พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางวินัยข้าราชการ: อำนาจบังคับบัญชา, การสอบสวน, คำสั่งลงโทษชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าแผนกวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ มีหน้าที่บังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกและปฏิบัติตามข้อตกลงของคณะกรรมการประจำคณะและข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การสอนและหลักสูตรการสอนดำเนินไปโดยเรียบร้อยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 24, 25, 26 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14, 15 เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ออกคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้ช่วยหน่วยวิชาพาเชี่ยลเด็นเจอร์และให้โจทก์รายงานการสอนนักศึกษาปีที่ 2 ในวิชานี้เป็นรายละเอียดและจำนวนชั่วโมง ทั้งการบรรยายและปฏิบัติการพร้อมกับผลของการปฏิบัติงานทางด้านคลีดนิคของนิสิตปีที่ 4 มายังจำเลยที่ 1 ภายในวันที่กำหนด จึงเป็นการสั่งเกี่ยวกับกาารบังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกของจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นการวางระเบียบการภายในแผนกวิชาหรือการอื่นอันเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะที่จะต้องเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยตามพระราบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14 การที่โจทก์บันทึกโต้แย้งว่าไม่ยอมรับทราบคำสั่ง ไม่มีอะไรให้อีกแล้วและไม่มีผลใด ๆ ทั้งสิ้น แสดงว่าโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 มาตรา 71 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 รายงานต่อคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์เหนือจำเลยที่ 1 ขึ้นไปเพื่อให้ลงโทษโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ มาตรา 93 ทั้งพยานหลักฐานของโจทก์ก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ออกคำสั่ง (ดังกล่าวตอนต้น) เพื่อแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ. เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ. พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และ ที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนเมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้ง ๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ. เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ. พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และ ที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนเมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้ง ๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งวินัยข้าราชการ: อำนาจบังคับบัญชา, การสอบสวน, และความชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าแผนกวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ มีหน้าที่บังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกและปฏิบัติตามข้อตกลงของคณะกรรมการประจำคณะและข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้การสอนและหลักสูตรการสอนดำเนินไปโดยเรียบร้อยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 24,25,26 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14,15 เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ออกคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้ช่วยหน่วยวิชาพาเชี่ยลเด็นเจอร์และให้โจทก์รายงานการสอนนักศึกษาปีที่ 2 ในวิชานี้เป็นรายละเอียดและจำนวนชั่วโมงทั้งการบรรยายและปฏิบัติการพร้อมกับผลของการปฏิบัติงานทางด้านคลีนิคของนิสิตปีที่ 4 มายังจำเลยที่ 1 ภายในวันที่กำหนด จึงเป็นการสั่งเกี่ยวกับการบังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกของจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นการวางระเบียบการภายในแผนกวิชาหรือการอื่นอันเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะที่จะต้องเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14 การที่โจทก์บันทึกโต้แย้งว่าไม่ยอมรับทราบคำสั่ง ไม่มีอะไรให้อีกแล้ว และไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้น แสดงว่าโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497มาตรา 71 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 รายงานต่อคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์เหนือจำเลยที่ 1 ขึ้นไป เพื่อให้ลงโทษโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ มาตรา 93 ทั้งพยานหลักฐานของโจทก์ก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ออกคำสั่ง (ดังกล่าวตอนต้น)เพื่อแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ.เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ.พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน เมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้งๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ.เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ.พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน เมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้งๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดเวลาราชการต่อเนื่องสำหรับคำนวณบำนาญหลังเปลี่ยนสถานะจากลูกจ้างเป็นข้าราชการพลเรือน
