พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11530/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำซัดทอดของผู้ต้องหาร่วม และพยานหลักฐานสนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติด: การรับฟังพยานหลักฐานและการพิสูจน์ความผิด
การกล่าวหาและจับกุมจำเลยดำเนินคดี แม้มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจากคำซัดทอดของ ส. ที่ถูกจับกุมในคดีอื่น แต่ ส. ให้การต่อพนักงานสอบสวนในคดีที่ ส. เป็นผู้ต้องหา ทั้งในฐานะผู้ต้องหาและในฐานะพยานหลังถูกจับกุมเพียง 1 วัน จึงเป็นการยากที่จะคิดปรุงแต่งเรื่องราวให้ผิดไปจากความจริงและในคดีดังกล่าว ส. ก็ให้การรับสารภาพ จึงมิใช่เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดโดยปัดความผิดไปให้จำเลยเพียงผู้เดียว หากเป็นการบอกเล่าเรื่องราวในการกระทำความผิดของตนยิ่งกว่าการปรักปรำจำเลยเสียอีก ครั้นพันตำรวจโท ป. สอบปากคำหลังถูกจับกุมนานเดือนเศษ ส. ยังคงยืนยันว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยเช่นเดิม และยังนำชี้สถานที่ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนกับชี้ภาพถ่ายของจำเลยสอดคล้องกับเรื่องราวที่ให้การไว้ต่อพันตำรวจโท ข. และพันตำรวจโท ป. โดยตรวจพบว่ามีการโอนเงินจากบัญชีของ ส. เข้าบัญชีของจำเลยรวมทั้งมีการยึดรถกระบะได้จากจำเลย ล้วนมีแหล่งที่มาจากคำให้การของ ส. ทั้งสิ้น และในชั้นพิจารณา ส. ยังเบิกความเป็นพยานโจทก์ว่าพยานได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยและเคยโอนเงินค่าเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลย แม้คำเบิกความของ ส. ถือเป็นคำซัดทอดและ ส. เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านไม่ตรงกับที่เบิกความตอบโจทก์ในตอนแรกอันเป็นการไม่อยู่กับร่องกับรอย เห็นได้ชัดว่ามีเจตนาเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่รูปคดีตามข้อต่อสู้ของจำเลย คำของ ส. ที่เบิกความตอบโจทก์ในตอนแรกจึงเชื่อถือได้มากกว่า เมื่อนำคำซัดทอดของ ส. ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาตามที่เบิกความตอบโจทก์ในตอนแรก มาพิจารณารับฟังประกอบกันหลักฐานที่ ส. โอนเงินให้แก่จำเลยก่อน ส. ถูกจับกุมเพียงไม่กี่วัน พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้ ส. จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8718/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลตามกฎกระทรวง แม้ไม่มีการใช้น้ำจริง โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์การใช้งาน
พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 เป็นกฎหมายพิเศษที่มีเจตนารมณ์ที่จะควบคุมดูแลการขุดเจาะน้ำบาดาลและการระบายน้ำลงบ่อบาดาล ทั้งนี้ เพื่อป้องกันรักษาแหล่งน้ำบาดาลซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้ขาดแคลนหรือเสียหาย อีกทั้งป้องกันการทรุดตัวของแผ่นดินและการก่อให้เกิดมลพิษแก่น้ำบาดาลอันเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพย์สินหรือสุขภาพของประชาชน อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แม้ขณะที่จำเลยขุดเจาะน้ำบาดาลในที่ดินของจำเลย บริเวณพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรียังไม่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตน้ำบาดาล แต่เมื่อต่อมากระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) กำหนดเขตน้ำบาดาลเพิ่มเติมโดยให้ท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นเขตน้ำบาดาล และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2538 ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2538 เป็นต้นไป การประกอบกิจการน้ำบาดาลโดยการขุดเจาะน้ำบาดาลหรือใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลทั้งสิบสองบ่อในที่ดินจำเลยที่อยู่ในเขตน้ำบาดาลตามฟ้องจะต้องอยู่ภายใต้ความควบคุมของโจทก์ และจำเลยจะต้องขอรับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ตามมาตรา 17 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 และจำเลยจะต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามที่ระบุไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 จึงไม่ได้มีผลย้อนหลังบังคับแก่การขุดเจาะน้ำบาดาลและการใช้น้ำบาดาลของจำเลยก่อนวันที่ 18 มกราคม 2538
ในการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับอนุญาตนั้นโจทก์เรียกเก็บตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) โดยหากผู้รับใบอนุญาตไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำบาดาลก็เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) ข้อ 2 (2) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) ข้อ 3 (2) ที่ไม่อาจคำนวณปริมาณน้ำบาดาลที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้ได้ ซึ่งตามกฎกระทรวงทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตโดยไม่คำนึงว่าจะมีการใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่ เพียงใด เพราะเป็นกรณีที่ไม่สามารถคำนวณการใช้น้ำบาดาลได้ เนื่องจากผู้รับใบอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำ ซึ่งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการใช้น้ำบาดาลจากบ่อของผู้ได้รับใบอนุญาตในที่ดินของผู้รับใบอนุญาตนั้นอยู่ในความรู้เห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้จริง กฎกระทรวงจึงกำหนดเป็นภาระของผู้ได้รับใบอนุญาตที่จะต้องชำระค่าน้ำบาดาลในปริมาณสูงสุดตามใบอนุญาต โจทก์ไม่มีหน้าที่ภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยได้ใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่
แม้ขณะที่จำเลยขุดเจาะน้ำบาดาลในที่ดินของจำเลย บริเวณพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรียังไม่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตน้ำบาดาล แต่เมื่อต่อมากระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) กำหนดเขตน้ำบาดาลเพิ่มเติมโดยให้ท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นเขตน้ำบาดาล และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2538 ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2538 เป็นต้นไป การประกอบกิจการน้ำบาดาลโดยการขุดเจาะน้ำบาดาลหรือใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลทั้งสิบสองบ่อในที่ดินจำเลยที่อยู่ในเขตน้ำบาดาลตามฟ้องจะต้องอยู่ภายใต้ความควบคุมของโจทก์ และจำเลยจะต้องขอรับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ตามมาตรา 17 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 และจำเลยจะต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามที่ระบุไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 จึงไม่ได้มีผลย้อนหลังบังคับแก่การขุดเจาะน้ำบาดาลและการใช้น้ำบาดาลของจำเลยก่อนวันที่ 18 มกราคม 2538
ในการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับอนุญาตนั้นโจทก์เรียกเก็บตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) โดยหากผู้รับใบอนุญาตไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำบาดาลก็เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) ข้อ 2 (2) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) ข้อ 3 (2) ที่ไม่อาจคำนวณปริมาณน้ำบาดาลที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้ได้ ซึ่งตามกฎกระทรวงทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตโดยไม่คำนึงว่าจะมีการใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่ เพียงใด เพราะเป็นกรณีที่ไม่สามารถคำนวณการใช้น้ำบาดาลได้ เนื่องจากผู้รับใบอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำ ซึ่งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการใช้น้ำบาดาลจากบ่อของผู้ได้รับใบอนุญาตในที่ดินของผู้รับใบอนุญาตนั้นอยู่ในความรู้เห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้จริง กฎกระทรวงจึงกำหนดเป็นภาระของผู้ได้รับใบอนุญาตที่จะต้องชำระค่าน้ำบาดาลในปริมาณสูงสุดตามใบอนุญาต โจทก์ไม่มีหน้าที่ภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยได้ใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เสรีภาพในการชุมนุมสงบและการพิสูจน์เจตนาในการกระทำผิดร่วม
การที่ชาวบ้านร่วมชุมนุมและเดินขบวนกันเพราะไม่พอใจที่ทางราชการมีมติให้จัดตั้งกิ่งอำเภอนาทมในที่อื่น ที่ไม่ใช่ตำบลนาทมโดยมีชาวบ้านร่วมกันกว่า 200 คน ไม่ปรากฏว่ามีการร่วมกันวางแผนหรือคบคิดกระทำการในสิ่งผิดกฎหมาย ไม่มีผู้ใดมีอาวุธ จึงต้องถือว่าเป็นการชุมนุมที่เริ่มต้นด้วยความสงบปราศจากอาวุธ อันเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนโดยชอบที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับให้การรับรองตลอดมา การกระทำความผิดมาเกิดขึ้นในภายหลัง ต้องถือว่าเป็นเจตนาของผู้กระทำความผิดของแต่ละคนแต่ละกลุ่มจะถือเอาเป็นเจตนาร่วมของผู้เข้าชุมนุมทุกคนไม่ได้ ลำพังแต่จำเลยเป็นผู้ร่วมอยู่ในกลุ่มชาวบ้าน 2 กลุ่ม ที่มีคนร้ายบางคนกระทำความผิดก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง หรือพฤติการณ์อันใดที่แสดงการขัดขวางมิให้ ศ. กับพวกนำรถดับเพลิงเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุเผาสะพาน ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับคนร้าย ตาม ป.อ. มาตรา 83 กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 มีเสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้และการร่วมรับผิดของจำเลย การพิสูจน์การโอนสินทรัพย์และหนี้สิน
จำเลยที่ 1 ให้การยอมรับว่าได้กู้เงินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ น. ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 13 จริง ซึ่งตรงกับหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.15 ทั้งรับว่าได้ชำระคืนแก่ผู้ให้กู้ดังกล่าวตลอดมาเพียงแต่ชำระไม่ครบจำนวนตามที่ตกลงกัน ชำระไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดในสัญญาและต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 หรือเป็นลายมือชื่อปลอมเท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เงินดังกล่าว เป็นลายมือชื่อที่แท้จริง ของจำเลยที่ 1 มิใช่ลายมือชื่อปลอมแล้ว แม้จำเลยที่ 3 จะได้ยกข้อต่อสู้ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญากู้เงินดังกล่าว ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 หรือเป็นลายมือชื่อปลอมก็ตาม ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 3 จะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามที่ยกขึ้นให้การต่อสู้ไว้ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบโดยแถลงไม่ขอสืบพยาน ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงฟังไม่ได้
หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ผู้กู้ โดยไม่มีลายมือชื่อของบริษัทเงินทุน น. ผู้ให้กู้อยู่ด้วย จึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง แม้จะมีข้อความว่าหนังสือสัญญากู้เงิน เอกสารดังกล่าวก็มิใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอากรแสตมป์ลักษณะ 5 แต่อย่างใด หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ ตามความหมายของมาตรา 653 วรรคหนึ่งแล้ว ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ น. ไปตามฟ้องโดยไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์
หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ผู้กู้ โดยไม่มีลายมือชื่อของบริษัทเงินทุน น. ผู้ให้กู้อยู่ด้วย จึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง แม้จะมีข้อความว่าหนังสือสัญญากู้เงิน เอกสารดังกล่าวก็มิใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอากรแสตมป์ลักษณะ 5 แต่อย่างใด หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ ตามความหมายของมาตรา 653 วรรคหนึ่งแล้ว ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ น. ไปตามฟ้องโดยไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนทรัพย์สินที่ริบตาม ป.อ. มาตรา 39 ต้องพิสูจน์เจ้าของกรรมสิทธิ์ขณะกระทำผิดมิได้รู้เห็นเป็นใจ
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 39 ในกรณีที่ศาลจะสั่งคืนทรัพย์สินที่ริบได้นั้นนอกจากความเป็นเจ้าของแล้วยังต้องได้ความว่าผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดและย่อมมีความหมายถึงเจ้าของทรัพย์สินในขณะที่มีการกระทำความผิดด้วย ทั้งการขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบแล้วดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา นอกจากผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบว่าผู้ร้องไม่รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดแล้วผู้ร้องก็ยังมีหน้าที่นำสืบว่าเจ้าของทรัพย์สินไปขณะกระทำผิดไม่รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ร้องมีตัวผู้ร้องและจำเลยเบิกความเป็นพยานว่า ผู้ร้องให้จำเลยเช่ารถยนต์กระบะของกลางไป ผู้ร้องไม่รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย โดยผู้ร้องมิได้นำสืบให้เห็นว่าบริษัท จ. เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะของกลางในขณะที่จำเลยกระทำความผิดรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่ เมื่อผู้ร้องมิได้นำสืบดังกล่าวจึงฟังไม่ได้ว่าบริษัท จ. เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะของกลางในขณะกระทำความผิดไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย นอกจากนี้ผู้ร้องให้การในชั้นสอบสวนว่า ผู้ร้องไม่รู้ว่าจำเลยนำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้กระทำความผิดเพราะผู้ร้องไปค้าขายที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้จำเลยใช้รถยนต์กระบะของกลางบรรทุกยางพาราแตกต่างจากที่ผู้ร้องและจำเลยเบิกความว่าจำเลยเช่ารถยนต์กระบะของกลางจากผู้ร้องเป็นพิรุธไม่มีน้ำหนักรับฟัง จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11294/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์จากสัญญาเช่าซื้อ: อำนาจฟ้อง, การไม่ระงับคดี, และการพิสูจน์ความผิด
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 กำหนดให้ตราสารที่มิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือส่วนของตราสารเป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้นใช้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้นำตราสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานด้วย
การที่ผู้เสียหายฟ้องจำเลยในคดีแพ่งมิได้เป็นการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 8 มีนาคม 2549 เวลากลางวันถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 เวลากลางคืน จำเลยเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน กข 3228 พัทลุง ของผู้เสียหาย จำเลยเบียดบังเอารถยนต์คันดังกล่าวเป็นของตนหรือบุคคลอื่นโดยทุจริต ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและครบองค์ประกอบความผิดฐานยักยอก โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยกระทำการเบียดบังยักยอกรถยนต์ไปอย่างไร เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อจำเลยชำระค่าเช่าซื้อให้ผู้เสียหายเพียง 2 งวดแล้วไม่ชำระค่าเช่าซื้ออีกเลย และจำเลยนำรถที่เช่าซื้อไปตีใช้หนี้ให้แก่ผู้อื่นโดยจำเลยทราบอยู่แล้วว่ารถที่เช่าซื้อยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อ จ. ไปติดตามยึดรถที่เช่าซื้อแต่จำเลยบ่ายเบี่ยงไม่ให้ความร่วมมือ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้เสียหายที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอก
การที่ผู้เสียหายฟ้องจำเลยในคดีแพ่งมิได้เป็นการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 8 มีนาคม 2549 เวลากลางวันถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 เวลากลางคืน จำเลยเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน กข 3228 พัทลุง ของผู้เสียหาย จำเลยเบียดบังเอารถยนต์คันดังกล่าวเป็นของตนหรือบุคคลอื่นโดยทุจริต ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและครบองค์ประกอบความผิดฐานยักยอก โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยกระทำการเบียดบังยักยอกรถยนต์ไปอย่างไร เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อจำเลยชำระค่าเช่าซื้อให้ผู้เสียหายเพียง 2 งวดแล้วไม่ชำระค่าเช่าซื้ออีกเลย และจำเลยนำรถที่เช่าซื้อไปตีใช้หนี้ให้แก่ผู้อื่นโดยจำเลยทราบอยู่แล้วว่ารถที่เช่าซื้อยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อ จ. ไปติดตามยึดรถที่เช่าซื้อแต่จำเลยบ่ายเบี่ยงไม่ให้ความร่วมมือ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้เสียหายที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หลักฐานทางอาญา การยืนยันตัวตนยานพาหนะหลบหนี และสิทธิการคืนของกลาง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์เป็นของกลาง แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับของกลางมาด้วยก็ตาม ศาลจะสั่งคืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของก็ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทและคุณสมบัติการเป็นผู้เสียหาย: การพิสูจน์การเช่าและการประกอบกิจการ
ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า โจทก์ร่วมเช่าที่ดินพิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วมและไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดที่ดินใหม่เกินแนวเขตเดิม การพิสูจน์แนวเขตที่ถูกต้อง และการยกฟ้องคดีละเมิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งต้องจัดการแบ่งมรดกที่ดินซึ่งเดิมมีเนื้อที่ 2 งาน 96 ตารางวา แต่เมื่อรังวัดใหม่พบว่าที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่จริงตามที่รังวัดได้คือ 1 ไร่ 1 งาน 37 ตารางวา แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมแก้ไขเนื้อที่และจดทะเบียนโฉนดที่ดินให้โจทก์ และจำเลยที่ 2 คัดค้านการรังวัดที่ดิน เป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้จำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงเนื้อที่ในโฉนดที่ดินตามที่รังวัดได้จริง และขอให้จำเลยที่ 2 ถอนการคัดค้านการรังวัดที่ดิน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อ 2 ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงรวมถึงปัญหาตามประเด็นที่ว่าที่ดินที่รังวัดใหม่มีเนื้อที่เกินกว่าที่ระบุในโฉนดเป็นเขตคลองบางกระเทียมที่ตื้นเขินหรือเป็นของโจทก์หรือไม่อยู่ในตัว เพราะก่อนที่จะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่จะต้องวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเสียก่อน หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่รังวัดใหม่มีเนื้อที่เกินกว่าที่ระบุไว้ในโฉนดเป็นเขตคลองกระเทียมแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีแล้วนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยถึงปัญหาว่า ที่ดินที่รังวัดใหม่มีเนื้อที่เกินกว่าที่ระบุในโฉนดเป็นเขตคลองบางกระเทียมตื้นเขินหรือของโจทก์ จึงไม่ได้เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4349/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์อำนาจฟ้องและการนำสืบพยานในคดีแพ่ง จำเป็นต้องพิสูจน์ความแท้จริงของเอกสารมอบอำนาจ
โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ร. ดำเนินคดีแทน แต่จำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้วว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อผู้มีอำนาจของโจทก์แต่เป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้ที่ลงลายมือชื่อในคำสั่งเกี่ยวกับการมอบอำนาจ เป็นผู้ที่มีอำนาจของโจทก์และเป็นลายมือชื่อที่แท้จริง คดีนี้โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบเพียงปากเดียว โดยไม่ได้เบิกความถึงการมอบอำนาจให้ดำเนินคดี และไม่ได้ยืนยันว่า ลายมือชื่อในคำสั่งเกี่ยวกับการมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อที่แท้จริง ถือว่าโจทก์นำสืบประเด็นนี้ไม่สมตามคำฟ้อง ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ร. ดำเนินคดีแทน