พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดชอบหนี้สินของผู้ตาย: สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องทายาท แม้ยังมิได้มีการแบ่งมรดก
ป. กู้เงินไปจากโจทก์ เมื่อ ป. ตาย โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ป. ให้ชำระหนี้เงินกู้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1737 โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยได้รับมรดกของ ป. หรือไม่เพราะเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีตาม มาตรา1601,1738 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อแลกเงินสดไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค พ.ศ. 2534 หากไม่มีหนี้สินเดิม
ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497การออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จะต้องปรากฏว่าผู้ออกเช็คกับผู้รับเช็คมีหนี้ต่อกันแล้วผู้ออกเช็คได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวให้ผู้รับเช็ค แต่ขณะที่จำเลยออกเช็คและนำไปแลกรับเงินสดจากโจทก์นั้นเป็นเพียงนำเช็คไปก่อหนี้ด้วยการแลกรับเอาเงินสดจากโจทก์ ไม่ใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่แล้วให้แก่โจทก์ การออกเช็คของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลังจำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คแลกเงินสดไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากไม่มีหนี้สินระหว่างกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดแต่ขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ" ดังนั้นการออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตาม พระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องปรากฏในเบื้องแรกว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระก่อน แล้วจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นซึ่งเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจาก ว. ก่อนออกเช็คจำเลยและว. หาได้มีหนี้ต่อกันไม่ การออกเช็คแลกเงินสดของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ในกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์นอกเหนือคำให้การเดิม และการโต้แย้งบัญชีหนี้สินที่ต้องยกขึ้นในชั้นศาล
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับสัญญาเงินกู้และตั๋วสัญญาใช้เงินแตกต่างจากคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว
ตามคำฟ้องได้ระบุยอดหนี้และรายละเอียดเกี่ยวกับการฝากเงิน ถอนเงินและการคิดดอกเบี้ย ปรากฏตามสำเนาบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยเห็นว่ารายการใดไม่ถูกต้อง ชอบที่จะให้การโต้แย้งไว้ว่าการคิดคำนวณรายการดังกล่าวไม่ถูกต้องเพราะเหตุใดและถามค้านพยานโจทก์ในข้อนั้นไว้ เมื่อสืบพยาน จำเลยก็นำสืบพยานหักล้างพยานโจทก์ เมื่อจำเลยนำสืบพยานหักล้างพยานโจทก์ไม่ได้ก็ดี ไม่ได้นำสืบพยานหักล้างก็ดี ศาลชอบที่จะฟังตามพยานหลักฐานโจทก์ว่าโจทก์คิดคำนวณบัญชียอดหนี้ถูกต้องแล้ว
ตามคำฟ้องได้ระบุยอดหนี้และรายละเอียดเกี่ยวกับการฝากเงิน ถอนเงินและการคิดดอกเบี้ย ปรากฏตามสำเนาบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยเห็นว่ารายการใดไม่ถูกต้อง ชอบที่จะให้การโต้แย้งไว้ว่าการคิดคำนวณรายการดังกล่าวไม่ถูกต้องเพราะเหตุใดและถามค้านพยานโจทก์ในข้อนั้นไว้ เมื่อสืบพยาน จำเลยก็นำสืบพยานหักล้างพยานโจทก์ เมื่อจำเลยนำสืบพยานหักล้างพยานโจทก์ไม่ได้ก็ดี ไม่ได้นำสืบพยานหักล้างก็ดี ศาลชอบที่จะฟังตามพยานหลักฐานโจทก์ว่าโจทก์คิดคำนวณบัญชียอดหนี้ถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การพิจารณาหนี้สินต้องแยกจากความผิดฐานทำลายเอกสาร
ในคดีอาญาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันฉีกเอกสาร ตรง ที่มีข้อความและลายมือชื่อผู้รับของในใบส่งของชั่วคราวซึ่ง เป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของโจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลย ทั้งสองได้ร่วมกันซื้อสินค้าของโจทก์ไปตามรายการในเอกสารที่ ถูกทำลายแล้วไม่ยอมชำระค่าสินค้าให้โจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องฟ้อง ขอให้ชำระหนี้ค่าสินค้าประเด็นในคดีทั้งสองจึงเป็นคนละประเด็นกัน หาใช่ประเด็นในคดีนี้เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วโดยตรง ในคดีอาญาไม่คำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ก็เป็น เรื่องที่ฟังว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำผิดฐานทำลายเอกสาร โดย มิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระค่าสินค้าตามรายการในเอกสาร ที่ถูกทำลายให้แก่โจทก์แล้วเพราะเอกสารดังกล่าวเป็นแต่เพียง หลักฐานแห่งหนี้หาใช่หลักฐานแห่งการชำระหนี้ไม่ การที่จะถือว่า คดีใดเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาข้อสำคัญต้องเป็นเรื่อง เรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการ กระทำ ความผิดอาญาของจำเลยซึ่งเป็น ข้อเท็จจริงเฉพาะที่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาเท่านั้น คดีนี้ จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น การพิจารณาพิพากษา คดีนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดี ส่วนอาญาโดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์สัญญา, การรับรองสำเนาเอกสารราชการ, และความรับผิดของทายาทในหนี้สินของเจ้ามรดก
สัญญากู้เป็นแบบพิมพ์มีสองหน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์สัญญากู้ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเงินกู้ซึ่งไม่มีการกรอกข้อความดังนี้การปิดอากรแสตมป์ที่แบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเป็นการปิดอากรแสตมป์สำหรับสัญญากู้ด้วย เมื่อรวมอากรแสตมป์ที่ปิดด้านหน้าและด้านหลังครบถ้วนตามที่ระบุในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรแล้ว ย่อมอ้างสัญญากู้ดังกล่าวเป็นพยานได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และนาง ค. ในฐานะเป็นผู้ร่วมกันกู้เงินโจทก์ ชดใช้เงินกู้ และขอให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของนาง ค.รับผิดหนี้เงินกู้ที่นางค. ต้องใช้คืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้การว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 1ในสัญญากู้ปลอม ดังนี้ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะไม่ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญากู้จะปลอมหรือไม่ก็ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งต้องรับผิดในฐานะทายาทของนาง ค. ผู้กู้ร่วม พยานผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการซึ่งปกติศาลก็รับฟังแต่มิใช่ว่าจะต้องเชื่อพยานผู้เชี่ยวชาญเสมอไป คำพยานผู้เชี่ยวชาญจะมีน้ำหนักกว่าประจักษ์พยานหรือไม่ก็ต้องพิจารณาตามรูปเรื่องและต้องอาศัยเหตุผลและพยานหลักฐานอื่นประกอบ ซึ่งผิดกับประจักษ์พยานซึ่งเป็นผู้ได้ยินกับหูเห็นด้วยตาของ ตนเองจึงน่าเชื่อว่าพยานผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะการที่อ้างแต่เพียงรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญโดยมิได้นำตัวผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความอธิบายประกอบรายงานนั้นว่ามีความเป็นมาอย่างไรกับทั้งทำให้อีกฝ่ายไม่มีโอกาสถามค้านผู้เชี่ยวชาญด้วยดังนี้ ลำพังรายการการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างประจักษ์พยานอีกฝ่ายได้ สำเนาหนังสือราชการที่เจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้อง ซึ่งส่งเข้ามาในคดีตามที่คู่ความอ้างเป็นพยานไว้โดยชอบแล้ว ดังนี้คู่ความที่อ้างไม่จำต้องสืบพยานบุคคลประกอบ สำเนาหนังสือราชการดังกล่าวรับฟังได้เหมือนต้นฉบับ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93(3) โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนาง ค. เจ้ามรดกซึ่งเป็นหนี้เงินกู้โจทก์อยู่และได้ถึงแก่กรรมลง ดังนี้ โจทก์มีเพียงสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้รับศาลจึงไม่จำต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าให้จำเลยที่ 3 ที่ 4รับผิดต่อโจทก์ไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกเพราะเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันในชั้นบังคับคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายเกินกว่าเหตุและไม่สมควร
จำเลยทั้งสองประกอบอาชีพรับราชการ มีเงินเดือนรวมกันเดือนละ14,780 บาท แต่เป็นหนี้โจทก์เพียง 60,000 บาทเศษ เป็นจำนวนไม่มากไม่ปรากฏว่ามีหนี้อื่นอีก หลังจากพ้นกำหนดตามคำบังคับของศาลจังหวัดชัยนาทเพียง 10 กว่าวัน โจทก์ก็ฟ้องขอให้ล้มละลายทันที ควรให้เวลาแก่จำเลยทั้งสองในการรวบรวมเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ คดีมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนกิจการพร้อมหนี้สิน และผลผูกพันตามสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 ตกลงรับโอนกิจการโรงเรียนจากจำเลยที่ 1 พร้อมกับหนี้สินของโรงเรียน และแจ้งให้เจ้าหนี้ไปขอรับชำระหนี้ ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกรวมอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 เนื่องจากกิจการของโรงเรียนที่จำเลยที่ 2 รับโอนมาตามสัญญาดังกล่าวได้ขอรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันตามสัญญาในอันที่จะต้องชำระหนี้ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนกิจการพร้อมหนี้สิน และสัญญาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ทำให้ลูกหนี้ตามสัญญาต้องผูกพันชำระหนี้ให้เจ้าหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากการดำเนินกิจการโรงเรียนจำเลยที่ 2 รับโอนกิจการโรงเรียนดังกล่าวไปดำเนินการพร้อมทั้งหนี้สินของโรงเรียนและประกาศให้เจ้าหนี้ของกิจการไปขอรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ถือเป็นการตกลงที่จำเลยที่ 2 ยอมรับชำระหนี้อันเนื่องมาจากกิจการที่รับโอน มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้อันเป็นบุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาขอรับชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 เป็นการแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันตามสัญญาในอันที่จะต้องชำระหนี้ให้โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้และการสันนิษฐานลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อการฟ้องล้มละลาย
แม้จำเลยจะโต้แย้งยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้นภายหลังวันที่ 4 เมษายน 2528 แต่จำเลยก็ยอมรับว่าในวันที่ 4 เมษายน 2528 จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 208,061.38 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (2)(3)
โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ ได้ตรวจสอบทะเบียนบ้านตามที่จำเลยแจ้งตอนยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากก็ไม่ปรากฏชื่อจำเลยอยู่ในทะเบียนบ้าน จึงได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้รวมสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการทวงถามก็ถือได้ว่าจำเลยไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ข
โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ ได้ตรวจสอบทะเบียนบ้านตามที่จำเลยแจ้งตอนยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากก็ไม่ปรากฏชื่อจำเลยอยู่ในทะเบียนบ้าน จึงได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้รวมสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการทวงถามก็ถือได้ว่าจำเลยไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ข