พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุด: การพิสูจน์ความผิดสัญญาและการริบเงินมัดจำ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุด เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2525 ระบุว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2526 และโจทก์ผู้จะซื้อตกลงชำระเงินมัดจำให้ในวันทำสัญญาเป็นเงิน 210,000 บาท และจะชำระในช่วงระยะเวลาก่อสร้างอีก 2,160,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็นงวดจำนวน 24 งวด ภายในวันที่ 28 ของทุกเดือน จนกระทั่งถึงวันที่28 พฤษภาคม 2527 โจทก์ชำระเงินมัดจำแล้วแต่ไม่ได้ชำระเงินค่างวดเช่นนี้ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยต้องดำเนินการก่อสร้างตามงวดการชำระเงินจึงเป็นเพียงการกะประมาณเอา หน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาโดยแท้จริง คือสร้างอาคารชุดให้เสร็จภายในเดือนธันวาคม 2526ทั้งจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างบริษัท ผ. ตอกเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2525 และก่อนหน้านั้นต้องเจาะสำรวจดินเพื่อหาข้อมูลในการปักเสาเข็มก่อน ผู้รับจ้างเจาะสำรวจดินทำงานล่าช้าไปประมาณเดือนครึ่งซึ่งเป็นปกติวิสัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อคำนวณดูแล้วอย่างน้อยจำเลยก็ได้ดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2525 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญา, การลดเบี้ยปรับ, ค่าเสียหายจากผิดสัญญา, หนังสือค้ำประกัน, การก่อสร้างล่าช้า
แม้ตาม สัญญาโจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยที่ ๑ เป็นรายวันจนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จโดย การกระทำของผู้รับจ้างคนใหม่แต่ ค่าปรับที่ระบุไว้ในสัญญาถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า ทั้งการที่งานก่อสร้างเสร็จล่าช้าเป็นเพราะการดำเนินการของโจทก์ด้วย ส่วนหนึ่ง ประกอบกับโจทก์จ้าง ผู้รับจ้างคนใหม่ทำงานงวดที่เหลือต่อ ในวงเงินเท่ากับที่จะต้อง ชำระให้จำเลยที่ ๑ หากจำเลยก่อสร้างเสร็จตาม สัญญา เบี้ยปรับที่จะพึงริบตามสัญญาจึงสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๓
ตาม สัญญาจ้างไม่มีการวางเงินมัดจำ แต่ มีการทำหนังสือค้ำประกันความรับผิดของธนาคารภายในวงเงินร้อยละ ๕ ของค่าจ้าง ซึ่ง ตาม สัญญาผู้ว่าจ้างจะคืนเงินประกันหรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่ผู้รับจ้าง เงินที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาไม่ใช่เงินมัดจำ แต่ ถือ เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐาน ผิดสัญญา.
ตาม สัญญาจ้างไม่มีการวางเงินมัดจำ แต่ มีการทำหนังสือค้ำประกันความรับผิดของธนาคารภายในวงเงินร้อยละ ๕ ของค่าจ้าง ซึ่ง ตาม สัญญาผู้ว่าจ้างจะคืนเงินประกันหรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่ผู้รับจ้าง เงินที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาไม่ใช่เงินมัดจำ แต่ ถือ เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐาน ผิดสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาก่อสร้างสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้, ความล่าช้าจากทั้งสองฝ่าย, ค่าเสียหายจากหนังสือค้ำประกัน
โจทก์มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันจนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จโดยการกระทำของผู้รับจ้างคนใหม่ ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า การที่งานก่อสร้างล่าช้าเป็นเพราะการดำเนินการของโจทก์ด้วย โจทก์จ้างผู้รับจ้างคนใหม่ทำงานงวดที่เหลือในวงเงินเท่ากับที่จะต้องชำระให้จำเลยที่ 1 ดังนี้ เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับเหตุแห่งความล่าช้าค่าจ้างก่อสร้างและระยะเวลาที่ผู้รับจ้างคนใหม่ใช้ในการก่อสร้างแล้ว เบี้ยปรับดังกล่าวสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ตามสัญญาจ้างไม่มีการวางเงินมัดจำมีแต่หนังสือค้ำประกันความรับผิดของธนาคาร ดังนี้ เงินที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา.(ที่มา-ส่งเสริม)
ตามสัญญาจ้างไม่มีการวางเงินมัดจำมีแต่หนังสือค้ำประกันความรับผิดของธนาคาร ดังนี้ เงินที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3928/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากการก่อสร้างถนน: เริ่มนับจากความเสียหายเพิ่มเติมต่อเนื่อง
วันที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์เริ่มตั้งแต่วันใดไม่ปรากฏแต่บันทึกความเสียหายที่จำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไว้ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2522 และหลังจากนั้นปรากฏว่าบ้านของโจทก์ยังเสียหายเพิ่มเติมขึ้นอีกเรื่อย ๆ แม้จำเลยจะมีหลักฐานการรับมอบงานช่วงหน้าบ้านโจทก์แสดงว่าจำเลยที่ 1 ก่อสร้างถนนในส่วนวางท่อระบายน้ำ ถมทรายบนท่อ พร้อมทั้งบดอัดแน่น และทำผิวจราจรถมทรายและบดอัดแน่นเสร็จตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2522 แล้วก็ตามแต่หลังจากวันที่ 8 ธันวาคม 2522 ยังมีการทำถนนบริเวณหน้าบ้านโจทก์ต่อไป การที่บ้านโจทก์ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นหลังจากวันที่ 8 ธันวาคม 2522 จึงสืบเนื่องมาจากการทำถนนของจำเลยที่ 1 นั่นเองโจทก์ให้ช่างซ่อมตัวบ้านไม่ให้ทรุด ลงอีกในปลายปี 2523 และฟ้องคดีนี้วันที่ 23 เมษายน 2524 ยังไม่พ้นเวลา 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3928/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการก่อสร้างถนน - อายุความ - ความเสียหายต่อเนื่อง - หลักฐานพยาน
วันที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์เริ่มตั้งแต่วันใดไม่ปรากฏแต่บันทึกความเสียหายที่จำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไว้ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2522 และหลังจากนั้นปรากฏว่าบ้านของโจทก์ยังเสียหายเพิ่มเติมขึ้นอีกเรื่อย ๆ แม้จำเลยจะมีหลักฐานการรับมอบงานช่วงหน้าบ้านโจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ก่อสร้างถนนในส่วนวางท่อระบายน้ำ ถมทรายบนท่อ พร้อมทั้งบดอัดแน่น และทำผิวจราจร ถมทรายและบดอัดแน่นเสร็จตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2522แล้วก็ตาม แต่หลังจากวันที่ 8 ธันวาคม 2522 ยังมีการทำถนนบริเวณหน้าบ้านโจทก์ต่อไป การที่บ้านโจทก์ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นหลังจากวันที่ 8 ธันวาคม 2522 จึงสืบเนื่องมาจากการทำถนนของจำเลยที่ 1 นั่นเอง โจทก์ให้ช่างซ่อมตัวบ้านไม่ให้ทรุดลงอีกในปลายปี 2523 และฟ้องคดีนี้วันที่ 23 เมษายน 2524ยังไม่พ้นเวลา 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3928/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากการก่อสร้างถนน: การพิจารณาจุดเริ่มต้นความเสียหายต่อเนื่อง
วันที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์เริ่มตั้งแต่วันใดไม่ปรากฏแต่บันทึกความเสียหายที่จำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไว้ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2522 และหลังจากนั้นปรากฏว่าบ้านของโจทก์ยังเสียหายเพิ่มเติมขึ้นอีกเรื่อย ๆ แม้จำเลยจะมีหลักฐานการรับมอบงานช่วงหน้าบ้านโจทก์แสดงว่าจำเลยที่ 1 ก่อสร้างถนนในส่วนวางท่อระบายน้ำ ถมทรายบนท่อ พร้อมทั้งบดอัดแน่น และทำผิวจราจรถมทรายและบดอัดแน่นเสร็จตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2522 แล้วก็ตามแต่หลังจากวันที่ 8 ธันวาคม 2522 ยังมีการทำถนนบริเวณหน้าบ้านโจทก์ต่อไป การที่บ้านโจทก์ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นหลังจากวันที่8 ธันวาคม 2522 จึงสืบเนื่องมาจากการทำถนนของจำเลยที่ 1 นั่นเองโจทก์ให้ช่างซ่อมตัวบ้านไม่ให้ทรุด ลงอีกในปลายปี 2523 และฟ้องคดีนี้วันที่ 23 เมษายน 2524 ยังไม่พ้นเวลา 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า กรณีการก่อสร้างและขายอสังหาริมทรัพย์ การหักค่าใช้จ่าย และการตรวจสอบไต่สวนเกินกำหนด
ในการก่อสร้างตึกแถวโจทก์เป็นผู้จัดหาและซื้อวัสดุก่อสร้างเองส่วนแรงงานเหมาจ่ายให้ผู้รับเหมาจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่คนงานเอง หากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้เงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเหมาจึงมิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1)แห่งประมวลรัษฎากร หากแต่เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ตามมาตรา 40(8) โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 50,52 แห่งประมวลรัษฎากร การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในกรณีนี้จึงไม่ชอบ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 เรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามมาตรา 19 แล้ว แม้ตามหมายเรียกเพื่อการตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วัน และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพัง โดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การคิดค่าจ้างตามงานที่ทำจริงเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญา
จำเลยจ้าง โจทก์ก่อสร้างตึกแถว 2 ชั้น จำนวน 4 คูหา โดยโจทก์จำเลยตกลงกันให้ชั้นลอยมีความยาวห้องละ 8 เมตร กำหนดค่าจ้างงานงวดที่ 2 คือหล่อเสาและเทพื้นชั้นลอยเป็นเงิน 120,000บาท แต่โจทก์เขียน แบบแปลน และก่อสร้างเทพื้นชั้นลอยมีความยาวเพียงห้องละ 5 เมตร ผิดไปจากข้อตกลง โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อได้เลิกสัญญากัน ส่วนการงานอันโจทก์ได้กระทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้คืน แต่งานงวดที่ 2 ดังกล่าว โจทก์จำเลยมีหลักการคิดค่าจ้างแตกต่างกัน คือ โจทก์คิดค่าจ้างหล่อเสาและเทพื้นชั้นลอยมีความยาวเพียงห้องละ 5 เมตร แต่จำเลยคิดค่าจ้างหล่อเสาและเทพื้นชั้นลอยมีความยาวห้องละ 8 เมตร ดังนั้นการคิดราคาชั้นลอยที่โจทก์ได้กระทำไปจึงไม่อาจกระทำได้ ต้องคิดค่าชั้นลอยที่โจทก์ก่อสร้างขาดไปนั้นเป็นเงินเท่าใดแล้วนำไปหักออกจากเงินค่าจ้างงานงวดที่ 2 จำนวน 120,000 บาท เหลือเท่าใดจึงจะเป็นค่าจ้างสำหรับงานที่ได้กระทำไปแล้วในงวดนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การคิดค่าจ้างงานที่ทำเสร็จแล้วเมื่อสัญญาไม่สมบูรณ์
จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างตึกแถว 2 ชั้น จำนวน 4 คูหา โดยโจทก์จำเลยตกลงกันให้ชั้นลอยมีความยาวห้องละ 8 เมตรกำหนดค่าจ้างงานงวดที่ 2 คือหล่อเสาและเทพื้นชั้นลอยเป็นเงิน120,000 บาท เมื่อได้เลิกสัญญากัน เพราะโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาส่วนการงานอันโจทก์ได้กระทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้คืนแต่งานงวดที่ 2 ดังกล่าวโจทก์จำเลยมีหลักการคิดค่าจ้างแตกต่างกันคือ โจทก์คิดค่าจ้างหล่อเสาและเทพื้นชั้นลอยมีความยาวเพียงห้องละ 5 เมตร แต่จำเลยคิดค่าจ้างหล่อเสาและเทพื้นชั้นลอยมีความยาวห้องละ 8 เมตร ดังนั้นการคิดราคาชั้นลอยที่โจทก์ได้กระทำไปจึงไม่อาจกระทำได้ ต้องคิดค่าชั้นลอยที่โจทก์ก่อสร้างขาดไปนั้นเป็นเงินเท่าใดแล้วนำไปหักออกจากเงินค่าจ้างงานงวดที่ 2 จำนวน 120,000 บาทเหลือเท่าใดจึงจะเป็นค่าจ้างสำหรับงานที่ได้กระทำไปแล้วในงวดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างก่อสร้าง: การคิดค่าจ้างงานที่ไม่ได้ทำตามแบบ
จำเลยจ้าง โจทก์ก่อสร้างตึกแถว 2 ชั้น จำนวน 4 คูหา โดยโจทก์จำเลยตกลงกันให้ชั้นลอยมีความยาวห้องละ 8 เมตร กำหนดค่าจ้างงานงวดที่ 2 คือหล่อเสาและเทพื้นชั้นลอยเป็นเงิน 120,000บาท แต่โจทก์เขียน แบบแปลน และก่อสร้างเทพื้นชั้นลอยมีความยาวเพียงห้องละ 5 เมตร ผิดไปจากข้อตกลง โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อได้เลิกสัญญากัน ส่วนการงานอันโจทก์ได้กระทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้คืน แต่งานงวดที่ 2 ดังกล่าว โจทก์จำเลยมีหลักการคิดค่าจ้างแตกต่างกัน คือ โจทก์คิดค่าจ้างหล่อเสาและเทพื้นชั้นลอยมีความยาวเพียงห้องละ 5 เมตร แต่จำเลยคิดค่าจ้างหล่อเสาและเทพื้นชั้นลอยมีความยาวห้องละ 8 เมตร ดังนั้นการคิดราคาชั้นลอยที่โจทก์ได้กระทำไปจึงไม่อาจกระทำได้ ต้องคิดค่าชั้นลอยที่โจทก์ก่อสร้างขาดไปนั้นเป็นเงินเท่าใดแล้วนำไปหักออกจากเงินค่าจ้างงานงวดที่ 2 จำนวน 120,000 บาท เหลือเท่าใดจึงจะเป็นค่าจ้างสำหรับงานที่ได้กระทำไปแล้วในงวดนั้น.