พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต: พิจารณาจากความร้ายแรงแห่งคดี
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52(2) ในการลดโทษประหารชีวิตถ้าจะลดกึ่งหนึ่งให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษจำคุกตั้งแต่ 25 ปีถึง 50 ปี ซึ่งศาลจะลดโทษให้เพียงใดเป็นดุลพินิจของศาล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดว่าร้ายแรงหรือไม่เพียงใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1เป็นภริยาผู้ตายสมคบกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ฆ่าผู้ตายแล้วยังใช้น้ำมันราดและจุดไฟเผาศพผู้ตายเพื่อปิดบังซ่อนเร้นการตาย พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นการกระทำความผิดร้ายแรงและไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลดโทษให้จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่งจากโทษประหารชีวิตเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษและรอการลงโทษในคดีอาญา: การพิจารณาโทษซ้ำซ้อนและการไม่รอการลงโทษ
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในระหว่างที่คดีอาญาอีกคดีหนึ่งของจำเลยยังไม่ถึงที่สุด จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่จะเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษและรอการลงโทษในคดีอาญา: ผลของคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดและการพิจารณาพฤติการณ์จำเลย
คดีอาญาเรื่องก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2542 ให้จำคุกจำเลย 1 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 ได้อ่านคำพิพากษาดังกล่าวให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 จึงครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 11 สิงหาคม 2543 ในระหว่างยื่นฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขยายระยะเวลาฎีกา แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์คำสั่งและส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2543 ในขณะนั้นยังไม่แน่นอนว่าศาลอุทธรณ์จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลยหรือไม่และหากศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกา และรับฎีกาจำเลยไว้พิจารณาแล้วคดีก็อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกายังไม่ถึงที่สุด เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 ในระหว่างที่คดีอาญายังไม่ถึงที่สุด จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ซึ่งจะเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีอาญา การรับสารภาพ และการฟ้องหลายคดีต่างกรรมต่างวาระ
การที่ศาลชั้นต้นนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยเวลา 9 นาฬิกา แต่เลื่อนมาสอบในเวลา 13.30 นาฬิกา แม้ไม่ได้จดรายงานกระบวนพิจารณา แต่ศาลชั้นต้นก็ดำเนินกระบวนพิจารณาในเวลา 13.30 นาฬิกา ต่อหน้าจำเลยโดยได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่ากระทำผิดจริงหรือไม่ แล้วจดรายงานกระบวนพิจารณาไว้ ถือได้ว่าได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 โดยชอบแล้ว ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ซึ่งมิใช่ความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งฉะนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่เวลา 13.30 นาฬิกา แม้ทนายจำเลยที่จำเลยเตรียมไว้ได้เดินทางกลับไปเสียก่อนก็ตาม ก็หามีผลให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
แม้จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นการรับสารภาพฐานรับของโจร ฉบับหลังเป็นการปฏิเสธก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้วศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง แล้วจดคำให้การจำเลยไว้แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง ฉะนั้นเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร จึงถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรชัดแจ้งแล้ว แม้ศาลจะไม่ได้สอบคำให้การของจำเลยฉบับหลัง ก็หาใช่กรณีที่ไม่แน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพหรือให้การปฏิเสธแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรคดีนี้กับคดีอื่นรวม 12 คดี อันเป็นการฟ้องว่ากระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร จึงต้องฟังว่าจำเลยกระทำผิดแต่ละคดีต่างกรรมต่างวาระกัน การที่จำเลยถูกจับกุมในวันเดียวกันทุกคดีจะฟังว่ากระทำผิดฐานรับของโจรเพียงครั้งเดียวคราวเดียวในวันที่ถูกจับกุมหาได้ไม่
แม้จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นการรับสารภาพฐานรับของโจร ฉบับหลังเป็นการปฏิเสธก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้วศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง แล้วจดคำให้การจำเลยไว้แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง ฉะนั้นเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร จึงถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรชัดแจ้งแล้ว แม้ศาลจะไม่ได้สอบคำให้การของจำเลยฉบับหลัง ก็หาใช่กรณีที่ไม่แน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพหรือให้การปฏิเสธแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรคดีนี้กับคดีอื่นรวม 12 คดี อันเป็นการฟ้องว่ากระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร จึงต้องฟังว่าจำเลยกระทำผิดแต่ละคดีต่างกรรมต่างวาระกัน