พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,733 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2421/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดในชั้นบังคับคดี: ศาลต้องมีคำสั่งชัดเจนก่อนส่งเรื่องขึ้นศาลอุทธรณ์
การร้องสอดอ้างว่าตนมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) นั้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนเสร็จแล้วต้องมีคำสั่งอนุญาตหรือยกคำร้องเพื่อที่คู่ความที่ไม่เห็นด้วยจะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนเสร็จแล้วไม่ทำคำสั่ง แต่มีคำสั่งให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งนั้นไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเสียเองแทนศาลชั้นต้นโดยให้ยกคำร้องก็ไม่ถูกต้อง ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของผู้ร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทนายความจากการล้มละลาย: การรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องต้องเป็นผลมาจากการบังคับคดีตามสัญญาจ้าง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับเงินค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ผู้คัดค้านมีคำสั่งยกคำร้องแต่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับเงินค่าทนายความส่วนที่ 2 โดยผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกานั้น แม้มิใช่เป็นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง แต่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับอุทธรณ์ส่งมาให้ศาลฎีกาแล้ว ทั้งศาลฎีกาพิจารณาแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นสมควรรับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านดังกล่าวไว้พิจารณาตามมาตรา 26 วรรคสี่
สิทธิในการได้รับชำระหนี้ค่าทนายความเพิ่มเติมในส่วนที่ 2 อัตราร้อยละ 10 ของยอดหนี้ตามฟ้องแต่ละคดีจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า ให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ต่อเมื่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีต่างๆ แล้วไม่ว่าโดยวิธีใดจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ซึ่งตามทางนำสืบของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าหลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 22 แล้ว ผู้คัดค้านได้มอบหมายให้ผู้ร้องเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้านในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ประการใด ทั้งเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในคดีแพ่งดังกล่าวก็เป็นดำเนินการขายโดยผู้คัดค้านตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ มิใช่กรณีที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเพิ่มเติมจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวแต่อย่างใด
สิทธิในการได้รับชำระหนี้ค่าทนายความเพิ่มเติมในส่วนที่ 2 อัตราร้อยละ 10 ของยอดหนี้ตามฟ้องแต่ละคดีจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า ให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ต่อเมื่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีต่างๆ แล้วไม่ว่าโดยวิธีใดจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ซึ่งตามทางนำสืบของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าหลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 22 แล้ว ผู้คัดค้านได้มอบหมายให้ผู้ร้องเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้านในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ประการใด ทั้งเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในคดีแพ่งดังกล่าวก็เป็นดำเนินการขายโดยผู้คัดค้านตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ มิใช่กรณีที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเพิ่มเติมจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีจากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทรัพย์สิน
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นเงินได้ของกองทรัพย์สินจำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์และข้อตกลงในหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดเป็นผู้ชำระค่าภาษีต่างๆ แล้วนำใบเสร็จรับเงินมาขอรับเงินคืนภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์หรือภายใน 20 วัน นับแต่ชำระราคาครบถ้วน หากไม่มาขอคืนภายในกำหนดดังกล่าวถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจขอรับเงินดังกล่าวคืนนั้น เป็นเพียงเพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของจำเลยดำเนินไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว เมื่อจำหน่ายทรัพย์สินแล้วทรัพย์สินซึ่งเหลือจากที่กันไว้สำหรับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 การทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถกันเงินในส่วนที่ผู้ซื้อทรัพย์จะมาขอรับเงินที่จ่ายเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืนได้ แล้วแจ้งให้ผู้ซื้อทรัพย์ทราบ หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่มารับเงินดังกล่าวคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ศาลสั่งปิดคดีเงินดังกล่าวก็จะตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 176 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อตกลงในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์หรือหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์มารับเงินดังกล่าวคืนภายในกำหนดเวลาที่ผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12039-12042/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาหลังเลิกจ้าง: สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน
สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เป็นสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่สมัครใจทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนดังกล่าวภายหลังจากที่จำเลยเลิกจ้าง ซึ่งในขณะนั้นโจทก์ทั้งสี่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยและมีอิสระที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของตนเองได้ เพราะพ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาจากจำเลยไปแล้ว ข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยจึงมีผลสมบูรณ์ หาได้ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะส่งผลให้เป็น โมฆะแต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสี่จึงต้องผูกพันและปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11776/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง - การคืนเงินที่ได้จากการหลอกลวง - สิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติว่า "คดีลักทรัพย์...ฉ้อโกง...ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย" ดังนี้ เมื่อจำเลยหลอกลวงเอาเงิน 80,000 บาท ของผู้เสียหายไปอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและโจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนเงิน 80,000 บาท ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 43 ให้อำนาจไว้จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวน 80,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนที่ดินที่จำเลยจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้เสียหายแล้วนั้น หากผู้เสียหายไม่โอนที่ดินคืนแก่จำเลย จำเลยชอบที่จะดำเนินคดีทางแพ่งตามสิทธิของจำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11776/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง - การคืนเงิน - สิทธิเรียกร้อง - ที่ดิน - คดีอาญา
