พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6483/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ที่พิพาทแยกตามโจทก์แต่ละคน ทำให้ฎีกาบางส่วนต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่2เป็นเงิน51,000บาทและแก่โจทก์ที่3เป็นเงิน47,483บาทแม้จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่1เป็นเงิน203,500บาทก็ตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่2และที่3ก็ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ของโจทก์แต่ละคนรวมกันมาต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์และอำนาจฟ้องของบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทั้งสองแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่ปี2476ก่อนประกาศใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็เป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์ทั้งสองจึงเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีอำนาจฟ้องแม้มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์ทั้งสองก็สามารถนำสืบถึงสถานภาพการสมรสของโจทก์ทั้งสองได้เพราะเป็นเรื่องรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาจึงไม่เป็นการนำสืบพยานหลักฐานนอกคำฟ้อง โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานละเมิดมาในคำฟ้องเดียวกันจึงต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองรวม240,000บาทก็ถือว่าทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์แต่ละคนคือคนละ120,000บาทการที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกิน200,000บาทซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ม. ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยทั้งสองและไม่ได้กระทำในทางการที่จ้าง ม. ไม่ได้เป็นฝ่ายประมาทและค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์แต่ละคนสูงเกินไปเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีเช่า และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในการต่อสู้คดี
เมื่อค่าเช่าอาคารพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องได้กำหนดกันไว้แน่นอนแล้วว่าไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไปว่า อาคารพิพาทดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละเท่าใด คดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224วรรคสอง
ในกรณีที่จำเลยมีหนังสือโต้แย้งการบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารตามเอกสารหมาย ล.1 ไปถึงโจทก์ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารหมาย ล.1 ได้
ในกรณีที่จำเลยมีหนังสือโต้แย้งการบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารตามเอกสารหมาย ล.1 ไปถึงโจทก์ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารหมาย ล.1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงคดีเช่า และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพยานเอกสาร
เมื่อค่าเช่าอาคารพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องได้กำหนดกันไว้แน่นอนแล้วว่าไม่เกินเดือนละสี่พันบาทจึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไปว่าอาคารพิพาทดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละเท่าใดคดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสอง ในกรณีที่จำเลยมีหนังสือโต้แย้งการบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารตามเอกสารหมายล.1ไปถึงโจทก์ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารหมายล.1ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5955/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่อุทธรณ์/ฎีกาขัดกับข้อจำกัดตามกฎหมาย และยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเรื่องอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดว่าจำเลยที่2และที่3ได้ว่าจ้างโจทก์ในนามของจำเลยที่1ให้ซ่อมเครื่องปั๊มของจำเลยที่1ให้จำเลยทั้งสามร่วมรับผิดต่อโจทก์ส่วนที่คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์นั้นเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดพลาดจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดกันอันจะทำให้ไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์จะบังคับจำเลยคนใดทั้งต่อมาโจทก์ได้ขอแก้ไขคำขอท้ายฟ้องเป็นจำเลยทั้งสามซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1ได้โต้แย้งคำสั่งไว้จึงต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกี่ยวกับคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของจำเลยที่1เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานหลักฐานจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในข้อนี้ให้เป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งเช่นกัน โจทก์กับจำเลยที่1มีข้อตกลงว่าจะชำระเงินค่าซ่อมกันเมื่อมีการวางบิลแล้วสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมของโจทก์จึงเกิดขึ้นนับแต่วันวางบิลอายุความต้องเริ่มนับแต่วันวางบิลซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169เดิม(มาตรา193/12ที่แก้ไขใหม่)หาใช่นับแต่วันที่ลงในใบส่งของอันเป็นวันรับมอบการที่ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา602ไม่เมื่อนับแต่วันวางบิลถึงวันฟ้องยังไม่เกิน2ปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5861/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีภาษีอากรตามมูลค่าทรัพย์สินพิพาทตาม พ.