พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ให้ผลประโยชน์จากการเป็นความแก่ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดี เป็นโมฆะ
สัญญาที่จำเลยทำกับ ส. มีข้อตกลงว่า ให้ ส. ติดต่อว่าจ้างทนายความในคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้อง ก. ให้โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามหนังสือสัญญาจะซื้อขาย โดย ส. เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินคดีให้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และเมื่อคดีถึงที่สุดจำเลยชนะคดี จำเลยยอมยกที่ดินพิพาทให้แก่ ส. ทันที โดย ส. จะต้องจ่ายเงินจำนวน 60,000 บาท แก่จำเลยในวันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นการตอบแทนแต่ ส. ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลคดีที่จำเลยกับ ก. พิพาทกัน ดังนี้ สัญญาที่โจทก์และจำเลยทำขึ้นโดยมีข้อตกลงให้ ส. ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการเป็นความ เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150ที่แก้ไขใหม่) กรณีไม่เป็นสัญญาที่เข้าลักษณะสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน
เมื่อโจทก์ทำสัญญากับจำเลยโดยมีข้อความและเงื่อนไขเช่นเดียวกับสัญญาที่จำเลยทำกับ ส. ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน โดยโจทก์ซึ่งไม่มีส่วนได้เสียในมูลคดีตกลงออกค่าใช้จ่ายให้จำเลยในการดำเนินคดีชั้นฎีกา เพราะหวังได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์จึงเป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยตกเป็นโมฆะเช่นกัน โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์และให้จำเลยรับเงินจากโจทก์ จำนวน 60,000 บาท ตามสัญญาไม่ได้
เมื่อโจทก์ทำสัญญากับจำเลยโดยมีข้อความและเงื่อนไขเช่นเดียวกับสัญญาที่จำเลยทำกับ ส. ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน โดยโจทก์ซึ่งไม่มีส่วนได้เสียในมูลคดีตกลงออกค่าใช้จ่ายให้จำเลยในการดำเนินคดีชั้นฎีกา เพราะหวังได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์จึงเป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยตกเป็นโมฆะเช่นกัน โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์และให้จำเลยรับเงินจากโจทก์ จำนวน 60,000 บาท ตามสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขบังคับก่อนที่เป็นโมฆะ หากมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
ส. กับโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทจึงเป็นผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลคดีที่จำเลยกับ ก. พิพาทกัน การที่ ส. กับโจทก์ทำสัญญาตกลงออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆให้จำเลยในการดำเนินคดีโดยหวังจะได้ที่ดินพิพาทนั้นเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยมีข้อตกลงให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการเป็นความ ซึ่ง ส. กับโจทก์คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลคดีนั้น เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) ไม่ใช่สัญญาที่เข้าลักษณะจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินไม่เป็นโมฆะ แม้พื้นที่อยู่ในสีเขียว และไม่มีลักษณะเป็นนิติกรรมอำพราง
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ก่อสร้างโรงงานและที่พักอาศัย เมื่อกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 116 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. การผังเมืองฯ ไม่ได้กำหนดห้ามมิให้ก่อสร้างโรงงานเด็ดขาด ทั้งจำเลยที่ 2 ได้ติดต่อกระทรวงอุตสาหกรรมจนได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
นิติกรรมอำพรางตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งอำพราง ปกปิดไว้ โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่อำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้ คู่กรณีในเรื่องนิติกรรมอำพรางจึงมีอยู่เพียงคู่เดียว ดังนั้นสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แม้จะทำในวันเดียวกัน แต่เมื่อคู่กรณีเป็นคนละคู่กันจึงไม่มีทางที่จะเป็นนิติกรรมอำพรางตามความหมายของกฎหมายได้
นิติกรรมอำพรางตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งอำพราง ปกปิดไว้ โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่อำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้ คู่กรณีในเรื่องนิติกรรมอำพรางจึงมีอยู่เพียงคู่เดียว ดังนั้นสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แม้จะทำในวันเดียวกัน แต่เมื่อคู่กรณีเป็นคนละคู่กันจึงไม่มีทางที่จะเป็นนิติกรรมอำพรางตามความหมายของกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินตกเป็นโมฆะเนื่องจากสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ
ที่ดินที่โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายต่อกันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยมีจุดประสงค์สำคัญจะนำที่ดินที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ไปขอออกโฉนดที่ดินขณะทำสัญญาโจทก์ครอบครองอาศัยอยู่ในที่ดินโดยปลูกสร้างอยู่อย่างถาวร มีสำเนาทะเบียนบ้านถูกต้องย่อมเป็นเหตุผลให้จำเลยเข้าใจได้ว่าที่ดินของโจทก์สามารถขอออกโฉนดได้ เมื่อจำเลยทำสัญญากับโจทก์โดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ แห่งนิติกรรมสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156โจทก์จำเลยปราศจากข้อผูกพันในอันจะต้องปฏิบัติตามสัญญาเสมือนหนึ่งไม่มีข้อสัญญาต่อกัน โจทก์ไม่อาจอาศัยผลบังคับของสัญญาข้อหนึ่งข้อใดที่ตกเป็นโมฆะแล้วมาริบเงินมัดจำหรือบังคับให้จำเลยชำระเงินมัดจำตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเพิกถอนสัญญาเมื่อข้ออ้างเป็นเหตุยกฟ้องได้ ศาลไม่จำเป็นต้องรับฟ้องแย้ง
จำเลยฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนทำลายสัญญากู้ยืมและสัญญาจำนองระหว่างโจทก์และจำเลย อ้างว่าสัญญากู้ยืมเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยทำสัญญาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม โดยข้ออ้างนี้จำเลยอ้างเป็นคำให้การต่อสู้คดีไว้แล้วดังนั้น หากข้อเท็จจริงได้ความว่าสัญญากู้ยืมเป็นโมฆะตามที่จำเลยยกขึ้นอ้าง ศาลก็ย่อมนำมาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์อยู่แล้ว จำเลยหาจำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนทำลายแต่ประการใดไม่ที่ศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4897/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเพิกถอนสัญญาเมื่อมีข้อต่อสู้เรื่องโมฆะอยู่แล้ว ศาลไม่รับฟ้องแย้งซ้ำ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลย ที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะเพราะเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมหากศาลพิจารณาได้ความจริงดังที่จำเลยกล่าวอ้าง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้ยกฟ้องโจทก์ ซึ่งมีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนและทำลายสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้สิ้นผลบังคับต่อกันอันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดปัญหานั้นซ้ำอีกจึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4897/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเพิกถอนสัญญาเมื่อมีข้อต่อสู้เรื่องโมฆะอยู่แล้ว ศาลไม่รับฟ้องแย้งซ้ำ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะเพราะเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม หากศาลพิจารณาได้ความจริงดังที่จำเลยกล่าวอ้าง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งมีผลทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนและทำลายสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้สิ้นผลบังคับต่อกันอันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดปัญหานั้นซ้ำอีก จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงค่าตอบแทนพิเศษที่เชื่อมโยงกับการระดมเงินฝาก เป็นโมฆะตามกฎหมายควบคุมธุรกิจเงินทุน
ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างหรือไม่ จำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าลูกจ้างจะระดมเงินฝากได้หรือไม่ และเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด ถ้าไม่สามารถระดมเงินฝากได้ ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษ หรือถ้าระดมเงินฝากได้น้อย ก็จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษลดลงตามส่วน จึงไม่แน่นอนว่าลูกจ้างจะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มอย่างอื่น บรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน
ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายให้โจทก์ (ลูกจ้าง) สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 เป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20 (9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตาม
ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายให้โจทก์ (ลูกจ้าง) สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 เป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20 (9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างให้ค่าตอบแทนพิเศษเพื่อระดมเงินฝากขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย จึงเป็นโมฆะ
จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุน ค่าจ้างเดือนละ 38,000 บาท และจำเลยตกลงให้โจทก์กับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยพร้อมกับโจทก์ ร่วมกันระดมเงินฝากให้แก่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 4,000 ล้านบาท จำเลยที่ 1จะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้โจทก์กับพวกรวม 4 คนในอัตราร้อยละ 0.06ของยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวัน โดยจ่ายปีละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่โจทก์กับพวกไม่สามารถระดมเงินฝากได้ถึง 2,500 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี จำเลยสามารถใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงสัญญากันใหม่ได้ ซึ่งตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่จำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์จะระดมเงินฝากได้หรือไม่ และจำนวนมากน้อยเพียงใด จึงไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ และจำนวนเท่าใด ทั้งในกรณีที่โจทก์กับพวกร่วมกันระดมเงินฝากได้มากเกิน 4,000 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี ตามสัญญาจ้างก็มิได้กำหนดให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ เพื่อเป็นการจูงใจให้โจทก์ขยันระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น ทั้งโจทก์จะได้รับเงินตอบแทนพิเศษนี้ปีละครั้งต่างหากจากเงินเดือน และเงินจำนวนนี้พนักงานอื่นไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน
ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลย ซึ่งเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20(9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างที่พิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามที่ตกลงในสัญญาจ้างให้โจทก์
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างนั้น เมื่อค่าตอบแทนพิเศษไม่เป็นเงินส่วนที่เป็นเงินเดือน เงินบำเหน็จ เงินรางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติแล้ว แม้จะฟังว่าค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินค่าจ้างดังโจทก์อุทธรณ์ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลย ซึ่งเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20(9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างที่พิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามที่ตกลงในสัญญาจ้างให้โจทก์
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างนั้น เมื่อค่าตอบแทนพิเศษไม่เป็นเงินส่วนที่เป็นเงินเดือน เงินบำเหน็จ เงินรางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติแล้ว แม้จะฟังว่าค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินค่าจ้างดังโจทก์อุทธรณ์ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่ให้ค่าตอบแทนพิเศษจากการระดมเงินฝากขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะ
สัญญาที่จำเลยที่ 1 จ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุนมีข้อตกลงพิเศษว่า โจทก์ต้องระดมเงินฝากให้แก่จำเลยที่ 1ไม่ต่ำกว่าปีละ4,000 ล้านบาท จึงจะได้รับค่าตอบแทนพิเศษในอัตราร้อยละ 0.06 ของยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวัน หากไม่สามารถระดมเงินฝากได้ถึง2,500 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี จำเลยที่ 1 สามารถเปลี่ยนแปลงสัญญาใหม่ได้ ทำให้เห็นว่าโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษ จำนวนเท่าใดหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์จะระดมเงินฝากได้มากน้อยเพียงใดถ้าไม่สามารถระดมเงินฝากได้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือถ้าระดมเงินฝากได้น้อยโจทก์ก็จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษลดลงตามส่วน จึงไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่และจำนวนเท่าใด ทั้งในกรณีที่โจทก์ระดมเงินฝากได้มากเกิน 4,000 ล้านบาทในระยะหนึ่งปี สัญญาจ้างก็มิได้กำหนดให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ดังนั้น เมื่อค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินที่จะได้รับต่างหากจากเงินเดือนจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มอย่างอื่น บรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน เพราะเป็นจำนวนไม่แน่นอน การที่จำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายค่าตอบแทนพิเศษเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์เนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงินจึงเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 มาตรา 20(9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงินจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่มีผลบังคับให้จำเลยที่ 1ต้องปฏิบัติตามจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้โจทก์