พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงาน: การกระทำผิดร่วมกันระหว่างตำรวจและผู้คุมเรือนจำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นตำรวจประจำสถานีตำรวจทุ่งวังอำเภอเมืองสงขลา จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมเรือนจำประจำเรือนจำเขตสงขลาได้ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจเพื่อให้ผู้อื่นมอบเงินให้อันเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148,157, 337 และ 83 นั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดจริง ก็ลงโทษจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น เพราะแม้จำเลยที่ 2 เป็นพลตำรวจแต่โจทก์ก็มิได้ระบุในฟ้องว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดโดยทั่ว ๆ ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ตำรวจดับเพลิงในการสืบสวนคดีอาญาและการเรียกรับเงินเพื่อละเว้นการจับกุม
จำเลยเป็นตำรวจประจำกองบังคับการตำรวจดับเพลิง ได้สมคบกับจำเลยอื่นแสดงตัวกับผู้เสียหายว่าเป็นตำรวจ จะจับตัวผู้เสียหายฐานขายยาผิดประเภท แต่จำเลยกลับเรียกเอาเงินจากผู้เสียหาย เพื่อไม่จับกุมดำเนินคดีดังกล่าว จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยจะอ้างว่าเป็นตำรวจดับเพลิง มีหน้าที่ดับเพลิงเท่านั้น ไม่มีอำนาจสอบสวนสืบสวนเพื่อจับกุมผู้กระทำผิดอาญาหาได้ไม่ เพราะหน้าที่การดับเพลิงนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะตามที่ทางราชการแต่งตั้งให้ปฏิบัติ แต่โดยทั่วไปแล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อจำเลยได้เรียกและรับเอาเงินจากผู้เสียหาย เพื่อไม่จับกุมดำเนินคดีอาญาฐานขายยาผิดประเภท จำเลยย่อมมีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตำรวจดับเพลิงมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาได้ การเรียกรับเงินเพื่อไม่ดำเนินคดีเป็นทุจริตต่อหน้าที่
จำเลยเป็นตำรวจประจำกองบังคับการตำรวจดับเพลิง ได้สมคบกับจำเลยอื่นแสดงตัวกับผู้เสียหายว่าเป็นตำรวจ จะจับตัวผู้เสียหายฐานขายยาผิดประเภท แต่จำเลยกลับเรียกเอาเงินจากผู้เสียหาย เพื่อไม่จับกุมดำเนินคดีดังกล่าว จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยจะอ้างว่าเป็นตำรวจดับเพลิง มีหน้าที่ดับเพลิงเท่านั้นไม่มีอำนาจสอบสวนสืบสวนเพื่อจับกุมผู้กระทำผิดอาญาหาได้ไม่เพราะหน้าที่การดับเพลิงนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะตามที่ทางราชการแต่งตั้งให้ปฏิบัติ แต่โดยทั่วไปแล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อจำเลยได้เรียกและรับเอาเงินจากผู้เสียหาย เพื่อไม่จับกุมดำเนินคดีอาญาฐานขายยาผิดประเภท จำเลยย่อมมีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85-88/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับรื้อถอนอาคารกับความผูกพันต่อบุคคลภายนอก และอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้จำเลยสั่งรื้ออาคารซึ่งเป็นภยันตรายต่อสาธารณชนและโจทก์เมื่อปรากฏต่อศาลว่าจำเลยมิใช่เป็นเจ้าของอาคารพิพาท หากศาลมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ ผลของการบังคับคดีย่อมไปผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย ให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างขึ้นภายในเขตเทศบาล เป็นอำนาจหน้าที่โดยอิสระของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11, 12 และ พระราชบัญญัติควบคุมก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มาตรา 3, 4, 5 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องรับผิดในเมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับให้
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างขึ้นภายในเขตเทศบาล เป็นอำนาจหน้าที่โดยอิสระของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11, 12 และ พระราชบัญญัติควบคุมก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มาตรา 3, 4, 5 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องรับผิดในเมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85-88/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับรื้ออาคารกับบุคคลภายนอกและอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้จำเลยสั่งรื้ออาคารซึ่งเป็นภยันตรายต่อสาธารณชนและโจทก์ เมื่อปรากฏต่อศาลว่าจำเลยมิใช่เป็นเจ้าของอาคารพิพาทหากศาลมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ ผลของการบังคับคดีย่อมไปผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างขึ้นภายในเขตเทศบาลเป็นอำนาจหน้าที่โดยอิสระของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11,12, และพระราชบัญญัติควบคุมก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มาตรา 3,4,5 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องรับผิดในเมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับให้
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างขึ้นภายในเขตเทศบาลเป็นอำนาจหน้าที่โดยอิสระของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11,12, และพระราชบัญญัติควบคุมก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มาตรา 3,4,5 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องรับผิดในเมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ ธ.ประเทศไทย กับการใช้จ่ายทุนสำรองเงินตรา และผลกระทบของคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ
ทุนสำรองเงินตรานั้นเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับมอบจากกระทรวงการคลังไปแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเฉพาะที่จะรักษาไว้และนำไปใช้จ่ายได้ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ หาได้เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงการคลังไม่ ฉะนั้นกระทรวงการคลังจึงหามีอำนาจที่จะฟ้องเรียกเงินนี้คืนจากผู้ที่ถูกกล่าวหาว่านำไปใช้จ่ายโดยมิชอบไม่
คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในระหว่างปฏิวัติซึ่งยังมิได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาล ย่อมเป็นคำสั่งที่มีผลบังคับเด็ดขาดในทางบริหารฉะนั้นการที่จำเลยในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติไปตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในการทำสัญญาจ้างพิมพ์ธนบัตรกับบริษัทต่างประเทศและจ่ายเงินล่วงหน้าไปโดยไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตาม มติของคณะกรรมการดังกล่าวหาอาจลบล้างคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติไม่ ที่จำเลยปฏิบัติไปตามคำสั่งนั้นจึงมิใช่เป็นการผิดกฎหมายอันจะถือว่าเป็นการละเมิดแต่อย่างใด
คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในระหว่างปฏิวัติซึ่งยังมิได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาล ย่อมเป็นคำสั่งที่มีผลบังคับเด็ดขาดในทางบริหารฉะนั้นการที่จำเลยในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติไปตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในการทำสัญญาจ้างพิมพ์ธนบัตรกับบริษัทต่างประเทศและจ่ายเงินล่วงหน้าไปโดยไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตาม มติของคณะกรรมการดังกล่าวหาอาจลบล้างคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติไม่ ที่จำเลยปฏิบัติไปตามคำสั่งนั้นจึงมิใช่เป็นการผิดกฎหมายอันจะถือว่าเป็นการละเมิดแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่จัดการทุนสำรองเงินตราเป็นของ ธปท. และความชอบด้วยกฎหมายของการปฏิบัติตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ
ทุนสำรองเงินตรานั้นเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับมอบจากกระทรวงการคลังไปแล้วย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเฉพาะที่จะรักษาไว้และนำไปใช้จ่ายได้ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้หาได้เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงการคลังไม่ฉะนั้น กระทรวงการคลังจึงหามีอำนาจที่จะฟ้องเรียกเงินนี้คืนจากผู้ที่กล่าวหาว่านำไปใช้จ่ายโดยมิชอบไม่
คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในระหว่างปฏิวัติซึ่งยังมิได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลย่อมเป็นคำสั่งที่มีผลบังคับเด็ดขาดในทางบริหารฉะนั้นการที่จำเลยในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติไปตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในการทำสัญญาจ้างพิมพ์ธนบัตรกับบริษัทต่างประเทศและจ่ายเงินล่วงหน้าไปโดยไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตามมติของคณะกรรมการดังกล่าวหาอาจลบล้างคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติไม่ที่จำเลยปฏิบัติไปตามคำสั่งนั้นจึงมิใช่เป็นการผิดกฎหมายอันจะถือว่าเป็นการละเมิดแต่อย่างใด
คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในระหว่างปฏิวัติซึ่งยังมิได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลย่อมเป็นคำสั่งที่มีผลบังคับเด็ดขาดในทางบริหารฉะนั้นการที่จำเลยในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติไปตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในการทำสัญญาจ้างพิมพ์ธนบัตรกับบริษัทต่างประเทศและจ่ายเงินล่วงหน้าไปโดยไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตามมติของคณะกรรมการดังกล่าวหาอาจลบล้างคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติไม่ที่จำเลยปฏิบัติไปตามคำสั่งนั้นจึงมิใช่เป็นการผิดกฎหมายอันจะถือว่าเป็นการละเมิดแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานแสดงตนเท็จ ร่วมกับผู้อื่นเรียกเงินจากผู้เสียหาย โดยอ้างอำนาจหน้าที่
จำเลยที่ 1 เป็ฯเจ้าพนักงานประจำหน่วยสืบสวนกองปราบปราม กรมสรรพสามิต จำเลยที่ 2 เป็ฯพลตำรวจ ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นราษฎรร่วมกันกระผิดโดยจำเลยที่ 3 แกล้งกล่าวหาว่าผู้เสียหายมีเฮโรอีนแล้วอ้างตนว่าเป็นตำรวจจับตัวผู้เสียหายไปพบกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 บอกผู้เสียหายว่าตนเป็นผู้บังคับหมวดตำรวจ ให้เอาเงินมาให้จำเลย 5,000 บาทแล้วไม่ต้องไปโรงพัก สามีของผู้เสียหายไปหาเงินจำเลยก็คุมตัวผู้เสียหายรออยู่ จนเมื่อหาเงินมาได้และให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยจึงปล่อยตัว ดังนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 145,337,148 ประกอบกับมาตรา 86 จำเลยที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 148 และ 337 แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฏหมายหลายบท ตามมาตรา 90 ให้ใช้บทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ และถึงแม้จะมิได้ใช้มาตรา 337 เป็นบทลงโทษเช่นนี้ ศาลก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายตามที่อัยการโจทก์ขอด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787-788/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของนิติบุคคลแสดงผ่านผู้แทน หากการกระทำอยู่ในอำนาจหน้าที่และเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคล นิติบุคคลจึงต้องรับผิดทางอาญา
เจตนาของนิติบุคคลย่อมแสดงออกทางผู้แทนของนิติบุคคลเมื่อผู้แทนของนิติบุคคลแสดงเจตนาซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้แทนในทางการของการดำเนินกิจการตามวัตถุที่ประสงค์ของนิติบุคคลเจตนานั้นก็ผูกพันนิติบุคคล และต้องถือว่าเป็นเจตนาของนิติบุคคลนั้นเองฉะนั้น นิติบุคคลจึงอาจมีเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดในทางอาญาและกระทำความผิดซึ่งผู้กระทำต้องมีเจตนารวมทั้งต้องรับโทษทางอาญาเท่าที่ลักษณะแห่งโทษเปิดช่องให้ลงแก่นิติบุคคลได้ ซึ่งต้องพิจารณาตามลักษณะความผิดพฤติการณ์แห่งการกระทำและอำนาจหน้าที่ของผู้แทนนิติบุคคลประกอบกับวัตถุที่ประสงค์ของนิติบุคคลเป็นรายๆ ไป
การที่ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นโดยกระทำไปในอำนาจหน้าที่ทางการค้าอันเป็นวัตถุที่ประสงค์และเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของห้างหุ้นส่วนถือได้ว่าเป็นเจตนาและการกระทำของห้างหุ้นส่วน ฉะนั้น ห้างหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดทางอาญาด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2506)
การที่ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นโดยกระทำไปในอำนาจหน้าที่ทางการค้าอันเป็นวัตถุที่ประสงค์และเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของห้างหุ้นส่วนถือได้ว่าเป็นเจตนาและการกระทำของห้างหุ้นส่วน ฉะนั้น ห้างหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดทางอาญาด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้เงินเจ้าพนักงานเพื่อช่วยเหลือคดี ไม่ถือเป็นความผิดตามมาตรา 144 หากเจ้าพนักงานไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในคดีนั้น
ความผิดฐานให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์แก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 จะต้องเป็นเรื่องให้หรือขอให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการหรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นเอง การที่จำเลยให้เงินกำนันเพื่อให้กำนันช่วยเหลือไปติดต่อกับเจ้าพนักงานอำเภอหรือพนักงานสอบสวนให้กระทำการให้คดีของจำเลยเสร็จไปในชั้นอำเภออย่าให้ต้องถึงฟ้องศาลเนื่องจากกำนันรายงานกล่าวโทษจำเลยไปอำเภอและอำเภอเรียกพยานทำการสอบสวนไปแล้วดังนี้ เป็นการพ้นอำนาจหน้าที่ของกำนันแล้วจำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144