พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,887 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14588/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องควบคู่กับคำพิพากษา หากอุทธรณ์เฉพาะคำสั่งระหว่างพิจารณา
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีพฤติการณ์ประวิงคดีและคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงให้งดไต่สวนมูลฟ้อง คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา และในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 196 บัญญัติว่า คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญและมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นต้องอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย แต่อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองที่อุทธรณ์ว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดไต่สวนพยานโจทก์ทั้งสองโดยอ้างว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าข้อความที่จำเลยทั้งสองแจ้งต่อพนักงานสอบสวนไม่เป็นข้อความเท็จว่าไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ถือว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองเป็นเพียงการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14517/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี เริ่มนับจากวันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ใช่วันคดีถึงที่สุด
การนับระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ต้องนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลสุดท้าย มิใช่นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2543 ให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยทั้งสองขาดนัด ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ การนับระยะเวลา 10 ปี จึงต้องนับแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2543 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 อันเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 นั้นเกิน 10 ปีแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14417/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ต้องเป็นการรับโอนจากคู่ความเดิมหรือผู้มีสิทธิโดยตรง
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พ.ศ.2550 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น" ในการพิจารณาว่าบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้รับโอนสินทรัพย์ขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้หรือไม่ แม้บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามมาตรานี้ต้องเป็นการโอนหรือรับโอนมาจากผู้ใด แต่การที่กฎหมายบัญญัติให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่มีการฟ้องร้องหรือที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ ย่อมมีความหมายว่าต้องเป็นการโอนหรือรับโอนสินทรัพย์มาจากผู้โอนซึ่งเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิมดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่ความอยู่เดิมมิได้เป็นผู้โอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วแก่ผู้ร้องโดยตรง แต่อ้างว่าได้รับโอนมาจากบริษัท ร. ผู้โอน ซึ่งมิใช่คู่ความอยู่เดิมหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ตามคำร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14417/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ต้องเป็นการรับโอนจากคู่ความเดิมหรือเจ้าหนี้เดิม
แม้ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พ.ศ.2550 มาตรา 5 มิได้บัญญัติว่าการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามมาตรานี้ต้องเป็นการโอนหรือรับโอนมาจากผู้ใด แต่ย่อมมีความหมายว่าต้องเป็นการโอนหรือรับโอนสินทรัพย์มาจากผู้โอนซึ่งเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิมดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติมาตรา 7 เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่ความอยู่เดิมมิได้เป็นผู้โอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วแก่ผู้ร้องโดยตรง แต่อ้างว่าได้รับโอนมาจากบริษัท ร. ผู้โอน ซึ่งมิใช่คู่ความอยู่เดิม หรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ตามคำร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13602/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, สัญญาอนุญาโตตุลาการ, การพิจารณาคดีใหม่, และคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องของศาลอุทธรณ์
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่หรือไม่ และศาลชั้นต้นมีอำนาจรับและไต่สวนคำขอพิจารณาคดีใหม่หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ แล้วมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ เพื่อให้โจทก์จำเลยไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไป โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รับอุทธรณ์คำสั่งเฉพาะคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ คำสั่งที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่นั้นเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ จึงไม่รับ โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จึงถึงที่สุดตามคำสั่งศาลชั้นต้น และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 เห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ชอบที่จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นยกฟ้องโจทก์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กลับพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เพื่อให้คู่ความไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไป คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 เห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ชอบที่จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นยกฟ้องโจทก์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กลับพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เพื่อให้คู่ความไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไป คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเรื่องพินัยกรรมปลอม ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา
การพิจารณาว่าคดีแพ่งใดเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่นั้นย่อมต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนั้นเองว่าอาศัยเหตุจากการกระทำที่เป็นองค์ประกอบความผิดในคดีอาญาหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องจำเลยในคดีแพ่งขอให้ศาลพิพากษาว่าพินัยกรรมของเจ้ามรดกเป็นพินัยกรรมปลอมและให้จำเลยเป็นผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของเจ้ามรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรเนื่องจากจำเลยเป็นผู้ปลอมและใช้พินัยกรรมปลอมก็โดยอาศัยเหตุมาจากการที่โจทก์ทั้งเจ็ดร้องทุกข์ให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีอาญาข้อหาปลอมพินัยกรรมและใช้พินัยกรรมปลอม ซึ่งในที่สุดศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีถึงที่สุดในคดีอาญาแล้วว่าพินัยกรรมที่โจทก์ทั้งเจ็ดอ้างว่าเป็นพินัยกรรมปลอมไม่ใช่พินัยกรรมปลอม นับได้ว่าทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาต่างมีประเด็นสำคัญโดยตรงเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดคดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งในปัญหาที่ว่าจำเลยปลอมพินัยกรรม อันจะเป็นเหตุให้จำเลยเป็นผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกเจ้ามรดกผู้ตายหรือไม่ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า ส. เจ้ามรดกได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้า พยานจริง และพยานได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมรับรองลายมือชื่อของ ส. ในขณะเดียวกันด้วย ลายมือชื่อ ส. ในพินัยกรรมดังกล่าวมิใช่ลายมือชื่อปลอม อันมีความหมายในตัวโดยปริยายว่าจำเลยไม่ได้ปลอมพินัยกรรมดังกล่าว จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยเป็นผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตามฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ด
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ หากปลอมจำเลยเป็นผู้ปลอมพินัยกรรมดังกล่าวหรือไม่ ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ และโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้บรรยายฟ้องมาด้วยว่าพยานในพินัยกรรมไม่ได้รู้เห็นขณะที่ทำพินัยกรรมและขณะเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรม อันเป็นการหยิบยกเรื่องแบบพินัยกรรมขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ด้วย ประกอบกับคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งศาลฎีกาในคดีอาญาฟังข้อเท็จจริงยุติแล้ว ข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงต้องถือเป็นยุติตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 หยิบยกเรื่องแบบพินัยกรรมขึ้นมาวินิจฉัยเพิ่มเติมทำนองว่า พินัยกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 ประกอบมาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของ ส. ทั้งหมดและตามพินัยกรรมจำต้องนำไปแบ่งให้ทายาทโดยธรรมทุกคนของ ส. ตามกฎหมายต่อไปนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ หากปลอมจำเลยเป็นผู้ปลอมพินัยกรรมดังกล่าวหรือไม่ ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ และโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้บรรยายฟ้องมาด้วยว่าพยานในพินัยกรรมไม่ได้รู้เห็นขณะที่ทำพินัยกรรมและขณะเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรม อันเป็นการหยิบยกเรื่องแบบพินัยกรรมขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ด้วย ประกอบกับคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งศาลฎีกาในคดีอาญาฟังข้อเท็จจริงยุติแล้ว ข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงต้องถือเป็นยุติตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 หยิบยกเรื่องแบบพินัยกรรมขึ้นมาวินิจฉัยเพิ่มเติมทำนองว่า พินัยกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 ประกอบมาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของ ส. ทั้งหมดและตามพินัยกรรมจำต้องนำไปแบ่งให้ทายาทโดยธรรมทุกคนของ ส. ตามกฎหมายต่อไปนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13241/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินสาธารณะ แม้ไม่ได้ระบุในคำพิพากษา หากมีคำพิพากษาลงโทษฐานบุกรุก
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้มีคำพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนต้นยางพาราและทรัพย์สินอื่นที่สร้างอยู่ในที่ดินพิพาทออกไปจากที่ดินพิพาทก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ วรรคสอง ซึ่ง ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีคำพิพากษาว่าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทำความผิดออกไปจากที่ดินนั้นด้วย" จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเห็นได้ว่า เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ศาลย่อมมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินที่เข้าไปยึดถือ ครอบครอง ถมดิน ซึ่งย่อมมีความหมายรวมถึงให้จำเลยและบริวารรื้อถอนต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างออกไปได้ด้วย ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้มีคำพิพากษาให้จำเลยและบริวารรื้อถอนต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทออกไปจากที่ดินพิพาทด้วยก็ตาม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจบังคับให้จำเลยและบริวารรื้อถอนต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายและศาลชั้นต้นมีอำนาจออกหมายบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13078/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนสินสมรส: การฟ้องต่อเนื่องจากคำพิพากษาเดิม
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 โจทก์ในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 นำเงินสินสมรสไปซื้อที่ดินและทาวน์เฮ้าส์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 ภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบเหตุการณ์ทำนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ว่า ฟ้องโจทก์มิใช่การฟ้องเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและทาวน์เฮ้าส์ แต่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกสินสมรสคืนจากจำเลยที่ 2 และการที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนถอนเงินในบัญชีซึ่งเป็นสินสมรสและมอบให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนเงินแก่โจทก์ เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น จะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนเงินหาได้ไม่ โจทก์ต้องไปว่ากล่าวต่างหากแล้วโจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 คืนเงินจำนวน 1,512,400 บาท จึงเป็นการใช้สิทธิฟ้องต่อเนื่องจากคำพิพากษาในคดีเดิม แม้คำพิพากษาคดีดังกล่าวจะไม่มีถ้อยคำว่า "โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่" อายุความคดีนี้จึงตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง หาใช่ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง ตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในคดีนี้พิพากษาไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องภายใน 60 วัน นับแต่คำพิพากษาคดีก่อนถึงที่สุด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13078/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนสินสมรส: การฟ้องต่อเนื่องจากคำพิพากษาเดิมมีอายุความ 60 วัน ไม่ใช่ 1 ปี
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 โจทก์ในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 นำเงินสินสมรสไปซื้อที่ดินและทาวน์เฮ้าส์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี นับแต่โจทก์ทราบเหตุการณ์ทำนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ว่า ฟ้องโจทก์มิใช่การฟ้องเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและทาวน์เฮ้าส์ แต่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกสินสมรสคืนจากจำเลยที่ 2 และการที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนถอนเงินในบัญชีซึ่งเป็นสินสมรสและมอบให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนเงินแก่โจทก์ เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น จะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนเงินหาได้ไม่ โจทก์ต้องไปว่ากล่าวต่างหาก โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 คืนเงินจำนวน 1,512,400 บาท จึงเป็นการใช้สิทธิฟ้องต่อเนื่องจากคำพิพากษาในคดีเดิม แม้คำพิพากษาคดีดังกล่าวจะไม่มีถ้อยคำว่า "โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่" อายุความคดีนี้ก็ตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง ที่ฟ้องใหม่ได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด หาใช่ต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13070/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้ค่าส่วนกลางและการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ ศาลสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนเจตนาจำเลยได้
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็ขอชำระเงินตามจำนวนที่เห็นว่าถูกต้อง หากโจทก์ชำระแล้วจำเลยไม่ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้ก็ขอใช้คำพิพากษาแทน เท่ากับว่าโจทก์ยินยอมชำระหนี้ตามฟ้องแย้งบางส่วน ศาลชั้นต้นจึงต้องวินิจฉัยชี้ขาดถึงผลแห่งการชำระหนี้ว่าหากโจทก์ชำระเงินตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้ว โจทก์จะบังคับให้จำเลยออกหนังสือรับรองรายการหนี้หรือปลอดหนี้มอบให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการชำระหนี้ได้หรือไม่ด้วย อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็ขอชำระเงินตามจำนวนที่เห็นว่าถูกต้อง ถือว่าโจทก์ยินยอมชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระแล้ว เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว หนี้เป็นอันระงับสิ้นไป โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตอบแทนเช่นกัน เพราะโจทก์ประสงค์จะนำหนังสือนี้ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอจดทะเบียนโอนห้องชุดมาเป็นของตน ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 การที่จำเลยออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ จึงก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะโอนห้องชุดได้ จึงเป็นการกระทำนิติกรรมฝ่ายเดียวของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 ดังนั้น ในการบังคับชำระหนี้ หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่อง ศาลชอบที่จะสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง
ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็ขอชำระเงินตามจำนวนที่เห็นว่าถูกต้อง ถือว่าโจทก์ยินยอมชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระแล้ว เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว หนี้เป็นอันระงับสิ้นไป โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตอบแทนเช่นกัน เพราะโจทก์ประสงค์จะนำหนังสือนี้ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอจดทะเบียนโอนห้องชุดมาเป็นของตน ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 การที่จำเลยออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ จึงก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะโอนห้องชุดได้ จึงเป็นการกระทำนิติกรรมฝ่ายเดียวของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 ดังนั้น ในการบังคับชำระหนี้ หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่อง ศาลชอบที่จะสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง