พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,733 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดหลังการขายเสร็จสิ้น กรณีอ้างกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และการยื่นคำร้องไม่ทันตามกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ยื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์ที่ยึดต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7552/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องให้ลูกจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทน: เริ่มนับเมื่อจ่ายเงินจริง
ท. ขับรถไปในทางการที่จ้างของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างชนรถยนต์ของ ธ. ที่เอาประกันภัยไว้ต่อบริษัท ว. ได้รับความเสียหาย หลังจาก ท. ตายโจทก์ทราบจำนวนค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษาให้โจทก์ชำระแก่ ธ. และบริษัท ว. และโจทก์ได้ชำระไปแล้ว สิทธิที่โจทก์จะได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนจาก ท. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 จึงเพิ่งเกิดเมื่อวันที่โจทก์ชำระเงิน
สิทธิเรียกร้องให้ลูกจ้างชดใช้คืนตามมาตรา 426 ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 จะนำอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสี่ ซึ่งเป็นเรื่องอายุความสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อเจ้ามรดกมาใช้บังคับในการฟ้องให้จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. รับผิดไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสามยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่ ท. (วันที่โจทก์ชำระเงิน) ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
สิทธิเรียกร้องให้ลูกจ้างชดใช้คืนตามมาตรา 426 ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 จะนำอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสี่ ซึ่งเป็นเรื่องอายุความสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อเจ้ามรดกมาใช้บังคับในการฟ้องให้จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. รับผิดไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสามยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่ ท. (วันที่โจทก์ชำระเงิน) ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7447/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าปรับปรุงทรัพย์สินจากการบังคับคดี: สัญญาจะซื้อจะขายไม่มีผลผูกพันเท่าบุริมสิทธิ
การยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ถือว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
ผู้ร้องซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินจากจำเลย ระหว่างที่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน ผู้ร้องได้เพิ่มเติมปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน ส่วนที่เพิ่มเติมปรับปรุงนั้นย่อมเป็นส่วนควบกับที่ดิน เมื่อยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันอย่างถูกต้อง ก็เป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่านั้นและมิได้เป็นสิทธิที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอื่นด้วย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิกันเงินที่ได้มาจากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดเพื่อมาชำระหนี้ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องใช้เพิ่มเติมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่น
ผู้ร้องซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินจากจำเลย ระหว่างที่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน ผู้ร้องได้เพิ่มเติมปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน ส่วนที่เพิ่มเติมปรับปรุงนั้นย่อมเป็นส่วนควบกับที่ดิน เมื่อยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันอย่างถูกต้อง ก็เป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่านั้นและมิได้เป็นสิทธิที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอื่นด้วย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิกันเงินที่ได้มาจากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดเพื่อมาชำระหนี้ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องใช้เพิ่มเติมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6504/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบัตรเครดิต: การรับสภาพหนี้และการผ่อนผันการบังคับสิทธิ
จำเลยใช้บัตรเครดิตของธนาคารโจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2540 โจทก์ส่งใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายให้จำเลยชำระเงินขั้นต่ำภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 เมื่อจำเลยผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้เมื่อครบกำหนดตามใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายและเริ่มนับอายุความนับแต่วันนั้นมา จำเลยชำระหนี้บางส่วนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2544 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องวันที่ 29 ธันวาคม 2546 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเริ่มนับอายุความใหม่ จึงขาดอายุความ
โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้เมื่อครบกำหนดตามใบแจ้งยอดค่าใช้จ่าย หลังจากนั้นจำเลยไม่เคยใช้บัตรเครดิตของโจทก์ และโจทก์ไม่ได้ออกเงินทดรองให้แก่สถานประกอบการค้าต่างๆ แทนจำเลยอีก ใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายที่โจทก์ส่งให้จำเลยแต่ละเดือนต่อมาล้วนเป็นการคิดบวกดอกเบี้ยที่จำเลยผิดนัดเข้ากับต้นเงินที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเมื่ออาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผ่อนผันไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเอง มิใช่โจทก์ไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงมิได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดโดยไม่ผ่อนผันให้แก่จำเลยอีกต่อไป
โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้เมื่อครบกำหนดตามใบแจ้งยอดค่าใช้จ่าย หลังจากนั้นจำเลยไม่เคยใช้บัตรเครดิตของโจทก์ และโจทก์ไม่ได้ออกเงินทดรองให้แก่สถานประกอบการค้าต่างๆ แทนจำเลยอีก ใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายที่โจทก์ส่งให้จำเลยแต่ละเดือนต่อมาล้วนเป็นการคิดบวกดอกเบี้ยที่จำเลยผิดนัดเข้ากับต้นเงินที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเมื่ออาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผ่อนผันไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเอง มิใช่โจทก์ไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงมิได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดโดยไม่ผ่อนผันให้แก่จำเลยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6464/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องหนี้เกิดก่อนล้มละลายต้องยื่นในคดีล้มละลายเท่านั้น
เงินค่าฤชาธรรมเนียมมิใช่เงินที่วางเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ แต่เป็นเงินที่วางเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ ตราบใดที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ชนะคดีและให้จำเลยรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน เงินค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวจึงยังคงเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เงินค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยอาจรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อแบ่งแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 109 (1) และเมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดศาลอุทธรณ์ในคดีนี้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีและสั่งให้คืนค่าขึ้นศาล 3 ใน 4 ที่จำเลยเสียไว้ในการยื่นอุทธรณ์เพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของผู้ล้มละลาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยวางไว้แต่อย่างใด
เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และยังไม่พ้นจากภาวะดังกล่าว โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่เท่านั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 27, 91 และ 94 และปรากฏจากคำแก้อุทธรณ์ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยได้ความว่าโจทก์ได้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้แล้วและคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้อยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน
เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และยังไม่พ้นจากภาวะดังกล่าว โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่เท่านั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 27, 91 และ 94 และปรากฏจากคำแก้อุทธรณ์ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยได้ความว่าโจทก์ได้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้แล้วและคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้อยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6464/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในการล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย vs การใช้สิทธิซ้ำซ้อน
เงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิใช่เงินที่วางเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ แต่เป็นเงินที่วางเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ ตราบใดที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ชนะคดี เงินดังกล่าวก็ยังคงเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงเป็นเงินที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อแบ่งแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนที่จำเลยวางไว้
จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และ 94 เท่านั้น โจทก์ได้นำมูลหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายอยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอในคดีนี้อีกก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้อง
จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และ 94 เท่านั้น โจทก์ได้นำมูลหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายอยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอในคดีนี้อีกก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: วันทำละเมิดสำคัญกว่าผลของการละเมิด คดีขาดอายุความหากฟ้องพ้น 10 ปีนับแต่วันทำละเมิด
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ได้กำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่มูลละเมิดไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่สองมีอายุความสิบปีนับแต่วันทำละเมิด ซึ่งหากเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวก็ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวขาดอายุความ บทบัญญัติดังกล่าวที่ให้นับอายุความสิบปีนับจากวันทำละเมิดนั้นวันทำละเมิดย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันเป็นมูลเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้น ส่วนผลของการทำละเมิดจะเกิดขึ้นเมื่อใด ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่งวันทำละเมิดกับวันที่ผลของการทำละเมิดเกิดขึ้นจึงต่างกัน คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อระหว่างเดือนมิถุนายน 2522 ถึงเดือนสิงหาคม 2523 จำเลยทั้งสองโดยจำเลยที่ 2 จงใจหรือประมาณเลินเล่อ รังวัดที่ดินออก น.ส.3 ก. ของโจทก์ โดยมิชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ มูลละเมิดย่อมเกิดอย่างช้าที่สุดในวันที่ 31 สิงหาคม 2523 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งล่วงพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิดแล้ว คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นคู่ความแทนที่ในชั้นบังคับคดี: ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล หากสิทธิเรียกร้องต่อเนื่องจากเจ้าหนี้เดิม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ในชั้นบังคับคดี ก็โดยอาศัยเหตุที่ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง เนื่องจากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อและได้รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษามาจากการขายซึ่งดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ในคดีล้มละลาย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องพิพาทกับจำเลยทั้งสามในมูลหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองซึ่งเป็นมูลหนี้ที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามพิพาทกันและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปแล้ว ทั้งการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่โดยอาศัยเหตุดังกล่าว มิได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่หรือเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไว้แล้วในชั้นที่โจทก์ยื่นฟ้องคดี จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง และเมื่อผู้ร้องได้ชำระค่าขึ้นศาลตามคำสั่งของศาลชั้นต้นมาแล้ว จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลจำนวนดังกล่าวแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5335/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้า: สัญญาจองยังไม่สมบูรณ์ ไม่เกิดสิทธิเรียกร้อง
สัญญาจองของผู้จองซื้อที่ดินในโครงการบ้านจัดสรรของจำเลยเป็นเพียงหนังสือแจ้งความประสงค์จะจองที่ดินในโครงการโดยจะทำสัญญาจะซื้อจะขายกันหลังจากทำการถมที่ดินและทำถนนในโครงการเสร็จแล้ว เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายยังไม่ได้ทำกัน ผลจากการชี้ช่องหรือจัดการของโจทก์ที่ทำการเป็นนายหน้าจึงยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าบำเหน็จในการเป็นนายหน้าจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 845
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016-5017/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติม: สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นภายหลังฟ้องเดิม ไม่เกี่ยวข้องกัน จึงไม่อนุญาตแก้ไข
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้คู่ความเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ข้อเท็จจริงตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ทั้งสอง เป็นการกล่าวอ้างมูลคดีที่เกิดขึ้นภายหลังโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้แล้ว แม้มูลคดีตามคำฟ้องเดิมกับคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมจะมีลักษณะอย่างเดียวกัน แต่มูลคดีเกิดขึ้นคนละคราวไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งหากจะฟังว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมก็เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นภายหลังจากโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้แล้ว ถือไม่ได้ว่าคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม