พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,865 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้ไม่ระงับแม้เช็คไม่สามารถใช้ได้ โจทก์ฟ้องได้ภายในอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์เรื่องเงินกู้ แล้วต่อมาจำเลยได้นำเช็คมามอบให้โจทก์เป็นการชำระหนี้นั้นโจทก์ได้รับเช็คนั้นแล้วได้มอบสัญญากู้คืนให้จำเลยไป โจทก์มอบเช็คนั้นใช้หนี้แก่ยี่ห้อลี้ฮง ยี่ห้อลี้ฮง ได้มอบเช็คนั้นต่อไปให้บริษัทฮะฮั่วเฮง บริษัทฮะฮั่วเฮงนำเช็คนั้นเข้าบัญชีของตนไม่ได้ โดยธนาคารส่งเช็คนั้นคืนมา เช็คนั้นจึงถูกส่งคืนโดยลำดับย้อนกลับมายังโจทก์ โจทก์จึงยังไม่ได้รับชำระหนี้ โจทก์ได้ทวงถามและบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้นี้แล้ว จำเลยเพิกเฉยเสีย จึงขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้นั้นแก่โจทก์ฟ้องของโจทก์ที่บรรยายมานี้มิได้เป็นการฟ้องเรียกเงินตามเช็คโดยเฉพาะแต่อย่างเดียว โจทก์ได้บรรยายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมที่จำเลยกู้โจทก์ไปอยู่ในตัวด้วย แม้เช็คนั้นจะขาดอายุความแล้ว แต่หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย โจทก์จึงฟ้องเรียกหนี้เงินกู้เดิมนั้นได้ ภายในอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้ไม่ระงับ แม้เช็คชำระหนี้ขาดอายุความ ยังฟ้องเรียกหนี้เดิมได้
โจทก์ฟ้องบรรยายว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์เรื่องเงินกู้แล้วต่อมาจำเลยได้นำเช็คมามอบให้โจทก์เป็นการชำระหนี้แต่ภายหลังเช็คนั้นขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์จึงยังไม่ได้รับชำระหนี้ และโจทก์ทวงถามและบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้แล้ว จำเลยเพิกเฉยเสีย จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้นั้นแก่โจทก์ ดังนี้ มิได้เป็นการฟ้องเรียกเงินตามเช็คแต่อย่างเดียว แต่เป็นการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมที่จำเลยกู้โจทก์ไปอยู่ในตัวด้วย แม้เช็คนั้นจะขาดอายุความแล้ว แต่หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายโจทก์จึงฟ้องเรียกหนี้เงินกู้เดิมนั้นได้ภายในอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ครบองค์ความผิด ศาลไม่รับพิจารณา แม้แก้ไขเพิ่มเติมภายหลังก็ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องไม่ครบองค์ความผิดนั้นถือว่าฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องที่ถูกต้องตามกฎหมายมาแต่ต้นแล้ว โจทก์จึงจะมาขอแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นฟ้องขึ้นหาได้ไม่ ส่วนการร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องเกี่ยวกับฐานความผิดหรือรายละเอียด ซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 นั้น ฟ้องของโจทก์จะต้องเป็นฟ้องที่ถูกต้องมาแต่ต้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของฟ้องฐานฉ้อโกงเมื่อมีการบรรยายลักษณะเช็คที่ใช้เป็นเท็จและไม่ตรงกับความเป็นจริง
ตามคำบรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยแสดงเท็จโดยออกเช็คแลกเงินสดของผู้เสียหายไป แต่ความจริงกลับเป็นว่า เช็คนั้นเป็นเช็คในบัญชีชื่อบุคคลที่ 3 ลายเซ็นชื่อในเช็คไม่ใช่ลายมือชื่อบุคคลที่ 3 ทั้งไม่มีเงินจ่ายตามเช็ค อีกนัยหนึ่ง ก็คือ จำเลยออกเช็คว่าเป็นของจำเลย แต่ความจริงกลับเป็นเช็คของคนอื่น จึงไม่มีการจ่ายเงิน และฟ้องกล่าวพร้อมด้วยองค์ประกอบอื่น ๆ ตามกฎหมายแล้ว ย่อมเป็นฟ้องฐานฉ้อโกงถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของฟ้องอาญาฐานฉ้อโกง กรณีเช็คผู้อื่น การบรรยายฟ้องที่อธิบายทั้งความเท็จและความจริงไม่ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ตามคำบรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยแสดงเท็จโดยออกเช็คแลกเอาเงินสดของผู้เสียหายไป แต่ความจริงกลับเป็นว่าเช็คนั้นเป็นเช็คในบัญชีชื่อบุคคลที่ 3 ลายเซ็นชื่อในเช็คไม่ใช่ลายมือชื่อบุคคลที่ 3 ทั้งไม่มีเงินจ่ายตามเช็ค อีกนัยหนึ่ง ก็คือ จำเลยออกเช็คว่าเป็นของจำเลย แต่ความจริงกลับเป็นเช็คของคนอื่น จึงไม่มีการจ่ายเงิน และฟ้องกล่าวพร้อมด้วยองค์ประกอบอื่นๆ ตามกฎหมายแล้วย่อมเป็นฟ้องฐานฉ้อโกงถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่เป็นความผิดตามฟ้อง: เช็คลงวันที่ขัดแย้งกัน
การที่จะลงโทษจำเลยในคดีที่จำเลยรับสารภาพ ต้องอาศัยคำฟ้อง การกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องนั้น ไม่เป็นความผิด เพราะโจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยออกเช็คในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ให้จ่ายเงินแก่นางจารุวรรณย้อนหลัง ไปในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2500 และในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2500 นั้น นางจารุวรรณได้นำเช็คดังกล่าวไปขอรับเงินจากธนาคาร เมื่อฟ้องคงเป็นอยู่เช่นนี้ แม้จำเลยจะรับสารภาพ ก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิด ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2502)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการในการลงนามเช็คที่มีพิรุธ ธนาคารมีส่วนทำให้เกิดความเสียหาย
จำเลยที่ 3 เป็นเสมียนแผนกการเงินทำหน้าที่เขียนเช็คมาช้านานแล้ว และวิธีเขียนก็มีการเว้นช่องระยะไว้ข้างหน้า ่จำนวนเงินที่เขียนไว้แล้วเช่นนี้ อยู่เสมอและไม่เคยมีเหตุเกิดขึ้น ในคราวที่เกิดเรื่องนี้ จำเลยที่ 3 ก็เขียนเช็คโดยเว้นช่องระยะไว้ข้างหน้า จำนวนเงินที่เขียนไว้แล้วทำนองเดียวกันและผ่านการตรวจตราจากเจ้าหน้าที่ชั้นรอง ๆ ผู้มีหน้าที่โดยเฉพาะมาแล้ว อีกทั้งมีหลักฐานการขอเบิกจ่ายมาถูกต้อง จึงเสนอเช็คให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายช่างผู้เชี่ยวชาญ กรมทางฯ ขณะมีงานอื่นกำลังปฏิบัติอยู่มาก และจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกการเงิน กองคลัง เช็นสั่งจ่ายและแล้วจำเลยที่ 3 นำเช็คนั้นไปเติมจำนวนเงินลงในช่องที่เว้นระยะไว้นั้ เป็นเหตุให้กรมทางฯ ต้องจ่ายเงินเกินจำนวนที่ควรต้องจ่ายจริงไป 600,000 บาท ดังนี้แม้เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 - 2 จะไม่รอบคอบแต่ถ้าเจ้าหน้าที่ธนาคารได้ปฏิบัติงานโดยชอบด้วยหน้าที่แล้ว ควรเสียหายของโจทก์ก็จะไม่เกิดขึ้น ความเสียหายของโจทก์โดยตรงเกิดจากการที่ธนาคารยอมจ่ายเงินทั้งๆ ที่เช็ครายนี้มีพิรุธในข้อที่เติมจำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวหนังสือ ซึ่งแม้พิจารณาด้วยตาเปล่าของคนธรรมดา ก็เห็นชัดหาได้เกิดโดยตรงจากการไม่รอบคอบของจำเลยที่ 1 - 2 ไม่ ดังนี้ จำเลยที่ 1 - 2 ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่โจทก์ต้องเสียหายไปดังกล่าว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการในการลงนามเช็คที่มีพิรุธ: ธนาคารมีส่วนรับผิดชอบในการตรวจสอบ
จำเลยที่ 3 เป็นเสมียนแผนกการเงินทำหน้าที่เขียนเช็คมาช้านานแล้ว และวิธีเขียนก็มีการเว้นช่องระยะไว้ข้างหน้าจำนวนเงินที่เขียนไว้แล้วเช่นนี้ อยู่เสมอและไม่เคยมีเหตุเกิดขึ้นในคราวที่เกิดเรื่องนี้ จำเลยที่ 3 ก็เขียนเช็คโดยเว้นช่องระยะไว้ข้างหน้าจำนวนเงินที่เขียนไว้แล้วทำนองเดียวกันและผ่านการตรวจตราจากเจ้าหน้าที่ชั้นรองๆ ผู้มีหน้าที่โดยเฉพาะมาแล้ว อีกทั้งมีหลักฐานการขอเบิกจ่ายมาถูกต้องจึงเสนอเช็คให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายช่างผู้เชี่ยวชาญกรมทางฯ ขณะมีงานอื่นกำลังปฏิบัติอยู่มาก และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกการเงิน กองคลัง เซ็นสั่งจ่ายและแล้วจำเลยที่ 3 นำเช็คนั้นไปเติมจำนวนเงินลงในช่องที่เว้นระยะไว้นั้น เป็นเหตุให้กรมทางฯ ต้องจ่ายเงินเกินจำนวนที่ควรต้องจ่ายจริงไป 600,000 บาทดังนี้ แม้เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1-2 จะไม่รอบคอบแต่ถ้าเจ้าหน้าที่ธนาคารได้ปฏิบัติงานโดยชอบด้วยหน้าที่แล้ว ความเสียหายของโจทก์ก็จะไม่เกิดขึ้นความเสียหายของโจทก์โดยตรงเกิดจากการที่ธนาคารยอมจ่ายเงินทั้งๆ ที่เช็ครายนี้มีพิรุธในข้อที่เติมจำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวหนังสือ ซึ่งแม้พิจารณาด้วยตาเปล่าของคนธรรมดาก็เห็นชัดหาได้เกิดโดยตรงจากการไม่รอบคอบของจำเลยที่ 1-2 ไม่ดังนี้ จำเลยที่ 1-2 ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่โจทก์ต้องเสียหายไปดังกล่าว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันออกเช็คตามกฎหมายคือวันลงในเช็ค แม้จะเขียนเช็คล่วงหน้า ก็ไม่ถือเป็นวันทำผิด
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2499 จำเลยออกเช็คไม่มีเงิน ขอให้ลงโทษชั้นพิจารณาตัวโจทก์เบิกความว่า วันที่ 20 ส.ค.2499 จำเลยเขียนเช็คและเอามาแลกเงินสดจากโจทก์ไป ในเช็คนั้นลงวันสั่งจ่าย วันที่ 29 ส.ค. 2499 เช่นนี้ จะถือว่า ทางพิจารณาได้ความว่า ทำผิดวันที่ 20 ต่างกับฟ้องซึ่งระบุว่า จำเลยออกเช็ควันที่ 29 และยกฟ้องเสียเลย หาได้ไม่ เพราะในกรณีเช่นนี้ถือว่า วันที่ 29 ส.ค. 2499 เป็นวันที่จำเลยออกเช็คส่วนวันที่ 20 ส.ค. 2499 นั้น เป็นเพียงวันเขียนเช็คและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้เพราะจำเลยรับว่า ได้ออกเช็คจริงแต่เป็นวันอื่น
(อ้างฎีกาที่ 415/2502)
(อ้างฎีกาที่ 415/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันออกเช็คตามกฎหมายคือวันลงในเช็ค แม้จะเขียนเช็คล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2499 จำเลยออกเช็คไม่มีเงิน ขอให้ลงโทษชั้นพิจารณาตัวโจทก์เบิกความว่า วันที่ 20 ส.ค. 2499 จำเลยเขียนเช็คและเอามาแลกเงินสดจากโจทก์ไป ในเช็คนั้นลงวันสั่งจ่าย วันที่ 29 ส.ค. 2499 เช่นนี้จะถือว่า ทางพิจารณาได้ความว่า ทำผิดวันที่ 20 ต่างกับฟ้องซึ่งระบุว่า จำเลยออกเช็ควันที่ 29 และยกฟ้องเสียเลย หาได้ไม่เพราะในกรณีเช่นนี้ถือว่าวันที่ 29 ส.ค. 2499 เป็นวันที่จำเลยออกเช็คส่วนวันที่ 20 ส.ค. 2499 นั้นเป็นเพียงวันเขียนเช็คและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้เพราะจำเลยรับว่า ได้ออกเช็คจริงแต่เป็นวันอื่น
(อ้างฎีกาที่ 415/2502)
(อ้างฎีกาที่ 415/2502)