พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมโดยมีเช็คเป็นหลักฐาน: เช็คไม่ใช่หลักฐานกู้ยืม ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
เจ้าหนี้มิได้ขอรับชำระหนี้ในฐานะที่เป็นผู้ทรงเช็คแต่ขอรับชำระหนี้ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้เงินกู้โดยมีเช็คเป็นหลักฐาน เช็คมิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม จะนำสืบว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมหาได้ไม่ จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(1) และเมื่อเจ้าหนี้มิได้ขอรับชำระหนี้ในฐานะผู้ทรงเช็คก็ไม่ชอบที่จะให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในฐานะเป็นผู้ทรงเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146-1147/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: อายุความที่ใช้บังคับ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามมาตรา 114 และ มาตรา 115 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483เป็นคนละเรื่องกันกับการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 มาใช้บังคับไม่ได้ต้องใช้อายุความสิบปีตาม มาตรา164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ: ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
ผู้ขอรับชำระหนี้ขอรับชำระหนี้เงินที่จำเลยกู้ยืมผู้ขอรับชำระหนี้ไป แต่การกู้เงินนั้นจำเลยมิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ จำเลยเพียงแต่ออกเช็คให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้เท่านั้นเช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ไม่มีคำว่ากู้หรือยืม และข้อความในเช็คก็ไม่มีเค้าว่าเป็นการกู้ยืม สภาพของเช็คก็เป็นการใช้เงินไม่ใช่การกู้ยืมเช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เมื่อผู้ขอรับชำระหนี้ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้มาแสดง หนี้ที่ขอรับชำระจึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653ดังนั้นผู้ขอรับชำระหนี้จะขอรับชำระหนี้เงินกู้รายนี้ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1595/2503 และ 997/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2933/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความบังคับจำนอง & การลบสิทธิเช่าในคดีล้มละลาย: ศาลสั่งให้ลบสิทธิเช่าเพื่อขายทอดตลาดได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ขายทอดตลาดที่ดินที่จำเลยจำนองโดยติดสิทธิที่จำเลยที่ 2 เช่าจำเลยที่ 1 ก่อน ถ้าได้เงินไม่พอใช้หนี้จำนองก็ให้ขายใหม่โดยปลอดสิทธิการเช่า ต่อมาจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดที่ดินราคาที่เสนอไม่พอใช้หนี้จำนอง จึงงดขาย คดีล้มละลายนี้โจทก์เองเป็นผู้ฟ้องจำเลย และโจทก์ขอรับชำระหนี้จำนองนำยึดที่ดินนี้ในคดีล้มละลายโดยศาลจำหน่ายคดีที่โจทก์ฟ้องบังคับจำนอง ดังนี้ การขอรับชำระหนี้จำนองในคดีล้มละลายจึงเท่ากับบังคับจำนองนั้นเอง ตรงกับข้อตกลงของโจทก์และจำเลยทั้งสอง จึงต้องขายทอดตลาดใหม่ตามยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีอากรที่ถึงที่สุดแล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนในคดีล้มละลาย
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งจำนวนที่จะต้องชำระเพิ่มไปยังลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้มิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือลูกหนี้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ลูกหนี้ทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ แล้วไม่ยื่นฟ้องต่อศาลภายในกำหนดตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร ถือว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินยุติแล้ว ลูกหนี้หมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งต่อไป และต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2611/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงมอบเงินฝากเป็นประกันความเสียหาย ไม่ถือเป็นการจำนำ ทำให้ผู้ร้องไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
การที่จำเลยที่ 1 ตกลงมอบเงินฝากพร้อมใบรับฝากแก่ผู้ร้อง เพื่อเป็นประกันความเสียหายที่ผู้ร้องออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อกรมทางหลวงให้ผู้ร้องมีอำนาจหักเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายที่ผู้ร้องต้องชดใช้แทนได้ทันที และจำเลยที่ 1 จะไม่ถอนเงินฝากจนกว่า ผู้ร้องจะพ้นภาระความรับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ผู้ร้องจึงไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 95
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารในสำนวนคดีล้มละลายเป็นเอกสารในสำนวนคดีอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(1) ไม่ต้องส่งสำเนา
สำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายถือได้ว่าเป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 (1)
การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารซึ่งเป็นคำให้การของผู้คัดค้านในสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90 (1) ซึ่งผู้ร้องไม่ต้องส่งสำเนาให้ผู้คัดค้านก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน
การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารซึ่งเป็นคำให้การของผู้คัดค้านในสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90 (1) ซึ่งผู้ร้องไม่ต้องส่งสำเนาให้ผู้คัดค้านก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: คดีปลดเปลื้องทุกข์ ไม่จำกัดทุนทรัพย์ อุทธรณ์ได้
