คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดกที่ไม่เป็นไปตามพินัยกรรม
โจทก์ทั้งสองและ อ. เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ อ.เป็นสามีจำเลยและมาเป็นพยานจำเลยซึ่งแสดงให้เห็นว่า อ. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้โอนทรัพย์พิพาทกลับคืนแก่กองมรดกเพื่อจัดแบ่งให้เป็นไปตามพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1715 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1674/2516)
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วย การแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดกและผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดก และเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้วโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยอาศัยสิทธิทายาทสืบเชื้อสายและครอบครองร่วมกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของอ.เจ้ามรดกตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง โดยเมื่อ อ.วายชนม์ที่พิพาทตกได้แก่ย.บุตรของ อ.ยวายชนม์มรดกส่วนของย.ตกได้แก่ค.ยายของโจทก์ค.วายชนม์ ตกได้แก่ช.และตกได้แก่โจทก์เมื่อช.มารดาโจทก์วายชนม์ โจทก์ครอบครองที่พิพาทตลอดมาเช่นเดียวกันกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ.สาย ล.บุตรของ อ.อีกคนหนึ่ง เพียงสองคนเท่านั้น ไม่มีทายาทอื่นเกี่ยวข้อง จึงฟ้องขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยอาศัยสิทธิรับมรดกสืบทอดมาจาก ย.ทวดของโจทก์ซึ่งมีการรับมรดกของอ.เป็นทอดๆ กันมาตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้ย.จะวายชนม์ก่อนอ.ก็ตามเมื่อย.บุตรอ.เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานคือ ค. ค.จึงเป็นผู้รับมรดกอ.แทนที่ย.บิดา และมีการรับมรดกสืบต่อมาจนถึงโจทก์บุตรของ ช.ซึ่งเป็นบุตรของค. โจทก์จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ อ.เจ้ามรดก และมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. เจ้ามรดกตลอดมา แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ มาตรา 1754 ก็ดี โจทก์ก็มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ได้
โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกของ อ. เจ้ามรดกร่วมกับจำเลย โดยทายาทอื่นๆ ของ อ.ที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวและโต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวม
ทายาทอื่นๆ ของ อ.ต่างเป็นพยานเบิกความว่าได้ออกจากที่พิพาทไป 40 ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ไม่ขอรับส่วนแบ่งในที่พิพาท ส่วนทายาทอื่น ๆ ที่อยู่ในที่พิพาทก็เป็นบุตรจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย บ้างอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ช.มารดาโจทก์ ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย ดังนี้จึงถือได้ว่าทายาทอื่นๆ ของ อ.ต่างไม่มีสิทธิในที่พิพาทคือโจทก์จำเลยสองคนเท่านั้น โจทก์จึงย่อมมีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หาได้เกินสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกอิสลาม vs. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: หลักเกณฑ์การบังคับใช้และการแบ่งสินสมรส
แม้โจทก์และจำเลยจะเป็นอิสลามศาสนิกและเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่ถ้ามิใช่เป็น คดีที่เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล แล้ว ก็จะนำลัทธิศาสนาอิสลามหรือกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับ ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการแบ่งมรดกไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาสยะลาและสตูล พ.ศ. 2489 ฉะนั้น ถ้าได้มีการนำวิธีการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้ในการแบ่งปันทรัพย์มรดก ก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 1750ด้วย จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆและไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้น เลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้วทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, สิทธิทายาท, การหักค่าซ่อมแซมทรัพย์มรดก, อายุความเรียกร้องสิทธิ
โจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาทของเจ้าของมรดกและครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันมา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์นั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 แม้จะล่วงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย คดีโจทก์ก็หาขาดอายุความไม่
จำเลยได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าซ่อมเรือนมรดก เมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยย่อมมิสิทธิขอให้หักค่าซ่อมนั้นจากกองมรดกก่อนแบ่ง โดยขอมาในคำให้การได้ จำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้เป็นเงิน จึงหาจำต้องยกขึ้นฟ้องแย้งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกของทายาท, อายุความ, การหักค่าซ่อมจากกองมรดก
โจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาทของเจ้ามรดกและครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันมา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 แม้จะล่วงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย คดีโจทก์ก็หาขาดอายุความไม่
จำเลยได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าซ่อมเรือนมรดก เมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยย่อมมีสิทธิขอมาในคำให้การให้หักค่าซ่อมเรือนจากกองมรดกก่อนแบ่งได้ โดยไม่ต้องฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยวิธีประมูล/ขายทอดตลาด ศาลตัดสินนอกคำฟ้องหรือไม่ และอำนาจฟ้องกรณีแบ่งมรดก
เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นพ้องด้วยกับ คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้แบ่งทรัพย์ระหว่างกันเองก่อนเมื่อไม่สามารถแบ่งได้ ให้ทายาทและจำเลยประมูลกันเองถ้าไม่ตกลงกันให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันตามส่วน และจำเลยยังมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์แบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้อีก ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องไม่ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรกเพราะโจทก์ฟ้องเรียกเป็นเงินและให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงิน ไม่ได้
กรณีฟ้องขอแบ่งมรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่แบ่งให้ทายาทตามสิทธิของทายาท มิใช่เป็นเรื่องแบ่งมรดกโดยสัญญาโจทก์ย่อมฟ้องได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการประมูลหรือขายทอดตลาดเมื่อตกลงแบ่งกันไม่ได้ และอำนาจฟ้องในกรณีแบ่งมรดกโดยจำเลยไม่แบ่งให้ทายาท
เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้แบ่งทรัพย์ระหว่างกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ ให้ทายาทและจำเลยประมูลกันเอง ถ้าไม่ตกลงกันให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันตามส่วน และจำเลยยังมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์แบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้อีก ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องไม่ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก เพราะโจทก์ฟ้องเรียกเป็นเงินและให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงิน ไม่ได้
กรณีฟ้องขอแบ่งมรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่แบ่งให้ทายาทตามสิทธิของทายาท มิใช่เป็นเรื่องแบ่งมรดกโดยสัญญา โจทก์ย่อมฟ้องได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกต้องคำนึงถึงจำนวนทายาททั้งหมดที่มีสิทธิรับมรดก แม้บางคนไม่ได้ฟ้องขอ
การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทนั้นต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ 4 คนฟ้องขอแบ่งมรดกกับจำเลยในฐานะบุตรและผู้รับมรดกแทนที่ของบุตรเจ้ามรดกผู้ตายแต่ทางพิจารณาปรากฏว่าเจ้ามรดกมีบุตรรวม 6 คน ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ทั้ง 4 และจำเลยมีสิทธิได้รับคนละ 1 ใน 6 ส่วนของทรัพย์มรดกโจทก์จะอ้างขอส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 5 ส่วน โดยถือว่าทายาทอีกคนหนึ่งมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกด้วยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตามจำนวนทายาทที่มีสิทธิ แม้บางคนมิได้ฟ้องขอ
การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทนั้นต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ 4 คนฟ้องขอแบ่งมรดกกับจำเลยในฐานะบุตรและผู้รับมรดกแทนที่ของบุตรเจ้ามรดกผู้ตาย แต่ทางพิจารณาปรากฏว่าเจ้ามรดกมีบุตรรวม 6 คน ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ทั้ง 4 และจำเลยมีสิทธิได้รับคนละ 1 ใน 6 ส่วนของทรัพย์มรดกโจทก์อ้างขอส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 5 ส่วน โดยถือว่าทายาทอีกคนหนึ่งมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกด้วยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้ในการร้องสอดคดีแบ่งมรดก แม้จำเลยตกลงจะขายที่ดินเพื่อชำระหนี้ ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกจากจำเลย ผู้ร้องสอดอ้างว่าที่แปลงนี้เป็นของจำเลยแล้ว จำเลยกู้เงินผู้ร้องสอดไปแล้วตกลงยอมขายที่แปลงนี้ทั้งหมดแก่ผู้ร้องสอดเพื่อเป็นการชำระหนี้ ถ้าจำเลยแพ้คดีผู้ร้องสอดจะได้รับความเสียหายขอเข้ามาเป็นคู่ความร่วม ข้ออ้างดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี
of 35