คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเรียกร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,733 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล: สิทธิเรียกร้องแพ่งแยกจากคดีอาญา, พยานหลักฐานรับฟังได้
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยที่ 2 กระทำโดยรู้หรือสมคบกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด และคดีส่วนอาญาของจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้จึงไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่จะต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดทรัพย์สินชั่วคราว - สิทธิเรียกร้อง - จำเลยไม่มีทรัพย์สินในไทย - เหตุผลสมควรคุ้มครองโจทก์
จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนประสานงานเพื่อผลประโยชน์ของจำเลยในการได้รับจ้างงานในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต่อมาจำเลยได้เข้าเป็นคู่สัญญากับกิจการร่วมค้าไอทีโอโดยเป็นผลจากการดำเนินการของโจทก์ตามสัญญาตั้งตัวแทน โจทก์มีสิทธิเรียกร้องอันเป็นมูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวที่จะฟ้องร้องจำเลยได้ คดีของโจทก์จึงมีมูลที่จะฟ้องร้อง ส่วนปัญหาว่า โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาตั้งตัวแทน หรือจำเลยได้รับการจ้างเหมาช่วงงานดังกล่าวโดยไม่ได้เป็นผลจากการปฏิบัติตามสัญญาของโจทก์หรือไม่ ยังเป็นที่โต้เถียงกันซึ่งต้องนำสืบพยานหลักฐานกันในชั้นพิจารณาต่อไป แม้จำเลยไม่ตั้งใจยักย้ายทรัพย์สินของตนไปให้พ้นจากอำนาจศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 (1) (ก) แต่การที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยแม้เคยมีก็ปิดสำนักงานสาขาไปแล้วเพราะใบอนุญาตประกอบกิจการของคนต่างด้าวไม่ถูกต้อง และการที่จำเลยไม่มีทรัพย์สินใดในประเทศไทย ทั้งจำเลยไม่มีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทยพอที่โจทก์จะบังคับคดีได้ ย่อมเป็นเหตุจำเป็นอื่นที่เป็นการยุติธรรมและสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 255 (1) (ข) จึงนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ในการสั่งให้อายัดเงินค่าจ้างที่กิจการร่วมค้าไอทีโอบุคคลภายนอกจะชำระให้แก่จำเลยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
หนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาตามยอมของศาลที่ถึงสุดแล้ว จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี และเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ประกอบมาตรา 193/12 เมื่อลูกหนี้ทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมตั้งแต่งวดแรกวันที่ 8 กรกฎาคม 2537 เจ้าหนี้จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมได้นับแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2537 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2547 จึงพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้ จึงขาดอายุความแล้ว
การที่ลูกหนี้ที่ 1 เคยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายขอให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาลดยอดหนี้เพื่อให้ลูกหนี้ที่ 1 สามารถไถ่ถอนทรัพย์จำนอง เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ และเจ้าหนี้ได้ดำเนินการบังคับคดีโดยมีการยึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในกำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แล้ว มิใช่เป็นกรณีที่ลูกหนี้ที่ 1 รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง ทั้งมิใช่เป็นการกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และ (5) ที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
เจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันในทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองไว้ในคดีแพ่ง และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใต้เงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) แล้ว แม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความเจ้าหนี้ก็ยังคงมีทรัพย์สิทธิบังคับชำระหนี้จากราคาทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในวงเงินจำนอง แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพญ์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเกินกว่าห้าปีไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15130/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนซื้อขายที่ดิน, การแบ่งกำไร, เงินทดรองจ่าย, การชำระบัญชี, สิทธิเรียกร้อง
โจทก์และจำเลยเข้าเป็นหุ้นส่วนกันซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาเพื่อขายเอากำไรแบ่งกัน โดยนำเงินที่ลงหุ้นกันจำนวน 2,110,000 บาท และเงินส่วนตัวโจทก์อีก 600,000 บาท มาชำระค่าที่ดินเพิ่มเติม เช่นนี้ เงินจำนวน 600,000 บาท จึงเป็นเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนห้างหุ้นส่วนสามัญไปก่อน หาใช่เป็นเงินที่โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมอันจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือไม่
การเข้าหุ้นซื้อที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์และจำเลยมาเพื่อขายนั้น เป็นการเข้าหุ้นกันเฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว เมื่อขายที่ดินทั้งสองแปลงได้แล้ว การเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1055 (3) และหลังจากขายที่ดินแล้วจำเลยได้แบ่งกำไรจากการขายที่ดินให้แก่โจทก์จำนวน 1,500,000 บาท และมีการทำบัญชีไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้มีการคิดบัญชีกันเรียบร้อยแล้ว ไม่มีทรัพย์สินในระหว่างหุ้นส่วนหรือหนี้สินใดที่จะต้องจัดการกันอีก ถือได้ว่ามีการตกลงกันให้การจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1061 หาใช่ต้องจัดให้มีการชำระบัญชีเสมอไปไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกำไรและเงินทดรองจ่ายแทนห้างหุ้นส่วนสามัญจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14887/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าไฟฟ้า: 'กิจการของลูกหนี้' ครอบคลุมการใช้ไฟฟ้าในโรงสีข้าว ทำให้สิทธิเรียกร้องไม่ขาดอายุความ
กรณีผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 191/34 (1) บัญญัติให้มีอายุความ 2 ปี เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองนั้น คำว่า "กิจการของฝ่ายลูกหนี้" หาได้มีความหมายจำกัดเพียงว่า ต้องเป็นการซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่ายอีกต่อหนึ่งหรือต้องเป็นการซื้อวัตถุดิบมาเพื่อผลิตเป็นสินค้าเท่านั้นไม่ แต่ต้องพิจารณาถึงลักษณะของการประกอบกิจการของลูกหนี้เป็นกรณีไป
จำเลยที่ 1 ซื้อกระแสไฟฟ้าจากโจทก์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมโรงสีข้าวอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ขายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่า เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าของโจทก์จึงเข้าข้อยกเว้นไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5) แห่ง ป.พ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกิดสิทธิเรียกร้องจากเงื่อนไขในสัญญา และการส่งมรดก ความรับผิดของทายาท
ผู้ตายทำบันทึกข้อตกลงกับโจทก์ว่าจะนำเงินที่ได้จากโครงการออกก่อนเกษียณราชการชำระหนี้แก่โจทก์ 100,000 บาท หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือน สำนักงานตำรวจแห่งชาติอนุมัติให้ผู้ตายลาออกจากราชการแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้ตายได้รับอนุมัติให้ลาออกและมีสิทธิรับเงินตามโครงการออกก่อนเกษียณราชการย่อมถือว่าเงื่อนไขบังคับก่อนที่ผู้ตายต้องรับผิดชอบชำระเงินให้แก่โจทก์ได้สำเร็จเป็นผลให้โจทก์เกิดสิทธิที่จะได้เงินจากผู้ตายได้แล้ว ต่อมาผู้ตายถึงแก่ความตาย ความรับผิดของผู้ตายต่อโจทก์ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้ตาย แต่ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389-1393/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่จดทะเบียน: สิทธิเรียกร้องเงินฝากและเงินปันผลต้องรอการชำระบัญชี
การร่วมกันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อกู้ของโจทก์ทั้งห้าสิบสอง จำเลยทั้งห้ากับราษฎรในท้องที่เป็นการตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่จดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 มาตรา 1025 และมาตรา 1026 เมื่อโจทก์ทั้งห้าสิบสองอ้างว่าไม่ได้รับเงินฝากสะสมและเงินปันผลที่ครบกำหนดจ่ายและสมาชิกบางคนได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในความผิดฐานปลอมเอกสาร ย่อมถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญาหุ้นส่วนในสาระสำคัญจนไม่อาจดำรงการเป็นหุ้นส่วนต่อไปได้ กับเป็นเหตุที่จะเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (1) มาตรา 1061 และมาตรา 1062 แต่การที่โจทก์ทั้งห้าสิบสองฟ้องเรียกเอาเงินฝากสะสมและเงินปันผล อันมีลักษณะเป็นการคืนทุนโดยยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือข้อตกลงให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนด้วยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โจทก์ทั้งห้าสิบสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้จำเลยทั้งห้ามิได้ให้การต่อสู้และไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10421/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยรถยนต์เช่าซื้อ: การตีความเจตนาคู่สัญญาเพื่อยืนยันความผูกพันและสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ตารางกรมธรรม์และรายการคุ้มครองระบุว่า พ. เป็นผู้เอาประกันภัยและบริษัท ม. เป็นผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์แห่งสัญญาประกันภัยย่อมมุ่งประสงค์ไปที่การประกันภัยรถยนต์คันที่ พ. เป็นผู้เช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่เช่าซื้อเป็นสำคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยที่พิมพ์เป็นตัวอักษร แม้สัญญาเช่าซื้อช่วงจะระบุวันเริ่มต้นของสัญญาหลังวันเริ่มต้นของสัญญาประกันภัย การตีความวันทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 จึงถือได้ว่า พ. ผู้เอาประกันภัยเป็นเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญาประกันภัยกับโจทก์แล้ว
รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยถูกโจรกรรมไปจากลานจอดรถของจำเลย โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ม. ไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิในค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเท่านั้น ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยส่งคืนรถยนต์แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8772/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาฝากทรัพย์, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, สิทธิเรียกร้องเงินฝาก, สัญญาเลิกกัน, การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
แม้โจทก์จะฝากเงินไว้กับจำเลยเมื่อปี 2504 แต่จำเลยก็ไม่เคยบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ สัญญาฝากทรัพย์จึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีเงินฝากแล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่า ไม่พบว่ามียอดเงินในบัญชีจึงเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ ไม่พบว่ามียอดเงินในบัญชีจึงเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ ต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ขอถอนเงินในระหว่างเดือนธันวาคม 2544 ถึงเดือนมกราคม 2545 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 10 เมษายน 2545 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8382/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกร้องสิทธิจากเหตุเลิกจ้างเดียวกันในระหว่างคดีเดิม
ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ (1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น" ความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวก็คือคดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม เรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยเหตุเดียวกันกับเหตุที่ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมคดีก่อน และเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยจากจำเลยในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลาง การฟ้องคดีทั้งสองเรื่องต่อศาลแรงงานกลางเป็นการเรียกร้องสิทธิในมูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องอันเกี่ยวกับการเลิกจ้างในคราวเดียวกัน ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมในคราวเดียวกันได้หรือขอแก้ไขคำฟ้องในคดีเดิมภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางในระหว่างคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
of 174