พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับชำระหนี้ล่าช้าทำให้สิทธิเรียกร้องหนี้ทั้งหมดทันทีสิ้นสุดลง ต้องมีการบอกกล่าวเตือนก่อน
โจทก์ยอมรับเงินค่างวดที่จำเลยผิดนัดชำระให้แก่โจทก์เรื่อยมาโดยไม่ได้อิดเอื้อนหรือโต้แย้งสงวนสิทธิของโจทก์ที่จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยในกรณีดังกล่าวไว้เลย พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยแสดงออกต่อกันเช่นนี้ต่างมิได้ถือเอากำหนดวันปฏิทินให้จำเลยชำระเงินแต่ละงวดตามสัญญากู้เงินเป็นสาระสำคัญต่อไป และถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระเงินแต่ละงวดล่าช้าไปกว่าวันที่กำหนดไว้ตามสัญญากู้เงินเป็นการผิดนัดกันอีกแล้ว ดังนั้นเมื่อถึงงวดชำระ จำเลยไม่ชำระเงินให้โจทก์ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยผิดนัด อันจะก่อให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดคืนได้ทันทีตามสัญญากู้เงิน เว้นแต่โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินงวดที่ค้างในกำหนดเวลาพอสมควรก่อน หากจำเลยไม่ชำระจึงจะถือได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดเพราะโจทก์ได้เตือนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 และ 204 วรรคหนึ่ง
โจทก์เรียกให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดคืนให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุกล่าวหาว่าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดเท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์พึงมีตามสัญญากู้เงินข้อ 7 แม้จำเลยไม่ผิดนัดก็ตาม แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดชำระเงินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ผิดนัดแล้ว ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงสิทธิอื่นใดของโจทก์อีก เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในคดี ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์ตามสัญญากู้เงิน โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการชอบแล้ว
โจทก์เรียกให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดคืนให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุกล่าวหาว่าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดเท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์พึงมีตามสัญญากู้เงินข้อ 7 แม้จำเลยไม่ผิดนัดก็ตาม แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดชำระเงินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ผิดนัดแล้ว ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงสิทธิอื่นใดของโจทก์อีก เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในคดี ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์ตามสัญญากู้เงิน โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนวนเงินในเช็คเกินหนี้ ศาลยกฟ้อง พ.ร.บ.เช็ค
จำนวนเงินที่ระบุในเช็คพิพาทเกินไปจากหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้เสียหาย แม้ธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ปัญหานี้แม้จำเลยไม่หยิบยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเกินจำนวนหนี้จริง แม้ธนาคารปฏิเสธจ่าย การกระทำไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำนวนเงินที่ระบุในเช็คพิพาทเกินไปจากหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้เสียหายแม้ธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การปฏิเสธที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัด
คำฟ้องของโจทก์บรรยายรายละเอียดไว้ชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์หลายครั้ง รวม 60 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น 673,301 บาท จำเลยทั้งสองให้การว่า "คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับใบสั่งซื้อตั้งแต่รายการที่ 1 ถึงรายการที่ 60 ไม่ปรากฏคำสั่งซื้อของจำเลยทั้งสองและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ลงนามรับสินค้าจากโจทก์ โจทก์จะได้ขายสินค้าตามฟ้องให้แก่จำเลยทั้งหมดหรือรายการใดรายการหนึ่งหรือไม่ ไม่ขอรับรอง" คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าเลยทั้งสองยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ส่วนคำให้การของจำเลยทั้งสองว่า "โจทก์จะได้ขายสินค้าตามฟ้องให้แก่จำเลยทั้งหมดหรือรายการใดรายการหนึ่งหรือไม่ ไม่ขอรับรอง" แปลได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 อาจซื้อสินค้าไปจากโจทก์จริงดังฟ้องก็ได้ ส่วนคำให้การที่มีมาก่อนหน้านั้นที่ว่า "ไม่ปรากฏคำสั่งซื้อขายของจำเลยทั้งสอง และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ลงนามรับสินค้าจากโจทก์" เป็นฟ้องขยายความให้การที่ว่าไม่ขอรับรองเท่านั้น ไม่ได้เป็นการยืนยันปฏิเสธ คำให้การของจำเลยทั้งสองจึงเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ไปรวม 60 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น 673,301 บาท
หนี้แต่ละรายการถึงกำหนดชำระไม่พร้อมกัน ในทางพิจารณาโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าหนี้ตามใบส่งของ / ใบเสร็จรับเงินแต่ละรายการนั้น คำนวณเป็นดอกเบี้ยผิดนัดจนถึงวันฟ้องได้รายละเท่าใด และไม่ใช่หน้าที่ของศาลจะคำนวณให้ ที่ศาลชั้นต้นคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดของหนี้แต่ละรายให้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงชอบแล้ว
หนี้แต่ละรายการถึงกำหนดชำระไม่พร้อมกัน ในทางพิจารณาโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าหนี้ตามใบส่งของ / ใบเสร็จรับเงินแต่ละรายการนั้น คำนวณเป็นดอกเบี้ยผิดนัดจนถึงวันฟ้องได้รายละเท่าใด และไม่ใช่หน้าที่ของศาลจะคำนวณให้ ที่ศาลชั้นต้นคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดของหนี้แต่ละรายให้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้ทั้งปัจจุบันและอนาคต & อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกัน เอกสารหมาย จ.16 และ จ.17 จำเลยที่ 2 ทำขึ้นเพื่อเป็นประกันหนี้กู้ยืมที่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ไปเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2529 ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า เพื่อเป็นประกันหนี้เงินเบิกเกินบัญชีหนี้เงินกู้แล้ว ยังจำนองเป็นประกันหนี้สินอื่นใดบรรดาที่ผู้จำนองและหรือจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่แล้วในขณะทำสัญญานี้และหรือที่จะเกิดขึ้นต่อไปในภายหน้าและตามบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันระบุว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการดังนั้น สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวนอกจากจะประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ขณะทำสัญญาจำนองแล้ว ยังประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าหรือหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย การที่จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพิ่มเติมอีก ถือเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นในภายหน้า สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกัน จึงมีผลผูกพันเป็นประกันหนี้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในทันทีโดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองหรือขึ้นเงินจำนองอีก
ตามสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ18.5 ต่อปี การคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเข้าลักษณะดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามป.พ.พ.มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในครั้งแรกโจทก์จะคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยไม่ถึงร้อยละ 18.5 ต่อปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไป โดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้ กรณีหาใช่เรื่องลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องอันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ไม่
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2543)
ตามสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ18.5 ต่อปี การคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเข้าลักษณะดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามป.พ.พ.มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในครั้งแรกโจทก์จะคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยไม่ถึงร้อยละ 18.5 ต่อปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไป โดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้ กรณีหาใช่เรื่องลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องอันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ไม่
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2543)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินบำเหน็จชดใช้หนี้: ต้องเป็นหนี้ที่ชัดเจน ไม่เป็นข้อพิพาท
แม้ข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ.2527 จะกำหนดว่า ถ้าพนักงานมีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้แก่โรงงานน้ำตาล ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้หักเงินบำเหน็จที่จะต้องจ่ายชดใช้หนี้นั้นเสียก่อนก็ตาม แต่หนี้ที่จะนำมาหักเงินบำเหน็จนั้นต้องเป็นหนี้ที่พนักงานมิได้โต้แย้งหรือเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ และจำนวนหนี้ต้องกำหนดได้แน่นอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 344
โจทก์นำสืบปฏิเสธว่ามิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ทั้งคดีที่จำเลยฟ้องให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย ศาลยังมิได้มีคำพิพากษา จึงยังไม่แน่นอนว่าโจทก์มีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้จำเลยหรือไม่ และจำนวนเท่าใด จำเลยไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จที่โจทก์มีสิทธิได้รับเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหายตามข้ออ้างของจำเลย