ร.บ.ศาลภาษีอากร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้นำนาฬิกาบันทึกเวลา นาฬิกาสัญญาณและนาฬิกาอื่น ๆ พร้อมด้วยอุปกรณ์เข้ามาในราชอาณาจักรรวม 21 เที่ยวเรือและจำเลยได้ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้ารวม 21 ใบขนทุนทรัพย์ในคดีนี้จึงต้องแยกออกจากจำนวนเงินค่าภาษีอากรและเงินเพิ่มที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าที่จำเลยได้ยื่นในแต่ละวัน เมื่อตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าแต่ละฉบับมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท จึงห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมของพระภิกษุและทรัพย์สินในบัญชีธนาคาร: ข้อจำกัดและผลทางกฎหมายเมื่อพินัยกรรมไม่ครอบคลุมทรัพย์สินทั้งหมด
พินัยกรรมของพระภิกษุ ส.ผู้มรณณะ ระบุไว้ว่า บรรดาเงินที่ข้าพเจ้ามีอยู่ในขณะนี้และที่จะมีขึ้นหรือได้มาในอนาคตซึ่งได้ฝากไว้ที่ธนาคาร ก. ข.และ ค. เงินทั้งนี้ข้าพเจ้าขอยกให้แก่จำเลยศิษย์ของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว แต่ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏสมุดฝากเงินบัญชีเลขที่ 5106 และ 5459ที่พิพาทซึ่งเป็นเงินส่วนตัวของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะ และพินัยกรรมฉบับนี้ทำขึ้นก่อนที่ผู้มรณะจะมีเงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับถึงเงินในบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีนี้
จดหมายของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะฉบับแรกเป็นจดหมายธรรรมดาที่ผู้มรณะเขียนถึงจำเลย ตอนท้ายของจดหมายมีข้อความเพิ่มเติมเตือนให้จำเลยไปลงชื่อในสมุดฝากเงินที่ผู้มรณะฝากไว้ ไม่มีการสั่งการกำหนดการเผื่อตายที่จะเข้าแบบเป็นพินัยกรรม จึงไม่ใช่พินัยกรรม
ส่วนจดหมายฉบับที่สองมีข้อความว่า ลูกหมอ (จำเลย)ที่รักเวลานี้พ่อหลวง(พระภิกษุ ส.) ป่วยจะตายวันนี้หรือพรุ่งนี้ยังรู้ไม่ได้เลย พ่อหลวงเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ ถ้าพ่อหลวงสิ้นลมหายใจลง โดยไม่มีหลักฐานอะไร เงินตกเป็นสงฆ์หมด พ่อหลวงไม่อยากให้เป็นของคนอื่น อยากให้เป็นของลูกหมอคนเดียว แต่ในสมุดเงินฝากต้องลงชื่อลูกหมอเบิกได้คนเดียว จึงจะเป็นหลักฐานมั่นคง สงกรานต์ปีนี้ ขอให้ลูกหมอไปลงชื่อในสมุดฝากให้จงได้ ถ้าไม่ไปจะเสียใจภายหลัง ฯลฯ จดหมายของผู้มรณะฉบับที่สองนี้เป็นเรื่องที่ผู้มรณะแจ้งให้จำเลยไปลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงินธนาคารแม้ในตอนต้นของจดหมายได้มีข้อความว่า ผู้มรณะเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ผู้มรณะไม่อยากให้เป็นของคนอื่นก็ตาม แต่ผู้มรณะก็เพียงแต่เขียนแสดงความรู้สึกในใจว่า อยากให้เป็นของจำเลยคนเดียวเท่านั้น การที่พระภิกษุ ส.ใช้วิธีให้จำเลยมาลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงินแสดงว่าผู้มรณะยังไม่ได้ยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และข้อความที่ผู้มรณะเขียนไว้เช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้มรณะยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลย เมื่อผู้มรณะได้ถึงแก่มรณภาพขณะเป็นพระภิกษุ เงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้มรณะที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของผู้มรณะตามป.พ.พ.มาตรา 1623
จดหมายของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะฉบับแรกเป็นจดหมายธรรรมดาที่ผู้มรณะเขียนถึงจำเลย ตอนท้ายของจดหมายมีข้อความเพิ่มเติมเตือนให้จำเลยไปลงชื่อในสมุดฝากเงินที่ผู้มรณะฝากไว้ ไม่มีการสั่งการกำหนดการเผื่อตายที่จะเข้าแบบเป็นพินัยกรรม จึงไม่ใช่พินัยกรรม
ส่วนจดหมายฉบับที่สองมีข้อความว่า ลูกหมอ (จำเลย)ที่รักเวลานี้พ่อหลวง(พระภิกษุ ส.) ป่วยจะตายวันนี้หรือพรุ่งนี้ยังรู้ไม่ได้เลย พ่อหลวงเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ ถ้าพ่อหลวงสิ้นลมหายใจลง โดยไม่มีหลักฐานอะไร เงินตกเป็นสงฆ์หมด พ่อหลวงไม่อยากให้เป็นของคนอื่น อยากให้เป็นของลูกหมอคนเดียว แต่ในสมุดเงินฝากต้องลงชื่อลูกหมอเบิกได้คนเดียว จึงจะเป็นหลักฐานมั่นคง สงกรานต์ปีนี้ ขอให้ลูกหมอไปลงชื่อในสมุดฝากให้จงได้ ถ้าไม่ไปจะเสียใจภายหลัง ฯลฯ จดหมายของผู้มรณะฉบับที่สองนี้เป็นเรื่องที่ผู้มรณะแจ้งให้จำเลยไปลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงินธนาคารแม้ในตอนต้นของจดหมายได้มีข้อความว่า ผู้มรณะเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ผู้มรณะไม่อยากให้เป็นของคนอื่นก็ตาม แต่ผู้มรณะก็เพียงแต่เขียนแสดงความรู้สึกในใจว่า อยากให้เป็นของจำเลยคนเดียวเท่านั้น การที่พระภิกษุ ส.ใช้วิธีให้จำเลยมาลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงินแสดงว่าผู้มรณะยังไม่ได้ยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และข้อความที่ผู้มรณะเขียนไว้เช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้มรณะยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลย เมื่อผู้มรณะได้ถึงแก่มรณภาพขณะเป็นพระภิกษุ เงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้มรณะที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของผู้มรณะตามป.พ.พ.มาตรา 1623
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ 2 ปี ใบส่งของชั่วคราว และข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าตามใบส่งของชั่วคราวระหว่างวันที่5มกราคม2533ถึงวันที่3มีนาคม2533เมื่อนับถึงวันฟ้อง(วันที่13มีนาคม2535)เกินกว่า2ปีสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าของโจทก์จึงขาดอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(1)ซึ่งเท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยมิได้ซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของจำเลยจึงมีอายุความ5ปีคดีไม่ขาดอายุความนั้นเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทคดีย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา224วรรคหนึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5715/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มีทนายแก้ต่างและข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีอาญา
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ทนายจำเลยที่ 1 ที่ศาลตั้งให้ ได้เสียชีวิตลงก่อนสืบพยานจำเลย และศาลชั้นต้นไม่ได้ตั้งทนายให้จำเลยที่ 1 อีกเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่มีทนายแก้ต่างจนศาลชั้นต้นสั่งตัดพยานจำเลยที่ 1 นั้น ในปัญหาข้อนี้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งจำเลยที่ 1 หรือศาลยกขึ้นอ้างได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรรับวินิจฉัยให้
ในวันสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 1 ได้แต่งให้ ก.ซึ่งเป็นทนายของจำเลยที่ 2 เป็นทนายของจำเลยที่ 1 ด้วยแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องตั้งทนายให้จำเลยที่ 1 อีก และตามรายงานกระบวนพิจารณาก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 แถลงไม่ติดใจสืบพยานเอง มิใช่ศาลสั่งตัดพยานจำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ได้เคยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์จริง แต่ไม่ได้เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะผู้ตายตกน้ำและถึงแก่ความตายเอง ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ฆ่าผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์พ้นกำหนดเวลาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดแล้ว ส่วนโจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 339 วรรคท้ายลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ.มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) คงจำคุกตลอดชีวิตข้อหาอื่นให้ยก นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ที่จำเลยที่ 1ยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำความผิดนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
ในวันสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 1 ได้แต่งให้ ก.ซึ่งเป็นทนายของจำเลยที่ 2 เป็นทนายของจำเลยที่ 1 ด้วยแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องตั้งทนายให้จำเลยที่ 1 อีก และตามรายงานกระบวนพิจารณาก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 แถลงไม่ติดใจสืบพยานเอง มิใช่ศาลสั่งตัดพยานจำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ได้เคยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์จริง แต่ไม่ได้เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะผู้ตายตกน้ำและถึงแก่ความตายเอง ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ฆ่าผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์พ้นกำหนดเวลาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดแล้ว ส่วนโจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 339 วรรคท้ายลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ.มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) คงจำคุกตลอดชีวิตข้อหาอื่นให้ยก นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ที่จำเลยที่ 1ยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำความผิดนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 และการบังคับใช้กฎหมายใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่แก้ไขใหม่โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่12)พ.ศ.2534ได้บัญญัติไว้ในมาตรา2ว่าให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด60วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่27สิงหาคม2534ดังนั้นจึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่27ตุลาคม2534เป็นต้นไปการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่27ตุลาคม2534เป็นต้นไปจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา224ที่แก้ไขใหม่ด้วยแม้การยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นจะได้ยื่นก่อนที่กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับก็หาใช่สาระสำคัญไม่ทั้งการนำกฎหมายวิธีพิจารณาความมาใช้บังคับไม่ใช่กรณีลงโทษทางอาญาจึงไม่ต้องนำหลักกฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลังมาใช้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยที่2โอนที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยที่1หรือโจกท์ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ด้วยนั่นเองซึ่งถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้ที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ทั้งกรณีตามคำฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวแต่อย่างใดคดีโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง