คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5867/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษปรับเพื่อเพิ่มโทษในความผิดฐานพนัน: การปรับเป็นโทษทางอาญา ทำให้การชำระค่าปรับถือเป็นการพ้นโทษ
การปรับเป็นโทษอย่างหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(4)เมื่อศาลลงโทษปรับจำเลยและมีการชำระค่าปรับครบถ้วนแล้วในวันเวลาใดย่อมถือได้ว่าจำเลยได้พ้นโทษนับแต่วันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้วหากจำเลยพ้นโทษปรับมาแล้ว ยังไม่ครบกำหนด 3 ปี มากระทำผิดต่อพระราชบัญญัติการพนันอีก จึงเข้าหลักเกณฑ์ต้องวางโทษหนักขึ้นตามที่พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 14 ทวิ อนุมาตรา (1)หรือ (2) แล้วแต่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4802/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทลงโทษอาญาและคำสั่งชดใช้ค่าเสียหายในคดีชิงทรัพย์ ฆ่าผู้อื่น และมีอาวุธปืน
ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง กับไม่ได้สั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายตามที่โจทก์ฟ้องขอมาด้วยศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4802/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทลงโทษอาญาที่ศาลอุทธรณ์ผิดพลาด และคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหาย
ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง กับไม่ได้สั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายตามที่โจทก์ฟ้องขอมาด้วยศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาอาญา: การโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว และการยกอายุความที่ไม่เคยว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ถือเป็นการฎีกาต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,364,365 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 จำคุก 3 เดือน ปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงอาญาไว้มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 362 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อยโดยเพิ่มบทมาตรา 365 เป็นบทมาตราที่จำเลยกระทำผิดเพิ่มขึ้นอีกบทหนึ่ง และคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีสิทธิฎีกาของคู่ความจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ซึ่งห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของห้องแถวพิพาท จึงไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้นคดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของห้องแถวพิพาท ฎีกาของจำเลยเท่ากับโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมมิได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ภายในเวลา 3 เดือนคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 จึงขาดอายุความนั้นจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขั้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ด้วย ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้แม้โจทก์ร่วมมิได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ได้อยู่แล้ว การวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษทางอาญาเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 กระทง กระทงละ 3 ปีรวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดย ระบุวรรคของบทกฎหมายที่ยกขึ้นปรับลงโทษจำเลยเสียให้ชัดเจน และแก้ โทษเป็นจำคุกกระทงละ2 ปี รวมเป็นจำคุก 4 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย โดย ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินกระทงละ 5 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก ฎีกาจำเลยที่ว่า พยานโจทก์มีพิรุธ ขัดแย้งกันเองฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: ศาลพิพากษาลงโทษได้ตามคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ต่อเติม มีกำหนด 150 วัน (นับตั้งแต่ วันที่ 29 สิงหาคม 2530จนถึง วันฟ้อง) และมีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอศาลได้ สั่งปรับจำเลยตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวด้วย เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะได้ บรรยายแล้วว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งมีกำหนดถึง วันฟ้องกี่วัน และมีคำขอท้ายฟ้องให้สั่งปรับจำเลยตลอด เวลาที่ฝ่าฝืนมาด้วยจำเลยให้การรับสารภาพ จึงอ้างว่าไม่สามารถเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ได้ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 6570 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าให้ปรับได้ตลอด ระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร และโจทก์ก็ขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย การที่ศาลพิพากษาในปัญหานี้จึงไม่เกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษอาญา – มาตรา 341 และ 343 ต้องระบุวรรคความผิดให้ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341 และ 343จำเลยให้การรับสารภาพ ดังนี้ จะปรับบทลงโทษทั้งสองมาตราโดยไม่ระบุว่ามาตรา 343 เป็นความผิดวรรคใด นั้นไม่ ถูกต้อง เพราะเมื่อลงโทษตาม มาตรา 343 แล้วก็ไม่ต้องปรับบทลงโทษตาม มาตรา 341 อีกแต่ ต้อง ระบุวรรคด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมุดฝากเงินหลักประกันคดีอาญา ไม่ใช่ทรัพย์หรือเอกสารที่ใช้ในการพิจารณาคดีตาม ป.อ.มาตรา 185
สมุดฝากเงินออมสินซึ่ง ส่งให้ศาลรักษาไว้ในฐานะ เป็นหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวจำเลยคดีอาญา ไม่ใช่พยานหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยในคดีอาญานั้นกระทำผิดหรือไม่อย่างไรจึงไม่เป็นทรัพย์ หรือเอกสารที่ได้ ส่ง หรือศาลได้ รักษาไว้ในการพิจารณาคดี ตาม ป.อ. มาตรา 185 ในคดีอาญา การที่จำเลยให้การรับสารภาพนั้น คำรับสารภาพของจำเลยเป็นเรื่องที่รับว่ามีการกระทำตาม ฟ้องเท่านั้น ส่วนการกระทำตาม ฟ้องจะเป็นความผิดตาม บทกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษหรือไม่นั้นเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาดัง ที่บัญญัติไว้ในป.วิ.อ. มาตรา 185.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความโดยทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอม ย่อมผูกพันโจทก์ ทำให้สิทธิฟ้องอาญาดับไป
ระหว่างการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยตกลง กันได้ และต่าง แถลงต่อ ศาลร่วมกันว่าจำเลยได้ ชำระเงินแก่โจทก์เกือบหมดแล้วส่วนที่เหลือจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ตกลง กันโดย จำเลยจะออกเช็ค เงินสดให้โจทก์ไว้ ทนายโจทก์แถลงว่าเมื่อได้ รับเงินตาม เช็ค ที่จำเลยออกให้แล้วโจทก์จะคืนเช็ค เดิม ที่จำเลยที่ 3 ออกให้ไว้ล่วงหน้าแก่จำเลย และโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยศาลชั้นต้นจึงเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป เมื่อถึง วันนัดฟังคำพิพากษา ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ ชำระหนี้ตาม เช็ค แล้วทนายโจทก์เห็นควรให้ถอนฟ้อง แต่ โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัว และใบแต่งทนายความปรากฏว่าทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ ทนายโจทก์ย่อมจะขอยอมความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสอง และมีผลผูกพันโจทก์การที่ทนายโจทก์แถลงต่อหน้าศาลว่าจะถอนฟ้องไม่ ดำเนินคดีแก่จำเลยและเมื่อโจทก์ได้ รับเงินตาม เช็ค ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ ต่อมาทนายโจทก์ได้ ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ ชำระหนี้ตาม เช็ค นั้นแล้ว โจทก์มีหน้าที่ถอนฟ้อง และมีผลเป็นการยอมความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความโดยทนายจำเลยมีอำนาจ ทำให้สิทธิฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ
โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยตกลงกันได้และต่างแถลงร่วมกันว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์เกือบหมดแล้วส่วนที่เหลือจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ตกลงกันโดยจำเลยจะออกเช็คเงินสดให้โจทก์ไว้ โจทก์รับว่าเมื่อได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แล้ว โจทก์จะคืนเช็คอีก2 ฉบับที่จำเลยที่ 3 ออกให้ไว้ล่วงหน้าแก่จำเลย และโจทก์จะถอนฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นจึงเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษา ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คแล้ว ทนายโจทก์เห็นควรให้ถอนฟ้อง แต่โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัว และใบแต่งทนายความปรากฏว่าทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ทนายโจทก์ย่อมจะขอยอมความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสองและมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์แล้ว จึงมีผลเป็นการยอมความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2).
of 71