คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อเช็คที่ออกโดยผู้มีอำนาจจัดการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้เชิดให้ ก. เป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ก. ได้แสดงตนเองต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการงานต่างๆ ของจำเลยที่ 1 และได้สั่งจ่ายเช็คแลกเงินสดจากโจทก์มาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
ก. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในฐานะเป็นผู้รับโอนหุ้นของ ก. เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ยังไม่เลิก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1095

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาค้ำประกัน-ความรับผิดหุ้นส่วน-อำนาจฟ้อง-ค่าทนายความ
โจทก์มีสิทธิ์เรียกเบี้ยปรับจากจำเลยได้ตามสัญญา เมื่อธนาคารผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้ชำระเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวนที่ยังเหลือได้ หาใช่เป็นการเรียกค่าปรับซ้อนกันไม่
แม้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาในฐานะตัวแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มิใช่ในฐานะส่วนตัว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
กรมตำรวจเป็นกรมในรัฐบาลย่อมเป็นนิติบุคคลมีอำนาจฟ้องหรือเป็นโจทก์ได้ ไม่จำต้องให้กระทรวงมหาดไทยเป็นโจทก์ ทั้งมีอำนาจมอบให้หัวหน้ากองพลาธิการ กรมตำรวจฟ้องคดีได้ด้วย
แม้ในใบมอบอำนาจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ประเภทไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องรับผิดตามสัญญาร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย การฟ้องคดีของโจทก์จึงถูกต้องตามใบมอบอำนาจแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเบี้ยปรับหรือนัยหนึ่งค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของคู่สัญญาจึงไม่จำเป็นต้องบรรยายอีกว่าเสียหายอะไร อย่างไร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ความเสียหายที่คู่กรณีได้กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นค่าปรับในสัญญาแล้วนั้น การปรับตามสัญญาไม่ได้หมายความเฉพาะแต่ในการส่งทรัพย์สินล่าช้าเท่านั้น หากแต่รวมถึงการไม่ส่งด้วย
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว สิทธิ์ของโจทก์ในการคิดดอกเบี้ยย่อมมีขึ้นหากจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาล่าช้า และศาลมีอำนาจกำหนดให้จำเลยชำระได้นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3)
คดีแพ่งและทนายโจทก์เป็นข้าราชการกรมอัยการ เมื่อจำเลยแพ้คดี ศาลก็มีอำนาจให้จำเลยชำระค่าทนายความแทนโจทก์ได้ เป็นการชำระให้แก่คู่ความที่ชนะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญา, ความรับผิดร่วมของหุ้นส่วน, และอำนาจฟ้องของนิติบุคคล
โจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยได้ตามสัญญา เมื่อธนาคารผู้ค้ำประกันการปฎิบัติตามสัญญาได้ชำระเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวนที่ยังเหลือได้ หาใช่เป็นการเรียกค่าปรับซ้อนกันไม่
แม้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาในฐานะตัวแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ มิใช่ใฐานะส่วนตัว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
กรมตำรวจเป็นกรมในรัฐบาลย่อมเป็นนิติบุคคลมีอำนาจฟ้องหรือเป็นโจทก์ได้ไม่จำต้องให้กระทรวงมหาดไทยเป็นโจทก์ ทั้งมีอำนาจมอมให้หัวหน้ากองพลาธิการ กรมตำรวจฟ้องคดีได้ด้วย
แม้ในใบมอบอำจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ประเภทไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย การฟ้องคดีของโจทก์จึงถูกต้องตามใบมอบอำนาจแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเบี้ยปรับหรือนัยหนึ่งค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของคู่สัญญาจึงไม่จำเป็นต้องบรรยายอีกว่าเสียหายอะไร อย่างไร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ความเสียหายที่คู่กรณีได้กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นค่าปรัในสัญญาแล้วนั้น การปรับตามสัญญาไม่ได้หมายความเฉพาะแต่ในการส่งทรัพย์สินล่าช้าเท่านั้น หากแต่รวมถึงการไม่ส่งด้วย
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว สิทธิของโจทก์ในการคิดดอกเบี้ยย่อมมีขึ้นหากจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาล่าช้า และศาลมีอำนาจกำหนดให้จำเลยชำระได้นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3)
คดีแพ่งและทนายโจทก์เป็นข้าราชการกรมอัยการ เมื่อจำเลยแพ้คดีศาลก็มีอำนาจให้จำเลยชำระค่าทนายความแทนโจทก์ได้ เป็นการชำระให้แก่คู่ความที่ชนะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของห้างหุ้นส่วนจำกัด และความรับผิดของหุ้นส่วนในการซื้อขายเชื่อ
หญิงมีสามีเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟ้องคดีในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี
เรื่องการฟ้องคดี ไม่จำเป็นต้องมีระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล
ในชั้นชี้สองสถาน ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้มีแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 หรือจำเลยร่วมเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็มิได้แถลงคัดค้านแต่อย่างไร จึงต้องถือว่ายอมรับตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ที่จำเลยที่ 1 กลับมาอุทธรณ์ว่าจำเลยร่วมเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทโดยการเชิดให้จำเลยที่ 1 เข้าประมูลรับเหมาก่อสร้างและจำเลยที่ 2 สั่งซื้อของจากโจทก์ในนามของจำเลยร่วม จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดนั้น.ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506-507/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีหุ้นส่วนหลังการตายของหุ้นส่วน และสิทธิในการรับส่วนแบ่งกำไร/เงินปันผล
โจทก์ฝ่ายหนึ่ง จำเลยที่ 1 กับ ส. อีกฝ่ายหนึ่งเข้าหุ้นกันลงทุนซื้อหุ้นบริษัท น. เพื่อแบ่งกำไรหรือเงินปันผลจากการถือหุ้น การที่จำเลยที่ 1 กับ ส. มีชื่อถือหุ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำนวนหุ้นของบริษัท น. จึงเป็นทรัพย์สินของหุ้นส่วนที่จะต้องนำมาแบ่งตามสัญญาเมื่อเลิกกันไม่ใช่จะแบ่งเฉพาะเงินลงทุนค่าหุ้น ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระบัญชี หรือตกลงแบ่งกันโดยวิธีอื่นโจทก์ในฐานะหุ้นส่วนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลในปี 2510 และ ปี ต่อๆ ไป จนกว่าจะชำระบัญชีหรือตกลงแบ่งกันเสร็จ
โจทก์ฟ้องเรียกทุนของหุ้นส่วน ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน และขอแบ่งเงินปันผลในปี 2511 ซึ่งศาลล่างก็รับพิจารณาสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระแสความแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะรื้อฟื้นให้ชำระบัญชีในเรื่องดังกล่าวอีก ศาลย่อมวินิจฉัยถึงจำนวนทุนและพิพากษาให้แบ่งเงินปันผลในปี 2511 ไปทีเดียวได้และการบังคับให้แบ่งกำไรในปี 2511 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการและทายาทผู้รับมรดกของ ส. ต้องรับผิดร่วมกัน
จำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกเงินภาษีที่อ้างว่าเสียเพิ่มเติมคืนจึงไม่เป็นประเด็นในคดี
เมื่อ พ. ผู้เป็นหุ้นส่วนตาย ห้างย่อมเลิกกันโดยศาลไม่ต้องสั่งอีก และกรณีนี้ศาลไม่ควรพิพากษาให้จำเลยแบ่งเงินปันผลและคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์โดยไม่ตั้งผู้ชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีของหุ้นส่วน: ถอนอำนาจต้องทำโดยเสียงข้างมาก ห้ามโต้แย้งหลังจำหน่ายคดี
การที่ผู้เป็นหุ้นส่วน 5 คนรวมทั้ง อ.ได้ร่วมกันลงชื่อในใบมอบอำนาจให้ พ.ผู้เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการของหุ้นส่วนตามสัญญาเข้าหุ้นส่วนซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกันนั้น ย่อมถือว่า พ.ฟ้องคดีในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคน หาใช่ฟ้องคดีแทนผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะไม่ ฉะนั้นหากจะมีการถอนการมอบอำนาจให้ พ.เป็นโจทก์ฟ้องคดี ก็ชอบที่จะกระทำโดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนร่วมกันขอถอนหรือกระทำโดยเสียงข้างมาก ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยจะขอถอนใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นซึ่งเป็นเสียงข้างมากมิได้ยินยอมด้วยหาได้ไม่ ฉะนั้น การที่ อ.ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่เพียงคนเดียวยื่นคำร้องขอถอนการมอบอำนาจโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ มิได้ยินยอมด้วย จึงหาทำให้การมอบอำนาจให้ พ.ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจเสียไปไม่และหามีผลทำให้ อ.กลับเข้ามาเป็นโจทก์ด้วยตนเองไม่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะ พ.ขอถอนฟ้อง แม้ อ.จะได้ยื่นคำร้องของถอนการมอบอำนาจไว้ก่อนศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีก็ตาม อ.ก็ไม่มีสิทธิขอเป็นโจทก์ดำเนินคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีของหุ้นส่วน การถอนอำนาจต้องทำโดยเสียงข้างมาก สิทธิการเป็นโจทก์
การที่ผู้เป็นหุ้นส่วน 5 คนรวมทั้ง อ. ได้ร่วมกันลงชื่อในใบมอบอำนาจให้ พ. ผู้เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการของหุ้นส่วนตามสัญญาเข้าหุ้นส่วนซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกันนั้น ย่อมถือว่า พ. ฟ้องคดีในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนหาใช่ฟ้องคดีแทนผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะไม่ฉะนั้น หากจะมีการถอนการมอบอำนาจให้ พ. เป็นโจทก์ฟ้องคดี ก็ชอบที่จะกระทำโดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนร่วมกันขอถอนหรือกระทำโดยเสียงข้างมาก ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยจะขอถอนใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นซึ่งเป็นเสียงข้างมากมิได้ยินยอมด้วยหาได้ไม่ฉะนั้น การที่ อ. ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่เพียงคนเดียวยื่นคำร้องขอถอนการมอบอำนาจโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ มิได้ยินยอมด้วย จึงหาทำให้การมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจ เสียไปไม่และหามีผลทำให้ อ. กลับเข้ามาเป็นโจทก์ด้วยตนเองไม่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะพ.ขอถอนฟ้องแม้ อ. จะได้ยื่นคำร้องขอถอนการมอบอำนาจไว้ก่อนศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีก็ตามอ. ก็ไม่มีสิทธิขอเป็นโจทก์ดำเนินคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน แม้ใช้ชื่อห้างอื่นในการทำสัญญา
ห้างม.เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินกิจการแทน ต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เข้าหุ้นกันตั้งห้างส. เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพื่อขยายกิจการค้าของห้างม. และจำเลยที่ 1 ได้ทำการค้าของห้างส.ต่อมาในนามของห้าง ม. โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยทั้งสามประกอบการค้าร่วมกันดังกล่าว จึงเป็นการเข้าหุ้นส่วนกัน เมื่อจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทและเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์ เป็นการทำแทนห้าง ส. แต่ใช้ชื่อห้าง ม. จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจึงต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดตั้งบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียน และสิทธิของหุ้นส่วนในการรับชำระหนี้
ผู้ขอรับชำระหนี้กับจำเลยตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อจะจัดตั้งบริษัททำการจัดสรรที่ดินและอาคารให้เช่าโดยให้ชื่อว่าบริษัทสยามอาคารซึ่งไม่มีคำว่าจำกัด ไว้ปลายชื่อและไม่ปรากฏว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือเพียงใช้ชื่อบริษัทแต่ความจริงเป็นหุ้นส่วน ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระเงินค่าหุ้นให้จำเลยรับไว้แล้ว และบริษัทได้มีการเริ่มงานไปบ้างแล้วโดยหุ้นส่วนทุกคนมอบให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่ผู้เดียว ดังนั้น บริษัทดังกล่าวจึงมิใช่บริษัทจำกัด แม้จะมิได้มีการจดทะเบียนก็จะถือว่ากิจการอันตกลงร่วมหุ้นกันนั้นยังไม่จัดตั้งขึ้นหาได้ไม่ จึงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1112 มาปรับแก่กรณีมิได้ ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินค่าหุ้นคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้อง: ศาลไม่อาจพิพากษาเกินกว่าที่ฟ้อง และจำเลยไม่ต้องรับผิดในฐานะหุ้นส่วนหากไม่ได้ลงชื่อในสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยดำเนินกิจการค้า ใช้ชื่อว่าเดอะไดอะมอนด์วีฟวิ่งแฟคตอรี่ ซึ่งขณะนี้ได้หยุดดำเนินการค้า จำเลยได้ทำสัญญาซื้อด้ายฝ้ายจากโจทก์ และได้รับด้ายฝ้ายไปจากโจทก์เป็นเงิน 317,871.53 บาท จำเลยได้ออกเช็คชำระหนี้ตามรายการในฟ้อง แต่ไม่มีเงินในธนาคารจ่ายตามเช็ค ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย ตามคำฟ้องของโจทก์แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าจากโจทก์ ขอให้ชำระหนี้ข้ออ้างของโจทก์ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นก็คือ จำเลยทำสัญญาซื้อสินค้าจากโจทก์ โจทก์ได้ส่งสินค้านั้นๆ ให้แก่จำเลยรับไปแล้ว จำเลยจ่ายเช็คหลายฉบับให้โจทก์เป็นค่าสินค้าแต่ปรากฏว่าจำเลยไม่มีเงินในธนาคารจ่ายให้ตามเช็ค โจทก์หาได้มีข้ออ้างให้จำเลยต้องรับผิดในฐานที่ว่าจำเลยเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วน ผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนนั้นผิดสัญญาซื้อขายกับโจทก์ต่อมาห้างหุ้นส่วนนั้นล้มเลิกไป จำเลยจึงต้องรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนในฐานะหุ้นส่วนคนหนึ่งไม่ เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งในกิจการค้านามสมญาเดอะไดมอนด์วีฟวิ่งแฟคตอรี่ ในการทำสัญญาซื้อสินค้าจากโจทก์ผู้จัดการของกิจการค้าดังกล่าวเป็นผู้ลงชื่อ จำเลยมิได้ลงชื่อ และลายมือชื่อผู้ออกเช็คทุกฉบับที่โจทก์กล่าวในฟ้องก็เป็นลายมือชื่อของบุคคลอื่นมิใช่ลายมือชื่อจำเลย ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องได้ ทั้งกรณีก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
of 35