พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมและคดีใหม่มีประเด็นเดียวกัน แม้จะมีการอ้างเหตุเพิ่มเติม
คำฟ้องคดีก่อนและคดีนี้โจทก์อ้างเหตุอย่างเดียวกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทให้จำเลยเพื่ออำพรางการกู้เงิน ต่อมาจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท ขอให้ทางราชการเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นเจ้าของที่ตั้งโรงเรียนพิพาทของโจทก์ โดยในคดีก่อนโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 ขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท ส่วนคดีนี้แม้โจทก์ไม่ได้ขอให้เพิกถอนสัญญาที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทอีก แต่โจทก์อ้างเพิ่มเติมเข้ามาว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาในที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท แล้วเปิดการสอนโรงเรียนชื่อ "โรงเรีนอนุบาลบ้านวรารักษ์" โดยพลการ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินกิจการโรงเรียนพิพาทได้ตามปกติตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2543 เป็นต้นมา ขอให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์จากการขาดรายได้ตามปกติ และค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว เพราะเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยภายหลังจากมีการทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทก่อนโจทก์ฟ้องในคดีก่อนเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยภายหลังจากมีการทำสัญญาขายที่ดินและอาคาร ซึ่งเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องไม่สิ้นสุดแม้มีการโอนสิทธิในที่ดินระหว่างดำเนินคดี
การที่จำเลยฎีกาว่า ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นแล้วนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวไว้แล้วว่า เมื่อขณะยื่นฟ้องโจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้วโจทก์จดทะเบียนโอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทแก่บุคคลอื่น อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไปและยังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคำวินิจฉัยเดิม ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7890/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การกระทำใหม่หลังฟ้องคดีก่อน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อนหากเป็นคนละมูลเหตุ
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
แม้คดีก่อนซึ่งโจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 227/2546 กับคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ แต่การวินิจฉัยเรื่องฟ้องซ้อนจะต้องพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องในมูลคดีอันเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่เป็นสำคัญ คำฟ้องคดีก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทำลายรั้วอิฐบล็อกของโจทก์แล้วก่อสร้างรั้วอิฐบล็อกขึ้นใหม่รุกล้ำเขตที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขับไล่ให้จำเลยรื้อถอนรั้วดังกล่าวออกไปจากเขตที่ดินและเรียกค่าเสียหาย ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง โดยโจทก์กล่าวอ้างว่า ขณะคดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาเกิดคลื่นยักษ์สึนามิซัดรั้วอิฐบล็อกที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำที่ดินโจทก์พังทลาย ต่อมาจำเลยตัดฟันต้นมะพร้าวของโจทก์ แล้วก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นใหม่โดยบางส่วนของอาคารรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ ดังนี้ แม้หากจะถือว่าจำเลยยังคงยึดถือที่ดินบริเวณที่พิพาทกับโจทก์ต่อเนื่องมาก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในภายหลังนั้น โจทก์ย่อมไม่มีทางที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารและชดใช้ราคาต้นมะพร้าวขณะยื่นฟ้องคดีก่อนได้ ทั้งค่าเสียหายเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์เรียกร้องมาในคดีนี้ก็เป็นคนละส่วนกับคดีก่อน การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขึ้นใหม่ จึงไม่อาจถือว่าเป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ส่วนการที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีก่อนโดยกล่าวถึงการก่อสร้างอาคารจำเลยและขอให้สั่งระงับการก่อสร้างไว้ก่อนนั้น ก็มิใช่การยื่นคำฟ้อง จึงไม่อาจนำมาเป็นเหตุถือว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนดังที่จำเลยอ้างมาในคำแก้อุทธรณ์ได้
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อนแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและวินิจฉัยประเด็นอื่นที่ยังมิได้วินิจฉัยต่อไป อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์
แม้คดีก่อนซึ่งโจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 227/2546 กับคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ แต่การวินิจฉัยเรื่องฟ้องซ้อนจะต้องพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องในมูลคดีอันเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่เป็นสำคัญ คำฟ้องคดีก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทำลายรั้วอิฐบล็อกของโจทก์แล้วก่อสร้างรั้วอิฐบล็อกขึ้นใหม่รุกล้ำเขตที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขับไล่ให้จำเลยรื้อถอนรั้วดังกล่าวออกไปจากเขตที่ดินและเรียกค่าเสียหาย ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง โดยโจทก์กล่าวอ้างว่า ขณะคดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาเกิดคลื่นยักษ์สึนามิซัดรั้วอิฐบล็อกที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำที่ดินโจทก์พังทลาย ต่อมาจำเลยตัดฟันต้นมะพร้าวของโจทก์ แล้วก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นใหม่โดยบางส่วนของอาคารรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ ดังนี้ แม้หากจะถือว่าจำเลยยังคงยึดถือที่ดินบริเวณที่พิพาทกับโจทก์ต่อเนื่องมาก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในภายหลังนั้น โจทก์ย่อมไม่มีทางที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารและชดใช้ราคาต้นมะพร้าวขณะยื่นฟ้องคดีก่อนได้ ทั้งค่าเสียหายเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์เรียกร้องมาในคดีนี้ก็เป็นคนละส่วนกับคดีก่อน การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขึ้นใหม่ จึงไม่อาจถือว่าเป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ส่วนการที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีก่อนโดยกล่าวถึงการก่อสร้างอาคารจำเลยและขอให้สั่งระงับการก่อสร้างไว้ก่อนนั้น ก็มิใช่การยื่นคำฟ้อง จึงไม่อาจนำมาเป็นเหตุถือว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนดังที่จำเลยอ้างมาในคำแก้อุทธรณ์ได้
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อนแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและวินิจฉัยประเด็นอื่นที่ยังมิได้วินิจฉัยต่อไป อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6606/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงจากฟ้อง การต่อสู้ของจำเลย และขอบเขตการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในอาคารห้างสรรพสินค้า ต. อันเป็นสำนักงานของบริษัท ศ. ผู้เสียหาย โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเข้าไปในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุในเวลาที่ห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุยังเปิดทำการ และจำเลยอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุจนกระทั่งห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุปิดทำการ จึงมิใช่เป็นการเข้าไปในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุโดยไม่มีเหตุอันสมควร แต่เป็นการซ่อนตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญเพราะโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยซ่อนตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุโดยไม่มีเหตุอันสมควร และจำเลยก็นำสืบต่อสู้ว่าจำเลยเข้าไปในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุในระหว่างที่ห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุเปิดทำการและอยู่ในห้างสรรพสินค้าจนกระทั่งปิดทำการ แสดงว่าจำเลยหลงต่อสู้แล้ว ทั้งมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยความผิดฐานซ่อนตัวในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุอันเป็นสำนักงานของผู้เสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการที่จำเลยซ่อนตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุ จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันช่วงต่างประเทศ: การเกิดขึ้นของสัญญาตามกฎหมายไทย และอัตราดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยขอให้โจทก์ออกหนังสือประกันการปฏิบัติตามสัญญาของกิจการร่วมค้า อ. ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยจำเลยยอมประกันช่วงผูกพันตนด้วยเงื่อนไขทำนองเดียวกันต่อโจทก์ (Instructions and Counter Guarantee) โจทก์ออกหนังสือประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Letter of Guarantee, Performance Security) ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้ว ต่อมาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าได้บอกเลิกสัญญากับกิจการร่วมค้า อ. เพราะเหตุผิดสัญญา และขอให้โจทก์ชำระเงินตามหนังสือประกันดังกล่าว การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบและเรียกให้จำเลยชำระเงินจึงเป็นการปฏิบัติไปตามข้อตกลงในสัญญาประกันช่วงระหว่างโจทก์จำเลย จำเลยรับทราบแล้วแจ้งกลับมายังโจทก์เพียงว่า ศาลในประเทศอิตาลีมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ และกิจการร่วมค้า อ. แจ้งจำเลยว่าจะเชิญการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้ร่วมเจรจาระงับข้อพิพาทด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ขอให้โจทก์หยุดชำระเงินไว้ก่อน นั้น ทั้งสองเหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุผลที่จะปลดเปลื้องความรับผิดของโจทก์ที่มีต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือปลดเปลื้องจำเลยจากความรับผิดที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาประกันช่วงแต่อย่างใด เพราะเป็นข้ออ้างที่ขัดกับข้อความรับผิดตามหนังสือประกันและสัญญาประกันช่วงนั้นเอง การที่โจทก์ไม่พิจารณาคำทักท้วงดังกล่าวหรือสืบหาข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของจำเลยจึงไม่ใช่การกระทำโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด โจทก์ชำระเงินให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเมื่อถูกเรียกให้ชำระตามเงื่อนไขและภาระผูกพันในหนังสือประกันย่อมเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันช่วง จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
โจทก์ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลยโดยการส่งโทรพิมพ์ (First Written Demand by Tested Telex) ตรงตามเงื่อนไขในสัญญาประกันช่วงแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่ระบุทันที เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัด เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าคู่สัญญาแสดงเจตนากำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยกันไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิกำหนดอัตราดอกเบี้ยฝ่ายเดียว คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลในประเทศอิตาลีทำคำเสนอทางโทรพิมพ์มายังโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย โจทก์ไม่ได้ตกลงรับว่าจะออกหนังสือประกันให้ตามที่จำเลยเสนอมาในทันที แต่กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในคำสนองว่าโจทก์จะออกหนังสือประกันให้ก็ต่อเมื่อจำเลยยอมประกันช่วงแก่โจทก์ว่าจำเลยจะชดใช้เงินตามจำนวนที่โจทก์ชำระให้แก่ผู้รับประโยชน์คืนให้แก่โจทก์ เมื่อคำสนองดังกล่าวมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย จึงถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับ ทั้งมีผลเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 359 วรรคสอง แม้จำเลยได้รับโทรพิมพ์ดังกล่าวแล้ว สัญญาขอให้ออกหนังสือประกันและสัญญาประกันช่วงระหว่างโจทก์จำเลยก็ยังหาได้เกิดขึ้นที่ประเทศอิตาลีดังที่จำเลยอ้างแต่อย่างใดไม่ เมื่อจำเลยมีโทรพิมพ์ ตอบกลับมายังโจทก์ว่าจำเลยให้อำนาจโจทก์ระบุข้อความรับผิดในการประกันช่วงดังกล่าวได้ โดยมิได้มีข้อความเพิ่มเติมหรือเงื่อนไขอย่างใดอีก โทรพิมพ์ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำสนองของจำเลย ดังนี้ สัญญาขอให้ออกหนังสือประกันและสัญญาประกันช่วงระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเกิดขึ้นทันทีที่โจทก์ได้รับโทรพิมพ์ดังกล่าวที่ประเทศไทยตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคแรกจึงต้องใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญาเกิดคือกฎหมายไทยบังคับและต้องฟ้องคดีต่อศาลไทย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 13
โจทก์ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลยโดยการส่งโทรพิมพ์ (First Written Demand by Tested Telex) ตรงตามเงื่อนไขในสัญญาประกันช่วงแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่ระบุทันที เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัด เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าคู่สัญญาแสดงเจตนากำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยกันไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิกำหนดอัตราดอกเบี้ยฝ่ายเดียว คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลในประเทศอิตาลีทำคำเสนอทางโทรพิมพ์มายังโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย โจทก์ไม่ได้ตกลงรับว่าจะออกหนังสือประกันให้ตามที่จำเลยเสนอมาในทันที แต่กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในคำสนองว่าโจทก์จะออกหนังสือประกันให้ก็ต่อเมื่อจำเลยยอมประกันช่วงแก่โจทก์ว่าจำเลยจะชดใช้เงินตามจำนวนที่โจทก์ชำระให้แก่ผู้รับประโยชน์คืนให้แก่โจทก์ เมื่อคำสนองดังกล่าวมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย จึงถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับ ทั้งมีผลเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 359 วรรคสอง แม้จำเลยได้รับโทรพิมพ์ดังกล่าวแล้ว สัญญาขอให้ออกหนังสือประกันและสัญญาประกันช่วงระหว่างโจทก์จำเลยก็ยังหาได้เกิดขึ้นที่ประเทศอิตาลีดังที่จำเลยอ้างแต่อย่างใดไม่ เมื่อจำเลยมีโทรพิมพ์ ตอบกลับมายังโจทก์ว่าจำเลยให้อำนาจโจทก์ระบุข้อความรับผิดในการประกันช่วงดังกล่าวได้ โดยมิได้มีข้อความเพิ่มเติมหรือเงื่อนไขอย่างใดอีก โทรพิมพ์ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำสนองของจำเลย ดังนี้ สัญญาขอให้ออกหนังสือประกันและสัญญาประกันช่วงระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเกิดขึ้นทันทีที่โจทก์ได้รับโทรพิมพ์ดังกล่าวที่ประเทศไทยตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคแรกจึงต้องใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญาเกิดคือกฎหมายไทยบังคับและต้องฟ้องคดีต่อศาลไทย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7393/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย และอายุความฟ้องร้อง
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ และ พ. เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ พ. ย่อมไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลย แม้จำเลยจะรับโอนมาโดยเสียค่าตอบแทนและเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่า พ. ผู้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 96 จำเลยให้การว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก พ. จำเลยครอบครองทำประโยชน์มาตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบันโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน และที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ดังนี้จึงไม่มีปัญหาในเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ ก็แต่เฉพาะในกรณีที่ดินเป็นของบุคคลอื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและจำเลยครอบครองเอง จึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนหรือนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374 วรรคสอง และมาตรา 1375 วรรคสอง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 96 จำเลยให้การว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก พ. จำเลยครอบครองทำประโยชน์มาตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบันโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน และที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ดังนี้จึงไม่มีปัญหาในเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ ก็แต่เฉพาะในกรณีที่ดินเป็นของบุคคลอื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและจำเลยครอบครองเอง จึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนหรือนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374 วรรคสอง และมาตรา 1375 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6620/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ การครอบครองปรปักษ์ และค่าทนายความที่ศาลสั่งให้ชดใช้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการได้สงวนไว้ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) จำเลยจึงไม่อาจอ้างการครอบครองใช้ยันกระทรวงการคลังโจทก์ได้
จำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 และอายุความในคดีแพ่งไม่เป็นกรณีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (2) พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง ในกรณีเช่นนี้พนักงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีในศาลให้แก่ผู้อื่น เมื่อกระทรวงการคลังโจทก์ได้แต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นทนายความจึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งในคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีชดใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161
จำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 และอายุความในคดีแพ่งไม่เป็นกรณีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (2) พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง ในกรณีเช่นนี้พนักงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีในศาลให้แก่ผู้อื่น เมื่อกระทรวงการคลังโจทก์ได้แต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นทนายความจึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งในคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีชดใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในคดีอาญา: ความเสียหายต้องเกิดจากการกระทำความผิดที่ถูกฟ้องเท่านั้น
กรณีที่โจทก์ร่วมจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 นั้น ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่พนักงานอัยการฟ้องร้องเท่านั้น โจทก์ร่วมจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่ไม่ได้ถูกฟ้องไม่ได้ เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ซึ่งเกิดจากการรื้อถอนบ้านหลังเก่าที่ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินพิพาทแล้วปลูกสร้างบ้านหลังใหม่ขึ้นมาแทน ดังนั้น โจทก์ร่วมจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากการรื้อบ้านหลังเก่าและให้รื้อบ้านหลังใหม่เพื่อปรับสภาพพื้นที่ย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7765/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลรับฟังพยานตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ ไม่ถือเป็นการนอกประเด็น
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดว่า จำเลยเข้าไปครอบครองที่ดินบางส่วนของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ( น.ส. 3 ) เลขที่ 313 จำนวน 20 ไร่ ของโจทก์กับพวกโดยไม่มีสิทธิ ต่อมาเมื่อโจทก์ทราบว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองของจำเลย โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ และตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ในข้อ 1 นอกจากจะขอให้จำเลยมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 313 ให้โจทก์แล้วยังขอให้จำเลยส่งคืนทรัพย์สินแก่โจทก์ด้วย การที่จำเลยยกข้อต่อสู้ในเรื่องการได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างใด และศาลชั้นต้นได้สืบพยานโจทก์จำเลยตามประเด็นดังกล่าว จึงเป็นการสืบพยานตามข้อต่อสู้ของรูปคดี หาใช่เป็นการสืบพยานหรือรับฟังพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากการจดทะเบียนกรรมการโดยไม่ชอบ และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
คดีเดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขอจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองพ้นจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมและจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองกลับเข้าไปเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ดังเดิม ครั้นโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ต่อมาโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยินยอมจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองกลับเข้าเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 หากเกิดหรือมีความเสียหายใดๆ ก่อนหรือขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ทั้งสองขอสงวนสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันทำละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งค่าเสียหายยังมิได้วินิจฉัยในคดีเดิม จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวการของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ทำละเมิด จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะนายจ้างและตัวแทนของนายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดกับจำเลยที่ 5 นั้น โจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองว่าไม่ชอบ หรือไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของโจทก์ทั้งสองเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ทั้งสองฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนด 1,000,000 บาท เป็นจำนวนต่ำมากนั้น โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องขาดรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ได้รับจากการบริหารงานในตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ในช่วงที่ไม่ได้เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีก่อนฟ้อง เห็นควรกำหนดให้ 2,000,000 บาท
ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวการของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ทำละเมิด จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะนายจ้างและตัวแทนของนายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดกับจำเลยที่ 5 นั้น โจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองว่าไม่ชอบ หรือไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของโจทก์ทั้งสองเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ทั้งสองฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนด 1,000,000 บาท เป็นจำนวนต่ำมากนั้น โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องขาดรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ได้รับจากการบริหารงานในตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ในช่วงที่ไม่ได้เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีก่อนฟ้อง เห็นควรกำหนดให้ 2,000,000 บาท