การที่จำเลยถูกจับกุมในวันเดียวกันทุกคดีจะฟังว่ากระทำผิดฐานรับของโจรเพียงครั้งเดียวคราวเดียวในวันที่ถูกจับกุมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานยักยอกทรัพย์และการฝ่าฝืนระเบียบ คำพิพากษาไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ซึ่งมีหน้าที่และรับผิดชอบขับรถยนต์นำน้ำมันไปส่งให้แก่กรมช่างอากาศ แต่โจทก์หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ กลับยักยอกเอาน้ำมันดังกล่าวไปเป็นของบุคคลอื่นโดยทุจริต ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างดังกล่าวจึงมาจากเหตุที่โจทก์ยักยอกทรัพย์และฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าแม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ยักยอกน้ำมัน แต่การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างตามที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างแล้ว มิใช่เป็นการยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่มีในคำสั่งเลิกจ้างมาวินิจฉัยคดีแต่อย่างใด
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โบนัส เงินบำเหน็จ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานแม้โจทก์จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามที่จำเลยกล่าวหาก็ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น ในการพิพากษาคดีศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โบนัส เงินบำเหน็จ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานแม้โจทก์จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามที่จำเลยกล่าวหาก็ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น ในการพิพากษาคดีศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีต่อกระทง ทำให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นไปไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ลงโทษจำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 เป็นจำคุก 15 ปี และลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงจำคุก 10 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีอาญา เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์แน่นหนามั่นคงเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้
เหตุเกิดในเวลากลางวันและมีผู้รู้เห็นเหตุการณ์หลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยานโจทก์ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับ เหตุการณ์ต่างเบิกความยืนยันว่าเห็นและจำได้แม่นยำว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย หลังจากเกิดเหตุแล้วประมาณ 5 วัน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนได้เค้ามูลว่าจำเลยเป็นคนร้ายและนำภาพถ่ายของจำเลยไปให้พยานดู พยานดังกล่าวต่างยืนยันว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ยิงผู้ตาย พยานโจทก์มีโอกาสเห็นจำเลยอย่างใกล้ชิดและนานพอที่จะจำจำเลยได้ไม่ผิดตัว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแน่นหนามั่งคงมีน้ำหนักพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องอาศัยคำรับสารภาพของจำเลย คำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา กรณีไม่มีเหตุบรรเทาโทษที่ศาลจะลดโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีอาญาต่างกรรมต่างวาระ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม ไม่เข้าข่ายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
คดีนี้ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ส่วนคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อได้มี คำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานมีและพาอาวุธปืน ต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำ การตามหน้าที่ ทั้งสองคดีเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระและมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหาก โดยไม่มี ความเกี่ยวพันกัน ผู้เสียหายและพยานหลักฐานเป็นคนละชุด ลักษณะคดีและความผิดคนละประเภท ทั้งสองคดีไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือพิจารณาพิพากษารวมกันไปได้ กรณีดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ดังนั้น ศาลย่อมนับโทษคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1372/2546 ของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีอาญาต่างกรรมต่างวาระ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสามารถนับโทษต่อกันได้หากไม่มีความเกี่ยวพันกัน
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นส่วนคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานมีและพาอาวุธปืน ต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ทั้งสองคดีเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระและมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหาก โดยไม่มีความเกี่ยวพันกัน ผู้เสียหายและพยานหลักฐานเป็นคนละชุด ลักษณะคดีและความผิดคนละประเภทไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือพิจารณาพิพากษารวมกันไปได้ จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(3) ศาลย่อมนับโทษต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาเนื่องจากมีการยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และการพิจารณาโทษฐานปลอมแปลงเอกสาร
หลังจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำพิพากษา ผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจากฝ่ายจำเลยแล้วจึงไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไป ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225