โจทก์นำสืบปฏิเสธว่ามิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ทั้งคดีที่จำเลยฟ้องให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย ศาลยังมิได้มีคำพิพากษา จึงยังไม่แน่นอนว่าโจทก์มีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้จำเลยหรือไม่ และจำนวนเท่าใด จำเลยไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จที่โจทก์มีสิทธิได้รับเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหายตามข้ออ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของทายาทต่อหนี้ของผู้ตาย: ทายาทรับผิดเฉพาะในทรัพย์มรดก
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด.ยอมรับสภาพหนี้ของ ด.ต่อโจทก์ มีผลผูกพันกองมรดกของ ด.เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด.ก่อขึ้นเอง หาก ด.ยังคงมีชีวิตอยู่ด.อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด.จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด.โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.ให้ล้มละลายไม่ได้ แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด.ก่อขึ้นเอง หาก ด.ยังคงมีชีวิตอยู่ด.อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด.จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด.โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.ให้ล้มละลายไม่ได้ แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ต้องแสดงการส่งมอบเงินจริง แม้มีการหักทอนบัญชีก็ไม่เพียงพอ
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความที่ระบุไว้ว่าไม่ได้มีการส่งมอบเงินกันในวันทำสัญญากู้ แต่กลับมีรายการแสดงการเป็นเจ้าหนี้ของเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี อันมีที่มาจากบัญชีเดินสะพัดกระแสรายวัน บัญชีดังกล่าวจึงใช้เป็นหลักฐานว่าโจทก์ได้ชำระเงินที่ น. กู้เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์แล้ว เป็นเอกสารสำคัญที่โจทก์ต้องนำมาสืบ แม้โจทก์จะมีผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความประกอบการหักทอนบัญชีเพื่อให้เห็นว่ามีหนี้ค้างชำระกันจำนวนเท่าใด ก็ยังไม่อาจรับฟังได้ว่า น. เป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการหักบัญชีหนี้จากการจำหน่ายหนังสือ กรณีพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย
คำให้การของจำเลยว่า หนี้ขาดอายุความเพราะฟ้องเกิน 2 ปีนับจากวันหักทอนบัญชีตามที่ตกลงกันไว้ โดยไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าหนังสือแต่ละเล่มหักทอนบัญชีกันเมื่อไร และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อใดจึงไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้เดิม-สัญญาใหม่: เจตนาที่แท้จริงผูกพันจำเลยที่ 3-4 แม้ระบุสัญญาจ้างผิด
หนังสือรับสภาพหนี้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ขอนำหลักทรัพย์ที่ดิน น.ส.3 ของจำเลยที่ 3 มาประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 ยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้ ต่อมาจำเลยที่ 3 และที่ 4 จดทะเบียนจำนองที่ดินให้แก่โจทก์ในวงเงินจำนวนสูงมาก โดยมิได้โต้แย้งแสดงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 ทำเงินขาดบัญชีและมีเจตนาจำนองที่ดินเป็นประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโจทก์ เมื่อพิจารณาสัญญาจำนองที่ระบุว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยอมรับผิดในหนี้สินใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในเวลานี้หรือในเวลาหนึ่งเวลาใดต่อไปในภายหน้าไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทุกประการ และหนังสือรับสภาพหนี้ได้ทำขึ้นก่อนที่จะทำสัญญาจำนองดังกล่าว ดังนี้ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตกลงจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้จำนองจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์
แม้สัญญาจำนองจะระบุความรับผิดของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ฉบับที่สิ้นสุดไปแล้ว และได้มีการทำสัญญาจ้างกันใหม่ ทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ให้การยอมรับว่าจำเลยทั้งสองจำนอง ที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้จำเลยที่ 1 ในขณะที่ทำสัญญาจำนอง จึงเป็นกรณีที่ระบุสัญญาจ้างผิดฉบับคลาดเคลื่อนไป โดยผิดหลง โดยมีเจตนาที่แท้จริงจะผูกพันกันตามสัญญาจ้างฉบับใหม่ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมไม่อาจยกข้อผิดหลง ดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนตามสัญญาจำนองที่มีต่อโจทก์ได้
แม้สัญญาจำนองจะระบุความรับผิดของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ฉบับที่สิ้นสุดไปแล้ว และได้มีการทำสัญญาจ้างกันใหม่ ทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ให้การยอมรับว่าจำเลยทั้งสองจำนอง ที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้จำเลยที่ 1 ในขณะที่ทำสัญญาจำนอง จึงเป็นกรณีที่ระบุสัญญาจ้างผิดฉบับคลาดเคลื่อนไป โดยผิดหลง โดยมีเจตนาที่แท้จริงจะผูกพันกันตามสัญญาจ้างฉบับใหม่ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมไม่อาจยกข้อผิดหลง ดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนตามสัญญาจำนองที่มีต่อโจทก์ได้