พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลของการส่งมอบเอกสารไม่ครบถ้วน
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองคดีนี้มีใจความเพียงว่าจำเลยทั้งสองยอมโอนใบอนุญาตโรงเรียนและเอกสารเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนให้แก่โจทก์กับยอมออกจากทรัพย์มรดกภายใน15วันหากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามยอมให้บังคับคดีได้ทันทีและหายไม่ยอมโอนใบอนุญาตและเอกสารต่างๆเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองหรือให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงหาได้มีข้อความว่าถ้าจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไม่ครบถ้วนจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินจำนวน3,000,000บาทแก่โจทก์เป็นการชดใช้ค่าเสียหายด้วยเลยเช่นนี้หากโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วนอันเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองเพื่อให้จำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้นหามีสิทธิขอให้บังคับจำเลยทั้งสองนำเงินจำนวน3,000,000บาทมาวางศาลเพื่อชดใช้เงินค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยไม่เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้บังคับคดีนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำพิพากษาหรือคำสั่งหาได้ไม่ เอกสารเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนที่จำเลยทั้งสองจะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความสูญหายไปการส่งมอบเอกสารพิพาทจึงกลายเป็นพ้นวิสัยศาลย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ส่งเอกสารพิพาทนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้เท่านั้น
ประมวลรัษฎากรได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้ต่างหากจากกัน โดยเริ่มแรกหากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ก็มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แล้วมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏและแจ้งจำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรดังกล่าวตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์ จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้หาได้ไม่ เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมิน อีกทั้งยังเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 19, 20
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2526ทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ จึงเป็นการพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฏากร ส่วนประมวลรัษฎากร มาตรา 31วรรคสอง นั้น มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2526ทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ จึงเป็นการพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฏากร ส่วนประมวลรัษฎากร มาตรา 31วรรคสอง นั้น มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการเรียกเก็บอากรเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: เงื่อนไขและข้อแตกต่างของมาตรา
การเรียกอากรขาเข้าเพิ่มเอีกร้อยละยี่สิบตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะสองกรณีคือ กรณีมิได้ชำระอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ ประการหนึ่ง กับกรณีมิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40 อีกประการหนึ่ง มิได้มีกรณีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา19 ตรีแต่อย่างใด และสาระสำคัญของมาตรา 40 กับมาตรา 19 ตรี ก็แตกต่างกันกล่าวคือ มาตรา 40 เป็นเรื่องกำหนดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรทั่ว ๆ ไป แต่มาตรา 19 ตรีเป็นเรื่องค้ำประกันการนำเข้าที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 19 ทวิ ที่เกี่ยวกับสิทธิในการจะขอคืนอากรขาเข้าและเป็นกรณีสำหรับเฉพาะสินค้าหรือสิ่งของบางประเภทหรือบางกรณีเท่านั้น บทบัญญัติมาตรา40 จึงมิได้ใช้บังคับกับกรณีมาตรา 19 ทวิ และ 19 ตรี และเป็นคนละเรื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนและผลกระทบต่อการยกเว้นภาษีอากร
ตามคำสั่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อาศัยอำนาจตามมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 สั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้ให้แก่จำเลยเท่าที่เหลืออยู่ตามบัตรส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน2532 ซึ่งเป็นการเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรที่ได้ให้แก่จำเลยบางส่วน ดังนั้นแม่พิมพ์และวัตถุดิบที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ครั้งแรกถึงครั้งที่ 12 ซึ่งอยู่ในช่วงก่อนวันที่ 28 พฤศจิกายน 2532 ย่อมได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 55 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญา กรณีขยายเวลาการศึกษาเพิ่มเติมเกินกำหนดสัญญาเดิม
โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อต่างประเทศมีกำหนด2 ปี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปีตามสัญญาด้วย การที่โจทก์อนุมัติขยายเวลาให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อเพิ่มเติมภายหลังอีก8 เดือน เป็นการอนุมัตินอกเหนือระยะเวลาตามสัญญาที่จำเลยที่ 2ได้ค้ำประกันความรับผิดไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รับรู้เงื่อนไขในข้อนี้ จึงไม่อาจให้มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ได้ ทั้งข้อความในสัญญาที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์ก็ไม่มีข้อความตอนใดให้เห็นว่า หากโจทก์อนุมัติขยายเวลาให้จำเลยที่ 1ศึกษาต่อเพิ่มเติมภายหลัง จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดโดยไม่ต้องทำสัญญาใหม่ ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากครบกำหนด 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7214/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการรอการลงโทษ – ศาลอุทธรณ์มีอำนาจขยายผลถึงจำเลยที่ไม่เคยอุทธรณ์
การรอการลงโทษเป็นการใช้ดุลพินิจของศาลซึ่งเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 มีผลถึงจำเลยอื่นซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการนำสืบพยานนอกคำฟ้องและคำให้การ คดีหนี้ค่าแชร์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นนายวงแชร์แล้วผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ค่าแชร์ ขอให้จำเลยชำระหนี้ค่าแชร์ จำเลยให้การว่าไม่เคยเป็นนายวงแชร์และไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การจึงมีเพียงว่า จำเลยเป็นนายวงแชร์และเป็นหนี้ค่าแชร์โจทก์หรือไม่ แม้โจทก์จำเลยจะนำสืบว่า เกี่ยวกับหนี้ค่าแชร์นี้จำเลยได้นำ พ. มาทำสัญญากู้เงินให้ไว้แก่โจทก์ก็ตามก็เป็นการนำสืบนอกคำฟ้องและคำให้การ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าหนี้ค่าแชร์ระหว่างโจทก์จำเลยระงับไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่แล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6420/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของจำเลยร่วมและการบังคับคดีชดใช้เงินเฉพาะจำเลยที่ถูกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยกับพวกร่วมกันคืนหรือชดใช้เงินจำนวน 104,390 บาท แก่ผู้เสียหายซึ่งได้จ่ายเงินไป โดยไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย จึงไม่อาจบังคับให้พวกของจำเลยคืนหรือชดใช้เงินตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อาจรับฟังได้เนื่องจากเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเกินขอบเขตที่กฎหมายอนุญาต และเป็นการฎีกาในประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า แม้จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์ก็ต้องนำพยานซึ่งเป็นผู้นำเงินไปชำระค่าธรรมเนียมและเป็นประจักษ์พยานเข้าสืบทั้งหมด เมื่อโจทก์นำพยานเข้าสืบตามฟ้องเพียง 6 ข้อ จึงฟังลงโทษจำเลยได้เพียง 6 ข้อนั้น เมื่อโจทก์ได้นำพยานบุคคลและพยานเอกสารเข้าสืบ ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งจนเป็นที่พอใจแก่ศาลชั้นต้นแล้วว่าจำเลยได้กระทำผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ฐานเจ้าพนักงานเบียดบัง ยักยอก ซึ่งเป็นบทเฉพาะ ให้ลงโทษจำเลยเป็นความผิดต่างกระทง ในรายที่ได้กระทำ อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 15 กระทง ฎีกาจำเลยในข้อนี้จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟัง พยานหลักฐานของศาล เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลย ฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบาก็เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เช่นกัน ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีหน้าที่ในการซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาตัวทรัพย์ก็ดี เงินค่าธรรมเนียมที่จำเลย ยักยอกไม่ใช่ทรัพย์วัตถุมีรูปร่างที่จำเลยมีหน้าที่ซื้อทำ จัดการรักษาก็ดี เจ้าพนักงานจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ต้องเบียดบังทรัพย์ ซึ่งเป็นวัตถุมีรูปร่างก็ดี จำเลยกรอกข้อความกำลังแรงม้าและจำนวนเงินเปลี่ยนแปลงในต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน และในสมุดเงินสด โดยจำเลยแก้ไขเพียงครั้งเดียวในวันเวลา เดียวกัน ในตอนเย็นก่อนเลิกงานราชการ และก่อนที่จะส่งเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้แก่เจ้าหน้าที่เก็บรักษาเงินเข้าเป็นประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นการเบียดบังยักยอกเงินค่าธรรมเนียมอันเป็นความผิดกรรมเดียวต่อเนื่องกันในแต่ละวันที่จำเลยยักยอกเงินค่าธรรมเนียมไปเป็นความผิดเพียง 8 กรรมตามวันที่ที่จำเลยยักยอกนั้นก็ดี เป็นฎีกาที่โต้เถียงข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้มีเจตนากระทำความผิดฐานเจ้าพนักงานเบียดบังยักยอกและมิได้มีเจตนากระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน และเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำ ของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกต่างกรรม ต่างวาระกันดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา แต่การกระทำ ของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เพียงบทเดียว และเพียง 3 กรรม นั้น ล้วนเป็นฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ความรุนแรงเพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่น: ขอบเขตการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและการกระทำโดยบันดาลโทสะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 2 ได้วิวาทชกต่อยกับผู้เสียหายจำเลยที่ 2 เข้าห้ามปรามมิให้ผู้เสียหายทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 ผู้เสียหายกลับชกต่อยและเตะจำเลยที่ 2 จนเซไป แล้วหวนกลับไปทำร้ายจำเลยที่ 1 อีก จำเลยที่ 2 จึงใช้เก้าอี้ตีผู้เสียหายถูกที่บริเวณศีรษะ และหน้าผากเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 วิวาทชกต่อยกับผู้เสียหาย จึงเป็นการสมัครใจวิวาท มิใช่ผู้เสียหายประทุษร้ายจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว แม้ผู้เสียหายจะหวนกลับไปทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 อีก ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในขณะที่วิวาทกัน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะป้องกันจำเลยที่ 1 ได้ ส่วนที่จำเลยที่ 2 ใช้เก้าอี้ตีผู้เสียหายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ 2 เข้าไปห้ามปรามมิให้ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยที่ 1 จึงถูกผู้เสียหายชกต่อยและเตะจำเลยที่ 2 จนเซไป แล้วผู้เสียหายได้หวนกลับมาจะทำร้ายจำเลยที่ 1 ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่เกิดแก่จำเลยที่ 2 เองคือการถูกผู้เสียหายชกต่อยและเตะจนเซไปได้ผ่านพ้นไปแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ใช้เก้าอี้ตีผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายกลับทำร้ายจำเลยที่ 1 อีกเช่นนี้ ไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 ตามพฤติการณ์แห่งคดี ผู้เสียหายมีส่วนก่อเหตุอยู่ด้วย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโทษจำคุกมาก่อนและโทษจำคุกก็เพียงเล็กน้อย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะรอลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56