พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า และผลของการไม่ครบกำหนดสัญญาเช่า
วันที่ 22 มิถุนายน 2525 ห. ทำสัญญาให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทมีกำหนด 11 ปี 5 เดือน โดยยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันเดียวกัน สัญญาเช่าย่อมมีผลใช้บังคับได้ระหว่าง ห. กับจำเลย เป็นแต่ว่าหากไม่มีการจดทะเบียนการเช่าก็บังคับกันได้เพียง 3 ปี เท่านั้น หาทำให้สัญญาเช่าเป็นโมฆะไม่แม้พนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนการเช่าในวันที่ 17 สิงหาคม 2525ก็มิได้หมายความว่าสัญญาเช่าเพิ่งเกิดขึ้นในวันจดทะเบียน การที่ห.จดทะเบียนยกที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่ภรรยาและบุตรของห.เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2525 ภรรยาและบุตรของ ห. จึงต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าที่ ห. ทำไว้ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 ภรรยาและบุตรของ ห. จดทะเบียนโอนที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่าโจทก์ย่อมต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าด้วย เมื่อสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนดและไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายโจทก์มีหน้าที่จัดการวันนัดพิจารณาคดีเอง หากนัดชนกับคดีอื่นต้องรีบร้องขอเลื่อน
ในวันนัดพิจารณานัดก่อนทนายโจทก์มาศาลด้วยตนเอง จึงต้องถือว่าทนายโจทก์ได้ร่วมกำหนดวันนัดพิจารณาครั้งต่อไปด้วย ซึ่งโดยปกติก็ต้องนัดพิจารณาในวันว่างของทนายโจทก์ด้วย หากเกิดกรณีไปนัดซ้อนวันกันกับศาลอื่นก็ชอบที่ทนายโจทก์จะต้องรีบร้องขอเลื่อนคดีเสียแต่เนิ่น ๆ มิใช่เพิ่งให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีมายื่นต่อศาลในวันนัดพิจารณานัดหลัง ซึ่งห่างจากวันนัดพิจารณานัดก่อนถึง 48 วัน กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4512/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานกับการข่มขืนใจผู้อื่นเพื่อเอาทรัพย์: การแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านยังคงมีผลแม้มีคณะกรรมการอื่น
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นเจ้าพนักงาน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ทั้งได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้ทำหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 27 ของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญา แม้ต่อมาทางราชการจะได้ตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยขึ้นมาอีกคณะหนึ่งก็ไม่เป็นการยกเลิกเพิกถอนหน้าที่ของจำเลยตามคำสั่งของนายอำเภอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อมูลสุขภาพในการทำประกันชีวิต: เด็กอายุ 8 ปีไม่มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลเจ็บป่วย
นายล.ตัวแทนหาประกันชีวิตของจำเลยเอาแบบคำขอเอาประกันชีวิตให้เด็กหญิง ป. อายุเพียง 8 ปี ลงลายมือชื่อ ไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความ แล้วนายล.นำแบบคำขอเอาประกันชีวิตดังกล่าวไปกรอกข้อความเอง เด็กหญิง ป. จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะแจ้งข้อความเกี่ยวกับความป่วยเจ็บของตนให้ทราบได้ และไม่สามารถจะทราบความร้ายแรงของโรคที่ตนเป็นอยู่ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 865 วรรคแรก คำขอเอาประกันชีวิตไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงโจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายจำเลยขาดนัดพิจารณาคดีด้วยเหตุผลส่วนตัว ถือเป็นการจงใจละเลยหน้าที่
ศาลชั้นต้นกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์และทนายจำเลยได้ทราบกำหนดนัดแล้ว ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยไม่ไปศาลตามกำหนดนัดการที่ทนายจำเลยอ้างว่าเดินทางไปต่างจังหวัดและเกิดท้องเดินต้องรักษาตัวที่คลีนิกของแพทย์ที่ต่างจังหวัดจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์อาการดีขึ้นจึงเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร ในวันรุ่งขึ้นมาปฏิบัติราชการได้ตรวจสมุดนัดความจึงทราบว่าไม่ได้มาศาลในวันสืบพยานนั้นแม้เหตุดังกล่าวจะเป็นความจริงดังที่ทนายจำเลยอ้างก็ตามทนายจำเลยก็เป็นพนักงานอัยการย่อมรู้กฎหมายและกระบวนวิธีพิจารณาคดีของศาลดีว่า ความสำคัญของผลคดีที่ขาดนัดพิจารณานั้นเป็นอย่างไร เมื่อทนายจำเลยเองทราบว่าในเข้าวันนัดสืบพยานโจทก์นั้น ตนเองมาปฏิบัติราชการไม่ได้ก็น่าจะขวนขวายดำเนินการโทรศัพท์ถามไปยังจำเลยตัวความ หรือโทรศัพท์ไปยังผู้บังคับบัญชาให้ช่วยตรวจสอบว่า มีคดีที่ตนรับผิดชอบนัดพิจารณาในวันนั้นหรือไม่เพื่อจะได้ดำเนินการขอเลื่อนหรือแก้ไขต่อไป แต่ทนายจำเลยก็หาได้กระทำไม่ ทั้งได้ความจากทนายจำเลยเองว่า ที่คลินิกที่ทนายจำเลยพักรักษาตัวอยู่นั้นก็มีโทรศัพท์แต่ทนายจำเลยไม่ได้โทรศัพท์แจ้งให้ทางที่ทำงานทราบ นอกจากนี้ยังได้ความอีกว่า ทนายจำเลยไม่ได้คิดเรื่องงานเลย ประกอบกับเมื่อทนายจำเลยทราบวันเวลานัดในวันรุ่งขึ้นแล้ว ทนายจำเลยน่าจะกระตือรือร้นรีบยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่โดยเร็ว แต่กลับปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปประมาณ 25 วันทนายจำเลยมีหน้าที่ต้องเอาใจใส่ในการต่อสู้คดีของตัวความการที่ทนายจำเลยไม่ขวนขวายดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งและปล่อยปละละเลยดังกล่าวมา จึงเป็นการไม่เอาใจใส่ในหน้าที่และเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าการขาดนัดพิจารณาของจำเลยเป็นไปโดยจงใจไม่มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมติดไปกับที่ดินแม้ยังมิได้จดทะเบียน สิทธิและหน้าที่โอนสู่ผู้รับโอนสามยทรัพย์
จำเลยทำสัญญายอมให้ พ. เจ้าของที่ดินคนเดิมใช้ทางเดินผ่านที่ดินจำเลยเพื่อเข้าออกสู่ทางสาธารณะ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการก่อให้เกิดภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ภาระจำยอมย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ซึ่งได้โอนมาเป็นของโจทก์แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอม เป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ตาม โจทก์ผู้รับโอนสามยทรัพย์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีโต้แย้งสิทธิในที่ดิน: จำเลย (นายอำเภอ) ไม่ต้องรับผิดเมื่อมีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณี
ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์มีข้อโต้แย้งกับ ฮ. หรือผู้จัดการมรดกของ ฮ.ที่ไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ครอบครองตามหนังสือสัญญาเลิกหุ้นส่วนโจทก์ต้องว่ากล่าวดำเนินคดีทางศาลแก่ ฮ.หรือผู้จัดการมรดกของ ฮ.ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71ประกอบด้วยมาตรา 72 หมายถึง ผู้ประสงค์จะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจะต้องมีสิทธิในอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยชอบและคู่กรณีนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หาใช่หนังสือแสดงสิทธิเป็นของผู้อื่นและยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่เช่นกรณีของโจทก์ไม่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่สามารถที่จะจดทะเบียนสิทธิครอบครองให้ได้ขอให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบไม่เป็นละเมิดและไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้จัดการมรดก & อำนาจศาลตั้งผู้จัดการมรดก: แม้ละเลยหน้าที่ แต่ไม่เพิกถอนหากไม่เสียหาย & ศาลมีอำนาจตัดสินใจ
หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของผู้จัดการมรดกคือต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกเพื่อแสดงให้ทายาททราบว่าเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกอยู่เท่าไร การที่ผู้ร้องมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกจึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ แต่เมื่อทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมเหลือแบ่งแก่ทายาทมีเพียงที่ดินแปลงเดียวพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งทายาททุกคนทราบดีอยู่แล้ว และการไม่จัดทำบัญชีก็มีเกิดจากการทุจริตหรือความไม่สามารถของผู้ร้องและมิได้มีความเสียหายเกิดขึ้นแต่อย่างใด จึงไม่จำเป็นต้องเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก การตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ของกองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาเจ้ามรดกเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และคดีถึงที่สุดแล้วผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิคัดค้านในเรื่องนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำสั่งนายจ้าง: หน้าที่ส่งมอบงานและผลกระทบต่อการลงโทษทางวินัย
การที่โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการประจำแผนกซ่อมและดูแลได้รับคำสั่งให้ไปช่วยงานในกองบริการชุมชน ต่อมาจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์กลับไปทำงานในแผนกเดิม แต่โจทก์ไม่กลับไปทำงานตามคำสั่งอ้างว่าต้องรอมอบหมายงานตามระเบียบของการเคหะแห่งชาติก่อน ดังนี้เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกำหนดให้มีการมอบงานแล้ว การส่งมอบงานนั้นมิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องกระทำเมื่อไม่กระทำตามคำสั่งจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง จำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฎีกา: หน้าที่นำส่งสำเนาฎีกาและการเพิกเฉยถือเป็นการทิ้งฎีกา
จำเลยมีหน้าที่นำส่งหรือเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์ภายในเวลาอันสมควร การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีนับแต่วันที่ถือว่าทราบคำสั่งถึงวันที่ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมาศาลฎีกาเป็นเวลาถึง 24 วัน ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฎีกา