พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,733 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายกรณีผู้รับขนส่งไม่ได้ส่งมอบสินค้า ถือเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์คืน ไม่มีอายุความ
โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยรับขนสินค้าไปส่งมอบให้วิทยาลัยการอาชีพ ท. จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์แล้วแต่มิได้นำสินค้าไปส่งมอบให้ตามสัญญา โจทก์ต้องจัดส่งสินค้าอย่างเดียวกันให้แก่วิทยาการอาชีพ ท. อีกครั้ง และนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ แม้ตามฟ้องโจทก์จะเรียกเอาค่าเสียหายแต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกก็เท่ากับราคาสินค้าของโจทก์ที่ได้มอบให้จำเลยไป จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความฟ้องร้องอีกทั้งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าได้นำสินค้าของโจทก์ไปส่งมอบให้แก่ผู้รับแล้ว มิได้ต่อสู้ว่าสินค้าของโจทก์สูญหายระหว่างการขนส่ง จึงไม่อาจนำอายุความในเรื่องความรับผิดของผู้ขนส่งในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9931/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่างานรับเหมา: กรณีทำเพื่อกิจการของลูกหนี้
คดีนี้โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้ประกอบการค้ารับจ้างก่อสร้าง จำเลยรับจ้างก่อสร้างถนนและสะพานจากกรมทางหลวงแล้วจำเลยนำงานก่อสร้างสะพานไปว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอีกต่อหนึ่ง งานก่อสร้างสะพานเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างจากกรมทางหลวงอยู่ด้วย กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ารับจ้างก่อสร้างเรียกเอาค่างานที่ได้ทำให้แก่จำเลยเพื่อกิจการของจำเลย เข้าข้อยกเว้นไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมสินสมรสหลังหย่า: การซื้อขายโดยไม่ยินยอมและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ร่วมกับจำเลยขณะเป็นสามีภรรยากันได้ซื้อที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทระหว่างผ่อนชำระหนี้จำนองทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์ร่วมกับจำเลยจดทะเบียนหย่ากันต่อมาโจทก์ร่วมขายทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นพี่สาวของโจทก์ร่วมอ้างว่า มีการตกลงตามสัญญาหย่าว่าทรัพย์ดังกล่าวขณะยังผ่อนชำระไม่หมดเป็นของโจทก์ร่วมเมื่อผ่อนชำระหมดแล้วจึงจะยกให้จำเลย แต่ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าข้อ 2 มีว่า "เรื่องทรัพย์สินที่ดิน 21 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 161/899 ถนนจรัญสนิทวงค์ แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ระหว่างผ่อนส่งกับบริษัท ค. ซึ่งหากผ่อนส่งชำระเสร็จสิ้นแล้วจะยกกรรมสิทธิ์ให้ฝ่ายหญิง" ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าจำเลยยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้โจทก์ร่วมทั้งหมดเพียงแต่หากโจทก์ร่วมผ่อนชำระหมดแล้ว โจทก์ร่วมจะยกกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ร่วมให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อตกลงแบ่งแยกสินสมรสกันไว้ การแบ่งสินสมรสต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติว่า ให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน กล่าวคือ คนละกึ่งหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ผู้รับโอนย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินพิพาทเท่าที่โจทก์ร่วมผู้โอนมีอยู่กึ่งหนึ่งเท่านั้น มิใช่ทั้งหมดดังโจทก์ฎีกา แม้โจทก์จะรับซื้อมาโดยสุจริตก็ตาม และตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ และวรรคสองบัญญัติว่า แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่โดยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ร่วมนำทรัพย์พิพาทไปขายโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมจึงผูกพันแต่เฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ผลตามกฎหมายจึงมีว่าโจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์พิพาทคนละเท่าๆ กันในทุกส่วนของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาทและจำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายทรัพย์สินพิพาทระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากเช็คคืนประกันตัว – เช็คระบุชื่อผู้รับเงินไม่ใช่หนี้ที่จำเลยต้องส่งมอบให้แก่ตัวการ
เช็คที่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายให้แก่จำเลยในฐานะนายประกันเป็นเช็คระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงิน จำเลยย่อมอยู่ในฐานะผู้ทรงในฐานเป็นผู้รับเงินที่พึ่งจะยื่นเช็คเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คแก่ตนเท่านั้น เงินที่ธนาคารพึงใช้ให้แก่จำเลยตามเช็คจึงมิใช่เงินหรือทรัพย์สินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 โดยตรง เมื่อหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน หากจำเลยไม่ชำระก็เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินจากธนาคารตามเช็คเพื่อมอบให้แก่โจทก์ รวมทั้งขอให้บังคับธนาคารตามเช็คซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีใช้เงินตามเช็คที่ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินให้แก่โจทก์ก็ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรู้เห็นเป็นใจกับความผิดทางอาญาของผู้เช่าซื้อ และสิทธิในการเรียกร้องทรัพย์สินคืนจากการเช่าซื้อ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 โดยในคำร้องระบุว่าจำเลยกับพวกได้นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ล่อซื้อซึ่งต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางดังนี้ แสดงว่าผู้ร้องต้องรู้มาก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าศาลชั้นต้นพิพากษาริบรถจักรยานยนต์ของกลางแล้ว แต่ผู้ร้องก็เพิกเฉยไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและมายื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางในคดีนี้ ทั้งยังคงรับชำระเงินค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อต่อไปอีก ประกอบกับหนังสือสัญญาเช่าซื้อข้อ 3.3 ระบุว่า ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนตามสัญญาในกรณีทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหาย ถูกทำลาย ถูกยึดหรือถูกริบ โดยความผิดของผู้เช่าซื้อเองและในกรณีมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบชดใช้ราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อพร้อมด้วยค่าเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ผู้ร้องจึงเพิกเฉยไม่ติดตามเอารถจักรยานยนต์ของกลางที่ให้เช่าซื้อคืน ทั้งๆ ที่ผู้ร้องรู้อยู่แล้วว่ามีการนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในทางผิดกฎหมายอันเป็นการผิดสัญญาเช่าซื้อ การที่ผู้ร้องมาขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางเห็นได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ เข้าลักษณะผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และหมดอายุการบังคับคดีตามคำพิพากษา ยังมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจำนอง
