คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักฐาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,327 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9517/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยกันสาด: สุจริตไม่ต้องรื้อ และค่าเสียหายต้องมีหลักฐานชัดเจน
บริษัทร. ได้ก่อสร้างอาคารตึกแถวขายพร้อมกับที่ดินโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่40724เนื้อที่28ตารางวาพร้อมกับอาคารตึกแถวเลขที่1535/83ส่วนจำเลยซื้อที่ดินโฉนดเลขที่40722เนื้อที่17ตารางวาพร้อมอาคารตึกแถวเลขที่1535/85ต่อมาโจทก์ขอรังวัดที่ดินเพื่อต่อเติมอาคารปรากฏว่าอาคารตึกแถวของจำเลยมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์คงรุกล้ำเฉพาะกันสาดคอนกรีตซึ่งสร้างขึ้นพร้อมอาคารดังนี้เมื่อจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้างอาคารตึกแถวพิพาทรวมทั้งกันสาดคอนกรีตที่สร้างพร้อมกับอาคารตึกแถวดังกล่าวและเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312วรรคแรกมาใช้บังคับโดยถือว่าการที่กันสาดคอนกรีตดังกล่าวรุกล้ำนั้นเป็นมาโดยสุจริตจำเลยจึงไม่จำต้องรื้อกันสาดคอนกรีตที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ ที่โจทก์ฎีกาว่าฉ. เจ้าพนักงานผู้รังวัดทำแผนที่วิวาทตามคำสั่งศาลชั้นต้นรังวัดผิดพลาดเพราะมิได้รังวัดโดยถือเอาหลักหมุดด้านหน้าที่ดินของโจทก์เป็นหลักคำเบิกความของฉ. จึงไม่ควรแก่การรับฟังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วว่าอาคารตึกแถวพิพาทของจำเลยมิได้ปลูกรุกล้ำที่ดินของโจทก์คงรุกล้ำเฉพาะกันสาดคอนกรีตเท่านั้นทั้งตามฎีกาของโจทก์ก็ขอเพียงให้จำเลยรื้อกันสาดคอนกรีตและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เท่านั้นมิได้ขอให้รื้ออาคารตึกแถวพิพาทด้วยประเด็นในชั้นฎีกาจึงไม่มีว่าอาคารตึกแถวพิพาทของจำเลยปลูกรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่และการรังวัดทำแผนที่วิวาทชอบหรือไม่ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารและกันสาดส่วนที่รุกล้ำออกไปและขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายขาดประโยชน์ในการที่จะใช้สอยอาคารส่วนที่ถูกรุกล้ำของโจทก์เป็นรายเดือนเดือนละ5,000บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีไปจนกว่าจะรื้อถอนส่วนที่รุกล้ำจึงเป็นคดีที่มีคำขอที่ไม่มีและมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วยจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงในเรื่องค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7029/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงินจากใบรับเงินและการมีหนี้โดยปริยาย
ใบรับเงินพิมพ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมด มีชื่อบริษัทโจทก์ที่หัวกระดาษ ถัดลงมาเป็นช่องจ่ายให้แก่ใคร ซึ่งได้กรอกชื่อจำเลย ถัดลงมาเป็นช่องCREDIT A/C CODE ... DATE 4-12-92 ถัดลงมาเป็นช่องกรอกรายการและจำนวนเงิน มีกรอกรายการเป็นอักษรภาษาไทยว่า "ได้รับเงินแล้วจำนวน" และกรอกจำนวนเงินเป็นตัวอักษรและตัวเลขว่า "สามแสนบาทถ้วน" และ "300,000"มุมล่างด้านขวามือมีช่องสำหรับลงชื่อผู้รับเงิน มีลายเซ็นผู้รับเงินปรากฏอยู่ในช่องดังกล่าว ซึ่งคำฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับเงิน จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานว่า จำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวน 300,000 บาท โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจำนวนนี้ไปจากโจทก์จำเลยให้การแต่เพียงว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อต่อสู้ว่าเหตุใดจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวคืนโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์ จึงถือได้ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6938/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารไม่ติดอากรแสตมป์ ใช้เป็นหลักฐานได้หากปิดหลังแต่ก่อนพิพากษา ไม่ต้องเสียอากรเพิ่ม
เอกสารซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์มาแต่ต้น เมื่อต่อมาได้ปิดให้ถูกต้องก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา ก็ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้โดยไม่จำต้องเสียอากรเพิ่มก่อน เพราะตามมาตรา 118 แห่ง ป.รัษฎากรตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113และมาตรา 114 ฉะนั้น การที่จะต้องรับผิดเสียอากรเพิ่มขึ้นจึงเป็นส่วนหนึ่งต่างหากไม่กระทบกระทั่งถึงการที่จะรับฟังตราสารนั้นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมโทษคดีอาญา: จำเลยปฏิเสธตัวบุคคล, โจทก์ไม่มีหลักฐานพิสูจน์
จำเลยให้การแต่เพียงว่าจำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหาโดยจำเลยมิได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบหรือแสดงหลักฐานในเรื่องดังกล่าวให้รับฟังเป็นความจริงได้ จึงไม่อาจนำโทษในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้มาบวกกับโทษของจำเลยในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การคิดดอกเบี้ยจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และอายุความตามกฎหมายล้มละลาย
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา680 วรรคสอง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ดังนั้น ข้อตกลงนอกเหนือสัญญาค้ำประกันว่า หากบริษัท ง. ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือเมื่อดำเนินการบังคับคดีแล้วได้ทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงจะชำระหนี้แทนดังที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกัน จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง
สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้กับผู้ล้มละลาย มีความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้สาบสูญ หรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ย่อมมีความหมายว่า ผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของบริษัท ง. เหตุนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านเรียกให้บริษัท ง. ชำระหนี้ก่อนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความ ตลอดจนสัญญาค้ำประกัน และตารางการผ่อนชำระหนี้ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อความว่าผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือน แต่เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
มูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาค้ำประกันเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อได้ความว่าขณะเกิดกรณีพิพาทผู้ล้มละลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจเงินทุนมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ผู้ล้มละลายจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ตามสัญญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ผู้ร้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับจากวันที่ 6มิถุนายน 2534 ย้อนหลังขึ้นไป 5 ปี คือวันที่ 6 มิถุนายน 2529 และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ผู้ร้องในปัญหานี้ให้เพราะเห็นว่าไม่เป็นสาระแก่คดี ผู้ร้องฎีกาอ้างเพียงว่า การคิดดอกเบี้ยต้องไม่เกิน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(1) ฎีกาของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6520/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุพยานเพิ่มเติม: เหตุผลความไม่ทราบมิเพียงพอ ต้องแสดงเหตุสมควรและหลักฐาน
คำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยอ้างว่าจำเลยมีการศึกษาน้อยจึงไม่ทราบวิธีดำเนินกระบวนพิจารณาคดีและมิได้โต้แย้งทักท้วงการยื่นบัญชีระบุพยานของทนายจำเลยนั้น เป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างจำเลยกับทนายของจำเลยเอง ส่วนข้อที่อ้างว่าจำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าจะต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของจำเลยว่าพยานหลักฐานได้มีอยู่นั้น จำเลยมิได้แสดงถึงเหตุอันสมควรให้ฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตนอย่างไร และมิได้แสดงถึงเหตุที่จำเลยไม่ทราบว่าพยานหลักฐานได้มีอยู่ไว้ในคำร้องตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสี่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินกู้ด้วยการโอนเงินทางโทรศัพท์ทำให้หนี้ระงับ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยโอนเงินทางโทรศัพท์เข้าบัญชีโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653แต่เป็นการชำระหนี้อย่างอื่น เมื่อโจทก์ยอมรับแล้วหนี้เงินกู้จึงระงับลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยใช้กำลัง ผู้เสียหายและพยานยืนยันตัวตนคนร้าย มีหลักฐานรับสารภาพและชี้จุดเกิดเหตุ
เมื่อผู้เสียหายและนางสาว ค. ประจักษ์พยานโจทก์ซึ่งไม่เคยรู้จักจำเลยมาก่อนไม่มีเหตุที่จะปรักปรำจำเลยต่างยืนยันว่าจำเลยกับพวกร่วมกันชิงทรัพย์สร้อยคอทองคำของผู้เสียหายทั้งภายหลังเกิดเหตุไม่นานเมื่อร้อยตำรวจโท ส. จับจำเลยมาจากห้องน้ำซึ่งจำเลยเข้าไปซ่อนตัวอยู่ผู้เสียหายก็ยืนยันในขณะนั้นว่าจำเลยเป็นคนร้ายในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การรับสารภาพตลอดมาและยังได้นำพนักงานสอบสวนไปชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพให้ถ่ายภาพไว้ด้วยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาฟังได้แน่ชัดปราศจากสงสัยว่าจำเลยร่วมกับพวกกระทำผิดจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจ ก.ตร. แก้ไขวันเกิดข้าราชการตำรวจ และเหตุผลการไม่อนุมัติแก้ไขวันเกิดจากหลักฐานที่ไม่สอดคล้องกัน
การแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการในสมุดประวัติข้าราชการหรือใน ก.พ.7 ของข้าราชการตำรวจอยู่ในบังคับของมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 ที่ให้ ก.ตร.เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการตำรวจ ก.ตร.จึงเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าเกี่ยวกับการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการตำรวจและในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของก.ตร.ดังกล่าว พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 มาตรา 19ให้ ก.ตร.มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใด ๆ แทนได้ ซึ่งรวมถึงการอนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจด้วย การที่อนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งซึ่งแต่งตั้งโดย ก.ตร.ให้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจได้พิจารณาและไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่ 25 กันยายน 2475 เป็นวันที่ 29กันยายน 2479 ในการประชุมอนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งครั้งที่ 6/2528เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2528 จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีกฎหมายรองรับดังกล่าว และการที่จำเลยที่ 1 ไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่ 25 กันยายน 2475 เป็นวันที่ 29 กันยายน 2479จึงเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะอนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งที่ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หลักฐานการศึกษาจากโรงเรียนสองแห่งอันได้แก่หลักฐานการศึกษาของโรงเรียนเสนา "เสนาประสิทธิ์" (ม.1)และโรงเรียนเทเวศร์ศึกษา (ม.6) ระบุว่า โจทก์เกิดวันที่ 29 กันยายน 2477ซึ่งเป็นปีเกิดที่แตกต่างออกไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้าง และวันเดือนปีเกิดของ ส.น้องชายโจทก์ตามทะเบียนบ้าน ระบุว่าเกิดวันที่ 16 มีนาคม 2480 ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากวันเดือนปีเกิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพียง 5 เดือนเศษ ขัดกับหลักเกณฑ์ทางการแพทย์ และโจทก์ไม่สามารถจัดส่งสูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิดของโจทก์หรือน้องชายของโจทก์มาประกอบการพิจารณาได้สมุดประวัติข้าราชการของโจทก์ ก็ระบุว่าโจทก์จบจากโรงเรียนประทีปศึกษาชั้น ป.1 พ.ศ.2484 แสดงว่าโจทก์จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่ออายุ 5 ขวบ ซึ่งหมายความว่า โจทก์เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1เมื่ออายุเพียง 4 ขวบซึ่งยากที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น ที่อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับตำแหน่งมีมติไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยเหตุผลและมีพยานหลักฐานสนับสนุนทั้งชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับแก่กรณี มติของอนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการ ต้องมีหลักฐานสูติบัตร หรือหลักฐานอื่นตามระเบียบ หากหลักฐานไม่ครบถ้วน ศาลและอนุกรรมการ ก.ตร. มีสิทธิไม่อนุมัติ
การแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการในสมุดประวัติข้าราชการหรือในก.พ.7ของข้าราชการตำรวจอยู่ในบังคับของมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจพ.ศ.2521ที่ให้ก.ตร.เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการตำรวจก.ตร.จึงเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการตำรวจและในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของก.ตร.ดังกล่าวพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจพ.ศ.2521มาตรา19ให้ก.ตร.มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใดๆแทนได้ซึ่งรวมถึงการอนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจด้วยการที่อนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งซึ่งแต่งตั้งโดยก.ตร.ให้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจได้พิจารณาและไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่25กันยายน2475เป็นวันที่29กันยายน2479ในการประชุมอนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งครั้งที่6/2528เมื่อวันที่24เมษายน2528จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีกฎหมายรองรับดังกล่าวและการที่จำเลยที่1ไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่25กันยายน2475เป็นวันที่29กันยายน2479จึงเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะอนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งที่ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลักฐานการศึกษาจากโรงเรียนสองแห่งอันได้แก่หลักฐานการศึกษาของโรงเรียนเสนา"เสนาประสิทธิ์"(ม.1)และโรงเรียนเทเวศร์ศึกษา (ม.6)ระบุว่าโจทก์เกิดวันที่29กันยายน2477ซึ่งเป็นปีเกิดที่แตกต่างออกไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างและวันเดือนปีเกิดของส. น้องชายโจทก์ตามทะเบียนบ้านระบุว่าเกิดวันที่16มีนาคม2480ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากวันเดือนปีเกิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพียง5เดือนเศษขัดกับหลักเกณฑ์ทางการแพทย์และโจทก์ไม่สามารถจัดส่งสูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิดของโจทก์หรือน้องชายของโจทก์มาประกอบการพิจารณาได้สมุดประวัติข้าราชการของโจทก์ก็ระบุว่าโจทก์จบจากโรงเรียนประทีปศึกษาชั้นป.1พ.ศ.2484แสดงว่าโจทก์จบชั้นประถมศึกษาปีที่1เมื่ออายุ5ขวบซึ่งหมายความว่าโจทก์เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1เมื่ออายุเพียง4ขวบซึ่งยากที่จะเป็นไปได้ดังนั้นที่อนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งมีมติไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยเหตุผลและมีพยานหลักฐานสนับสนุนทั้งชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับแก่กรณีมติของอนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
of 133