จำเลยขายที่ดินให้ผู้เสียหาย โดยหลอกลวงว่าที่ดินตามโฉนดดังกล่าวตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟสระแก้ว ความจริงที่ดินนั้นตั้งอยู่ที่อื่นและมีเนื้อที่น้อยกว่ามาก โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหาย เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง จำเลยต้องคืนเงินแก่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ส่วนที่ดินที่จำเลยจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้เสียหายแล้ว หากผู้เสียหายไม่โอนคืนให้แก่จำเลย จำเลยชอบที่จะดำเนินคดีทางแพ่งตามสิทธิของจำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11714/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน – สิทธิเรียกร้องคืนเงิน – อายุความ – การชำระหนี้โดยสุจริต – การใช้สิทธิเรียกร้อง
ตามสัญญาค้ำประกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 จำเลยที่ 2 จะต้องชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใดๆ จากจำเลยที่ 3 ส่วนตามสัญญาค้ำประกันระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม. นั้น ม. จะต้องรับผิดชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจำเลยที่ 1 เรียกร้องให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายและจำเลยที่ 2 จำต้องรับผิดชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันโดยอ้างว่าจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายโดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายตามกำหนดเวลาซึ่งจำเลยที่ 2 หักเงินจากบัญชีเงินฝากจำเลย 1,249,000 บาท นำไปชำระให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมาคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 3 และคดีที่จำเลยที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับสัญญาซื้อขาย ศาลมีวินิจฉัยถึงที่สุดว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นฝ่ายไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใดๆ จากจำเลยที่ 3 ซึ่งมีผลทำให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องรับผิดชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ไปโดยสุจริตและปราศจากความประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ ม. รับผิดชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันสำหรับเงินที่จำเลยที่ 2 ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 2 ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ การที่จำเลยที่ 2 ละเลยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเช่นว่านั้นย่อมเป็นความผิดของจำเลยที่ 2 เอง จะยกเอามาเป็นข้ออ้างเพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดที่จะต้องคืนเงินให้แก่ ม. หรือแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. มิได้ เมื่อ ม. หรือโจทก์มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุดังกล่าวย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่จำเลยที่ 3 ได้ เพราะเป็นสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ชำระจะเรียกร้องเอาได้
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดในฐานละเมิด แต่มิได้ยื่นฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ ม. รู้ถึงการละเมิด คดีในส่วนจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความ โดยมิได้กล่าวในอุทธรณ์ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้ไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ประเด็นนี้ของจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้วและถือว่าประเด็นเรื่องอายุความตามฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดในฐานละเมิด แต่มิได้ยื่นฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ ม. รู้ถึงการละเมิด คดีในส่วนจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความ โดยมิได้กล่าวในอุทธรณ์ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้ไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ประเด็นนี้ของจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้วและถือว่าประเด็นเรื่องอายุความตามฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11683-11703/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าจ้างและค่าชดเชยจากคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน: ศาลรับฟ้องได้แม้ยังไม่ถึงที่สุด
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 บัญญัติให้นายจ้าง ลูกจ้าง ซึ่งไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ตามมาตรา 124 นำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง หาได้บัญญัติให้ลูกจ้างต้องรอจนกว่าคำสั่งเป็นที่สุดแล้วจึงจะฟ้องเรียกเงินตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานได้
เมื่อตามบัญชีค่าจ้างและค่าชดเชยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 2 น้อยกว่าคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่อาจได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยเกินกว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน จึงเห็นควรกำหนดจำนวนค่าจ้างและค่าชดเชยที่โจทก์แต่ละสำนวนมีสิทธิได้รับตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานให้ชัดเจน
แม้โจทก์แต่ละสำนวนมิได้มีคำขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดร่วมกัน แต่ก็บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน เพื่อความเป็นธรรมจึงเห็นสมควรวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดร่วมกัน
เมื่อตามบัญชีค่าจ้างและค่าชดเชยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 2 น้อยกว่าคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่อาจได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยเกินกว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน จึงเห็นควรกำหนดจำนวนค่าจ้างและค่าชดเชยที่โจทก์แต่ละสำนวนมีสิทธิได้รับตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานให้ชัดเจน
แม้โจทก์แต่ละสำนวนมิได้มีคำขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดร่วมกัน แต่ก็บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน เพื่อความเป็นธรรมจึงเห็นสมควรวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11600/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าประกันผลงาน: สิทธิเรียกร้องเริ่มเมื่อครบกำหนด 2 ปีหลังส่งมอบงาน ฟ้องภายใน 2 ปีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ส่งมอบสินค้าแก่จำเลยเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2541 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยชำระเงินค่าประกันผลงานซึ่งหักจากค่าสินค้าไว้คืนแก่โจทก์ย่อมเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2544 จึงยังไม่ขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อสัญญาทางแพ่ง: สัญญาไม่ระงับ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าปรับได้จนถึงวันบอกเลิกสัญญา
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเพียงทำให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ป. ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทน หามีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างดังกล่าวต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับได้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญา