คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ไม่ใช่คำมั่นสัญญา แต่เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ ทำให้สิทธิในทรัพย์สินตกเป็นของผู้รับโอน
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกแบ่งทรัพย์สินให้ภริยาด้วยนั้นการแบ่งทรัพย์นี้ไม่ใช่คำมั่นว่าจะให้แต่เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1512

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก เจ้าของรวมตกลงแบ่งทรัพย์สิน ไม่จำเป็นต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ
ที่พิพาทเป็นมรดก โจทก์จำเลยต่างเป็นหลานเจ้าของมรดก โจทก์กับจำเลยและญาติอื่น ๆ ได้ทำสัญญาแบ่งนาพิพาทและทรัพย์มรดกอื่น ๆ โดยฝ่ายโจทก์รู้เห็นยินยอมให้พี่ชายลงชื่อแทน เป็นเรื่องเจ้าของรวมตกลงแบ่งทรัพย์สินที่รวมกัน ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หรือสัญญายกทรัพย์ให้แก่กัน การตั้งตัวแทนแบ่งทรัพย์กันจึงไม่จำเป็นจะต้องทำเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องแบ่งทรัพย์สินเดิมที่เคยฟ้องแล้ว แม้จะแยกเป็นส่วนของที่งอก ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
ก่อนฟ้องคดีก่อน โจทก์ ทราบอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทมีที่งอก ครั้นเวลาโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อน ฟ้องขอแบ่งเพียงที่ดินภายในโฉนด ไม่ได้ฟ้องขอแบ่งที่งอกด้วย เหตุที่ฟ้องอ้างว่า ที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนางเปลื้องผู้ตายซึ่งเป็นมารดาจำเลย ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดไปแล้ว ต่อมา โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีหลัง ขอแบ่งที่งอกอีกอ้างว่าเป็นสินสมรสเช่นคดีก่อน ถือว่าฟ้องคดีหลังเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขอแบ่งที่งอกหลังเคยฟ้องขอแบ่งที่ดินเดิมแล้ว แม้ไม่ได้ระบุในฟ้องเดิม
ก่อนฟ้องคดีก่อน โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทมีที่งอกครั้นเวลาโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อน ฟ้องขอแบ่งเพียงที่ดินภายในโฉนดไม่ได้ฟ้องขอแบ่งที่งอกด้วยเหตุที่ฟ้องอ้างว่า ที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนางเปลื้องผู้ตายซึ่งเป็นมารดาจำเลย ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดไปแล้ว ต่อมา โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีหลังขอแบ่งที่งอกอีกอ้างว่าเป็นสินสมรสเช่นคดีก่อนถือว่าฟ้องคดีหลังเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งเงินค่าเช่าที่วางศาลตามข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินสมรส ต้องแบ่งตามส่วนที่ตกลงกันไว้ ไม่รวมกันแล้วแบ่ง
เงินสินสมรสที่คู่ความตกลงกันและนำมาวางศาลในระหว่างพิจารณานั้น เมื่อคดีถึงที่สุดตรงตามที่คู่ความตกลงกันไว้การรับเงินที่วางไว้จะนำมารวมกันแล้วแบ่งไม่ได้จะต้องให้คู่ความแต่ละฝ่าย รับเงินส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งนำมาวางไว้ไปจึงจะชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาและการพิสูจน์เจตนาทุจริต
มีเจตนาทุจริตหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ป.พ.พ. มาตรา 185 เป็นบทบัญญัติเรื่องการขยายอายุความที่จะสิ้นสุดลงในระหว่างเป็นสามีภริยากันอยู่ให้ขยายต่อไปอีก 1 ปีไม่ใช่เป็นเรื่องว่าถ้าทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตกอยู่แก่ฝ่ายใดเกิน 1 ปีแล้ว ฝ่ายนั้นจะได้กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่จะต้องแบ่งตาม ป.พ.พ. ม.1512 นั้นไม่มีกำหนดเวลาระบุไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตาม ม.164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตเป็นข้อเท็จจริง, อายุความแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
มีเจตนาทุจริตหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 185 เป็นบทบัญญัติเรื่องการขยายอายุความที่จะสิ้นสุดลงในระหว่างเป็นสามีภริยากันอยู่ให้ขยายต่อไปอีก 1 ปี ไม่ใช่เป็นเรื่องว่าถ้าทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตกอยู่แก่ฝ่ายใดเกิน 1 ปีแล้ว ฝ่ายนั้นจะได้กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินระหว่างสามีที่จะต้องแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1512 นั้นไม่มีกำหนดเวลาระบุไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ม.164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำขอท้ายฟ้องและเจตนาของโจทก์ในการแบ่งทรัพย์สินมรดก
คำข้อท้ายฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ของหุ้นส่วนที่มีข้อความว่า "ขอได้โปรดแบ่งที่ดินพร้อมด้วยโรงสีและห้องแถว ............. ให้เป็นของโจทก์ 1 ส่วนเป็นเงิน 40,000 บาท โดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาด" นั้น มิได้หมายความว่าโจทก์ต้องการ เงินค่าทรัพย์สินเพียง 40,000 เท่านั้น การตั้งทุนทรัพย์มาเป็นแต่เพียงเพื่อเสียค่าขึ้นศาล ส่วนการแบ่งทรัพย์ ถ้าไม่ตกลงกันต้องประมูลหรือขายทอดตลาด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการบังคับคดีกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม: ยึดทรัพย์ได้ แต่ไม่ตัดสิทธิการแบ่งทรัพย์สิน
ในการบังคับคดีนั้น โจทก์มีสิทธิ์นำยึดที่ดินซึ่งจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้อื่นได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ร้องขัดทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย ในการที่จะขอให้แบ่งทรัพย์สินอันเป็นส่วนของผู้ร้องขัดทรัพย์ต่อไปอีกส่วนหนึ่งก่อนที่เจ้าพนักงานจะนำที่ดินนั้นๆ ออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์ส่วนที่เป็นของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีที่ดินร่วม: สิทธิยึด vs. สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สิน
ในการบังคับคดีนั้น โจทก์มีสิทธินำยึดที่ดินซึ่งจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้อื่นได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ร้องขัดทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย ในการที่จะขอให้แบ่งทรัพย์สินอันเป็นส่วนของผู้ร้องขัดทรัพย์ต่อไปอีกส่วนหนึ่ง ก่อนที่เจ้าพนักงานจะนำที่ดินนั้นๆ ออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์ส่วนที่เป็นของจำเลย
of 25