คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำพิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,887 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10252/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยไม่แจ้งวันนัดและไม่ออกหมายจับจำเลยที่ไม่ได้มาฟังคำพิพากษาเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นไม่ได้ออกหมายแจ้งวันนัดให้โจทก์มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในวันที่ 2 มิถุนายน 2558 และไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้โจทก์ฟัง ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 2 มิถุนายน 2558 โดยไม่เชื่อว่าจำเลยไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ กรณีจึงมีเหตุสงสัยว่าจำเลยจงใจไม่มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ศาลชั้นต้นต้องออกหมายจับจำเลยเพื่อมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 แม้ศาลชั้นต้นเคยออกหมายจับจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้วตามคำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ก็ตาม แต่การออกหมายจับดังกล่าวเป็นการออกหมายจับจำเลยเพื่อบังคับตามคำพิพากษาเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้โจทก์ฟังและไม่ได้ออกหมายจับจำเลยเพื่อมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 แม้ศาลชั้นต้นจะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้ทนายจำเลยฟังก็ตาม แต่ทนายจำเลยไม่ใช่คู่ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (3) และ (15) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10073/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามจำเลยในศาลชั้นต้นเป็นไปตามหลักวิธีพิจารณาหรือไม่ หากไม่เป็นไปตาม จะส่งผลต่อคำพิพากษาในความผิดฐานมีพืชกระท่อม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลและศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจดรายงานไว้ และดำเนินการพิจารณาต่อไป คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งรถยนต์โดยตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร และฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว ต้องสอบถามจำเลยด้วยว่าจะให้การรับสารภาพในความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งรถยนต์โดยตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร และฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งรถยนต์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของยังมิได้เสียภาษี การที่ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามคำให้การของจำเลยให้ชัดแจ้ง กลับพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและมีผลให้กระบวนพิจารณาต่อไปตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีพืชกระท่อมในครอบครองเพื่อจำหน่าย และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่ชอบไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10011/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ แม้คำพิพากษาไม่ได้ระบุชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยชำระหนี้ตามสัญญากู้และโจทก์ประสงค์บังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องซึ่งเป็นหลักประกัน อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติและเป็นคดีมีข้อพิพาท ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายแสดงให้เห็นแล้วว่าหากมีการบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยทั้งสามยอมรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ขาดนั้นให้โจทก์จนครบถ้วน และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุว่า หากจำเลยทั้งสามไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน ศาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติในการที่จะวินิจฉัยและพิพากษาคดี โดยหากวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมายสารบัญญัติ ก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์ตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยทั้งสามในทางแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้เงิน รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองผู้ทรงทรัพยสิทธิจำนองเหนือที่ดินตามฟ้องตามกฎหมายสารบัญญัติด้วย ความรับผิดดังกล่าวของจำเลยทั้งสามก็คือ หนี้ตามคำพิพากษา หากจำเลยทั้งสามในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมมีสิทธิบังคับคดี และในกรณีหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน การบังคับคดีย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาตรา 278 และมาตรา 282 คือการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามหรือบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยทั้งสาม เพื่อนำออกขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ อันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์โดยสืบเนื่องจากผลแห่งคำพิพากษา และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องระบุสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามไว้ในคำพิพากษาด้วย ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง และโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสาม การที่คำพิพากษามิได้ระบุให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดอันเป็นขั้นตอนในการบังคับคดี จึงหาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ เมื่อมีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมบังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อผู้ร้องเสียชีวิต และผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้ร้องถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 คำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไป การเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ร้องไม่อาจรับมรดกความกันได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องอีก ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6870/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัทบริหารสินทรัพย์ แม้คำร้องใช้ถ้อยคำผิดพลาด
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาแล้ว คดีถึงที่สุดอยู่ระหว่างการบังคับคดี ผู้ร้องซึ่งเป็นนิติบุคคลและจดทะเบียนไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อประกอบธุรกิจเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากโจทก์ซึ่งรวมถึงหนี้ของจำเลย แม้คำร้องของผู้ร้องจะกล่าวว่าเป็นการขอเข้ามาเพื่อสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ซึ่งไม่ตรงตามที่ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 กำหนดไว้ก็ตาม แต่เนื่องจากการยื่นคำร้องของผู้ร้องเป็นการยื่นคำร้องเข้ามาภายหลังจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะต้องเข้ามาสวมสิทธิเป็นคู่ความในคดีแทนโจทก์เพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความเดิม หากแต่ตามคำร้องของผู้ร้องเมื่อพิจารณาประกอบกันทั้งหมดแล้วเห็นว่า เป็นการยื่นคำร้องเข้ามาขอเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาภายหลังจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เพียงแต่ผู้ร้องโดยใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นการร้องขอเข้ามาสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ ทั้งคำร้องของผู้ร้องก็ปรากฏชัดเจนว่าเป็นการขอเข้ามาสวมสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ต่อจำเลยในคดีนี้ อันได้แก่จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และไม่ปรากฏว่ามีคู่ความฝ่ายใดรวมไปถึงเจ้าพนักงานบังคับคดีคัดค้าน ดังนั้น จึงชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลงโทษจำคุกอย่างเดียวตาม ป.อ. มาตรา 20 ไม่จำเป็นต้องระบุในคำพิพากษา
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีที่ความผิดที่กฎหมายกำหนด ให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว โดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่เป็นบทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษ ที่ศาลจะต้องระบุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7) แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 20 ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โกงเจ้าหนี้: การโอนหุ้นก่อนชำระหนี้ตามคำพิพากษา
โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ฟ้องต่อศาลแพ่งว่าจำเลยกับพวกครอบครองเงินจากการขายที่ดินของกองมรดกที่จะต้องนำมาแบ่งแก่ทายาท แต่จำเลยเบียดบังไว้ไม่ยอมส่งมอบแก่กองมรดก ขอให้จำเลยกับพวกคืนเงินดังกล่าว ศาลแพ่งวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นลูกหนี้จริงและให้จำเลยชำระเงิน 4,076,230.65 บาท พร้อมดอกเบี้ย คดีถึงที่สุด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ทั้งสองและจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้จริง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัท ธ. โอนขายหุ้นของจำเลยในบริษัทดังกล่าวแก่ ป. ก่อนที่ศาลแพ่งจะมีคำพิพากษาเพียง 1 เดือน จึงเป็นพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเลยกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนซึ่งใช้สิทธิทางศาลแล้วได้รับชำระหนี้ อันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยไม่ชอบ แม้จะเชื่อโดยสุจริตในตอนแรก แต่เมื่อทราบคำพิพากษาแล้วยังคงครอบครองถือเป็นความผิด
แม้จำเลยทั้งสองเข้าไปไถดินทำนาในทางสาธารณประโยชน์ในตอนแรกด้วยเชื่อโดยสุจริตว่ามีสิทธิที่จะเข้าไปทำได้ก็ตาม แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแล้วว่า ศาลปกครองนครราชสีมาได้มีคำพิพากษาว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทางสาธารณประโยชน์และให้ออกจากที่ดินพิพาทดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้ง กลับเข้าไปครอบครองและไถดินทำนาบนที่ดินพิพาทสาธารณประโยชน์ภายหลังอีก จึงเป็นความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลฎีกายืนโทษ แต่แก้คำพิพากษาเรื่องการโฆษณาคำขออภัย
ป.อ. มาตรา 332 (2) ให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 โฆษณาคำขออภัยโจทก์จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 2 นอกเหนือจากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ต้องห้ามตาม ป.อ มาตรา 2 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามที่คู่ความนำสู้กันเท่านั้น การวินิจฉัยเรื่องสิทธิอุทธรณ์นอกประเด็นเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
โจทก์ (ลูกจ้าง) ฟ้องขอให้บังคับจำเลย (นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ) จ่ายค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง และเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือนโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้เฉพาะผู้มาทำงาน โจทก์ไม่ได้ทำงานระหว่างพักงานเพื่อสอบสวน ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยง โจทก์กระทำความผิดจำเลยจึงลงโทษทางวินัยโจทก์ได้และไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานเพื่อสอบสวนตามข้อบังคับของจำเลย ประเด็นแห่งคดีมีว่า ระหว่างพักงานจำเลยมีสิทธิไม่จ่ายเบี้ยเลี้ยงและค่าจ้างแก่โจทก์ตามข้อบังคับของจำเลยหรือไม่ และโจทก์กระทำความผิดอันเป็นเหตุให้จำเลยลงโทษโจทก์ตามคำสั่งลงโทษทางวินัยได้หรือไม่ เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินโดยอาศัยสิทธิในทางแพ่ง คู่ความไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจในการนำคดีมาสู่ศาลของโจทก์หรืออำนาจในการออกคำสั่งของจำเลย
ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยโดยยกเหตุที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ตามระเบียบ และจำเลยไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์การอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบไว้ในคำสั่งลงโทษทางวินัยขึ้นอ้างแล้วพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยของจำเลย โดยให้จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิดังกล่าว จึงเป็นการนอกประเด็นและยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
of 189