คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่สุจริต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 369 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากการออกโฉนดที่ดิน: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำโดยไม่สุจริต
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าแปลงหนึ่งต่อมาได้มี ส.ป.และศ. ยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินแปลงดังกล่าวของโจทก์ต่อจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด โจทก์คัดค้าน ในที่สุดจำเลยได้มีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่บุคคลทั้งสาม คำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ดังนี้คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องโดยอ้างมูลละเมิดเป็นหลักแห่งข้อหา โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งโดยไม่สุจริต ทั้งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้ความว่าจำเลยมีคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร คำสั่งของจำเลยฝ่าฝืนต่อกฎหมายใด จึงถือไม่ได้ว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นการละเมิดและโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีละเมิด: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงความไม่สุจริตและการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า คำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เป็นการฟ้องโดยอ้างมูลละเมิดเป็นหลักแห่งข้อหาแต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งโดยไม่สุจริต ทั้งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้ความว่า จำเลยมีคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร คำสั่งของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายใดถือไม่ได้ว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องจึงไม่เป็นการละเมิด และโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้ค่าภาษีของลูกหนี้ล้มละลายที่กระทำโดยไม่สุจริต และการคืนเงินให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่กรมสรรพากรผู้คัดค้านรู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้แล้วได้ยอมรับชำระหนี้ค่าภาษีและอากรแสตมป์ของบริษัทลูกหนี้โดยการผ่อนชำระ จึงเป็นการรับชำระหนี้โดยไม่สุจริต เมื่อการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการ ขอให้ล้มละลายศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 แม้การตกลงชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านดังกล่าว เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายก็ตาม ก็หาใช่เป็นข้อจำกัดอำนาจศาลที่จะสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าวไม่
เมื่อศาลสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้าน ก็เท่ากับว่าเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้คัดค้านจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้คัดค้านคืนเงินดังกล่าวตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
การที่ผู้คัดค้านต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอน ซึ่งเป็นไปโดยผลของคำพิพากษากรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยไม่สุจริตก่อนล้มละลาย ศาลมีอำนาจเพิกถอนและสั่งคืนเงินได้
การที่ กรมสรรพากร ผู้คัดค้านรู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้แล้วได้ยอมรับชำระหนี้ค่าภาษีและอากรแสตมป์ของบริษัทลูกหนี้โดยการผ่อนชำระ จึงเป็นการรับชำระหนี้โดยไม่สุจริตเมื่อการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาพ.ศ. 2483 มาตรา 114 แม้การตกลงชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านดังกล่าว เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายก็ตาม ก็หาใช่เป็นข้อจำกัดอำนาจศาลที่จะสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าวไม่ เมื่อศาลสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้าน ก็เท่ากับว่าเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้คัดค้านจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้คัดค้านคืนเงินดังกล่าวตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ การที่ผู้คัดค้านต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอน ซึ่งเป็นไปโดยผลของคำพิพากษากรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6485/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การประวิงการบังคับคดีโดยไม่สุจริตของผู้ถูกบังคับคดี ทำให้ผู้ถูกบังคับคดีต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายเพราะโจทก์ถอนการยึด แม้จะถือว่าโจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นตามที่ระบุไว้ในตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 อันจะทำให้โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อมีพฤติการณ์เห็นได้ว่าจำเลยประวิงการบังคับคดีโดยไม่สุจริตศาลฎีกาเห็นสมควรให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4452/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน: การปฏิบัติตามสัญญาไม่ใช่เงื่อนไขบอกเลิก และการโอนที่ดินโดยไม่สุจริต
การบอกเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 387 เป็นเรื่องที่คู่สัญญาอีกฝ่ายไม่ปฏิบัติการชำระหนี้แต่การที่จำเลยมีหนังสือสอบถามโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินว่า ถ้าประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาก็ให้ติดต่อจำเลยภายใน 15 วันนั้น ไม่ใช่ให้โจทก์ชำระหนี้ตามข้อตกลงในสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ติดต่อจำเลยมาตามกำหนด จำเลยก็จะถือเอาเหตุนี้มาใช้บอกเลิกสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3357/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปกปิดข้อมูลทายาทและทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อประโยชน์ส่วนตัว เป็นเหตุให้ศาลถอนผู้จัดการมรดกได้
ผู้ร้องทราบว่ามารดาของผู้คัดค้านกับผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตายแต่ผู้ร้องได้แสดงบัญชีเครือญาติและนำสืบว่าผู้ตายมีทายาทเพียง 2 คน คือ ผู้ร้องกับมารดาผู้ตาย และในคำร้องขอจัดการมรดกผู้ร้องอ้างว่าผู้ตายมีทรัพย์สินต้องจัดแบ่งปันแก่ทายาทแต่กลับมาอ้างในชั้นร้องขอถอนผู้จัดการมรดกว่าผู้ตายไม่มีทรัพย์สินที่จะต้องแบ่งปันจึงส่อพฤติการณ์ไม่สุจริตปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทและทรัพย์มรดกของผู้ตาย ไม่สมควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกสินค้าโดยไม่เสียภาษีและการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายโดยไม่สุจริต
โจทก์ส่งของออกนอกราชอาณาจักรโดยมิได้เสียภาษีอันเป็นการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27เป็นเหตุให้จำเลยผู้ขนส่งไม่อาจออกใบตราส่งให้โจทก์ได้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยไม่ออกใบตราส่งให้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะเนื่องจากเจตนาลวงและการแสดงเจตนาที่ไม่สุจริต
ฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว แม้มิได้แนบเอกสารสัญญาซื้อขายที่ได้กล่าวอ้างถึงก็หาทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยมิได้มีเจตนาซื้อขายกันจริงจัง แต่เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันเท่านั้น การซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 118วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่สุจริต และอำนาจฟ้องของคู่สมรส
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียวกับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาแต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง
of 37