เมื่อผู้ร้องฟ้องต่อศาลแพ่งขอให้จำเลยชำระหนี้กู้ยืมและบังคับจำนองจนศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ผู้ร้องมีสิทธิบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ส่วนที่ว่าในขณะที่ผู้ร้องยังมีสิทธิบังคับคดี ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 22 นั้น แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 110 วรรคสาม เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีจนล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ สิทธิในการบังคับคดีในมูลหนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นหนี้ประธานนั้นเป็นอันสิ้นไป แต่ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 ในหนี้จำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลา 5 ปี เช่นนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องในจำนวนดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 95
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7199/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินมีเงื่อนไข ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิครอบครองแทนทายาท สิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความ
ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมเขียนเองระบุว่า เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วบ้านและที่ดินพิพาทนั้น เจ้ามรดกขอยกให้สิทธิอยู่อาศัยและสิทธิเก็บกินแก่จำเลยมีอำนาจครอบครองและเก็บกินได้จนตลอดชีวิต แต่ถ้าจำเลยถึงแก่ความตายลงเมื่อใดแล้ว ให้บ้านและที่ดินดังกล่าวนี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์แก่บุตรที่เกิดจาก ฉ. ทุกคน โดยให้บุตรของ ฉ. ทุกคนมีส่วนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าวนี้เท่ากัน ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าว เจ้ามรดกมิได้ยกกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย เพียงแต่ให้สิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินตลอดชีวิตแก่จำเลยเท่านั้น สิทธิของจำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมก็มีเพียงตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมเท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทจะต้องตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุตรของ ฉ. เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายแล้วตามเงื่อนไขบังคับก่อนที่ผู้ทำพินัยกรรมระบุให้พินัยกรรมมีผลบังคับให้เรียกร้องกันได้ภายหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1673 ประกอบมาตรา 1674 วรรคสอง จึงต้องถือว่านับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายและข้อกำหนดในพินัยกรรมเฉพาะส่วนของจำเลยมีผลนั้นก็มีผลเพียงให้จำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินในบ้านและที่ดินพิพาทจนตลอดชีวิตของจำเลยเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสามผู้รับพินัยกรรมซึ่งมีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขนั้นยังไม่สำเร็จเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้ ทั้งนี้เพราะมาตรา 1755 รับรองสิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกเท่านั้น
จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทมาเป็นของตน เนื่องจากบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมระบุยกให้แก่โจทก์ทั้งสามแล้ว เพียงแต่เงื่อนไขบังคับก่อนที่กำหนดให้บ้านและที่ดินพิพาทตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามยังไม่สำเร็จเพราะจำเลยยังไม่ถึงแก่ความตายเท่านั้น บ้านและที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะตกทอดแก่จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620
จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทมาเป็นของตน เนื่องจากบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมระบุยกให้แก่โจทก์ทั้งสามแล้ว เพียงแต่เงื่อนไขบังคับก่อนที่กำหนดให้บ้านและที่ดินพิพาทตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามยังไม่สำเร็จเพราะจำเลยยังไม่ถึงแก่ความตายเท่านั้น บ้านและที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะตกทอดแก่จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7090/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์จากทรัพย์สินของลูกหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ศาลอนุญาตได้
การยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ไม่จำต้องขอเฉลี่ยต่อทรัพย์ที่เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนั้นโดยตรง สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อบุคคลภายนอกถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลย เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อบุคคลภายนอกจนต่อมาบุคคลภายนอกถูกบังคับคดี ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ดำเนินการต่อบุคคลภายนอกเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดิน 3 แปลงของบุคคลภายนอกย่อมถือว่าบุคคลภายนอกมีสถานะเช่นเดียวกับจำเลย ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเฉลี่ยในทรัพย์ของบุคคลภายนอกที่ถูกโจทก์นำยึดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6952/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญานายหน้า: สิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จและส่วนเกินใช้ อายุความ 10 ปี ตามกฎหมายทั่วไป
โจทก์ฟ้องเรียกค่าบำเหน็จและเงินส่วนเกินตามสัญญานายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 มิได้ฟ้องเรียกเอาสินจ้างจากการรับทำการงาน สิทธิเรียกร้องดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5690/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าลวงเพื่อเลี่ยงภาษี: สิทธิการแบ่งสินสมรสยังคงมีอยู่
การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีแต่ยังคงอยู่กินและอุปการะเลี้ยงดูกันเสมือนมิได้หย่ากันเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างกัน การหย่าดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 คำฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าการหย่าเป็นโมฆะและขอแบ่งทรัพย์ที่ทำมาหาได้ จึงเป็นการขอเข้าจัดการสินสมรสร่วมกับจำเลยซึ่งโจทก์มีสิทธิร้องขอได้ตราบเท่าที่โจทก์และจำเลยยังคงมีฐานะเป็นสามีภริยากันอยู่ และกรณีนี้มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องที่จะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/9