พบผลลัพธ์ทั้งหมด 284 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บ้านที่ตกเป็นของภริยาตามทะเบียนหย่า ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของภริยาและสามารถทำพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นได้
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1512 แล้ว ซึ่งปรากฏในทะเบียนหย่าว่าบ้านพิพาทตกเป็นของภริยาการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวนี้ย่อมมีผลผูกพันสามี สามีจะโต้แย้งในภายหลังว่าการแบ่งบ้านพิพาทให้นี้ยังมิได้โอนทะเบียนกรรมสิทธิ์ยังเป็นของสามีอยู่หาได้ไม่ และกรณีไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หาด้วย เมื่อบ้านพิพาทตกเป็นของภริยา ภริยาย่อมทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้อื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่า: คำพูดกระทบกระแทกไม่ถึงขั้นเป็นเหตุให้ถือว่าเป็นการกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยาอย่างร้ายแรง
การที่จำเลยพูดกับเพื่อนถึงโจทก์ซึ่งเป็นภรรยาว่า "กูเบื่อแล้วของไม่ดี ของเก่าแล้ว กูไม่เอาแล้ว" โดยพูดเมื่อโจทก์และบิดามารดาไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่กินเป็นสามีภรรยากับโจทก์แล้ว ดังนี้ เป็นเพียงคำพูดกระทบกระแทก ไม่ถึงกับเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง และถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยากันอย่างร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพูดกระทบกระแทกไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยาอย่างร้ายแรง ไม่เป็นเหตุให้หย่าได้
การที่จำเลยพูดกับเพื่อนถึงโจทก์ซึ่งเป็นภรรยาว่า 'กูเบื่อแล้ว ของไม่ดี ของเก่าแล้ว กูไม่เอาแล้ว' โดยพูดเมื่อโจทก์และบิดามารดาไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่กินเป็นสามีภรรยากับโจทก์แล้ว ดังนี้ เป็นเพียงคำพูดกระทบกระแทก ไม่ถึงกับเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง และถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยากันอย่างร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของสามีเมื่อภริยามีชู้หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้จดทะเบียนหย่าแล้ว และประเด็นอายุความฟ้องร้อง
กรณีที่ภริยามีชู้หรือมีผู้ล่วงเกินภริยาในทำนองชู้สาว อันเป็นการกระทบกระเทือนไปถึงสิทธิของสามีนั้น มีมาตรา 1505 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบทที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะให้สามีมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภริยาและชู้หรือผู้ที่ล่วงเกินนั้นได้สามีจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาของตนในทางชู้สาว โดยอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิของสามีตามมาตรา 420 ไม่ได้
ฟ้องหาว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทางชู้สาวโดยกอดจูบและร่วมประเวณีแต่ได้ความว่าต่อมาโจทก์กับภริยาได้สมัครใจจดทะเบียนหย่ากันเองเสียแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 1505 วรรคแรก แม้กระนั้นก็ยังเป็นเรื่องการล่วงเกินไปในทำนองชู้สาวตามวรรคสองและถึงแม้ว่าภริยาจะได้สมัครใจหรือยินยอมให้ล่วงเกิน สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินได้
แม้จะได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวตามมาตรา 1505 วรรคสองได้
โจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทำนองชู้สาวจนพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว จึงฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1509
(ข้อกฎหมาย 3 ข้อแรก วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2514)
ฟ้องหาว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทางชู้สาวโดยกอดจูบและร่วมประเวณีแต่ได้ความว่าต่อมาโจทก์กับภริยาได้สมัครใจจดทะเบียนหย่ากันเองเสียแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 1505 วรรคแรก แม้กระนั้นก็ยังเป็นเรื่องการล่วงเกินไปในทำนองชู้สาวตามวรรคสองและถึงแม้ว่าภริยาจะได้สมัครใจหรือยินยอมให้ล่วงเกิน สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินได้
แม้จะได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวตามมาตรา 1505 วรรคสองได้
โจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทำนองชู้สาวจนพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว จึงฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1509
(ข้อกฎหมาย 3 ข้อแรก วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: เจตนาแบ่งทรัพย์สินตามเอกสารแสดงความประสงค์สมัครใจหย่ามีผลผูกพัน แม้ไม่มีการระบุในทะเบียนหย่า
ผู้ร้องขัดทรัพย์กับจำเลยผู้เป็นสามีจดทะเบียนหย่ากัน แม้ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันจะไม่ปรากฏอยู่ในทะเบียนการหย่าแต่ในหนังสือแสดงความประสงค์สมัครใจหย่ากันอันเป็นแบบพิมพ์ของทางราชการสำหรับให้คู่กรณีกรอกข้อความนั้นระบุไว้ว่า 'ในเรื่องทรัพย์สินบริคณห์ต่าง ๆ ได้จัดการแบ่งปันกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว'และได้ความว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายได้ที่ดินพิพาท ดังนี้ ย่อมถือว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้วนับแต่วันจดทะเบียนหย่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยไม่มีอำนาจนำยึดที่พิพาทได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ข้อตกลงในหนังสือแสดงความประสงค์เป็นผลของการจดทะเบียนหย่า เจ้าหนี้บังคับคดีไม่ได้
ผู้ร้องขัดทรัพย์กับจำเลยผู้เป็นสามีจดทะเบียนหย่ากัน แม้ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันจะไม่ปรากฏอยู่ในทะเบียนการหย่าแต่ในหนังสือแสดงความประสงค์สมัครใจหย่ากันอันเป็นแบบพิมพ์ของทางราชการสำหรับให้คู่กรณีกรอกข้อความนั้นระบุไว้ว่า 'ในเรื่องทรัพย์สินบริคณห์ต่าง ๆ ได้จัดการแบ่งปันกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว'และได้ความว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายได้ที่ดินพิพาท ดังนี้ ย่อมถือว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้วนับแต่วันจดทะเบียนหย่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยไม่มีอำนาจนำยึดที่พิพาทได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบริวารหลังหย่า: สิทธิในการอยู่อาศัยบนที่ดินเช่าเมื่อถูกขับไล่
จำเลยแต่งงานกับ ฉ. แล้วจำเลยขึ้นทะเบียนอยู่บ้านพิพาทกับ ฉ. โดยลงว่าจำเลยเป็นหัวหน้าครอบครัว ฉ. เป็นภริยา จำเลยเช่าที่ดินซึ่งบ้านพิพาทปลูกอยู่จากบิดาโจทก์ได้เสียค่าเช่าตลอดมา เมื่อจำเลยกับ ฉ. จดทะเบียนหย่ากันแล้ว จำเลยก็ยังไปมาหาสู่ ฉ. ดังนี้ถือว่า ฉ.เป็นบริวารจำเลย เมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยให้รื้อเรือนออกไปจากที่ดินโจทก์แล้ว ฉ. ไม่มีสิทธิจะอยู่ได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบริวารหลังหย่า: สิทธิในการอยู่อาศัยในที่ดินเช่าเมื่อถูกขับไล่
จำเลยแต่งงานกับ ฉ. แล้วจำเลยขึ้นทะเบียนอยู่บ้านพิพาทกับ ฉ. โดยลงว่าจำเลยเป็นหัวหน้าครอบครัว ฉ. เป็นภริยา จำเลยเช่าที่ดินซึ่งบ้านพิพาทปลูกอยู่จากบิดาโจทก์ได้เสียค่าเช่าตลอดมาเมื่อจำเลยกับ ฉ. จดทะเบียนหย่ากันแล้ว จำเลยก็ยังไปมาหาสู่ ฉ. ดังนี้ถือว่า ฉ. เป็นบริวารจำเลย เมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยให้รื้อเรือนออกไปจากที่ดินโจทก์แล้ว ฉ. ไม่มีสิทธิจะอยู่ได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า มีผลบังคับใช้ได้ แม้ฝ่ายหนึ่งไม่รับบุตรไปเลี้ยง
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลังหย่ามีผลอย่างไร และศาลใดมีอำนาจพิจารณา
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน. และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด. สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป.จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร. การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1536. อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่.
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2ใน 4 คนคืนแก่สามี. หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว. สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง. ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม. แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512).
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร. การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1536. อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่.
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2ใน 4 คนคืนแก่สามี. หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว. สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง. ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม. แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512).