คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โต้แย้งสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเจ้าหน้าที่เรียกหนี้ภาษีค้างที่ขาดอายุความ การยืนยันสิทธิยึดทรัพย์เป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
จำเลยมีหนังสือให้โจทก์นำเงินภาษีอากรค้างและเงินเพิ่มใหม่ซึ่งโจทก์อ้างว่าขาดอายุความแล้วไปชำระ หากไม่ชำระจะดำเนินการกับโจทก์ตามกฎหมายโดยเคร่งครัด โจทก์ปฏิเสธการชำระหนี้ จำเลยยืนยันจะใช้สิทธิของจำเลยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์โดยมิต้องให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง อันจะทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยในเรื่องหนี้ค่าภาษีอากรค้างและเงินเพิ่มโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอ น.ส.3 ต้องยื่นคำขอตามกฎหมาย หากไม่ยื่น ถือไม่ได้เป็นการโต้แย้งสิทธิ
การออกน.ส.3 ผู้ขอต้องยื่นคำขอตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา56 โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอดังนั้นนายอำเภอไม่ออก น.ส.3ให้ ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอคดีต่อศาล: ข้อพิพาท vs. ไม่มีข้อพิพาท เมื่อมีผู้โต้แย้งสิทธิ
กรณีที่จะเสนอคดีต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทนั้น หมายถึงกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิ แต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาล
หากเจ้าพนักงานที่ดินไม่ยอมรับจดทะเบียนการโอนที่ดินเพราะพินัยกรรมของผู้ตายสั่งห้ามจำหน่าย เท่ากับได้มีการโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว ผู้ร้องชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้องอันเป็นคดีมีข้อพิพาท หาใช่เสนอคดีโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอคดีไม่มีข้อพิพาทเมื่อมีผู้โต้แย้งสิทธิ ผู้ร้องต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท
กรณีที่จะเสนอคดีต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทนั้น หมายถึงกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิ แต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาล
หากเจ้าพนักงานที่ดินไม่ยอมรับจดทะเบียนการโอนที่ดินเพราะพินัยกรรมของผู้ตายสั่งห้ามจำหน่าย เท่ากับได้มีการโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว ผู้ร้องชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้องอันเป็นคดีมีข้อพิพาท หาใช่เสนอคดีโดยทำเป็นคำร้องขอ อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: ต้องมีการโต้แย้งสิทธิ หรือความสุจริตในการใช้เครื่องหมาย
กรณีที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฯ นั้น ถ้าเป็นกรณีตามมาตรา 16 ก็เป็นเรื่องนายทะเบียนมีหนังสือปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเพราะเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว หรือมีการโต้แย้งคัดค้านการขอจดทะเบียนตามมาตรา 22, 23 อันเป็นการโต้แย้งสิทธิกัน ส่วนกรณีที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 คือจดทะเบียนไว้โดยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น ก็ต้องมีการโต้แย้งสิทธิและทำเป็นคำฟ้องเช่นเดียวกัน (อ้างฎ๊กาที่ 232/2504)
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องมหายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องง่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้ เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องมีการโต้แย้งสิทธิ หรือความเสียหายจากการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต
กรณีที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้านั้น ถ้าเป็นกรณีตามมาตรา 16 ก็เป็นเรื่องนายทะเบียนมีหนังสือปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเพราะเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว หรือมีการโต้แย้งคัดค้านการขอจดทะเบียนตาม มาตรา22,23 อันเป็นการโต้แย้งสิทธิกัน ส่วนกรณีที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 คือจดทะเบียนไว้โดยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น ก็ต้องมีการโต้แย้งสิทธิและทำเป็นคำฟ้องเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่ 232/2504)
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิในที่ดินสาธารณประโยชน์ ศาลรับฟ้องได้ แม้ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอสั่งให้โจทก์ออกไปจากที่ดินดังกล่าวอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ จึงมีประเด็นว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ ซึ่งจะต้องฟังพยานหลักฐานต่อไป การที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าโจทก์มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหรือไม่ ไม่พอให้ถือว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง ศาลจึงชอบที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิในที่ดิน การรับฟ้องคดีที่ดิน และประเด็นการพิสูจน์ว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทจำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอสั่งให้โจทก์ออกไปจากที่ดินดังกล่าวอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์จึงมีประเด็นว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ ซึ่งจะต้องฟังพยานหลักฐานต่อไป การที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าโจทก์มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหรือไม่ ไม่พอให้ถือว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องศาลจึงชอบที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีคำชี้ขาดของกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่
โจทก์เป็นเจ้าของและผู้จัดการโรงเรียน ได้ถูกครูกล่าวหาว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยทั้ง 8 ในฐานะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ออกคำชี้ขาดว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับครูผู้กล่าวหาเข้าทำงานตามเดิมและจ่ายเงินให้ผู้กล่าวหาอีกจำนวนหนึ่ง โดยให้โจทก์ปฏิบัติภายใน 15 วันนั้น คำชี้ขาดดังกล่าวได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามข้อ 75 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการแรงงานสัมพันธ์ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 คำชี้ขาดตามประกาศดังกล่าว ข้อ 17,18 ให้บังคับได้เป็นเวลา 1 ปี หาใช่เป็นเพียงคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานหรือพนักงานเงินทดแทนไม่ ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย่งการครอบครอง: เริ่มนับเมื่อมีการโต้แย้งสิทธิชัดเจน ไม่ใช่วันจดทะเบียนซื้อขาย
จำเลยยื่นเรื่องราวต่อทางอำเภอขอขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่า โจทก์ร้องคัดค้านว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่ง ให้จำเลยครอบครองไว้แทน อำเภอจึงทำการเปรียบเทียบ จำเลยว่าที่พิพาทเป็นของตนทั้งแปลง ได้รับมรดกและได้ครอบครองทำประโยชน์ติดต่อกันประมาณ 45 ปีแล้ว โจทก์ไม่เคยเกี่ยวข้อง อำเภอจึงสั่งให้โจทก์นำคดีไปฟ้องต่อศาลภายใน 40 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องภายในกำหนดดังกล่าว อำเภอจึงจดทะเบียนซื้อขายให้ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิโจทก์นับตั้งแต่วันที่จำเลยได้อ้างในการเปรียบเทียบของอำเภอ โดยแสดงออกต่อโจทก์แล้วว่าจะเอาที่พิพาทเป็นของตน มิได้ยึดถือแทนโจทก์ต่อไป อันเป็นการแย่งการครอบคอรง หาใช่นับตั้งแต่วันที่อำเภอได้ทำการจดทะเบียนขายที่พิพาทไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันถูกแย่งการครอบครองโจกท์จึงขาดสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง โจทก์จึงขาดสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรค 2
of 23