คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขับไล่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองปรปักษ์ของผู้ร้องสอดในคดีขับไล่: การคุ้มครองสิทธิที่ดินและบ้าน
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาทที่โจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์นั้น ผู้ร้องสอดย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องอ้างว่าผู้ร้องได้เข้าครอบครองทำประโยชน์และอยู่อาศัยโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อมาเป็นเวลากว่า 10 ปีผู้ร้องสอดจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ และขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดห้ามโจทก์เกี่ยวข้องได้ เพราะเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่เกี่ยวกับที่ดินและบ้านพิพาทนั้น ผู้ร้องสอดจึงย่อมยื่นคำร้องเข้ามาต่อสู้คดีกับโจทก์เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน, การเช่าช่วง, ล้มละลาย, สิทธิการเช่า, การขับไล่
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นมจำกัด ลูกหนี้แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ รวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 ดังนั้น เมื่อมีกรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของบริษัทลูกหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้ เดิมจำเลยที่ 1 ออกทุนช่วยการก่อสร้างเป็นเงินประมาณ 3 ล้านบาท แล้วบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ ตกลงให้จำเลยที่ 1เช่าตึกอาคารและโรงงานพิพาทมีกำหนด 20 ปี ซึ่งต่อมาได้มีการจดทะเบียนการเช่าไว้ตามหนังสือสัญญาเช่าลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2513ข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 เช่ามีกำหนด 20 ปีดังกล่าว มีลักษณะเป็นการต่างตอบแทนนอกเหนือจากสัญญาเช่าที่ได้จดทะเบียนไว้ ความผูกพันระหว่างคู่กรณีจึงมิใช่เฉพาะที่ปรากฏในสัญญาเช่าเท่านั้น แต่ต้องผูกพันต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาดังนั้น ถึงแม้ต่อมาการจดทะเบียนการเช่าระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ กับจำเลยที่ 1 จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลบทะเบียนการเช่าในคดีที่ธนาคารกรุงไทย จำกัดฟ้องบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้และจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยก็เป็นกรณีที่การเช่าที่จดทะเบียนไว้นั้นถูกลบไปเพื่อประโยชน์ของธนาคารกรุงไทย จำกัด เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง ในการที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนอง ในทางที่มิให้มูลค่าของทรัพย์จำนองต้องลดลงเพราะมีภาระติดพันในเรื่องการเช่าที่จดทะเบียนไว้เท่านั้นไม่มีผลที่จะเป็นการยกเลิกหรือเพิกถอนข้อตกลงอันเป็นการต่างตอบแทนระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ กับจำเลยที่ 1การที่สัญญาต่างตอบแทนระหว่างคู่กรณียังมีอยู่ แม้ต่อมาบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้เข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนของลูกหนี้ผู้ล้มละลายที่มีอยู่เดิม และแม้ว่าพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาก็ตามแต่กรณีการฟ้องคดีนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ใช้อำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าว คงอ้างสิทธิในการขับไล่จำเลยที่ 1โดยอาศัยผลของคำพิพากษาที่ถึงที่สุดให้ลบสิทธิการเช่าจากทะเบียนเท่านั้นซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจนำมาอ้างเพื่อลบล้างหรือยกเลิกข้อตกลงอันเป็นการต่างตอบแทนระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ผู้ล้มละลายกับจำเลยที่ 1 ได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังไม่มีอำนาจที่จะฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1เพราะสิทธิที่จะอยู่ในที่พิพาทตามสัญญาต่างตอบแทนของจำเลยที่ 1นั้นยังมีผลบังคับอยู่ กรณีนี้ สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์จะขอให้ขับไล่ได้หรือไม่ก็อยู่ที่ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิให้เช่าช่วงทรัพย์ที่ตนมีข้อตกลงเป็นการต่างตอบแทนกับบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้หรือไม่ซึ่งตามสัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าที่จดทะเบียนไว้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า"ผู้เช่ารับว่าจะไม่เอาสถานที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนต่อไปอีกทอดหนึ่งเป็นอันขาด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้เช่าก่อน" อันเป็นการแสดงว่าข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนกันระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้กับจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 จะนำทรัพย์ที่เช่าไปให้เช่าช่วงไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ยินยอมให้เช่าช่วงตามสัญญาแล้วจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะเข้ามาอยู่ในทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะอยู่โดยอาศัยสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ออกไปได้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้ว่า"ค่าเสียหายของโจทก์มีหรือไม่เพียงใด" ประเด็นที่กำหนดไว้ดังกล่าวจึงไม่มีข้อที่จะต้องวินิจฉัยว่ามีการปลดหนี้ค่าเช่าตามที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นมาในฎีกา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้นไว้ถือว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ให้ สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเช่าช่วงตึกอาคารและโรงงานพิพาทจากจำเลยที่ 2 อีกต่อหนึ่งนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะนำทรัพย์ของบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ไปให้เช่าช่วง เมื่อมีการนำไปให้เช่าช่วงจึงเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ การที่จำเลยที่ 3เข้าไปอยู่ในอาคารอันเป็นทรัพย์ของบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัดลูกหนี้ จึงเป็นการเข้าไปอยู่โดยละเมิดตั้งแต่ต้น มิใช่จะเป็นละเมิดเมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 3 ออกจากอาคาร จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในการที่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์ในอาคารที่พิพาทด้วยส่วนเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดเป็นหนี้รายเดียวกันกับที่จำเลยที่ 3 พิพาทกับโจทก์ในอีกคดีหนึ่งนั้น มิใช่ประเด็นที่ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่เห็นสมควรที่จะรับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบริวารในคดีขับไล่: แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเปลี่ยนแปลง แต่ฐานะบริวารยังคงมีผลผูกพัน
ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยขายฝากกับโจทก์ และศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีนี้มาแล้วว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย แม้ผู้ร้องจะเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องสอดซึ่งมรณะในคดีที่ผู้ร้องสอดฟ้องจำเลย และต่อมาศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีดังกล่าวให้ลงชื่อผู้ร้องสอดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินที่พิพาทกันในคดีนี้ภายหลังศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีนี้แล้วก็ตาม ก็หามีผลเปลี่ยนแปลงฐานะในคดีของผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงผู้รับมรดกความและผู้จัดการมรดกของผู้ร้องสอดผู้มรณะในคดีนั้นให้พ้นจากฐานะบริวารจำเลยในคดีนี้ไม่ เพราะผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความโดยตรงและประเด็นข้อพิพาทก็ต่างกันกับคดีนี้ จึงยังต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยที่ไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้ดังที่ศาลฎีกาวินิจฉัยมาแล้ว คำพิพากษาคดีนี้จึงบังคับถึงผู้ร้องด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะบริวารในคดีขับไล่ แม้มีคำพิพากษาเรื่องกรรมสิทธิ์ร่วม ก็ไม่เปลี่ยนแปลงฐานะเดิม
ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยขายฝากกับโจทก์ และศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีนี้มาแล้วว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยแม้ผู้ร้องจะเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องสอดซึ่งมรณะในคดีที่ผู้ร้องสอดฟ้องจำเลย และต่อมาศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีดังกล่าวให้ลงชื่อผู้ร้องสอดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินที่พิพาทกันในคดีนี้ภายหลังศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีนี้แล้วก็ตาม ก็หามีผลเปลี่ยนแปลงฐานะในคดีของผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงผู้รับมรดกความและผู้จัดการมรดกของผู้ร้องสอดผู้มรณะในคดีนั้นให้พ้นจากฐานะบริวารจำเลยในคดีนี้ไม่ เพราะผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความโดยตรงและประเด็นข้อพิพาทก็ต่างกันกับคดีนี้ จึงยังต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยที่ไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้ดังที่ศาลฎีกาวินิจฉัยมาแล้ว คำพิพากษาคดีนี้จึงบังคับถึงผู้ร้องด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่กรณีเช่าที่ดิน: โจทก์ต้องเข้าครอบครองก่อน จึงจะฟ้องจำเลยได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าที่ดินและอาคารพิพาทจากผู้ให้เช่าเพื่อประกอบการค้าและอยู่อาศัย จำเลยและบริวารได้เข้าไปใช้ประโยชน์และอยู่อาศัยในที่ดินและอาคารพิพาท โจทก์แจ้งให้ออกไปแล้วจำเลยไม่ยอมออก ซึ่งแปลความได้ว่าจำเลยได้เข้ามาอยู่อาศัยในที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากโจทก์ทำสัญญาเช่าและผู้ให้เช่าส่งมอบที่ดินและอาคารพิพาทให้โจทก์แล้ว ซึ่งเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยลำพัง แต่ข้อเท็จจริงที่นำสืบมาฟังได้ว่าโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองและใช้สอยที่ดินและอาคารพิพาทก่อนฟ้องคดี ฝ่ายจำเลยได้เข้าไปอยู่ในที่ดินและอาคารพิพาทตลอดมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่า การที่จำเลยอยู่ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ รูปคดีเป็นเรื่องความรับผิดของผู้ให้เช่าในกรณีรอนสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 549 ประกอบมาตรา 477 โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยเองโดยลำพังไม่ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแต่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ โจทก์มิได้คัดค้านและมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งดังกล่าวเป็นอันยุติแล้ว ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกให้ผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้เช่า: ต้องเข้าครอบครองก่อนหรือไม่ และผลของการที่ผู้เช่าไม่เข้าครอบครอง
จำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินกับอาคารพิพาทมาก่อนที่โจทก์ทำสัญญาเช่าและเมื่อทำสัญญาเช่าแล้วโจทก์ก็ยังมิได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ทรัพย์ที่เช่าเช่นนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทั้งโจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยแต่ลำพังโดยไม่เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ขึ้นอยู่กับการเข้าครอบครองก่อนฟ้อง หากไม่ได้เข้าครอบครองก่อน และจำเลยครอบครองอยู่แล้ว ถือเป็นความรับผิดของผู้ให้เช่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าที่ดินและอาคารพิพาทจากผู้ให้เช่า เพื่อประกอบการค้าและอยู่อาศัย จำเลยและบริวารได้เข้าไปใช้ประโยชน์และอยู่อาศัยในที่ดินและอาคารพิพาท โจทก์แจ้งให้ออกไปแล้วจำเลยไม่ยอมออก ซึ่งแปลความได้ว่าจำเลยได้เข้ามาอยู่อาศัยในที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากโจทก์ทำสัญญาเช่าและผู้ให้เช่าส่งมอบที่ดินและอาคารพิพาทให้โจทก์แล้ว ซึ่งเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยลำพัง แต่ข้อเท็จจริงทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองและใช้สอยที่ดินและอาคารพิพาทก่อนฟ้องคดี ฝ่ายจำเลยได้เข้าไปอยู่ในที่ดินและอาคารพิพาทตลอดมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่า การที่จำเลยอยู่ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์รูปคดีเป็นเรื่องความรับผิดของผู้ให้เช่าในกรณีรอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549 ประกอบมาตรา 477 โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยเองโดยลำพังไม่ได้ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแต่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ โจทก์มิได้คัดค้านและมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งดังกล่าวเป็นอันยุติแล้ว ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกให้ผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้เช่า: กรณีผู้ให้เช่ามีสิทธิรอนสิทธิเหนือผู้บุกรุก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าที่ดินและอาคารพิพาทจากผู้ให้เช่าเพื่อประกอบการค้าและอยู่อาศัย จำเลยและบริวารได้เข้าไปใช้ประโยชน์และอยู่อาศัยในที่ดินและอาคารพิพาท โจทก์แจ้งให้ออกไปแล้วจำเลยไม่ยอมออก ซึ่งแปลความได้ว่าจำเลยได้เข้ามาอยู่อาศัยในที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากโจทก์ทำสัญญาเช่าและผู้ให้เช่าส่งมอบที่ดินและอาคารพิพาทให้โจทก์แล้ว ซึ่งเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยลำพัง แต่ข้อเท็จจริงที่นำสืบมาฟังได้ว่าโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองและใช้สอยที่ดินและอาคารพิพาทก่อนฟ้องคดี ฝ่ายจำเลยได้เข้าไปอยู่ในที่ดินและอาคารพิพาทตลอดมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่า การที่จำเลยอยู่ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ รูปคดีเป็นเรื่องความรับผิดของผู้ให้เช่าในกรณีรอนสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 549 ประกอบมาตรา 477โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยเองโดยลำพังไม่ได้ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแต่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ โจทก์มิได้คัดค้านและมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งดังกล่าวเป็นอันยุติแล้ว ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกให้ผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง: คดีขับไล่ที่ดินพิพาทที่ศาลล่างพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงต้องกัน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งในขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้ค่าเช่าไม่เกินเดือนละห้าพันบาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์โดยฟังว่าที่พิพาทเป็นของ ท. ให้จำเลยเข้าปลูกบ้าน โจทก์ฎีกาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5379/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาไม่มีผลผูกพันซื้อขายเมื่อไม่มีข้อตกลงชัดเจน ศาลไม่บังคับขับไล่
โจทก์อ้างว่าจำเลยซื้อที่ดินโจทก์เฉพาะส่วนที่จำเลยรุกล้ำตามสัญญาเอกสารหมาย จ.1 แล้วไม่ชำระราคาตามกำหนด โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยกล่าวแก้ว่าส่วนที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยรุกล้ำจำเลยครอบครองมาตั้งแต่ได้รับยกให้ โจทก์จำเลยโต้เถียงกัน เพื่อไม่ให้ต้องดำเนินคดีกัน จำเลยยินยอมให้เงินโจทก์ 2,000 บาทได้ทำสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ไว้ ปรากฏว่าตามสัญญาเอกสารหมายจ.1 ไม่มีข้อความใดระบุว่าเป็นการซื้อขาย คงมีแต่เพียงว่าจำเลยจะจ่ายเงินให้โจทก์ 2,000 บาท ใน 60 วัน และไม่มีข้อความใดระบุว่าถ้าหากจำเลยไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามกำหนดแล้ว คู่สัญญาต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงต้องถือเอาเจตนาในการเข้าทำสัญญาระหว่างกันจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินตามสัญญา แต่โจทก์ไม่ได้ขอให้บังคับตามข้อนี้ ส่วนประเด็นที่โจทก์อ้างว่าจำเลยซื้อขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำนั้นจำเลยปฏิเสธว่าให้เงินเพื่อไม่ต้องดำเนินคดีแก่กัน ซึ่งโจทก์ไม่ได้นำสืบตามข้อกล่าวอ้าง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยตกลงจะซื้อที่ดินของโจทก์ ศาลจึงบังคับขับไล่จำเลยตามฟ้องไม่ได้.
of 64