คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเรียกร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,733 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้และการฟ้องบังคับจำนอง: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อฟ้องไม่บังคับจำนอง
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสามบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แม้บทกฎหมายหนี้จะอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 193/27 แห่ง ป.พ.พ. เป็นผลให้เจ้าหนี้จำนองยังคงมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ฟ้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองเท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องว่า บ. ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ ต่อมา บ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นทายาทโดยธรรมของ บ. ขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้อันเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยมิได้ขอให้บังคับชำระหนี้จากที่ดินที่จำนอง จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญมิใช่ฟ้องบังคับจำนองถึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/27 ต้องนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์รู้ถึงความตายของ บ. ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2548 แต่โจทก์ฟ้องคดีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 วันที่ 26 มกราคม 2550 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์ย่อมขาดอายุความด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26 ฟ้องโจทก์ในส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงขาดอายุความแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระนับย้อนหลังขึ้นไปตั้งแต่วันฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี จึงเป็นอันขาดอายุความ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 26 มกราคม 2550 ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 ถึงวันที่ 25 มกราคม 2545 จึงเกิน 5 ปี และขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องซื้อขายของมหาวิทยาลัย: ไม่ตกภายใต้มาตรา 193/34 (2 ปี) แต่ใช้ 10 ปีตามมาตรา 193/30
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปะอุตสาหกรรมหรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง" แต่โจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ.2533 มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงทำการสอน ทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับแปลงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก ส่วนการดำเนินภารกิจด้านฟาร์มธุรกิจก็เป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการเรียน การสอน และการวิจัย มิใช่เป็นการดำเนินธุรกิจเป็นเอกเทศเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเป็นสำคัญและหากจะมีผลกำไรขึ้นมาบ้างก็เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า การซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ที่กำหนดอายุความ 2 ปี และกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ: สิทธิของเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันเมื่อเจ้าหนี้รายอื่นได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน
เจ้าหนี้รายที่ 24 ตกลงทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้รายที่ 12 และ 13 และเจ้าหนี้รายที่ 24 ชำระหนี้บางส่วนให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 12 และ 13 แทนลูกหนี้ ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้รายที่ 24 เด็ดขาด และมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในคดีนี้นั้น เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 12 และ 13 ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในมูลหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 24 จึงไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนเงินที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/27 วรรคสอง ประกอบมาตรา 101 ซึ่งหากต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้รายที่ 24 นำเงินจากกองทรัพย์สินของเจ้าหนี้ดังกล่าวชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 12 และ 13 แล้วก็ย่อมมีผลให้เจ้าหนี้รายที่ 24 เข้ารับช่วงสิทธิตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 12 และ 13 ในคดีนี้ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืนสิ่งปลูกสร้างที่ล่าช้าและไม่ครบถ้วน การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายเพื่อขอเวนคืนทั้งหลัง
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2540 ซึ่งจำเลยได้เรียกโจทก์มาทำบันทึกข้อตกลงยินยอมรับเงินค่าทดแทนที่ดินเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2540 ฝ่ายจำเลยควรจะดำเนินการสำรวจอย่างจริงจังว่าสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 59/1 ถูกเวนคืนและต้องรื้อถอนในส่วนใดบ้าง ควรได้รับเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างจำนวนเท่าใดแล้วกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างในเวลาเดียวกันหรือเวลาใกล้เคียงกับที่ดำเนินการกับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน แต่หาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่ ปล่อยเวลาในล่วงเลยไปจนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2542 จึงได้ประมาณราคาค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่ถูกเวนคืนให้โจทก์และคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ จึงนำการประมาณราคาดังกล่าวมากำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2543 โดยแจ้งให้โจทก์ทราบภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้วกว่า 1 ปี ทำให้โจทก์เข้าใจผิดในตอนแรกว่าฝ่ายจำเลยไม่กำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ประกอบกับตัวบ้านเลขที่ 59/1 ประมาณ 1 ใน 3 อยู่ในแนวเขตที่จะต้องเวนคืน หากให้รื้อถอนเฉพาะส่วน โครงสร้างของบ้านส่วนที่มิได้ถูกรื้อถอนจะตั้งอยู่ติดถนนสาธารณะโดยไม่มีพื้นที่ว่างระหว่างตัวบ้านกับรั้วบ้านดังเช่นสภาพของเดิมที่มีระยะห่างกันประมาณ 5 เมตร ทั้งยังทำให้พื้นที่ใช้สอยของบ้านส่วนที่เหลือจากการถูกรื้อถอนคับแคบลงไม่อาจใช้ประโยชน์ตามสภาพเดิมได้ ซึ่งทำให้เห็นได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเวนคืนบ้านที่เหลืออยู่ได้ และโจทก์ก็ได้ร้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างทั้งหลังก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2541 แล้ว แต่จำเลยไม่ดำเนินการให้ การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2541 ขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหลังจำนวน 15,000,000 บาท อันเป็นการขอให้เวนคืนสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 59/1 ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนด้วย พอถือได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 19 แล้ว เมื่อรัฐมนตรีฯ มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวัน จึงถือว่ารัฐมนตรีฯ ให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเวนคืนตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว ตามความตอนท้ายวรรคสองของมาตรา 19 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 59/1 ทั้งหลังจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินภาระจำยอม: การแบ่งแยกที่ดินเพื่อสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรร และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงของโจทก์และที่ดินที่ใช้ปลูกสร้างตึกแถว 26 คูหาต่างเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในโครงการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งแบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงใหญ่แปลงเดียวกัน โดยเขตที่ดินแปลงแรกด้านทิศใต้ติดทางหลวงและทิศเหนือติดด้านหน้าตึกแถวทั้ง 26 คูหาตลอดแนว เขตที่ดินแปลงที่สองติดด้านหลังตึกแถวทั้ง 26 คูหา ตลอดแนวเช่นเดียวกัน ซึ่งเจ้าของโครงการหมู่บ้านจัดสรรได้สร้างตึกแถวโดยทำกันสาดด้านหน้าตึกแถวล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทด้านหน้าตึกแถว 1.5 เมตรและล้ำไปในที่ดินพิพาทด้านหลังตึกแถว 1 เมตร ทำให้เห็นได้ว่าหากเจ้าของโครงการมิได้เว้นว่างที่ดินพิพาทด้านหน้าตึกแถวไว้เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่ปลูกสร้างตึกแถวก็จะทำให้ไม่มีทางเข้าออกด้านหน้าตึกแถว ส่วนที่ดินพิพาทด้านหลังส่วนที่พ้นกันสาดก็มีเพียง 1 เมตร ซึ่งไม่น่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ แสดงว่าเจ้าของโครงการได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทไว้เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการขายตึกแถวในโครงการนั้นเอง ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงของโจทก์จึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรรทุกแปลงในโครงการซึ่งรวมถึงที่ดินที่ตั้งตึกแถวของจำเลยที่ 1 ด้วย ส่วนการที่เจ้าของโครงการต้องเว้นระยะด้านหน้าตึกแถวให้ห่างจากทางหลวงประมาณ 6 เมตร ตามระเบียบทางหลวงนั้นเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับการก่อสร้างหาเกี่ยวข้องหรือมีผลให้ที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นภาระจำยอมแต่อย่างใดไม่ เมื่อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตกเป็นภาระจำยอม โดยผลของกฎหมาย แม้โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์โดยการซื้อจากการขายทอดตลาดก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 และไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างทำของเริ่มต้นเมื่อส่งมอบงานเสร็จสิ้น ไม่ต้องรอทวงถามหนี้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามในคดีนี้มิได้มีกฎหมายใดๆ บัญญัติไว้ให้เจ้าหนี้ต้องทวงถามลูกหนี้เพื่อให้ชำระหนี้เสียก่อนแต่ประการใด จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์อันจะเป็นสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ยังไม่อาจบังคับได้จนกว่าจะได้ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระเสียก่อน และเมื่อระยะเวลาที่ได้ทวงถามนั้นได้สิ้นสุดลงแล้วจึงได้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ระยะเวลาที่ได้สิ้นสุดไปแล้วนั้นเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/13 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างจากจำเลยทั้งสามได้ตั้งแต่เมื่อจำเลยทั้งสามรับมอบการงานที่โจทก์ทำเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการตกลงว่าจ้างกันด้วยวิธีการใดก็ตาม เพราะอายุความต้องเริ่มนับตั้งแต่ขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 มิใช่ให้เริ่มนับตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ให้เวลาจำเลยทั้งสามชำระหนี้หลังจากที่จำเลยทั้งสามรับทราบการกำหนดราคาหรือประเมินค่าจ้างจากโจทก์ เพราะหากกรณีเป็นดังที่โจทก์ต่อสู้แล้วก็เท่ากับโจทก์สามารถกำหนดวันเริ่มต้นที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปหรืออีกนัยหนึ่งคืออายุความแห่งสิทธิเรียกร้องได้ด้วยตนเองตามอำเภอใจนั่นเอง และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ประสงค์ที่จะบังคับตามสิทธิเรียกร้องไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม โจทก์ก็ยังไม่ต้องส่งหนังสือทวงถามหรือไม่ต้องส่งหนังสือแจ้งการกำหนดราคาค่าจ้างไปให้ฝ่ายผู้ว่าจ้างทราบ การกระทำเช่นนี้ย่อมขัดต่อเจตนารมณ์และหลักการของกฎหมาย อีกทั้งมติคณะรัฐมนตรีตามที่โจทก์อ้างก็เป็นระเบียบวิธีปฏิบัติที่ทางราชการอนุโลมหรือผ่อนผันให้ใช้กับงานจ้างของหน่วยงานราชการ ไม่มีผลไปยกเว้นหรือยกเลิกหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ต้องใช้บังคับแก่บุคคลทุกคนโดยเสมอภาคแต่ประการใด ข้อโต้แย้งของโจทก์นี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เอกสารการส่งมอบและรับสินค้า ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามตกลงหรือขอให้โจทก์หักหนี้ค่าจ้างที่จำเลยทั้งสามค้างชำระกับหนี้สินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากจำเลยทั้งสาม กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามทำหนังสือรับสภาพหนี้หรือกระทำการใดๆ อันปราศจากสงสัยแสดงให้เป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ ส่วนใบเซ็นรับเอกสารการประมาณการค่าใช้จ่ายที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับเอกสารไว้นั้น ก็ไม่มีข้อความใดที่ระบุหรือแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามที่โจทก์อ้าง การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับเอกสารดังกล่าวไว้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากสงสัยที่แสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์แต่อย่างใด กรณีตามที่โจทก์อ้างจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 ที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง และการรับสภาพหนี้จะต้องเป็นการกระทำก่อนที่หนี้จะขาดอายุความ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี ตั้งแต่จำเลยทั้งสามรับมอบงานที่โจทก์ทำเสร็จสิ้นแล้ว สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จ้างทำของทั้ง 3 รายการของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและไม่มีทางออกสู่สาธารณะ แม้มีทางออกอื่นก็ไม่กระทบสิทธิ
ป.พ.พ. มาตรา 1350 เป็นบทบัญญัติที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าของที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเท่านั้น จะเรียกร้องเอาทางเดินผ่านจากที่ดินแปลงอื่นหาได้ไม่ทั้งกฎหมายก็หาได้กำหนดถึงการสิ้นสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไว้แต่อย่างใด ดังนั้น แม้โจทก์และบริวารจะได้ใช้ที่ดินของ บ. เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินที่ได้แบ่งแยกมาจากที่ดินของโจทก์ ตามมาตรา 1350 ดังกล่าวหมดไปไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทางจำเป็น แม้มีทางออกอื่น สิทธิยังคงอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
ป.พ.พ. มาตรา 1350 ไม่ได้กำหนดถึงการสิ้นสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไว้ แม้โจทก์ใช้ที่ดินของบุคคลอื่นเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยตามมาตรา 1350 หมดไปโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9700/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขึ้นศาลขาดอายุความ 5 ปี แม้ศาลสั่งให้แสดงหลักฐานเพิ่มเติมภายหลัง
คดีนี้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2544 โดยมีคำพิพากษาให้คืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์เป็นกรณีพิเศษเป็นเงิน 180,000 บาท โจทก์ทราบคำพิพากษาแล้วจึงมีสิทธิจะเรียกเอาค่าขึ้นศาลคืนนับแต่เวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเป็นต้นไป และจะต้องขอค่าขึ้นศาลคืนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาตามยอม แม้โจทก์ยื่นคำแถลงขอรับค่าขึ้นศาลคืน ภายในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แสดงหนังสือมอบอำนาจให้แก่ นาย ม. มีอำนาจรับเงินจากศาลเสียก่อนจึงจะพิจารณาสั่ง เท่ากับศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับค่าขึ้นศาลคืนในวันดังกล่าว การที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอส่งหนังสือมอบอำนาจให้ นาย ม. มีอำนาจรับเงินจากศาลในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 พ้นกำหนด 5 ปี โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะขอรับค่าขึ้นศาลคืนเพราะเงินดังกล่าวได้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับค่าขึ้นศาลคืน จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลง เป็นกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น แล้วมีคำสั่งใหม่ให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ครอบครองทรัพย์สิน: ผู้ครอบครองมีสิทธิฟ้องหากได้รับความเสียหายจากการละเมิด แม้ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์
การเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิด มิใช่มีแต่เพียงเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จะเป็นผู้เสียหายได้เท่านั้น ผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินก็เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิ และสามารถใช้สิทธิทางศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อสัญญาร่วมการงานและร่วมทุนระบุให้โจทก์มีสิทธิใช้ครอบครอง และได้ผลประโยชน์จากอุปกรณ์ในระบบ ทั้งสัญญาดังกล่าวยังกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาอุปกรณ์ในระบบให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีตลอดเวลาด้วย ค่าใช้จ่ายของโจทก์หากอุปกรณ์สูญหายหรือเสียหายจนใช้การไม่ได้ ดังนี้ โจทก์ในฐานะผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ และดูแลรักษาอุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิดในทางการที่จ้างของลูกจ้างจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายคดีนี้
of 174