โจทก์เข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2463 แล้วลาออกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2477 โดยได้ไปเป็นผู้ช่วยจัดทำตำราและสอนกฎหมายซึ่งเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2477 นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2477 ถึง พ.ศ. 2502 โจทก์ได้รับบำนาญจากทางราชการตลอดมา แต่ต่อมาได้คืนบำนาญสำหรับปี พ.ศ. 2501 และ 2502 เนื่องจากในวันที่ 1 มกราคม 2500 ได้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499 ออกใช้บังคับและโดยผลของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัตินี้โจทก์ได้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนย้อนหลังไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2477 แม้การที่กฎหมายเปลี่ยนฐานะของโจทก์จากการเป็นลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะถือไม่ได้ว่าเป็นการกลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2494 เพราะไม่มีการกลับเข้ารับราชการใหม่ แต่โดยที่โจทก์เป็นผู้ได้รับบำนาญอยู่ก่อนที่โจทก์จะได้รับการเปลี่ยนฐานะจากลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เมื่อมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะคิดเวลาราชการของโจทก์ทั้งสองครั้งติดต่อกันเพื่อคำนวณเงินบำนาญได้หรือไม่ กรณีต้องวินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือเทียบกับมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2494 ซึ่งตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้าราชการผู้ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งการรับราชการครั้งเก่าและครั้งใหม่ติดต่อกันสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ จะต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียก่อนภายใน 30 วัน นับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อไม่มีวันกลับเข้ารัชราชการใหม่ก็ควรจะต้องถือว่าหากโจทก์ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งสองครั้งติดต่อกัน โจทก์ก็ต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันประกาศใช้บังคับของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499 เมื่อโจทก์มิได้บอกเลิกรับบำนาญภายในกำหนด จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะขอให้จำเลยคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำนาญทั้งเวลาราชการครั้งก่อนและครั้งหลังติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดคำนวณบำนาญสำหรับข้าราชการที่เคยได้รับบำนาญแล้ว และได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นข้าราชการใหม่ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการบอกเลิกบำนาญ
โจทก์เข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2463 แล้วลาออกเมื่อวันที่1 สิงหาคม 2477 โดยได้ไปเป็นผู้ช่วยจัดทำตำราและสอนกฎหมายซึ่งเป็น ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2477 นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2477 ถึง พ.ศ.2502โจทก์ได้รับบำนาญจากทางราชการตลอดมา แต่ต่อมาได้คืนบำนาญสำหรับปี พ.ศ.2501 และ 2502 เนื่องจากในวันที่ 1 มกราคม 2500ได้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2499 ออกใช้บังคับ และโดยผลของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ นี้ โจทก์ได้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนย้อนหลังไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2477 แม้การที่กฎหมาย เปลี่ยนฐานะของโจทก์จากการเป็นลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะถือไม่ได้ว่าเป็นการกลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2494 เพราะไม่มีการกลับเข้ารับ ราชการใหม่ แต่โดยที่โจทก์เป็นผู้ได้รับบำนาญอยู่ก่อนที่โจทก์จะได้รับการ เปลี่ยนฐานะจากลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เมื่อมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะคิดเวลาราชการของโจทก์ทั้งสองครั้งติดต่อกัน เพื่อคำนวณ เงินบำนาญได้หรือไม่ กรณีก็ต้องวินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือเทียบกับมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2494 