คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 392 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184-1185/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษทางอาญา: เลือกใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย แม้โทษสูงกว่า
โทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามี 3 สถาน สถานหนึ่งปรับไม่เกิน 50 บาท สถานหนึ่งจำไม่เกิน 10 วัน อีกสถานหนึ่งทั้งปรับทั้งจำ แต่โทษตามประมวล ก.ม.อาญาในความผิดเดียวกันนั้นมีแต่โทษปรับสถานเดียว ไม่เกิน 500 บาท เช่นนี้ต้องใช้ประมวล ก.ม.อาญา บังคับแก่คดี เพราะถือได้ว่าเป็น ก.ม.ที่เป็นคุณแก่จำเลยและในคดีนี้ศาลฎีกาใช้ดุลยพินิจลงโทษจำเลยตามประมวล ก.ม.อาญา ปรับ 50 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบุกรุกต้องระบุเจตนาชัดเจน หากขาดรายละเอียดฟ้องไม่ชอบ
คำบรรยายฟ้องหาว่าทำผิดฐานบุกรุกตามกฎหมายลักษณะอาญาม.327 นั้น โจทก์ต้องกล่าวด้วยว่าจำเลยเจตนาจะมิให้ผู้อื่นได้ปกครองทรัพย์หรือเพื่อจะเข้าครอบครองทรัพย์มิฉะนั้นเป็นฟ้องที่ขาดรายละเอียดทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาได้ดีพอ(เทียบเคียงฎีกาที่ 912/2492,1549/2493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วางเพลิงเผาต้นมะพร้าวผู้อื่น: การเปรียบเทียบโทษตามกฎหมายอาญาเดิมและประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยจุดไฟเผากิ่งไม้แห้งในไร่ของจำเลยและไฟได้ลุกลามไปไหม้ทรัพย์ของผู้เสียหาย ทั้งยังน่ากลัวจะไหม้โรงข้าวของผู้เสียหายอีกด้วย ความผิดของจำเลยขณะทำผิดต้องด้วย ก.ม.ลักษณะอาญา ม.187 วรรค 2 ไฟที่จำเลยจุดเผาขึ้นได้ไหม้เอาต้นมะพร้าว อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายตามข้อ (5) แห่ง ม.186 ด้วย โทษที่ควรลงแก่จำเลยจึง ต้องเอาโทษที่กำหนดไว้ใน ม.186 เป็นเกณฑ์ แต่ขณะนี้ ก.ม.ลักษณะอาญาได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ใช้ประมวล ก.ม.อาญาแทน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตรงตาม ม.220 วรรคแรกแห่งประมวล ก.ม.อาญา แต่วรรค 2 ของมาตรานี้บัญญัติว่า ถ้าเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ใน ม.218 ให้ลงโทษดังที่บัญญัติไว้ใน ม.218 แต่ใน ม.218 ข้อ 1 ถึง 6 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวางเพลิงเผาต้นมะพร้าวอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ไว้เลย ฉะนั้นจะลงโทษตามวรรค 2 ของ ม.220 ประมวล ก.ม.อาญาไม่ได้ คงลงโทษจำเลยตาม ม.220 วรรคแรกซึ่งมีอัตราโทษจำคุกเบากว่า ม.187 วรรคแรกของ ก.ม.ลักษณะอาญา ตาม ม.3 ประมวล ก.ม.อาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดวางเพลิงทำให้ทรัพย์สินเสียหาย: การเปรียบเทียบอัตราโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยจุดไฟเผากิ่งไม้แห้งในไร่ของจำเลยและไฟได้ลุกลามไปไหม้ทรัพย์ของผู้เสียหาย ทั้งยังน่ากลัวจะไหม้โรงข้าวของผู้เสียหายอีกด้วย ความผิดของจำเลยขณะทำผิดต้องด้วยกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา187 วรรคสอง ไฟที่จำเลยจุดเผาขึ้นได้ไหม้เอาต้นมะพร้าวอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายตามข้อ (5) แห่ง มาตรา186 ด้วย โทษที่ควรลงแก่จำเลยจึงต้องเอาโทษที่กำหนดไว้ใน มาตรา186 เป็นเกณฑ์แต่ขณะนี้ กฎหมายลักษณะอาญาได้ถูกยกเลิกไปแล้วใช้ประมวลกฎหมายอาญาแทน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตรงตามมาตรา 220 วรรคแรกแห่งประมวลกฎหมายอาญาแต่วรรค 2 ของมาตรานี้บัญญัติว่าถ้าเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 218 ให้ลงโทษดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 218 แต่ในมาตรา218ข้อ 1 ถึง 6 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวางเพลิงเผาต้นมะพร้าวอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ไว้เลย ฉะนั้นจะลงโทษตามวรรคสองของ มาตรา 220ประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้คงลงโทษจำเลยตาม มาตรา 220 วรรคแรกซึ่งมีอัตราโทษจำคุกเบากว่า มาตรา 187 วรรคแรกของ กฎหมายลักษณะอาญา ตาม มาตรา 3 ประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษผู้เคยต้องโทษปรับ: ศาลฎีกาตัดสินว่าเพิ่มโทษตามกฎหมายอาญาไม่ได้หากเคยติดโทษปรับ
โทษปรับเป็นโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 12 ทั้งเป็นโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา18 ด้วยแต่การจะเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92(กฎหมายอาญามาตรา72) นั้น จะกระทำได้เฉพาะผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเท่านั้น ผู้ที่เคยต้องโทษปรับจะเพิ่มโทษด้วยหาได้ไม่
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องโทษจำคุก 1 เดือนปรับ 150 บาท ฐานเล่นการพนันสลากกินรวบ แต่โทษจำคุกศาลให้รอการลงอาญาไว้คงปรับแต่สถานเดียวเมื่อจำเลยมากระทำผิดในคดีนี้อีกภายในกำหนดดังนี้จะเพิ่มโทษจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย: ยักยอกทรัพย์
ประมวลกฎหมายอาญา ม.352 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดยิ่งกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา314 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2,000 บาท เพราะอาจลงโทษได้สามสถาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003-2005/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าอาวาสมีอำนาจหน้าที่เสมือนเจ้าพนักงาน การกระทำผิดจึงเข้าข่ายความผิดของเจ้าพนักงาน
การที่ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์บัญญัติไว้ว่า พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญานั้น บ่งชัดถึงอำนาจและหน้าที่ กล่าวคือเมื่อมีอำนาจในวัดเหมือนกับเจ้าพนักงานแล้ว หากกระทำผิดในหน้าที่ก็จะต้องเป็นผิดฐานเจ้าพนักงานกระทำความผิดด้วย
การลดโทษที่มีเหตุอันเข้าลักษณะทั้งกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่นั้น เมื่อได้ทำผิดขณะใช้กฎหมายเก่า ก็ควรอ้างกฎหมายเก่าคือ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 59 เป็นเหตุลดโทษ (ตามแบบอย่างฎีกาที่ 1879/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พระราชบัญญัติล้างมลทิน 2499: ผลกระทบต่อการเพิ่มโทษผู้ต้องโทษซ้ำ
จำเลยที่ต้องคำพิพากษาให้เพิ่มโทษมาตั้งแต่ยังไม่มีพระราชบัญญัติล้างมลทิน 2499 นั้น ต่อมามีพระราชบัญญัติล้างมลทิน2499 จำเลยที่ฎีกา แม้จะไม่ได้ฎีกาในข้อนี้ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยไม่เพิ่มโทษจำเลยนั้นได้
พระราชบัญญัติล้างมลทิน 2499 มาตรา 3 ย่อมไม่มีความหมายกินถึงผู้ที่รอการลงโทษไว้ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 41 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาในอดีตกับความผิดที่กระทำก่อนมีประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยกระทำชำเรา ด.ญ. อายุต่ำกว่าสิบสามขวบก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายอาญา ศาลชั้นต้นลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 244 วรรค 2 จำคุก 5 ปี ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาซึ่งตัดสินหลังวันให้ประมวลกฎหมายอาญาฟังว่าจำเลยทำผิดและวางโทษจำคุกจำเลยเท่าเดิม คือ 5 ปี ศาลฎีกาก็คงใช้กฎหมายในขณะที่จำเลยกระทำผิดเป็นบทลงโทษ (เพราะกำหนดโทษที่วางในคดีนี้ยังไม่เข้ากรณีที่จะพึงใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 280(1) โดยยังไม่มีข้อที่จะยกส่วนที่เป็นคุณของกฎหมายใหม่มาใช้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาที่แตกต่างกันตามช่วงเวลา และหลักการใช้กฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่จำเลย
การใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 นั้น ต้องพิจารณาทั้งโทษสูงและโทษต่ำ เช่น ถ้าจะลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส ถ้าจะลงโทษจำคุกเกิน 7 ปี ซึ่งจะลงได้ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.297 เช่นนี้ ต้องใช้ ม.256 เพราะลงโทษจำคุกได้ ไม่เกิน 7 ปี แต่ถ้าจะลงโทษต่ำกว่า 2 ปี ลงมา (ถึง 6 เดือน) ต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญา ม.297 เพราะบัญญัติให้ทำได้
แต่ถ้าการวางโทษอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายลักษณะอาญาก็ได้ หรือใช้ประมวลกฎหมายอาญาก็ได้ เช่นนี้ควรใช้กฎหมายลักษณะอาญา อันเป็นกฎหมายในขณะทำผิด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2500 )
of 40