คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โฉนดที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของผู้อื่นโดยไม่ชอบและผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ของผู้รับโอน
จำเลยที่ 1,2 ออกโฉนดทับที่ซึ่งโจทก์ครอบครองอยู่ก่อน การออกโฉนดทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1,2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 3,4 รับจำนองที่พิพาทโดยไม่สุจริต ต่อมาจำเลยที่ 3,4 ฟ้องบังคับจำนองและซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดของศาล ย่อมเป็นการซื้อโดยไม่สุจริต ต่อมาจำเลยที่ 3 โอนทะเบียนยกที่พิพาทให้จำเลยที่ 5,6 โดยเสน่หา โจทก์ย่อมขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมได้
การที่จำเลยขอให้ออกและรับโฉนดที่พิพาทโดยโจทก์ไม่รู้และการที่จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์จากที่พิพาท ไม่ใช่การแย่งการครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับการฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และโฉนดที่ดิน ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องทรัพย์สินที่ผู้เสียหายเสียไป และอำนาจการบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 นั้น เมื่อกรณีเป็นการฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไปทรัพย์สินที่ผู้เสียหารศูนย์เสียไปก็คือหนังสือกู้ พนักงานอัยการคงเรียกคืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่า ถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่ เพราะไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้ศูนย์เสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้ศูนย์หายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้ มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยศูนย์ไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ใช้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนด มอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกัน ฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2489 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลง แต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่ 3 - 4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้ว รอแต่วันรับโฉนดเท่านั้น ผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อ ได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังว่า โฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุ ทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกันได้เป็น 2 กระทง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ :- (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้ และสั่งรับฎีกาจำเลย แต่ศาลฎีกาเห็นว่า เฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วย แต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้าม จึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัย ตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินทับซ้อน และความรับผิดของกรมที่ดินเมื่อผู้ซื้อโอนโดยสุจริต
เมื่อเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินได้ตรวจสอบเขตตามที่เจ้าของที่ดินหรือตัวแทนนำชี้ และการออกโฉนดก็ได้ปฏิบัติตามระเบียบ เช่นนี้ ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามสมควรแล้ว หากเขตเนื้อที่ในโฉนดไม่ถูกต้อง จะถือว่าเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินย่อมไม่ได้ ผู้ซื้อที่ดินมีโฉนดมาโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ไม่อาจได้กรรมสิทธิ์เพราะที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้กรมที่ดินต้องรับผิด
อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ไม่ถูกต้องได้ ไม่ว่าเป็นโฉนดที่ออกมาก่อนหรือภายหลังวันใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินทับซ้อน แม้จะออกก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน และการไม่มีหน้าที่รับผิดของกรมที่ดิน
เมื่อเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินได้ตรวจสอบเขตตามที่เจ้าของที่ดินหรือตัวแทนนำชี้และการออกโฉนดก็ได้ปฏิบัติตามระเบียบ เช่นนี้ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามสมควรแล้วหากเขตเนื้อที่ในโฉนดไม่ถูกต้องจะถือว่าเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินย่อมไม่ได้ผู้ซื้อที่ดินมีโฉนดมาโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วไม่อาจได้กรรมสิทธิ์เพราะที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้กรมที่ดินต้องรับผิด
อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ไม่ถูกต้องได้ ไม่ว่าเป็นโฉนดที่ออกมาก่อนหรือภายหลังวันใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรมที่ดินตามมาตรา 61 ประมวลกฎหมายที่ดิน: ดุลพินิจและผลกระทบต่อผู้ครอบครอง
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ให้อำนาจอธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจเรียกโฉนดที่ดินหรือเอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิไว้โดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแก้ไขให้ถูกต้องหรือเพิกถอนเสียได้แต่อธิบดีกรมที่ดินจะใช้อำนาจตามมาตรานี้หรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของอธิบดีแม้อธิบดีจะไม่ใช้อำนาจนี้ก็ไม่เป็นการละเมิดต่อผู้ครอบครองที่ดินที่อ้างว่าโฉนดออกทับที่ของตนโดยไม่ถูกต้องเพราะกฎหมายมิได้กำหนดหน้าที่ให้อธิบดีจำต้องกระทำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานโฉนดที่ดิน แม้ไม่ส่งสำเนาตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โฉนดไม่ใช่เอกสารเป็นชุดดังที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90 (1) เพราะจะมีขึ้นสำหรับที่ดินแปลงใดก็เพียง 2 ฉบับ โดยทำเป็นอย่างเดียวกัน หาได้ออกเป็นชุดไม่ แต่โฉนดเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้ ข้อความในโฉนดย่อมเป็นที่เชื่อถือได้ แม้คู่ความฝ่ายที่อ้างจะยื่นต่อศาลในวันสืบพยานโดยมิได้ส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 90 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลก็มีอำนาจรับฟังได้ตามมาตรา 87 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตีความรัฐธรรมนูญของศาลและการขัดแย้งของกฎหมายกับรัฐธรรมนูญ กรณีโฉนดที่ดิน
โดยปกติศาลเป็นผู้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาใช้บังคับแก่คดีโดยมีอำนาจพิจารณาว่ากฎหมายใดจะใช้บังคับคดีได้หรือไม่ ฉะนั้น ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาตีความรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยว่าบทกฎหมายนั้นๆขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เว้นแต่จะมีบทกฎหมายโดยเฉพาะบัญญัติให้อำนาจหน้าที่พิจารณาตีความรัฐธรรมนูญไปตกอยู่แก่สถาบันอื่น
มาตรา 5,19 ประกอบด้วย มาตรา 20 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร แสดงว่าอำนาจในการตีความรัฐธรรมนูญเพื่อใช้กฎหมายปรับแก่คดีเป็นอำนาจศาล สภาจะวินิจฉัยตีความรัฐธรรมนูญเฉพาะที่มีปัญหาเกิดขึ้นในวงงานสภา หรือเกิดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีขอให้วินิจฉัยเท่านั้น
มาตรา 3,4,5 และ 7 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน พ.ศ.2496 ขัดต่อ มาตรา99 ของรัฐธรรมนูญฯ เพราะเป็นการให้อำนาจคณะบุคคลให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นกรณีพิพาทระหว่างบุคคล มีผลที่จะลบล้างกรรมสิทธิ์ของบุคคลที่มีอยู่แล้ว และก่อตั้งกรรมสิทธิ์ขึ้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย & การรับจำนองโดยไม่สุจริต ทำให้สิทธิยึดไร้ผล
ผู้ร้องเป็นเจ้าของครอบครองที่ดินพิพาทอยู่โดยยังไม่ได้โฉนด มีผู้อื่นไปจัดการออกโฉนดทับที่พิพาท โดยใส่ชื่อ ค. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่บุคคลที่ชื่อ ค.นี้ไม่มีตัวตนจริง การออกโฉนดนี้จึงเป็นการไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์รับจำนองที่พิพาทตามหน้าโฉนดที่มีชื่อ ค.ถือกรรมสิทธิ์นี้ไว้ โดยอ้างว่า ย.ญาติของตนเป็นผู้ติดต่อขอจำนองโจทก์ไม่รู้จักหรือเคยพบเห็นคนที่ชื่อ ค.นี้เลย ในวันทำสัญญาจำนองก็มี ว.ซึ่งโจทก์ไม่รู้จักมาอ้างว่าเป็นหลานของ ค. ได้รับมอบอำนาจจาก ค.ให้มาทำสัญญาจำนอง โจทก์ก็้เชื่อจึงรับจำนองและมอบเงินให้ ว.ไป แต่แล้วโจทก์ไม่มี ย.และ ว.มาสืบ และเมื่อโฉนดนี้ออกให้แก่ ค. ผู้ไม่มีตัวตนดังกล่าวแล้ว ใบมอบอำนาจนั้นก็ย่อมไม่มีผู้มอบเป็นตัวตนด้วยเช่นกัน ดังนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิยึดที่พิพาทเพื่อบังคับจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรังวัดสอบเขตที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วม และการแก้ไขโฉนดที่ดินโดยเจ้าพนักงานที่ดินถือเป็นการละเมิด
กระทรวงเกษตราธิการได้ประกาศให้เจ้าของที่ดินในเขตไฟไหม้นำเจ้าพนักงานทำการรังวัดสอบเขตและปักหลักเขตหมายที่ดินใหม่ เจ้าของที่ดินร่วมได้นำเจ้าพนักงานรังวัดสอบเขตโดยเจ้าของที่ดินร่วมอีกผู้หนึ่งมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย การรังวัดสอบเขตจึงเป็นการมิชอบ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำการแก้ไขเนื้อที่ดินและผนึกแผนที่หลังโฉนดตามที่รังวัดสอบเขตใหม่ เช่นนี้ การกระทำของเจ้าพนักงานที่ดินจึงเป็นการละเมิดต่อเจ้าของที่ดินที่มิได้รู้เห็นในการรังวัดสอบเขตใหม่และต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจากการรังวัดสอบเขตที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วม ละเมิดก่อให้เกิดความเสียหาย
กระทรวงเกษตราธิการได้ประกาศให้เจ้าของที่ดินในเขตไฟไหม้นำเจ้าพนักงานทำการรังวัดสอบเขตและปักหลักเขตหมายที่ดินใหม่เจ้าของที่ดินร่วมได้นำเจ้าพนักงานรังวัดสอบเขตโดยเจ้าของที่ดินร่วมอีกผู้หนึ่งมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยการรังวัดสอบเขตจึงเป็นการมิชอบเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำการแก้ไขเนื้อที่ดินและผนึกแผนที่หลังโฉนดตามที่รังวัดสอบเขตใหม่เช่นนี้ การกระทำของเจ้าพนักงานที่ดินจึงเป็นการละเมิดต่อเจ้าของที่ดินที่มิได้รู้เห็นในการรังวัดสอบเขตใหม่และต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วย
of 21