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกการถอนโอนและการฉ้อฉลซึ่งผลของการที่ขอให้เพิกถอนมีแต่เพียงให้ทรัพย์กลับคืนมาเป็นของลูกหนี้ตามเดิมเท่านั้นหาได้มีการเรียกร้องทรัพย์หรือขอให้ได้รับประโยชน์เพื่มขึ้นอย่างไรไม่จึงถือว่าเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หาต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่
เมื่อปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นจำนวนเกินกว่าจำนวนค่าขึ้นศาลที่จะต้องเสียอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้องและผู้คัดค้านหากเห็นสมควร
เมื่อปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นจำนวนเกินกว่าจำนวนค่าขึ้นศาลที่จะต้องเสียอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้องและผู้คัดค้านหากเห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดภูมิลำเนาเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: สำนักงานใหญ่ vs. สาขาต่างประเทศ
กำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 นั้น ต้องถือเอาที่อยู่ของเจ้าหนี้เป็นสำคัญว่าอยู่นอกหรือในราชอาณาจักร ถ้าอยู่ในราชอาณาจักรต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถ้าอยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกินสองเดือน ส่วนสัญชาติของเจ้าหนี้หรือสถานที่ที่หนี้เกิดขึ้นไม่เป็นข้อสำคัญ
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นนิติบุคคลซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานครประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 ให้ถือเอาที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่เป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น ส่วนที่ตั้งของสำนักงานสาขาจะถือว่าเป็นภูมิลำเนาได้ก็เฉพาะแต่กิจการซึ่งจะต้องทำ ณ ที่ตั้งสำนักงานสาขาเท่านั้น เมื่อการขอรับชำระหนี้รายนี้จะต้องทำ ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ เจ้าหนี้ก็ไม่อาจยกภูมิลำเนาของสาขาต่างประเทศขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นนิติบุคคลซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานครประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 ให้ถือเอาที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่เป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น ส่วนที่ตั้งของสำนักงานสาขาจะถือว่าเป็นภูมิลำเนาได้ก็เฉพาะแต่กิจการซึ่งจะต้องทำ ณ ที่ตั้งสำนักงานสาขาเท่านั้น เมื่อการขอรับชำระหนี้รายนี้จะต้องทำ ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ เจ้าหนี้ก็ไม่อาจยกภูมิลำเนาของสาขาต่างประเทศขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: นับจากเจ้าหนี้รู้ถึงการฉ้อฉล ไม่ใช่จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รู้
ตามธรรมดาบุคคลที่จะ อ้างอาศัยมาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะต้องเป็นเจ้าหนี้ของผู้กระทำนิติกรรมการโอนทรัพย์สินเท่านั้น ส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำคำร้องขอต่อศาลในกรณีเช่นนี้ได้ ก็เป็นเรื่องที่กฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องขอต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีขึ้นมาใหม่เท่านั้น ฉะนั้นอายุความที่จะใช้นับก็ย่อมจะต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักนับวันเริ่มต้นอายุความไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นการขยายอายุความออกไปโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
เจ้าหนี้มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้ว เจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ซึ่งอ้างอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 นี้ ย่อมจะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน เพราะไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบที่เป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
เจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายได้รู้ถึงการโอนหุ้นพิพาทนี้ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายจนกระทั่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็น่าจะรู้ได้แล้วว่าการโอนหุ้นที่ลูกหนี้ได้กระทำลงไปนั้น เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่เจ้าหนี้ก็หาได้ใช้สิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหุ้นดังกล่าวไม่ เมื่อนับจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอต่อศาลก็เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
เจ้าหนี้มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้ว เจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ซึ่งอ้างอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 นี้ ย่อมจะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน เพราะไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบที่เป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
เจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายได้รู้ถึงการโอนหุ้นพิพาทนี้ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายจนกระทั่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็น่าจะรู้ได้แล้วว่าการโอนหุ้นที่ลูกหนี้ได้กระทำลงไปนั้น เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่เจ้าหนี้ก็หาได้ใช้สิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหุ้นดังกล่าวไม่ เมื่อนับจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอต่อศาลก็เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240