ซึ่งตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้าราชการผู้ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งการ รับราชการครั้งเก่าและครั้งใหม่ติดต่อกันสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ จะต้อง บอกเลิกรับบำนาญเสียก่อนภายใน 30 วัน นับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อไม่มีวันกลับเข้ารับราชการใหม่ ก็ควรจะต้องถือว่าหากโจทก์ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งสองครั้งติดต่อกัน โจทก์ก็ต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันประกาศใช้บังคับของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2499 เมื่อโจทก์ มิได้บอกเลิกรับบำนาญภายในกำหนด จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำนาญทั้งเวลาราชการครั้งก่อนและครั้งหลังติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีละเมิดที่มีโจทก์หลายคน และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ถูกละเมิดที่เป็นข้าราชการ
โจทก์หลายคนฟ้องจำเลยให้รับผิดฐานละเมิดมาในห้องเดียวกัน โดยแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องเป็นจำนวนเท่าใดมาชัดเจน เป็นส่วนของแต่ละคน มิได้เรียกร้องเป็นจำนวนรวมกันมา เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์คนใดไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์คนนั้นมิได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
แม้ผู้ถูกทำละเมิดเป็นข้าราชการ มีสิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ ก็ไม่ทำให้สิทธิของผู้ถูกทำละเมิดที่จะเรียกร้องจากผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดต้องระงับไป
แม้ผู้ถูกทำละเมิดเป็นข้าราชการ มีสิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ ก็ไม่ทำให้สิทธิของผู้ถูกทำละเมิดที่จะเรียกร้องจากผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดต้องระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการลาศึกษาต่างประเทศผิดสัญญาต้องชดใช้เงินคืน แม้ถูกไล่ออก
ข้าราชการไม่กลับมารับราชการจนครบเวลา 2 เท่าของระยะเวลาที่ลาตามที่ทำสัญญาไว้เมื่อลาไปศึกษาต่างประเทศ ต้องรับผิดใช้เงินคืนแม้เป็นเงินที่รัฐบาลไทยรับมาจัดการจากต่างประเทศ โดยรัฐบาลไทยต้องรับผิดชอบ การที่ข้าราชการผู้นั้นถูกไล่ออกเพราะไม่กลับมารับราชการไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จบำนาญของจำเลยซึ่งเดิมเป็นทหารประจำการที่มีต่อกระทรวงกลาโหม ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินบำนาญข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จบำนาญของจำเลยซึ่งเดิมเป็นทหารประจำการที่มีต่อกระทรวงกลาโหม ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของหน่วยงานต่อการกระทำละเมิดของข้าราชการ: การกระทำส่วนตัว
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นบุรุษไปรษณีย์ ได้ขับรถยนต์ของกรมไปรษณีย์ฯ จำเลยที่ 2 ไปเก็บไปรษณียภัณฑ์ตามตู้ไปรษณีย์ตามหน้าที่ และจอดรถไว้ที่ขอบถนน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานควบคุมการจราจรบอกให้จำเลยที่ 1 ไปจอดรถบนไหล่ถนน เพราะการจราจรคับคั่ง จำเลยที่ 1 ด่าโจทก์แล้วกลับไปขึ้นรถ โจทก์ตามไปยืนเอามือเท้าขอบประตูรถตรงที่นั่งคนขับและชะโงกศีรษะเข้าไปในรถแจ้งข้อหาว่าดูหมิ่นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 1 ขับรถออกไปโดยเร็วและผลักโจทก์ตกจากรถ ทำให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บ การที่จำเลยที่ 1ขัดขวางการจับกุมโดยขับรถเคลื่อนออกไปและผลักโจทก์ตกจากรถขนได้รับบาดเจ็บนี้เป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 1 และเป็นการทำร้ายร่างกายกันโดยเฉพาะมิได้เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และไม่ได้เป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการกระทำละเมิดส่วนตัว หน่วยงานไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นบุรุษไปรษณีย์ ได้ขับรถยนต์ของกรมไปรษณีย์ฯจำเลยที่ 2 ไปเก็บไปรษณีย์ภัณฑ์ตามตู้ไปรษณีย์ตามหน้าที่ และจอดรถไว้ที่ขอบถนน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานควบคุมการจราจรบอกให้จำเลยที่ 1 ไปจอดรถบนไหล่ถนน เพราะการจราจรคับคั่งจำเลยที่ 1 ด่าโจทก์แล้วกลับไปขึ้นรถ โจทก์ตามไปยืนเอามือเท้าขอบประตูรถตรงที่นั่งคนขับและชะโงกศีรษะเข้าไปในรถแจ้งข้อหาว่าดูหมิ่นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 1 ขับรถออกไปโดยเร็วและผลักโจทก์ตกจากรถ ทำให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บ การที่จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมโดยขับรถเคลื่อนออกไปและผลักโจทก์ตกจากรถจนได้รับบาดเจ็บนี้เป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 1 และเป็นการทำร้ายร่างกายกันโดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และไม่ได้เป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย