คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุสุดวิสัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5075/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาฟ้องคดีแรงงาน: เงื่อนไขการยื่นคำขอและเหตุสุดวิสัย
การขยายระยะเวลาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 คู่ความต้องยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติ ถ้าหากยื่นคำขอเมื่อพ้นหรือสิ้นระยะเวลา กรณีต้องมีเหตุสุดวิสัยตามป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5075/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงานต้องยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลา หรือมีเหตุสุดวิสัยตามกฎหมาย
การขยายระยะเวลาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 26 คู่ความต้องยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติ ถ้าหากยื่นคำขอเมื่อพ้นหรือสิ้นระยะเวลา กรณีต้องมีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5075/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงานต้องยื่นคำขอก่อนหมดเวลา หากพ้นกำหนดต้องมีเหตุสุดวิสัยเท่านั้น
การขยายระยะเวลาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 26คู่ความต้องยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติ ถ้าหากยื่นคำขอเมื่อพ้นหรือสิ้นระยะเวลากรณีต้องมีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน - ความผิดสัญญาข้าราชการ - เหตุสุดวิสัย - การไล่ออกก่อนทำสัญญา
ปัญหาว่าการที่ พ. ไม่สามารถกลับเข้ารับราชการได้เพราะโจทก์มีคำสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากการกระทำผิดวินัยก่อนจำเลยทำสัญญาค้ำประกันนั้นเมื่อปรากฏตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศในสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาแล้วก็ดีหรือการศึกษาของข้าพเจ้าต้องยุติลงด้วยประการใด ๆก็ดี ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะกลับมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการทันที ฯลฯ" และ ข้อ 7 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้าผิดสัญญาข้อ 5ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินแก่กรมการศึกษานอกโรงเรียน ดังต่อไปนี้ก.ถ้าข้าพเจ้าไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการเลย ข้าพเจ้ายอมชดใช้เงินทุน หรือเงินเดือนทั้งหมด ฯลฯ" เห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของสัญญาข้อ 5 และ 7 มีความมุ่งหมายว่าหาก พ.สำเร็จการศึกษาหรือการศึกษายุติลงด้วยประการใด ๆ แล้ว พ. ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่งจึงจะถือว่าผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้สั่งให้ พ.ออกจากราชการจึงไม่ใช่กรณีที่พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ. นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใดการที่โจทก์สั่งให้ พ. ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ. ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าวเมื่อพ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาเกินกำหนด - เหตุผลความไม่ทราบวันนัดเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ตามคำร้องจำเลยอ้างว่า จำเลยย้ายออกจากบ้านที่เจ้าพนักงานศาลไปปิดหมาย โดยให้ญาติเป็นผู้ดูแลบ้านดังกล่าว จำเลยจึงไม่ทราบนัดและมิได้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพิ่งทราบการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะยื่นฎีกาแล้ว ขออนุญาตยื่นฎีกา โดยให้ศาลกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ในคำร้องจำเลยมิได้โต้แย้งว่า การส่งหมายนัดไม่ชอบแต่ประการใด เท่ากับเป็นการยอมรับว่าการส่งหมายนัดโดยวิธีปิดหมายชอบแล้วการที่จำเลยมิได้อยู่บ้านจึงไม่ทราบวันนัด มาทราบภายหลังเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดยื่นฎีกา จึงขออนุญาตฎีกา ย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยประสงค์ยื่นฎีกาโดยให้ศาลกำหนดเวลาให้จำเลย เท่ากับเป็นการขอขยายระยะเวลาในการยื่นฎีกา ซึ่งต้องพิจารณาคำร้องขอของจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ซึ่งกำหนดให้ศาลมีอำนาจขยายระยะเวลาได้ แต่พึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย สำหรับกรณีของจำเลยปรากฏว่าเมื่อมีการส่งหมายนัดโดยชอบแล้วถือว่าจำเลยทราบวันนัด ที่จำเลยอ้างมาว่าไม่ทราบวันนัดเป็นการอ้างในเรื่องส่วนตัวของจำเลยเอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยจึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่ศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยและชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาล่าช้าและการขยายเวลายื่นคำร้อง จำเลยต้องแสดงเหตุสุดวิสัย
ตามคำร้องจำเลยอ้างว่า จำเลยย้ายออกจากบ้านที่เจ้าพนักงานศาลไปปิดหมาย โดยให้ญาติเป็นผู้ดูแลบ้านดังกล่าวจำเลยจึงไม่ทราบนัดและมิได้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพิ่งทราบการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะยื่นฎีกาแล้ว ขออนุญาตยื่นฎีกา โดยให้ศาลกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ในคำร้องจำเลยมิได้โต้แย้งว่า การส่งหมายนัดไม่ชอบแต่ประการใด เท่ากับเป็นการยอมรับว่าการส่งหมายนัดโดยวิธีปิดหมายชอบแล้ว การที่จำเลยมิได้อยู่บ้านจึงไม่ทราบวันนัด มาทราบภายหลังเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดยื่นฎีกา จึงขออนุญาตฎีกา ย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยประสงค์ยื่นฎีกาโดยให้ศาลกำหนดเวลาให้จำเลย เท่ากับเป็นการขอขยายระยะเวลาในการยื่นฎีกา ซึ่งต้องพิจารณาคำร้องขอของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่งกำหนดให้ศาลมีอำนาจขยายระยะเวลาได้ แต่พึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย สำหรับกรณีของจำเลยปรากฏว่าเมื่อมีการส่งหมายนัดโดยชอบแล้วถือว่าจำเลยทราบวันนัด ที่จำเลยอ้างมาว่าไม่ทราบวันนัดเป็นการอ้างในเรื่องส่วนตัวของจำเลยเอง มิใช่เหตุสุดวิสัยจึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่ศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยและชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอขยายเวลาฎีกาหลังพ้นกำหนด ศาลไม่อนุญาตหากอ้างเหตุส่วนตัวที่ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
คำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะยื่นฎีกาแล้วของจำเลยที่อ้างว่าจำเลยย้ายออกจากบ้านที่เจ้าพนักงานศาลไปปิดหมาย โดยให้ญาติเป็นผู้ดูแลบ้านดังกล่าว แต่จำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการส่งหมายนัดไม่ชอบ เป็นการยอมรับว่าการส่งหมายนัดโดยวิธีปิดหมายชอบแล้ว เพียงแต่จำเลยมิได้อยู่บ้าน จำเลยจึงไม่ทราบนัด และมิได้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยเพิ่งทราบการอ่านคำพิพากษาดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะยื่นฎีกาแล้วนั้นเป็นการอ้างในเรื่องส่วนตัวของจำเลยเอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยศาลชอบที่จะยกคำร้องโดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เอาประกันภัยแม้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือ, การรับประกันภัยสินค้า, และข้อยกเว้นความรับผิดจากเหตุสุดวิสัย
ผู้มีสิทธิเอาประกันภัยมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้น ผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใด ๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายและความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับสามารถประมาณเป็นเงินได้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายจะต้องขนส่งสินค้าที่ขายจากกรุงเทพมหานครไปให้ผู้ซื้อที่ประเทศสิงคโปร์ โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะนำสินค้าไปมอบให้แก่ผู้ซื้อ โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยสินค้าไว้กับจำเลย โดยมิต้องคำนึงถึงว่า กรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าวจะโอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ เมื่อสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ได้ จำเลยให้การรับว่าโจทก์เอาประกันภัยสินค้าดังปรากฏตามกรมธรรม์ประกันภัยท้ายฟ้องจริง แต่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเพราะสินค้าปลากระป๋องที่โจทก์อ้างว่าเสียหายนั้นไม่ใช่สินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โดยมิได้กล่าวว่าสินค้าปลากระป๋องที่โจทก์อ้างว่าเสียหายนั้นไม่ใช่สินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยอย่างไรเพราะเหตุใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะนำสืบตามคำให้การในส่วนนี้ ความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามความในบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879 จะต้องเป็นของผู้เอาประกันภัยเองหรือเป็นของผู้รับประโยชน์จึงจะทำให้ผู้รับประกันภัยพ้นความรับผิด แต่ถ้าเป็นความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลอื่น ๆ แม้จะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์สักเพียงใดก็ตาม ก็ยังไม่ทำให้ผู้รับประกันภัยพ้นความรับผิด เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัย มีใจความว่าไม่ว่ากรณีใด ๆ จะต้องไม่ถือว่าการประกันภัยนี้ขยายไปคุ้มครองการสูญเสีย การเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายอันมีต้นเหตุอย่างใกล้ชิดจากความล่าช้านั้น มีความหมายถึงความล่าช้าที่เป็นเหตุโดยตรงให้สินค้าที่เอาประกันภัยไว้เสียหายเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าเหตุที่สินค้าที่เอาประกันภัยเกิดความเสียหายเนื่องมาจากการระเบิดในห้องเครื่องยนต์ของเรือ หาใช่เกิดจากความล่าช้าในการขนส่งไม่ผู้รับประกันภัยจึงไม่พ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยจากการกระทำของผู้ตายทำให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ จำเลยไม่มีความผิดฐานประมาท
จำเลยขับรถยนต์ไปด้วยความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงผู้ตายได้วิ่งไล่ตี ช. ข้ามถนนตัดหน้าช่องเดินรถที่จำเลยขับไปแล้ว แต่ได้มีรถยนต์อีกคันหนึ่งแล่นมา ผู้ตายจึงชะงักและถอยหลังเข้ามาทางช่องเดินรถของจำเลยโดยกะทันหัน และในระยะกระชั้นชิดทำให้จำเลยไม่สามารถหยุดรถหรือหลบไปทางอื่นได้ทันท่วงทีและในภาวะเช่นนั้นจำเลยไม่อาจคาดคิดได้ว่า จะมีคนวิ่งข้ามถนนตัดหน้าช่องเดินรถที่จำเลยขับไปแล้วกลับชะงัก และถอยหลังเข้ามาขวางหน้ารถยนต์ที่จำเลยขับไปอีก การที่จำเลยขับรถยนต์ชนผู้ตายจึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจป้องกันได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยและการเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาในคดีอาญา
จำเลยอุทธรณ์ว่าตามหลักฐานที่ปรากฏ เหตุที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นเหตุสุดวิสัย เพราะรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับถูกรถยนต์คันอื่นชนท้ายแล้วเสียการทรงตัวกระเด็นไปถูกโจทก์ร่วมที่ยืนอยู่บนทางเท้า ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเป็นยกฟ้อง อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เพราะถ้าข้ออ้างของจำเลยฟังขึ้นผลของคำพิพากษาจะเปลี่ยนแปลงไป
of 52