมกับคนร้าย ไม่ใช่ช่วยเหลือผู้เสียหายโดยสุจริต เป็นความผิดตามมาตรา 315
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ทายาท, ผู้รับพินัยกรรม, และผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก
จ.เป็นสามี ล. มีบุตรด้วยกัน 6 คน รวมทั้งผู้ร้องทั้งสามด้วย เมื่อ ล.ตายแล้ว จ.จดทะเบียนสมรสกับ ฉ.ไม่มีบุตรด้วยกัน แต่ ฉ.ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นน้องร่วมบิดาของ ฉ. ต่อมา ฉ. ตายไปโดยมิได้ทำพินัยกรรม และบิดามารดาของ ฉ.ก็ตายไปก่อนแล้ว ศาลตั้งให้ จ.เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. แต่จัดการมรดกยังไม่ทันเสร็จ จ.ก็ตายไป ก่อนตาย จ.ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องทั้งสามกับพี่น้อง แม้ผู้ร้องทั้งสามไม่ใช่ทายาทของ ฉ. ผู้ร้องทั้งสามก็มีส่วนได้รับทรัพย์ที่ จ.จะได้รับแบ่งจากกองมรดกของ ฉ.ในฐานะคู่สมรส ทรัพย์สินต่าง ๆ ในกองมรดกของ ฉ.ยังมิได้แบ่งแยก คงบริคณห์ปนกันอยู่กับทรัพย์สินส่วนของ จ. เมื่อผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทและผู้รับพินัยกรรมของ จ. ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของ ฉ. จึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นทายาทอันดับ 1 มีสิทธิได้รับมรดกของ ฉ. ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นทายาทลำดับ 4 ของ ฉ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดก แม้จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหลายโฉนดร่วมกัน ฉ. ก็ไม่ใช่ส่วนได้เสียโดยตรงในกองมรดก เมื่อมีผู้อื่นที่สมควรกว่าเป็นผู้จัดการมรดกได้ ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ก็ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่างขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. และมีคดีพิพาทกันอยู่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ฉ. ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกฝ่ายเดียวอาจทำความเสียหายแก่กองมรดกและอีกฝ่ายหนึ่งได้ ศาลย่อมตั้งให้ผู้ร้องทั้งสามกับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. ร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าร่วมเป็นจำเลยร่วมหลังสืบพยานเสร็จสิ้น: ศาลไม่อนุญาตหากไม่เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินคดีและไม่มีส่วนได้เสียเพิ่มเติม
เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ระหว่างนัดสืบพยานจำเลย บิดาจำเลยยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ดังนี้ ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องสอดที่จะเข้ามาในดคี เพราะไม่อาจใช้สิทธิใด ๆ ในการดำเนินคดีนอกจากสิทธิที่จำเลยมีอยู่เมื่อตนร้องสอด ทั้งจำเลยก็มิได้ร้องขอให้ศาลเรียกผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีตั้งแต่แรก เพื่อผลแห่งคดีที่จะต้องรับผิดร่วมกัน จึงไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาในคดี