พบผลลัพธ์ทั้งหมด 440 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นสัญญาไม่มีผลผูกพัน แม้ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะแล้ว
การ ขาย อสังหาริมทรัพย์ ของ ผู้เยาว์ ผู้เยาว์ เอง หรือ ผู้ใช้ อำนาจ ปกครอง จะ กระทำ มิได้ เว้นแต่ ศาล จะ อนุญาต ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อ ผู้แทนโดยชอบธรรม ต้องห้าม โดย กฎหมาย มิให้ ทำนิติกรรม ขาย ที่ดิน ซึ่ง หมายความ รวม ถึง นิติกรรม จะขาย ที่ดิน แทน ผู้เยาว์ โดย ลำพัง แล้ว จะ ถือว่า การ ที่ ผู้เยาว์ ทำนิติกรรม พร้อม กับ ผู้แทนโดยชอบธรรม มีผล ว่า ผู้แทน โดย ชอบธรรม อนุญาต ให้ ทำได้ โดย ไม่ต้อง ขออนุญาต จาก ศาล ก่อน หรือ ถือว่า นิติกรรม ที่ ผู้เยาว์ กระทำ ด้วย ตนเอง ใน ขณะ ยัง ไม่ บรรลุนิติภาวะ โดย มิได้ รับ อนุญาต จาก ศาล มีผล ผูกพัน ผู้เยาว์ เมื่อ บรรลุนิติภาวะ แล้ว ก็ เท่ากับ เป็น การ หลีกเลี่ยง ไม่ต้อง มา ขออนุญาต จาก ศาล ซึ่ง ผิด ไป จาก เจตนา รม ณ์ ของ กฎหมาย สัญญาจะซื้อขาย ที่ จำเลย ที่ 8 ได้ กระทำ ไป ใน ขณะที่ ยัง เป็น ผู้เยาว์ จึง ไม่มี ผล ผูกพัน จำเลย ที่ 8 แม้ ขณะที่ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 8 จะ บรรลุนิติภาวะ แล้ว .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์ พิจารณาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควร
โจทก์ประกอบธุรกิจขายที่ดินและตึกแถว ตลอดจนให้เช่าตึกแถวด้วยค่าซ่อมแซมตึกแถวถือเป็นรายจ่ายที่จะนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ โดยมีประเด็นเรื่องการหักค่าใช้จ่ายที่สมควร
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวจำนวน 59 แปลงนำ มาให้ผู้อื่นเช่าเพื่อหาผลประโยชน์ แล้วทยอยขายไปเรื่อย ๆ เป็นการกระทำมุ่งในทางธุรกิจเพื่อหาประโยชน์จึงเป็นการได้ทรัพย์มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร การเสียภาษีการค้านั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ให้เสียจากรายรับตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้า จึงไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ จะต้องนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีการค้า แต่การเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดามีการหักค่าใช้จ่าย ส่วนจะหักได้เพียงใดอยู่ที่ ประเภท เงินได้ของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมาแล้ว ทำการ ซ่อมแซมก่อนที่จะทยอยขายไป ค่าซ่อมแซมจึงถือเป็นรายจ่าย ที่ จะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าค่าซ่อมแซมมีจำนวนเท่าใด ก็ย่อมกำหนดค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502มาตรา 8 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่สิ้นสุดแม้มีการโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต หากยังมีการใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง
ภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิประเภทที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์ผูกพันอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเป็นสามยทรัพย์ ไม่ใช่ทรัพยสิทธิส่วนตัวบุคคล แม้เจ้าของภารยทรัพย์จะเปลี่ยนตัวไปก็หาเป็นข้อสำคัญไม่ส่วนมาตรา 1299 ที่บัญญัติว่า "สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว" นั้น หมายความถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพยสิทธิอันเดียวกันกับทรัพยสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนั้น จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาเป็นการได้สิทธิประเภทกรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์แล้วสร้างกำแพงปิดล้อมที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทางภารจำยอมที่โจทก์ใช้รถยนต์แล่นเข้าออกที่ดินของโจทก์ กรณีจึงมิใช่การโต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพยสิทธิอันเดียวกัน จำเลยจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทต้องสิ้นไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปีต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน หากไม่จดทะเบียน สิทธิบังคับได้เพียง 3 ปี
จำเลยเช่าที่ดินของ ห. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีผลบังคับกันได้เพียง 3 ปี ที่จำเลยให้การว่ากำหนดเวลาเช่าที่เกินกว่า 3 ปีเป็นคำมั่นซึ่งมีผลบังคับ ห. ได้ จึงมีผลบังคับ พ. ผู้รับโอนที่ดินจาก ห. ด้วยนั้น ไม่มีบทกฎหมายรับรองสิทธิให้บังคับตามที่จำเลยให้การ ศาลชอบที่จะพิพากษาคดีได้โดยไม่จำต้องสืบพยาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มิฉะนั้นบังคับได้เพียง 3 ปี
จำเลยเช่าที่ดินของ ห. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีผลบังคับกันได้เพียง 3 ปี ที่จำเลยให้การว่ากำหนดเวลาเช่าที่เกินกว่า 3 ปีเป็นคำมั่นซึ่งมีผลบังคับ ห.ได้จึงมีผลบังคับพ. ผู้รับโอนที่ดินจาก ห. ด้วยนั้น ไม่มีบทกฎหมายรับรองสิทธิให้บังคับตามที่จำเลยให้การ ศาลชอบที่จะพิพากษาคดีได้โดยไม่จำต้องสืบพยาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5160/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์: การยกให้เป็นเหตุให้ไม่มีเจตนาทุจริต แม้ไม่ทำตามแบบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า บ้านที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกนั้น จำเลยได้รับยกให้จากบิดาตามที่จำเลยนำสืบต่อสู้ แม้การยกให้ดังกล่าวจะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ เท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์ตามที่โจทก์กล่าวหา ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การยกให้มิได้ทำตามแบบจำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทนั้น แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4867/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์, สัญญาซื้อขาย, การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร, หักกลบลบหนี้, ค่าธรรมเนียมการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็ค แต่โจทก์ฟ้องอ้างมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดิน โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยซื้อที่ดินจากโจทก์กี่โฉนด จำนวนเนื้อที่เท่าใด ราคาทั้งหมดเท่าใด ส่วนที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระจากจำเลยเป็นเงินเท่าใด โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยชำระเงินไม่ครบถ้วนอย่างไร รวมจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์เท่าใด ดังนี้คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับเช็คฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การซื้อขายที่ดินเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ป.พ.พ. มาตรา 456 บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การฟังพยานหลักฐานในกรณีเช่นนี้ต้องอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์จำเลยจึงจะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไม่ได้ ในเอกสารหนังสือซื้อขายที่ดินระบุว่า "ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เรียบร้อยแล้ว" ดังนี้ในส่วนของจำนวนเงินที่จำเลยมิได้ชำระเป็นเช็ค โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงต่างไปจากความที่ระบุไว้ชัดแจ้งในหนังสือสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่ แต่ในส่วนที่ชำระกันด้วยเช็คนั้นแม้โจทก์จะมิได้ฟ้องในมูลหนี้ตามเช็ค โจทก์ย่อมสืบได้ว่าหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายที่ดินยังไม่ระงับไปเพราะโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้ ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
ข้อตกลงที่มาสู่การซื้อขายที่ดินพิพาทเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย มิใช่เกิดจากการวางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จึงเป็นกรณีที่ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่าค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ผู้จะขายเป็นผู้ชำระเองทั้งสิ้นโจทก์จึงจะนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยผู้จะซื้อตกลงออกค่าธรรมเนียมในการโอนไม่ได้
การซื้อขายที่ดินเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ป.พ.พ. มาตรา 456 บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การฟังพยานหลักฐานในกรณีเช่นนี้ต้องอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์จำเลยจึงจะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไม่ได้ ในเอกสารหนังสือซื้อขายที่ดินระบุว่า "ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เรียบร้อยแล้ว" ดังนี้ในส่วนของจำนวนเงินที่จำเลยมิได้ชำระเป็นเช็ค โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงต่างไปจากความที่ระบุไว้ชัดแจ้งในหนังสือสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่ แต่ในส่วนที่ชำระกันด้วยเช็คนั้นแม้โจทก์จะมิได้ฟ้องในมูลหนี้ตามเช็ค โจทก์ย่อมสืบได้ว่าหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายที่ดินยังไม่ระงับไปเพราะโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้ ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
ข้อตกลงที่มาสู่การซื้อขายที่ดินพิพาทเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย มิใช่เกิดจากการวางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จึงเป็นกรณีที่ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่าค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ผู้จะขายเป็นผู้ชำระเองทั้งสิ้นโจทก์จึงจะนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยผู้จะซื้อตกลงออกค่าธรรมเนียมในการโอนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4867/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญา, เช็คไม่ขึ้นเงิน, และการหักกลบลบหนี้
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็ค แต่โจทก์ฟ้องอ้างมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดิน โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยซื้อที่ดินจากโจทก์กี่โฉนด จำนวนเนื้อที่เท่าใด ราคาทั้งหมดเท่าใด ส่วนที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระจากจำเลยเป็นเงินเท่าใด โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยชำระเงินไม่ครบถ้วนอย่างไร รวมจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์เท่าใด ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับเช็คฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การซื้อขายที่ดินเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ป.พ.พ. มาตรา456 บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การฟังพยานหลักฐานในกรณีเช่นนี้ต้องอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 94โจทก์จำเลยจึงจะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไม่ได้ ในเอกสารหนังสือซื้อขายที่ดินระบุว่า "ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เรียบร้อยแล้ว" ดังนี้ในส่วนของจำนวนเงินที่จำเลยได้ชำระเป็นเช็คโจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงต่างไปจากความที่ระบุไว้ชัดแจ้งในหนังสือสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่ แต่ในส่วนที่ชำระกันด้วยเช็คนั้นแม้โจทก์จะมิได้ฟ้องในมูลหนี้ตามเช็ค โจทก์ย่อมสืบได้ว่าหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายที่ดินยังไม่ระงับไปเพราะโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้ ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ข้อตกลงที่มาสู่การซื้อขายที่ดินพิพาทเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย มิใช่เกิดจากวางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จึงเป็นกรณีที่ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่าค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ผู้จะขายเป็นผู้ชำระเองทั้งสิ้นโจทก์จึงจะนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยผู้จะซื้อตกลงออกค่าธรรมเนียมในการโอนไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินที่ไม่เข้าข่ายการค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
ที่ดินที่โจทก์รับซื้อฝากไว้ไม่มีทางรถยนต์เข้าถึง เนื้อที่เพียง 1 ไร่ 74 ตารางวามีบ้านที่ผู้อื่นปลูกอยู่ก่อนแล้วหลายหลัง ตั้งอยู่ใกล้สุเหร่าซึ่งมิใช่ทำเลการค้า และโจทก์มิใช่บุคคลผู้มีอาชีพค้าขายที่ดิน พฤติการณ์ที่โจทก์รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ก็น่าเชื่อว่าประสงค์จะได้ดอกเบี้ยเท่านั้นและโจทก์ขายที่ดินแปลงนี้ภายหลังจากที่โจทก์ได้กรรมสิทธิ์มาแล้วถึง 6 - 7 ปี โดยมิได้ทำการปรับปรุงที่ดิน อีกทั้งเป็นการขายให้แก่ญาติของผู้ขายฝากที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่ดินแปลงนั้นในราคาเท่าที่ซื้อฝากไว้เพราะความสงสารที่เป็นคนยากจน ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอันจะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษีการค้าก็ต่อเมื่อเป็นรายรับที่ได้มาจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรเท่านั้น เมื่อการขายที่ดินของโจทก์มิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษีการค้าก็ต่อเมื่อเป็นรายรับที่ได้มาจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรเท่านั้น เมื่อการขายที่ดินของโจทก์มิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า