คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้สินล้นพ้นตัว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องล้มละลายซ้ำ: การฟ้องคดีล้มละลายโดยอ้างเหตุเดิมที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำและต้องห้ามตามกฎหมาย
ในคดีหมายเลขแดงที่ 796/2547 ของศาลล้มละลายกลางปรากฏว่าบริษัท บ. เป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับบริษัท ล. เป็นหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 5810/2539 ของศาลแพ่งและจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวขอให้ล้มละลายซึ่งศาลในคดีดังกล่าวได้พิจารณาพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบไม่ได้ตามข้อสันนิษฐานตามที่กล่าวมาในฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีหรือไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ทั้งโจทก์ในคดีดังกล่าวไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกมีสินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สินแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัว พิพากษายกฟ้อง โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว ซึ่งจะต้องรับโอนมาซึ่งบรรดาสิทธิและหน้าที่ที่บริษัท บ. ผู้โอนมีต่อจำเลยทั้งสองด้วย ดังนั้น การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีก โดยอ้างว่าเมื่อได้ยึดทรัพย์จำนองของบริษัท ล. แล้วไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมด และจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ก็เป็นเหตุดังที่เคยอ้าง และศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงเป็นการนำมูลหนี้เดียวกันมาฟ้องร้องจำเลยทั้งสองซึ่งมีประเด็นแห่งคดีอย่างเดียวกันว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ และเหตุที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้นก็เป็นมูลเหตุเช่นเดียวกันซึ่งศาลได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายฯ มาตรา 14 ส่วนที่โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 17729/2540 ของศาลแพ่งมาด้วยก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวคิดถึงวันฟ้องไม่เกิน 1,000,000 บาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์นำมูลหนี้ส่วนนี้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าลีสซิ่งไม่ใช่เช่าซื้อ, การพิพากษาล้มละลาย, หนี้สินล้นพ้นตัว
สัญญาเช่าทรัพย์แบบลีสซิ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์อย่างหนึ่งที่โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าเมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่ายังไม่ตกเป็นของผู้เช่าจนกว่าจะแสดงเจตนารับคำมั่นของผู้ให้เช่าจนเกิดเป็นสัญญาซื้อขาย เงินค่าเช่าก็ไม่อาจถือว่ารวมค่าแห่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าไว้ด้วย และผู้เช่าไม่อาจบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดการเช่าได้ เมื่อสัญญาเช่าทรัพย์แบบลีสซิ่งดังกล่าวมิใช่สัญญาเช่าซื้อ การที่ศาลล้มละลายกลางนำบทบัญญัติมาตรา 574 แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 5 เช่าซื้อ มาปรับใช้แก่มูลหนี้ตามฟ้องแล้ววินิจฉัยว่ามูลหนี้ตามฟ้องยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน และพิพากษายกฟ้องนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าเช่าตั้งแต่งวดที่ 3 ถึง 19 และยังคงค้างชำระค่าเช่ารวม 6,881,401.90 บาท ดังนี้ แม้มูลหนี้ดังกล่าวจะยังมิได้คำนวณเบี้ยปรับตามสัญญา จำเลยที่ 1 ก็เป็นหนี้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและไม่จำกัดจำนวนต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเช่าที่ค้างชำระดังกล่าวต่อโจทก์ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ตามสัญญาที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าแบบลีสซิ่งไม่ใช่เช่าซื้อ ศาลล้มละลายพิพากษาล้มละลายได้เมื่อมีหนี้สินล้นพ้นตัว
สัญญาเช่าทรัพย์แบบลีสซิ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์อย่างหนึ่งที่โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าเมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งและการสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ทำให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
ภายหลังจากศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนให้โจทก์ในสภาพใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ราคาแทนเป็นเงิน 1,600,000 บาท โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเรื่อยมา แต่หาไม่พบ เมื่อโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยทั้งสองคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชดใช้ราคาแทนจำนวน 1,600,000 บาท ตามคำพิพากษาดังกล่าว หนี้ส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนที่โจทก์อาจนำมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายได้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และการรับฟังเอกสารที่จำเลยไม่ปฏิเสธ
โจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสารของราชการที่ไม่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้อง แต่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของเอกสารดังกล่าว โดยเฉพาะจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าสำเนาโฉนดที่ดินเป็นของจำเลยที่ 2 เอกสารแสดงรายการที่จำเลยทั้งสองกับพวกถูกฟ้องคดีต่อศาล จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าถูกฟ้องคดีดังกล่าวจริง ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการตกลงรับรองความถูกต้องแห่งเอกสารดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่จำต้องส่งต้นฉบับเอกสารที่มีคำรับรองอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัวและข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดนราธิวาส โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ได้รับแล้ว แต่ไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 จึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ข้อเท็จริงฟังได้ว่าโจทก์ส่งหนังสือทวงถามให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 รวม 2 ครั้ง ครั้งแรกตามเอกสารหมาย จ.31 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 และครั้งที่สองตามเอกสารหมาย จ.33 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2545 ซึ่งปรากฎว่าตามเอกสารหมาย จ.31 โจทก์ทวงถามโดยระบุว่า เป็นหนี้ตามสัญญากู้เงินและเป็นการทวงถามก่อนมีการฟ้องคดีแพ่งอันเป็นมูลเหตุที่โจทก์นำเอาคำพิพากษาคดีแพ่งมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายคดีนี้ จึงเป็นการทวงถามคนละมูลหนี้กับมูลหนี้ตามฟ้องคดีนี้ ถือไม่ได้ว่าการทวงถามครั้งแรกเป็นการทวงถามในมูลหนี้ตามคำฟ้องคดีล้มละลาย ดังนั้น จึงฟังได้ว่าคดีนี้โจทก์ทวงถามเพียงครั้งเดียว กรณีไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) ที่จะถือว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 ถึงที่ 6 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามความเป็นจริง ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 7 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (5) แล้ว ศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เด็ดขาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายจากหนี้ที่เกิดจากสัญญาซื้อขายไม้ยางพารา การพิสูจน์หนี้และการสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยเบิกเงินจากโจทก์เพื่อนำไปซื้อไม้ยางพาราจากเจ้าของสวนแล้วนำมาขายให้แก่โจทก์ จากนั้นจึงหักทอนบัญชีกัน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงมีลักษณะเป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่มิได้กำหนดแยกประเภทเป็นเอกเทศสัญญาไว้ใน ป.พ.พ. แต่มีผลผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องชำระหนี้ต่อกันตามสัญญาดังกล่าว แม้โจทก์ฟ้องคดีตั้งรูปเรื่องมาว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้ยืม แต่ก็ได้บรรยายฟ้องและนำสืบเข้าลักษณะสัญญาประเภทหนึ่งที่บังคับกันได้ดังวินิจฉัยไว้ข้างต้น ซึ่งในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี ศาลย่อมมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3) บัญญัติเพียงว่า เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตามเท่านั้น หาได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลต้องพิพากษากำหนดจำนวนแน่นอนเสียก่อนไม่ โจทก์จึงไม่จำต้องนำหนี้ดังกล่าวไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งก่อนที่จะฟ้องคดีล้มละลาย เมื่อรายการตัดทอนบัญชีระบุว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท โจทก์ย่อมมีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
of 16