พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนที่ดินขายฝาก: การหลีกเลี่ยงของจำเลยไม่ผูกพันโจทก์ตามเงื่อนไขการวางทรัพย์
บันทึกด้านหลังของหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพากษากำหนดเงื่อนไขว่าโจทก์ขายฝากต้องนำเงินค่าไถ่ถอนไปวางณ สำนักงานวางทรัพย์ภายในกำหนดเวลาขายฝาก หากไม่สามารถติดตามตัวจำเลยผู้ซื้อฝากเพื่อขอไถ่ถอนได้นั้น หากปรากฎว่าโจทก์ ได้ใช้สิทธิไถ่ถอนที่ดินพิพากษาตามกำหนดเวลาแล้ว แต่จำเลย หลีกเลี่ยงประวิงเวลาเอาไว้ไม่ให้ไถ่ถอนโจทก์จึงหาจำต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินอากรตามมาตรา 19 พ.ร.บ.ศุลกากร: การปฏิบัติตามแบบพิมพ์ไม่ใช่เงื่อนไขหลัก
การยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 ก่อนถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 นั้น ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามข้อบังคับที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดไว้ หากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าห้ามมิให้รับพิจารณาคำร้องขอคืนเงินอากร แต่มาตรา 19 วรรคท้าย ที่บัญญัติขึ้นใหม่โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ข้อ 18 มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้พิจารณาคำขอคืนเงินอากรในกรณีที่มิได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนไว้ แสดงว่าการขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ที่บัญญัติขึ้นใหม่นี้กฎหมายมิได้ถือเอาการปฏิบัติตามข้อบังคับของอธิบดีกรมศุลกากรโดยถูกต้องครบถ้วนเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการพิจารณาคืนเงินอากรให้แก่ผู้นำเข้าเหมือนที่เคยบัญญัติไว้เดิม ดังนั้น หากโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 (ก) ถึง (ง) แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุที่โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรโดยใช้แบบพิมพ์ผิดไปจากแบบที่อธิบดีของจำเลยได้กำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์หาได้ไม่
แม้โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 ง.ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ.2482 แทนที่จะยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นคำขอดังกล่าวภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศถือได้ว่าโจทก์ได้ขอคืนเงินอากรภายในกำหนดเวลาตามเงื่อนไขในมาตรา 19 (ง)แล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีอากรตามฟ้องให้แก่โจทก์
แม้โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 ง.ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ.2482 แทนที่จะยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นคำขอดังกล่าวภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศถือได้ว่าโจทก์ได้ขอคืนเงินอากรภายในกำหนดเวลาตามเงื่อนไขในมาตรา 19 (ง)แล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีอากรตามฟ้องให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ศาลฎีกาพิพากษาตามอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันในสัญญา
สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทระบุว่ากรรมสิทธิ์จะตกแก่ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาเป็นงวด ๆ ตามที่กำหนดไว้ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อจนกว่าจะชำระราคาครบถ้วนตามงวด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระราคาตามงวดโจทก์ได้เข้าครอบครองรถยนต์พิพาทนำมาขายทอดตลาด ขายแล้วได้เงินไม่ครบโจทก์จึงเรียกเงินราคาค่ารถยนต์ที่ยังขาดอยู่จากจำเลยที่ 1 ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ดังนี้เงินจำนวนดังกล่าวไม่มีข้อสัญญาข้อใดกำหนดให้ถือเป็นค่าเสียหาย และจำนวนเงินนั้นก็คือเงินราคารถยนต์ตามสัญญาซื้อขายนั่นเอง จึงจะถือเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและสูงเกินไปไม่ได้ สัญญาระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินงวดต่าง ๆ ตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาหรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ใด ๆ ในสัญญา ผู้ซื้อยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ขายอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้เงินราคารถยนต์ที่ขาดก็คือเงินต่าง ๆ ที่กำหนดในสัญญานั้นเอง จำเลยที่ 1ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามสัญญาไม่ใช่ร้อยละ 7.5ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขและผลของการผิดนัดชำระหนี้: สิทธิของผู้ขายในการขายทอดตลาดและเรียกเงินขาด
สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทมีเงื่อนไขระบุว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อ จนกว่าจะชำระราคาครบถ้วนตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายย่อมใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 และในสัญญาซื้อขายระบุว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาตามงวด ผู้ขายมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์พิพาทและย่อมมีสิทธิขายทอดตลาดได้ด้วยและเมื่อขายแล้วได้เงินไม่พอ ผู้ซื้อยอมชดใช้เงินจำนวนที่ขาดอยู่ เมื่อผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาและผู้ขายดำเนินการเอารถยนต์พิพาทออกขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 470 และ 471แล้ว ยังขาดเงินอีก 55,260 บาท ผู้ซื้อและผู้ค้ำประกันต้องรับผิด เพราะถือว่าเป็นเงินราคารถยนต์พิพาทที่ขาดอยู่ และเงินจำนวนดังกล่าวนี้ไม่มีข้อใดในสัญญากำหนดให้ถือเป็นค่าเสียหายจึงมิใช่เบี้ยปรับ สัญญาซื้อขายข้อ 6 วรรคสองระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินงวดต่าง ๆ ตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา หรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ใด ๆ ในสัญญานี้ ผู้ซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ขายอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เงินจำนวน 55,260 บาท ซึ่งเป็นเงินราคารถยนต์พิพาทที่ขาดอยู่ก็คือเงินงวดต่าง ๆ ที่เกิดจากการที่ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระให้โจทก์ตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญาผู้ขายจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากผู้ซื้อได้ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงให้เสียทรัพย์และการยอมความมีเงื่อนไข ไม่ทำให้สิทธิฟ้องอาญาขาดอายุ
จำเลยเพียงแต่หลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยจะช่วยติดต่อให้เข้าทำงานเป็นสารวัตรทหารได้โดยไม่ต้องสอบเท่านั้น ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลยไปไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายให้เงินจำเลยไปเพื่อให้จำเลยนำไปให้ข้าราชการทหารคนใดกระทำการอย่างใดอันมิชอบด้วยหน้าที่ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายใช้ให้ผู้ใดกระทำผิดกฎหมายผู้เสียหายจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีได้ ผู้เสียหายและจำเลยได้ทำบันทึกกันไว้ ถ้าจำเลยนำเงินมาคืนผู้เสียหายภายในกำหนด ผู้เสียหายก็จะไม่เอาเรื่องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไขที่ให้จำเลยชำระเงินคืนผู้เสียหายเสียก่อน ผู้เสียหายจึงจะไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยแต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้ชำระเงินคืนแก่ผู้เสียหายจึงมิใช่เป็นการยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งมีเงื่อนไข: การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการละเมิดสัญญาจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและไม่จ่ายค่าชดเชย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ หากศาลฟังว่าเป็นการเลิกจ้าง ก็เป็นการเลิกจ้างด้วยความเป็นธรรมเพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเรียกร้องผลประโยชน์จากโรงงานผู้ขายสินค้ากับประกอบกิจการค้าอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับจำเลยและเปิดเผยความลับในทางการค้าของจำเลย ทำให้จำเลยเสียหาย ขอให้ยกฟ้องและให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องแย้งเพราะเหตุละเมิดดังกล่าวให้แก่จำเลย ฟ้องแย้งดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการไม่ยอมรับว่ามีปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามฟ้องเดิมของโจทก์เลย เว้นแต่ศาลจะฟังว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เสียก่อน จึงจะไปพิจารณาในปัญหาข้อพิพาทอันเกิดแต่มูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามฟ้องแย้งของจำเลยได้ภายหลังฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขที่ไม่สมควรจะรับไว้พิจารณากับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข: ศาลฎีกาชี้ว่าฟ้องแย้งที่อ้างเหตุละเมิดหลังปฏิเสธการเลิกจ้าง เป็นฟ้องแย้งที่ไม่สมควรรับพิจารณา
ในชั้นแรกจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธฟ้องว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ ต่อมากลับให้การว่า หากศาลฟังว่าเป็นการเลิกจ้าง ก็เป็นการเลิกจ้างด้วยความเป็นธรรมเพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเรียกร้องผลประโยชน์จากโรงงานผู้ขายสินค้ากับประกอบกิจการค้าอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับจำเลยที่ 1 และเปิดเผยความลับในทางการค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย ขอให้ยกฟ้องและให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องแย้งเพราะเหตุละเมิดดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขที่ไม่สมควรจะรับไว้พิจารณากับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกัน – การปรับค่าประกัน – เงื่อนไขการชำระ – การลดค่าปรับ – อำนาจศาล
ผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 ต่อศาลชั้นต้นเป็นฉบับเดียวกัน แล้วผิดสัญญาประกัน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งปรับผู้ประกันในคำสั่งเดียวกันได้ และเมื่อภายหลังผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลหลังวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกัน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะมี คำสั่งลดจำนวนค่าปรับผู้ประกันเฉพาะจำเลยที่ 3 ลงโดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องชำระค่าปรับดังกล่าวภายใน 1 เดือน และต้องไม่ผิดนัดชำระค่าปรับสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยมิฉะนั้นให้ปรับเต็มตามสัญญาประกันอันเป็นเงื่อนไขซึ่งเกี่ยวพันกับการปรับผู้ประกันในส่วนของจำเลยที่ 2 ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระค่าปรับกรณีผิดสัญญาประกันได้ตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 119 โดยไม่จำต้องแยกคำสั่งปรับผู้ประกันจำเลยที่ 2และที่ 3 ออกจาก กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4034/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงไม่ดำเนินคดีอาญาที่มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์ ไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญายังไม่ระงับ
การที่โจทก์ร่วมตกลงว่าไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมภายในกำหนด 2 เดือน ถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายเพราะมิได้ตกลงว่าจะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยตลอดไป แต่จะไม่ดำเนินคดีต่อเมื่อจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมภายในกำหนด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับตามป.วิ.อ. มาตรา 39(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4034/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความที่มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์ ไม่ระงับสิทธิฟ้องอาญา
ภายหลังจากจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมได้ฟ้องขับไล่จำเลยต่อศาลชั้นต้นแล้วจำเลยยังตัดฟันต้นฝรั่งในที่ดินของโจทก์ร่วมอีก โจทก์ร่วมจึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนเรียกจำเลยมาที่สถานีตำรวจโจทก์ร่วมและจำเลยตกลงกันโดยโจทก์ร่วมไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย แต่ต้องการให้จำเลยย้ายออกไปจากที่ดินซึ่งจำเลยก็รับว่าจะออกจากที่ดินภายในกำหนด 2 เดือน และรับว่าจะไม่เรียกร้องค่ารื้อถอนจากโจทก์ร่วม การที่โจทก์ร่วมตกลงว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยก็โดยมีเงื่อนไขว่า จำเลยต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมภายในกำหนด2 เดือน แต่จำเลยยังไม่ออกจากที่ดินของโจทก์ กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายเพราะโจทก์ร่วมมิได้ตกลงว่าจะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยตลอดไป แต่จะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อเมื่อจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมภายในกำหนด 2 เดือนดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)