พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบการชำระหนี้ดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ โดยการนำสืบการชำระเงินต้นเท่านั้นที่ต้องมีหลักฐาน
การนำสืบการใช้เงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้มาแสดงหรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมหรือแทงเพิกถอนในเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการนำสืบถึงการชำระเงินต้นเท่านั้น ไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้โฉนดที่ดินปลอมหลอกลวงเพื่อกู้ยืมเงิน ถือเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยทั้งสองกับพวกนำโฉนด ที่ดินซึ่งทำปลอมขึ้นไปใช้แสดงหลอกลวงผู้เสียหายจนผู้เสียหายหลงเชื่อยอมให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน300,000 บาท และรับเอาโฉนด ที่ดินปลอมดังกล่าวไว้เป็นประกัน ดังนี้ถือว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมประกอบในการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดิน โดยจำเลยทั้งสองกับพวกมีเจตนาจะให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหาย เมื่อจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกระทำการดังกล่าวในวาระเดียวกัน จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินจำนองประกัน ผู้ให้กู้มีสิทธิฟ้องลูกหนี้ได้เลย ไม่ต้องบังคับจำนองก่อน
การกู้ยืมเงินซึ่งมีจำนำเป็นประกันนั้น ผู้ให้กู้ไม่ถูกผูกมัดให้ต้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำก่อน จึงจะมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ผู้กู้ให้รับผิดตามสัญญากู้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในหนังสือสัญญา กู้ยืมเงิน ชื่อเล่นใช้ได้ หากแสดงเจตนาชัดเจน
จำเลยทั้งสองเขียนจดหมายถึงโจทก์อ่านแล้วได้ความว่า จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินโจทก์เพื่อสร้างบ้านให้เสร็จ การที่จำเลยทั้งสองเขียนชื่อเล่นของจำเลยทั้งสองไว้ในตอนท้าย จดหมายดังกล่าวด้วยตัวอักษรธรรมดา (หวัดแกมบรรจง) นั้น ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2530)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2530)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญา การใช้ชื่อเล่นแทนชื่อจริง และการกู้ยืมเงิน
จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากัน เขียนจดหมายถึงโจทก์ข้อความในจดหมายดังกล่าวฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองเขียนชื่อเล่น ของจำเลยทั้งสองไว้ในตอนท้ายจดหมาย ด้วยตัวอักษรหวัดแกมบรรจงถือว่า เป็นการลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานการกู้ยืมเงินต้องแสดงเจตนาการเป็นหนี้ การสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารทำไม่ได้
เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าเป็นหนี้เงินกู้ แต่ก็ต้องมีข้อความแสดงให้เห็นว่า จำเลยมีหนี้สินอันจะพึงต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงจะนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นเป็นหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์ในเรื่องกู้ยืมเงินได้ เอกสารที่โจทก์อ้างในคดีมีข้อความเพียงว่า จำเลยได้รับเงิน 2 ครั้ง ครั้งแรกรับมา 72,190 บาท ครั้งที่สองรับมาอีก 1,000 บาท และจำเลยได้ลงลายมือชื่อรับเงินทั้งสองจำนวนไว้ด้วยเท่านั้น ไม่ได้ความว่า โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินและจำเลยจะต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่า จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์หรือมีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด การที่โจทก์จะสืบพยานบุคคลประกอบว่า โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินและจำเลยได้รับเงินไปตามเอกสารข้างต้นก็ทำไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าว ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เอกสารนั้นจึงไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืมเงินที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินต้องแสดงเจตนาให้เห็นว่ามีหนี้สินเกิดขึ้น การอธิบายเพิ่มเติมโดยพยานบุคคลขัดต่อกฎหมาย
เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าเป็นหนี้เงินกู้ แต่ก็ต้องมีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินอันจะพึงต้องชำระให้แก่โจทก์จึงจะนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นเป็นหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์ในเรื่อง กู้ยืมเงินได้ เอกสารที่โจทก์อ้างมีข้อความว่า จำเลยได้รับเงิน2 ครั้ง ครั้งแรกรับมา 72,190 บาท ครั้งที่สอง รับมาอีก 1,000 บาท และจำเลยได้ลงลายมือชื่อ รับเงินทั้งสองจำนวนไว้ด้วย ไม่ได้ความว่าโจทก์ เป็นผู้จ่ายเงินและจำเลยจะต้องคืนเงินจำนวน ดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันมีลักษณะที่แสดงให้ เห็นว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์หรือมีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์แต่อย่างใดการที่โจทก์จะสืบพยานบุคคลประกอบว่าโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินและจำเลยได้รับเงินไปตามเอกสารดังกล่าว ก็ทำไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ ในเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94เอกสารนั้นจึงไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืมเงินที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากบังหน้าการกู้ยืมเงิน
แม้การขายฝากจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาจะผูกพันกันในเรื่องกู้ยืมเงินสัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118วรรคสองและจะต้องถือว่าสัญญาขายฝากเป็นหลักฐานที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเท่านั้น.(ที่มา-เนติฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากบังหน้าการกู้ยืมเงิน ศาลพิจารณาจากเจตนาคู่สัญญาและพฤติการณ์
แม้การขายฝากจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาจะผูกพันกันในเรื่องกู้ยืมเงินสัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118วรรคสองและจะต้องถือว่าสัญญาขายฝากเป็นหลักฐานที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเท่านั้น.(ที่มา-เนติฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นอำนาจศาลแรงงานในคดีกู้ยืมเงิน เพราะโจทก์ไม่โต้แย้งตั้งแต่แรก
แม้หนี้ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยในคดีแรงงานจะเป็นเรื่องกู้ยืมเงินอันไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งในปัญหาข้อนี้ไว้ทั้งยอมรับว่าเป็นหนี้จำเลยตามฟ้องแย้งจริงเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำฟ้องแย้งแก่จำเลยศาลฎีกาเห็นไม่สมควรยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)