คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โจทก์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้สัญญากู้ยืม โจทก์มีสิทธิบอกกล่าวบังคับจำนองและคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่1มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือนหากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใดถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนปรากฏว่าจำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืมแต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่1โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่1ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดสัญญาพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่1ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่1ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่1ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองโดยจำเลยที่1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนองจำเลยที่2และที่3ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวจึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้วเมื่อจำเลยที่1ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่1ชำระหนี้ดังกล่าวครบกำหนดแล้วจำเลยที่1เพิกเฉยต้องถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามสัญญากู้จำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ13ต่อปีและอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ1ต่อปีและหากจำเลยที่1ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ21ต่อปีดังนี้เมื่อจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ21ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการโอนสิทธิทำให้โจทก์มีสิทธิเหนือกว่าจำเลย
โจทก์ได้จดทะเบียนบริษัทจำกัด ณ มลรัฐเดลาแวร์ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย อ.ประธานกรรมการโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งให้ จ. หรือ ว. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีในศาลจนสำเร็จ หนังสือฉบับนี้มี ซ.โนตารี่ปับลิกแห่งมลรัฐเคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาลงชื่อและประทับตรารับรองว่าผู้มอบอำนาจเป็นประธานกรรมการบริษัทได้แสดงตนว่า บริษัทนี้ได้ทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวตามกฎหมายหรือโดยมติคณะกรรมการ และมีการลงชื่อกับประทับตราสถานกงสุลใหญ่ประจำนครลอสแองเจลิสไว้ด้วยถือได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจให้จ.เป็นผู้ดำเนินคดีแทนโจทก์โดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "EARTHQUAKE" กับสินค้าเครื่องเสียงของโจทก์จำหน่ายแพร่หลายทั้งต่างประเทศและในประเทศไทยมาก่อนที่จำเลยจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า แม้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"EARTHQUAKE" ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นการจดทะเบียนในนาม ล. ตั้งแต่ปี 2532 และต่อมา ล. โอนเครื่องหมายการค้านี้แก่โจทก์โดยไม่แน่ชัดว่าการโอนมีผลสมบูรณ์ก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้หรือไม่ก็ตาม แต่โจทก์ก็ใช้คำว่า"EARTHQUAKE" เป็นส่วนสำคัญของชื่อโจทก์ตลอดมา ทั้งที่อยู่ของ ล. ที่จดแจ้งลงในทะเบียนสำคัญเครื่องหมายการค้าก็เป็นที่เดียวกับสำนักงานของโจทก์ในปี 2532 และไม่ปรากฏว่าล. ใช้เครื่องหมายการค้านี้หรือโต้แย้งคัดค้านการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เลย แต่กลับยืนยันว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้และในที่สุดที่โอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า ล. และโจทก์มีความประสงค์ให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้โจทก์จึงใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "EARTHQUAKE" กับสินค้าของโจทก์จนแพ่งหลายตลอดมา เช่นนี้โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย และเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการลากจูงรถหุ้มเกราะ: โจทก์ควบคุมดูแลการผูกลวดสลิงเอง จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
รถหุ้มเกราะของโจทก์ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำแต่สามารถกู้ขึ้นมาไว้บนถนนได้ โจทก์ไปขอความร่วมมือจากจำเลยที่ 3 ขอนำรถบรรทุกสิบล้อไปลากจูงรถหุ้มเกราะกลับที่ตั้ง โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นคนขับรถบรรทุกสินล้อวิธีการลากจูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงผูกกับส่วนหน้าของรถหุ้มเกราะแล้วนำไปผูกแขวนไว้กับท้ายรถบรรทุกสิบล้อให้ล้อหน้าของรถหุ้มเกราะลอยสูงขึ้นจากพื้นถนนแล้วให้รถบรรทุกสิบล้อลากจูงไป แม้ปรากฏว่าขณะลากจูงไปได้ไม่ไกล ลวดสลิงขาดและรถหุ้มเกราะเสียหลักล้ำไปทางขวามือเป็นเหตุให้ชนกับรถเก๋งที่แล่นสวนทางมารถเก๋งเสียหายหมดทั้งคันก็ตาม เมื่อการผูกล้อหน้าของรถหุ้มเกราะให้แขวนลอยอยู่ข้างท้ายรถบรรทุกสิบล้อจะช่วยให้กระชับมั่นสะดวกรวดเร็ว และง่ายแก่การลากจูง โดยไม่ต้องใช้คนขับบังคับรถหุ้มเกราะนอกจากนี้ยังปรากฏว่าไฮดรอลิกเสียทำให้ล้อหน้า 2 ล้อ ของรถหุ้มเกราะไม่หมุน จึงต้องลากจูงโดยให้ล้อหน้าลอยขึ้น เมื่อกรณีเป็นความจำเป็น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2และที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงที่ใช้ประจำอยู่กับรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นรถวินที่ใช้สำหรับชักลากไม้ซุงที่มีน้ำหนักมาก โดยจำเลยที่ 4 ยืนยันต่อจำเลยที่ 2ใช้ลากจูงได้ ประกอบกับในบริเวณที่เกิดเหตุหากมืดค่ำแล้วอันตรายเคยมีผู้ก่อการร้ายลอบยิง หากไม่ลากรถหุ้มเกราะออกจากที่เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายอาจเข้าโจมตีเผารถหุ้มเกราะจะเสียหายแก่ทางราชการ ดังนี้ จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยที่ 1และที่ 2 จะเลือกปฏิบัติเป็นอย่างอื่น นอกจากจะต้อง ลากจูงรถหุ้มเกราะไป ดีกว่าจะปล่อยไว้ที่นั่นให้เสี่ยงอันตรายและเสี่ยงต่อความบกพร่องในหน้าที่ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประมาทเลินเล่อในเหตุนี้ การลากจูงรถหุ้มเกราะในคดีนี้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และจำเลยที่ 4 ได้ถูกเจ้าของรถเก๋งที่ถูกรถหุ้มเกราะ ชนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฐานละเมิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4กับเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ และฟังว่าจำเลยที่ 3เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์ผู้เดียวชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อการจัดการผูกลวดสลิงเข้ากับรถหุ้มเกราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลสั่งการและดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ แม้จะเป็นลวดสลิงเก่าและมีรอยชำรุดเป็นบางส่วนหรือเป็นลวดเส้นเล็กแต่ถ้าหากผูกหลายทบเจ้าด้วยกันก็เป็นลวดเส้นใหญ่และจะช่วยไม่ให้ขาดได้ และกรณีไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ กรณีต้องถือว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226,227,432 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานในคดีกู้ยืมเงินและข้อพิพาทเรื่องหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ศาลอนุญาตให้โจทก์นำสืบได้หากมิได้ฟ้องบังคับตามสัญญา
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโจทก์มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ยืมที่ส. เป็นผู้กู้มิได้ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงโจทก์จึงมีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ได้ว่าตามสัญญากู้ยืมมีต้นเงินเพียง60,000บาทรวมดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นเงิน400,000บาทไม่เป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญากู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน การบรรยายถึงการกระทำประมาทของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถมายังตัวเมืองบุรีรัมย์ โดยขับรถมาตามถนนสายบุรีรัมย์ - สตึก จำเลยที่ 3 ได้ขับรถจักรยานยนต์โดยประมาท ปราศจากความระมัดระวังซึ่งวิญญูชนพึงมีโดยวิสัยและพฤติการณ์ได้ชนรถยนต์ของโจทก์ขณะที่โจทก์ขับอยู่บนเส้นทางของตนและด้วยความระมัดระวังดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถยนต์อยู่บนเส้นทางของตนด้วยความระมัดระวังเท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์อยู่ในเส้นทางใด และขับอย่างไร อันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองจึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การลดเบี้ยปรับ และความร่วมมือในการตรวจสอบของโจทก์
การเสียเงินเพิ่มเนื่องจากผู้เสียภาษีไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บแต่อย่างใด และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้ ส่วนปัญหาการงดหรือลดเบี้ยปรับนั้น โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมเอกสารรายงานผู้สอบบัญชีงบดุลของโจทก์รายละเอียดสินค้าคงเหลือ หมายเหตุประกอบงบดุลและรายการแสดงรายได้รายจ่ายและโจทก์ได้จัดส่งบัญชีและเอกสารพร้อมทั้งหลักฐานต่าง ๆ อีกทั้งมอบให้ ส.และท.ไปให้การต่อเจ้าพนักงานประเมิน 3 ครั้ง และรับทราบผลของการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นนี้ พอฟังได้ว่าโจทก์มิได้มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษีแต่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานด้วยดีพอสมควร เพราะมิฉะนั้นแล้วเจ้าพนักงานประเมินคงจะไม่สามารถประเมินรายได้ของโจทก์ได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้มาหรือรับเอกสารของเจ้าพนักงานทุกครั้ง ก็อาจเป็นกรณีมีความจำเป็นหรือไม่ทราบก็อาจเป็นได้ จึงยังไม่พอฟังว่าโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์กึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลกับการรับรองอุทธรณ์: โจทก์ต้องดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเอง
การที่จะให้อัยการสูงสุดพิจารณารับรองอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรีว่าอุทธรณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยหรือไม่ กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปให้อัยการสูงสุดพิจารณา เมื่อการรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โจทก์ก็ต้องไปดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเอง ศาลไม่มีหน้าที่ต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังอัยการสูงสุดตามที่โจทก์ร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีก่อนถึงที่สุด
ในคดีเดิมจำเลยเคยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ประเด็นในคดีดังกล่าวมีว่าจำเลยชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้วการที่จำเลยกลับมาเป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเป็นจำเลยในคดีนี้ขอให้คืนเงินอ้างว่าเป็นเงินที่โจทก์ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลย แต่จำเลยมิได้นำไปหักใช้หนี้เงินที่โจทก์กู้ยืมมา ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าจำเลยชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์แล้วหรือไม่จึงเป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9680/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดหลักฐานหักล้างการครอบครอง ทำให้โจทก์ไม่มีทางชนะคดี
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดหักล้างการครอบครองของจำเลยว่าจำเลยขอ ส.ปลูกบ้านเพื่อสนับสนุนคำฟ้อง โจทก์จึงไม่มีทางชนะคดี ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าได้มีการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือและได้มีการฟ้องคดีภายใน 1 ปีหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9671/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเวนคืน: โจทก์มีสิทธิฟ้องการทางพิเศษฯ แม้ผู้ว่าฯ เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน
ประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 6 ข้อ 13 ข้อ 15และข้อ 17 บัญญัติให้การทางพิเศษ จำเลยที่ 1 มีอำนาจซื้อจัดหา ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองหรือดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 โดยมีผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนจำเลยที่ 1ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว และตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตดุสิตฯพ.ศ. 2534 มีวัตถุประสงค์ที่จะเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโค่ลและสายพญาไท-ศรีนครินทร์โดยมาตรา 4 บัญญัติให้ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางการพิเศษการเวนคืนที่ดินพิพาทจึงเป็นกิจการในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการในฐานะผู้แทนจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทของโจทก์ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
of 104